ข้ามไปเนื้อหา

สหภาพฝรั่งเศส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สหภาพฝรั่งเศส

Union française (ฝรั่งเศส)
1946–1958
คำขวัญ"Liberté, égalité, fraternité"
"เสรีภาพ, เสมอภาค, ภราดรภาพ"
  ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่และจังหวัดโพ้นทะเล
  ดินแดนโพ้นทะเล
  ดินแดนในภาวะทรัสตี
  รัฐที่เกี่ยวข้อง
สถานะสหภาพรัฐ
เมืองหลวงปารีส
ภาษาทั่วไปฝรั่งเศส
ยุคประวัติศาสตร์สงครามเย็น
27 ตุลาคม 1946
1948
• กัมพูชาถอนตัว
25 กันยายน 1955
• เวียดนามใต้ถอนตัว
9 ธันวาคม 1955
• อิสรภาพของโมร็อกโกและตูนิเซีย
1956
• ลาวถอนตัว
11 พฤษภาคม 1957
กันยายน 1958
5 ตุลาคม 1958
สกุลเงิน
ก่อนหน้า
ถัดไป
รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
จักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส
ประชาคมฝรั่งเศส
ราชอาณาจักรลาว
รัฐบาลกลางชั่วคราวเวียดนาม
เวียดนามเหนือ
ราชอาณาจักรกัมพูชา
เฟรนช์กินี
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 4

สหภาพฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Union française) เป็นกลุ่มประเทศอธิปไตยก่อตั้งโดยสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สี่ เพื่อแทนที่ระบอบอาณานิคมของจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสที่มีอยู่เดิม หรือที่รู้จักกันในชื่อ "จักรวรรดิฝรั่งเศส" (Empire français) ถือเป็นจุดสิ้นสุดอย่างเป็นทางการของสถานะ "ชนพื้นเมือง" (indigène) ภายใต้ชาวฝรั่งเศสในพื้นที่อาณานิคม

องค์ประกอบ

[แก้]

สหภาพฝรั่งเศสประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบสำคัญดังนี้:

  1. ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ รวมทั้งเฟรนช์แอลจีเรีย
  2. อาณานิคม 'เก่า' ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่อินเดียตะวันตกของฝรั่งเศสในแถบแคริบเบียน ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นจังหวัดโพ้นทะเล ในปี ค.ศ. 1946: กัวเดอลุป, เฟรนช์เกียนา, มาร์ตีนิก, และเรอูว์นียง
  3. อาณานิคม 'ใหม่' ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นดินแดนโพ้นทะเล: โกตดิวัวร์, ดาโฮมี, กินี, มอริเตเนีย, ไนเจอร์, เซเนกัล, เฟรนช์ซูดาน, อัปเปอร์วอลตา, คองโก, กาบอง, อุบังกุย-ชารี, ชาด, คอโมโรส, เฟรนช์อินเดีย, มาดากัสการ์, นิวแคลิโดเนีย, เฟรนช์พอลินีเซีย, แซ็งปีแยร์และมีเกอลง, เฟรนช์โซมาลีแลนด์
  4. รัฐที่เกี่ยวข้อง: รัฐในอารักขาแห่งอินโดจีนฝรั่งเศส มีการคาดการณ์ว่ารัฐในอารักขาอื่น ๆ จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพฝรั่งเศส แต่ผู้ปกครองแห่งเฟรนช์โมร็อกโกและเฟรนช์ตูนิเซียปฏิเสธที่จะเป็นสมาชิกและไม่เคยเข้าร่วมเลย[1]
  5. ดินแดนในภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ อาทิ เฟรนช์แคเมอรูนและเฟรนช์โตโกแลนด์ เป็นต้น

ประวัติ

[แก้]

ก่อนการก่อตั้ง สหภาพฝรั่งเศส ฝรั่งเศสมีอาณาจักรอาณานิคมขนาดใหญ่ซึ่งครอบคลุมดินแดนในแอฟริกา เอเชีย และมหาสมุทรแปซิฟิก อย่างไรก็ตาม หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ความต้องการเสรีภาพและอิสรภาพในหมู่ประชากรของอาณานิคมฝรั่งเศสเริ่มมีมากขึ้น อาณานิคมหลายแห่งเริ่มต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชและสิทธิในการปกครองตนเอง ส่งผลให้ฝรั่งเศสต้องหาวิธีที่จะรักษาความสัมพันธ์กับอาณานิคมของตนไว้ ในขณะที่ยังคงรักษาอิทธิพลและความร่วมมือกับดินแดนเหล่านั้น ทำให้สหภาพถูกบัญญัติในรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่4 มีผลบังคับใช้วันที่ 27 ตุลาคม 1946

สหภาพฝรั่งเศส ก่อตั้งขึ้นเพื่อรวมอาณานิคมและดินแดนโพ้นทะเลเข้ากับฝรั่งเศสในรูปแบบของความร่วมมือและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แทนที่จะปกครองด้วยอำนาจเด็ดขาดเหมือนในอดีต อย่างไรก็ตาม โครงสร้างนี้กลับไม่ได้รับการตอบสนองอย่างที่คาดหวัง:

1. ปัญหาความไม่เท่าเทียม: ฝรั่งเศสยังคงมีอำนาจเหนือดินแดนโพ้นทะเลและอาณานิคมอย่างเข้มงวด ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ประชากรของอาณานิคมที่รู้สึกว่าไม่ได้รับสิทธิและเสรีภาพอย่างเท่าเทียมกับประชากรในฝรั่งเศสการ

2. ต่อสู้เพื่อเอกราช: หลายอาณานิคมเริ่มต้นการต่อสู้เพื่ออิสรภาพ เช่น การปฏิวัติในเวียดนามและสงครามอิสรภาพในแอลจีเรีย ซึ่งกลายเป็นปัจจัยที่ทำให้ สหภาพฝรั่งเศส ล่มสลายอย่างรวดเร็วผลกระทบจาก

สหภาพฝรั่งเศส สิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการในปี 1958 เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐฝรั่งเศสครั้งที่5 และเปลี่ยนโครงสร้างการปกครองของฝรั่งเศสในอาณานิคมไปสู่รูปแบบของการให้เอกราชหรือความเป็นอิสระในระดับที่สูงขึ้นแก่ดินแดนโพ้นทะเล

ประเทศที่ถอนตัว

[แก้]
  • กัมพูชาถอนตัวในวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 1955[2]
  • เวียดนามใต้ถอนตัวเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1955[3]
  • ลาวถอนตัวเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1957 [4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Charles-Robert Argeron, La décolonisation française, Armand Colin, Paris, 1994, p. 73.
  2. [ Displaying Abstract ] (2012-04-30). "CAMBODIA SEVERS TIES WITH FRANCE - Declares Her Independence - Prince Norodom Takes the Post of Premier - Article - NYTimes.com". Select.nytimes.com.
  3. "Pentagon Papers Part IV A 3" (PDF). 1954–1960. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-05. สืบค้นเมื่อ 2016-05-08. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  4. "Laos". Worldvisitguide.com.