รัฐสภาแขวน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สภาแขวน)

รัฐสภาแขวน (อังกฤษ: hung parliament) หรือ รัฐบาลที่มีเสียงข้างน้อยในสภา[1] เป็นศัพท์ที่ใช้ในสภานิติบัญญัติภายใต้ระบบเวสต์มินสเตอร์ เพื่อใช้อธิบายในเหตุการณ์ที่ไม่มีพรรคการเมืองหรือพันธมิตรเดิมใดมีสมาชิกสภานิติบัญญัติ (เรียกโดยทั่วไปว่าสมาชิกหรือที่นั่ง) มากถึงขั้นเป็นเสียงข้างมากเด็ดขาดในรัฐสภาหรือสภานิติบัญญัติอื่น เหตุการณ์นี้ยังมีศัพท์เรียกอีกว่า รัฐสภาได้ดุล (balanced parliament)[2][3] หรือเป็นสภานิติบัญญัติที่ไร้การควบคุมโดยรวม (no overall control, NOC)[4][5][6] และอาจได้ผลลัพธ์เป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย

ในระบบหลายพรรคการเมือง โดยเฉพาะที่ที่มีการปรับใช้การเลือกตั้งระบบสัดส่วนนั้น เป็นเรื่องยากที่พรรคใดพรรคหนึ่งจะครองที่นั่งเป็นส่วนมาก และนอกจากนั้น การที่พรรคการเมืองเดียวสามารถตั้งรัฐบาลได้ด้วยตัวเองนั้น เป็นเรื่องที่หายาก (กล่าวคือ มีรัฐบาลผสมเป็นเรื่องปกติ) ดังนั้น แนวคิดของ "รัฐสภาแขวน" จึงไม่เกี่ยวข้องในระบบเหล่านี้ เนื่องจากสภานิติบัญญัติที่ปราศจากเสียงข้างมากของพรรคเดียวถือเป็นเรื่องปกติ

ในระบบเวสต์มินสเตอร์ หากปราศจากเสียงข้างมากที่ชัดเจน จะไม่มีพรรคหรือพันธมิตรใดได้อำนาจบริหารโดยอัตโนมัติ สถานะนี้มักเรียกกันในระบบรัฐสภาว่า "การจัดตั้งรัฐบาล" อย่างไรก็ตาม การตั้งเสียงข้างมากเด็ดขาดนั้นยังเป็นไปได้จากการตั้งรัฐบาลผสมหรือการเพิ่มสมาชิกใหม่ให้เข้าร่วมกับพันธมิตรเดิมที่มีอยู่แล้ว นอกจากนี้ ยังอาจมีการตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยขึ้นแทน กล่าวคือ พรรคที่มีสมาชิกมากที่สุดจะได้รับอนุญาตให้จัดตั้งรัฐบาลโดยปราศจากเสียงข้างมากเด็ดขาด โดยมีเงื่อนไขว่าพรรคจะต้องได้รับการสนับสนุนที่ชัดเจนและต่อเนื่องจากสมาชิกที่ไม่ได้สังกัด เช่น พรรคเล็กหรือสมาชิกสภานิติบัญญัติอิสระ

อ้างอิง[แก้]

  1. "คําศัพท์รัฐสภาภาษาอังกฤษ". parliament.go.th. สํานักภาษาต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร. สืบค้นเมื่อ 17 May 2023.
  2. "Balanced parliament: No need to rush". The Guardian. London. 2010-05-05.
  3. "SNP puts case for hung parliament". BBC News. 2010-04-20.
  4. "Q+A - What happens if no party gets a majority in UK election?". Reuters. May 7, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-16. สืบค้นเมื่อ 2023-05-19.
  5. Paun, Akash (2009-12-04). "Hung up on 'no overall control'". The Guardian. London.
  6. "Welcome to the era of no overall control". New Statesman. 12 May 2010. สืบค้นเมื่อ 2013-12-27.