ดินแดนในภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ
หน้าตา
ดินแดนในภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ (อังกฤษ: United Nations Trust Territories) เป็นผู้สืบทอดดินแดนในอาณัติของสันนิบาตชาติ (League of Nations mandates) โดยเริ่มเกิดขึ้นมาเมื่อสันนิบาตชาติถูกยุบในปี 1946
ดินแดนในภาวะทรัสตี (และอำนาจการปกครอง)
[แก้]อดีตการครอบครองของเยอรมนี
[แก้]ทั้งหมดนี้เดิมเคยเป็นดินแดนในอาณัติสันนิบาตชาติ
อดีตอาณานิคมของญี่ปุ่น
[แก้]ดินแดนในภาวะทรัสตี | ภายใต้การปกครอง | ชื่อเดิม | ยุคอาณานิคม | รัฐปัจจุบัน | คำอธิบาย |
---|---|---|---|---|---|
ดินแดนในภาวะทรัสตีหมู่เกาะแปซิฟิก | สหรัฐ | แปซิฟิกใต้ในอาณัติ | จักรวรรดิญี่ปุ่น | หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา | กลายเป็นเครือจักรภพสหรัฐในปี 1986 |
สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ | กลายเป็นรัฐภาคีของสหรัฐ หลังจากลงนามในสัญญาความสัมพันธ์เสรีปี 1986 | ||||
สหพันธรัฐไมโครนีเชีย | กลายเป็นรัฐภาคีของสหรัฐ หลังจากลงนามในสัญญาความสัมพันธ์เสรีปี 1986 | ||||
สาธารณรัฐปาเลา | กลายเป็นรัฐภาคีของสหรัฐ หลังจากลงนามให้สัตยาบันในสัญญาความสัมพันธ์เสรี ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี 1994 |
อดีตการครอบครองของอิตาลี
[แก้]ดินแดนในภาวะทรัสตี | ภายใต้การปกครอง | ชื่อเดิม | ยุคอาณานิคม | รัฐปัจจุบัน | คำอธิบาย |
---|---|---|---|---|---|
ดินแดนของโซมาเลีย | ประเทศอิตาลี | แอฟริกาตะวันออกของอิตาลี | จักรวรรดิอิตาลี | ประเทศโซมาเลีย | ในปี 1960 ดินแดนในภาวะทรัสตีได้รวมเข้ากับรัฐโซมาลีแลนด์ ตั้งเป็นสาธารณรัฐโซมาลี |
ดินแดนในภาวะทรัสตีที่มีการเสนอ
[แก้]- เยรูซาเลม: ภายใต้แผนแบ่งปาเลสไตน์ของสหประชาชาติ, เยรูซาเลมจะกลายเป็น corpus separatum การบริหารของสภาดินแดนในภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ ทั้งชาวอาหรับปาเลสไตน์และยีชูฟไม่เห็นด้วยกับวิธีแก้ปัญหานี้
- เกาหลี: ในการพูดยามสงครามของแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ มอบหมายเรื่องเกาหลีเป็นการเจรจาภายใต้อเมริกา–โซเวียต ในอำนาจทรัสตี การวางแผนอยู่ได้เกิดการเสียอำนาจหลังการตายโรสเวลต์ในวันที่ 12 เมษายน 1945 อย่างไรก็ตามมันเป็นเรืองชัดเจนในเดือนธันวาคม Moscow Conference และเป็นสาเหตุสำคัญในความวุ่นวายทางการเมืองในเกาหลี[1]
- เวียดนาม: โรเซอเวลต์ได้เสนอให้อินโดจีนของฝรั่งเศสอยู่ภายใต้ทรัสตีระหว่างประเทศ เพื่อเป็นทางเลือกแทนการปกครองแบบอาณานิคมของฝรั่งเศส และเอกราชในทันที[2]
- อิตาเลียนลิเบีย: ระหว่างปี 1945 ถึง 1947 สหภาพโซเวียตได้ยื่นข้อเสนอที่จะให้ ตริโปลิเตเนีย อยู่ภายใต้ภาวะทรัสตีของโซเวียตเป็นเวลาสิบปี or ภายใต้ภาวะทรัสตีของสหราชอาณาจักรและสหรัฐ หรือให้ลิเบียโดยรวมกลายเป็นภาวะทรัสตีของอิตาลี[3]
- ปาเลสไตน์ในอาณัติ: รัฐบาลสหรัฐภายใต้ แฮร์รี เอส. ทรูแมน เสนอสถานะดินแดนในภาวะทรัสตีของสหประชาชาติสำหรับปาเลสไตน์ในอาณัติปี 1948[4][5]
- หมู่เกาะรีวกีวและหมู่เกาะโองาซาวาระ: สนธิสัญญาซานฟรานซิสโกได้รวมบทบัญญัติที่ให้สหรัฐมีสิทธิที่จะเปลี่ยนการปกครองเหนือหมู่เกาะรีวกีวและโบนินให้เป็นดินแดนในภาวะทรัสตี แต่ก็ไม่สำเร็จก่อนที่อำนาจอธิปไตยจะกลับคืนสู่ญี่ปุ่นโดยสมัครใจ[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Gang Man-gil (1994). "한국사 17: 분단구조의 정착 1" ["17 Korean history: the settlement of the division structure 1"], pp. 133–137. 한길사 [Hangilsa], ISBN 978-89-356-0086-1
- ↑ แม่แบบ:CitationFrench colonial rule
- ↑ St John, Ronald Bruce (April 1982). "The Soviet Penetration of Libya". The World Today. 38 (4): 131–138. JSTOR 40395373.
- ↑ "The United States and the Recognition of Israel: A Chronology". Compiled by Raymond H. Geselbracht from Harry S. Truman and the Founding of Israel (Westport, Connecticut, 1997) by Michael T. Benson. Harry S. Truman Library and Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2012. สืบค้นเมื่อ 3 August 2014.
- ↑ Pugh, Jeffrey D. (2012-11-01). "Whose Brother's Keeper? International Trusteeship and the Search for Peace in the Palestinian Territories". International Studies Perspectives. 13 (4): 321–343. doi:10.1111/j.1528-3585.2012.00483.x. ISSN 1528-3577. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2017. สืบค้นเมื่อ 15 June 2017.
- ↑ "ARGENTINA, AUSTRALIA, BELGIUM, BOLIVIA, BRAZIL, etc. - Treaty of Peace with Japan (with two declarations)" (PDF). 1951-09-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 29 September 2017.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ดินแดนในภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ
- The United Nations and Decolonization: Trust Territories that Have Achieved Self-Determination
- WorldStatesmen – Index of Possessions and Colonies