สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย)
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก สนช.)
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในประเทศไทย หมายถึง สภาที่ทำหน้าที่ออกกฎหมายแทนสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา มักเกิดขึ้นหลังจากคณะรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลพลเรือนและประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองหรือรัฐธรรมนูญชั่วคราวแทนรัฐธรรมนูญถาวร สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีลักษณะเป็นสภาเดี่ยวซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะรัฐประหาร ซึ่งรัฐธรรมนูญบางฉบับอาจกำหนดให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญอีกหน้าที่หนึ่ง[1]
จนถึงปัจจุบันราชอาณาจักรไทยมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังนี้
- สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2515 แต่งตั้งขึ้นหลัง จอมพล ถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหารตนเอง
- สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2516 แต่งตั้งขึ้นในรัฐบาลสัญญา ธรรมศักดิ์ หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา เป็นสภาชุดแรกและชุดเดียวในราชอาณาจักรไทยที่ไม่ได้จากคณะรัฐประหาร
- สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2520 แต่งตั้งขึ้นหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2520 คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน นำโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร
- สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2534 แต่งตั้งขึ้นหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ นำโดย พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ และพลเอก สุจินดา คราประยูร ยึดอำนาจรัฐบาลพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
- สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 แต่งตั้งขึ้นหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นำโดย พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ยึดอำนาจรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
- สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2557 แต่งตั้งขึ้นหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ นำโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยึดอำนาจรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งในขณะนั้นมี นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี
รายนามประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
[แก้]ลำดับ | ชุด | รูป | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ |
1 | 1 | พลตรีศิริ สิริโยธิน | 18 ธันวาคม พ.ศ. 2515[2] | 11 ธันวาคม พ.ศ. 2516 | |
2 | 2 | พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช | 29 ธันวาคม พ.ศ. 2516[3] | 7 ตุลาคม พ.ศ. 2517 | |
3 | ประภาศน์ อวยชัย | 17 ตุลาคม พ.ศ. 2517[4] | 25 มกราคม พ.ศ. 2518 | ||
4 | 3 | พลอากาศเอก หะริน หงสกุล | 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520[5] | 22 เมษายน พ.ศ. 2522 | |
5 | 4 | อุกฤษ มงคลนาวิน | 2 เมษายน พ.ศ. 2534[6] | 21 มีนาคม พ.ศ. 2535 | |
6 | 5 | มีชัย ฤชุพันธุ์ | 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549[7] | 28 มกราคม พ.ศ. 2551 | |
7 | 6 | พรเพชร วิชิตชลชัย | 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557[8] | 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, สถาบันพระปกเกล้า, 26 กรกฎาคม 2557
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (๑.พลตรี ศิริ สิริโยธิน ๒.นายทวี แรงขำ ๓.พลเรือเอก กมล สีตกะลิน)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (๑. นายประภาศน์ อวยชัย เป็นประธาน ๒. นายบุญชนะ อัตถากร เป็นรองประธาน)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นายอาษา เมฆสวรรค์ รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ ๑ พลเอก วิชิต บุณยะวัฒน์ รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ ๒)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (นายมีชัย ฤชุพันธุ์ พลเอก จรัล กุลละวณิชย์ นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช)
- ↑ ด่วน!!! นายพรเพชร วิชิตชลชัย ได้รับเลือกเป็นประธาน สนช.ตามโผ, sanook news, 27 สิงหาคม 2557