ข้ามไปเนื้อหา

สงครามประกาศอิสรภาพยูเครน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามประกาศอิสรภาพยูเครน
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันออกของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
สงครามโปแลนด์–โซเวียต
และแนวรบด้านใต้ของสงครามกลางเมืองรัสเซีย

ฝ่ายฝักใฝ่สภากลางยูเครนรวมตัวชุมนุม ณ จัตุรัสซอฟีย์สกา ในกรุงเคียฟ เมื่อ ค.ศ. 1917
วันที่7 มีนาคม ค.ศ. 1917 – 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1921
(4 ปี 8 เดือน 1 สัปดาห์ 3 วัน)
สถานที่
ทางตอนกลางและตะวันออกของยุโรป
ผล บอลเชวิคชนะ
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
พื้นที่ส่วนใหญ่ของยูเครนถูกกองทัพแดงพิชิต นำไปสู่การจัดตั้งสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนภายใต้การครอบงำของสหภาพโซเวียต ในขณะที่รัฐเอกราชโปแลนด์ได้รับดินแดนยูเครนตะวันตกส่วนใหญ่
คู่สงคราม
อื่น ๆ:


มัคนอว์ชชือนา



ฝ่ายสัมพันธมิตร:
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

เอช. ฟ็อน อิชฮอร์น 
กำลัง

กองทัพแดง


กองทัพดำ: 103,000 (สูงสุด)

กองทัพอาสาสมัคร: 40,000 (peak)


กองทัพจักรวรรดิเยอรมัน


สงครามประกาศอิสรภาพยูเครน หรือ การปฏิวัติยูเครน เป็นการปะทะกันระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงหลังการปฏิวัติเดือนตุลาคม ค.ศ. 1917 และเป็นส่วนหนึ่งในสมรภูมิของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่ยังคงดำเนินต่อไป ซึ่งถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่เอื้ออำนวยต่อการล่มสลายของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีและรัสเซีย จากการล่มสลายของสองจักรวรรดิใหญ่ที่ครอบครองยูเครนได้สร้างผลกระทบอย่างมากต่อขบวนการชาตินิยมยูเครน ซึ่งก่อตัวขึ้นมาในช่วงเวลาอันสั้นเพียงสี่ปีภายใต้การสนับสนุนจากรัฐบาลหรือองค์กรต่าง ๆ ในช่วงเวลานี้มักถูกกล่าวถึงเกี่ยวกับการมุ่งเน้นทางสุทรรศนนิยมและการสร้างชาติอย่างโดดเด่น แต่ภายในประเทศกลับเกิดความโกลาหลและสงครามกลางเมือง สงครามสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1921 ซึ่งนำไปสู่การแบ่งดินแดนของยูเครนในปัจจุบันระหว่างยูเครนโซเวียต (สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนเป็นสาธารณรัฐองค์ประกอบของสหภาพโซเวียต) และสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 อีกทั้งยังมีพื้นที่ส่วนน้อยที่มอบให้กับเบลารุส เชโกสโลวาเกีย และโรมาเนียด้วย

ภายหลังจากการสละราชสมบัติของจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 บรรดาผู้นำทางสังคมยูเครนในเคียฟได้จัดตั้งสภากลางยูเครน (Tsentralna Rada) ขึ้น โดยมีมือคัยลอ ฮรูแชวสกึย เป็นประธาน และได้รับการรับรองเบื้องต้นจากรัฐบาลชั่วคราวรัสเซียในเปโตรกราด (เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก) ภายในสภากลางยูเครนเป็นการร่วมมือกันกองกำลังต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวรัสเซียที่เป็นสมาชิกสภาโซเวียตแรงงานและทหารในยูเครน (โดยเป็นส่วนหนึ่งของเมนเชวิคและบอลเชวิค) และได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกของกองทัพแดงยูเครนอย่างรวดเร็ว เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1917 สภากลางออกประกาศสากลที่หนึ่งว่าด้วยการประกาศปกครองตนเองของยูเครนภายใต้สหพันธรัฐรัสเซีย ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างมากยิ่งจากการประชุมใหญ่แห่งสภาชาวนาแห่งยูเครนทั้งปวงครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน

ไม่นานหลังจากการก่อการกำเริบโดยบอลเชวิคตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายนในเปโตรกราด (รู้จักกันในชื่อ "การปฏิวัติเดือนตุลาคม" ซึ่งสาเหตุที่เรียกเช่นนี้เพราะความแตกต่างของปฏิทินที่ใช้) สภากลางยูเครนจึงออกประกาศสากลที่สามเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1917 ว่าด้วยการประกาศอิสรภาพสาธารณรัฐประชาชนยูเครน ณ กรุงเคียฟ ในช่วงเริ่มแรกสาธารณรัฐประชาชนประกาศปกครองตนเองและให้การสนับสนุนสหพันธรัฐรัสเซีย ต่อมาพรรคบอลเชวิคยูเครนได้เข้าร่วมประชุมสภาครั้งใหม่ที่จัดขึ้นในเคียฟเมื่อเดือนธันวาคม เนื่องด้วยความหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนจากสภาโซเวียตทั่วยูเครน แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับกลายเป็นว่าพวกเขาเป็นฝ่ายเสียงข้างน้อยในสภาที่มีผู้แทน 2,500 คน สมาชิกบอลเชวิคประมาณ 100 คน พร้อมกับสมาชิกกลุ่มอื่น ๆ อีกสองสามคน จึงออกจากสภาแล้วไปเข้าร่วมกับสภาผู้แทนท้องถิ่นในฮาร์คอฟแทน และเปลี่ยนชื่อเป็น "การประชุมใหญ่แห่งสภาโซเวียตแรงงาน ทหาร และชาวนาแห่งยูเครนทั้งปวง" พร้อมทั้งประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนยูเครนแห่งโซเวียตเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1917 ในฐานะส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐรัสเซียโซเวียต

ความสัมพันธ์ระหว่างสาธารณรัฐประชาชนยูเครนและสาธารณรัฐโซเวียตยูเครนเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว จนนำไปสู่การเปิดฉากของสงครามกลางเมืองภายในประเทศ โดยบอลเชวิคได้รับการสนับสนุนจากกองทัพแดง สาธารณรัฐประชาชนยูเครนสูญเสียกรุงเคียฟให้กับบอลเชวิคในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ภายหลังสามารถยึดคืนและยังคงควบคุมยูเครนส่วนใหญ่ไว้ได้ ทำให้บอลเชวิคล่าถอยไปยังตากันรอก บริเวณใกล้เคียงกะบทะเลอะซอฟ การเป็นพันธมิตรกันระหว่างบอลเชวิคและกองทัพดำอนาธิปไตย ทำให้บอลเชวิคสามารถยึดพื้นที่ส่วนหนึ่งของยูเครนคืนได้ โดยอาศัยจังหวะจากการที่สาธารณรัฐประชาชนกำลังต่อสู้กับสมรภูมิอื่น ๆ ทางตะวันตก

สาธารณรัฐประชาชนยูเครนตะวันตกได้รับการจัดตั้งขึ้นในลวิวเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 1918 และต่อมาเข้ารวมกับสาธารณรัฐประชาชนยูเครน ซึ่งไม่นานนักก็ถูกแทนที่โดยรัฐยูเครนของเปาลอ สกอรอปัดสกึย ภายใต้การสนับสนุนจากเยอรมนี แต่ในเวลาอันสั้นสาธารณรัฐประชาชนยูเครนได้รับการฟื้นฟูกลับมาอีกครั้งโดยคณะกรรมาธิการยูเครน ภายหลังจากการปลดสกอรอปัดสกึยและการถอนกำลังของกองทัพเยอรมัน เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1918 มีการลงนามในสนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์ระหว่างตัวแทนของฝ่ายมหาอำนาจกลางและสภากลางยูเครนกลาง ซึ่งก่อนหน้านั้นหนึ่งเดือนได้มีการลงนามมาก่อนกับรัฐบาลเลนิน (ซอฟนาร์คอม) เมื่อจักรวรรดิเยอรมันประกาศยอมจำนนในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ยูเครนจึงได้รับการฟื้นฟูเอกราช แต่ถึงอย่างนั้นสาธารณรัฐยังต้องเผชิญกับการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนของรัสเซียโซเวียตและสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 ที่ตั้งขึ้นใหม่ ซึ่งต้องการผนวกแคว้นกาลิเชียตะวันออกจากสาธารณรัฐประชาชนยูเครนตะวันตกที่รวมเป็นหนึ่งเดียวกับสาธารณรัฐประชาชนประชาชนเมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1919

การรวมสหภาพกันระหว่างสาธารณรัฐยูเครนทั้งสองเกิดขึ้นหนึ่งปีให้หลังจากการออกประกาศสากลที่สี่ว่าด้วยการประกาศอิสรภาพทั้งมวลของสาธารณรัฐประชาชนยูเครนออกจากรัสเซียโซเวียต ในทางตะวันตก กองทัพกาลิเชียต่อสู้เพื่อเอกราชกับโปแลนด์ในสงครามโปแลนด์-โซเวียต แต่กลับพ่ายแพ้อย่างยับเยิน สาธารณรัฐประชาชนยูเครนตะวันตกถูกยุบเลิกและรวมดินแดนดังกล่าวเข้ากับสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 แม้โปแลนด์จะพิชิตยูเครน แต่สาธารณรัฐประชาชนยูเครนยังคงเลือกลงนามเป็นพันธมิตรกับโปแลนด์เพื่อพยายามรับประกันความอยู่รอดในดินแดนส่วนที่เหลือ ซึ่งประสบความล้มเหลว เนื่องจากการลงนามสันติภาพแยกระหว่างโปแลนด์และโซเวียตในสนธิสัญญาสันติภาพรีกา

ดูเพิ่ม

[แก้]

บรรณานุกรม

[แก้]