สงครามตองอู–อยุธยา (ค.ศ. 1662–1664)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามตองอู–อยุธยา (ค.ศ. 1662–1664)
ส่วนหนึ่งของ สงครามพม่า–ไทย
วันที่ราว ค.ศ. 1662–1664
สถานที่
ผล พม่ามีชัยในการตั้งรับ
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
เหมือนเดิมก่อนเกิดสงคราม
คู่สงคราม
ราชวงศ์ตองอู กรุงศรีอยุธยา
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
พระเจ้าปเย สมเด็จพระนารายณ์
เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก)
หน่วยที่เกี่ยวข้อง

กองทัพบกพม่า
กองทัพเรือพม่า
รวมถึง:

กองทัพล้านนา

กองทัพไทย
รวมถึง:

ทหารอาสาชาวมอญ
กำลัง
ไม่ทราบ ไม่ทราบ

สงครามตองอู–อยุธยา (ค.ศ. 1662–1664) เป็นสงครามระหว่างราชวงศ์ตองอูแห่งพม่าและกรุงศรีอยุธยาของไทยในช่วง ค.ศ. 1662–1664

ภูมิหลัง[แก้]

ภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

ใน ค.ศ. 1664 กองทัพแมนจูซึ่งอยู่นอกกำแพงเมืองจีนบุกเข้ายึดเป่ย์จิงเมืองหลวงของราชวงศ์หมิง ประกาศล้มเลิกราชวงศ์หมิง และจัดตั้งราชวงศ์ชิงขึ้นแทนที่[1] ภายในสองปีถัดมา ขณะที่ราชวงศ์ชิงพยายามขยายอำนาจเข้าสู่ภาคเหนือของจีนนั้น จู โหยวหลาง (朱由榔) จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์หมิงใต้กับผู้ภักดีที่ยังเหลือก็พยายามรวมตัวกันอยู่ทางใต้ ครั้นปลายเดือนมกราคม ค.ศ. 1659 องค์ชายตัวหนี (多尼) แห่งราชวงศ์ชิงนำทัพเข้ายึดยฺหวินหนาน (雲南) ไว้ได้ ทำให้จู โหยวหลาง หลีกลี้เข้าสู่พม่าซึ่งอยู่ใกล้เคียงและเวลานั้นมีผู้ปกครอง คือ พระเจ้าปีนดะเลแห่งราชวงศ์ตองอู[2]

การรุกรานครั้งแรก[แก้]

ใน ค.ศ. 1660 กองทัพจีนบุกถึงอังวะเพื่อตามจับตัวจู โหยวหลาง และใน ค.ศ. 1661 พระอนุชาของพระเจ้าปีนดะเลยึดอำนาจ ถอดพระเจ้าปีนดะเลออกจากราชสมบัติ แล้วขึ้นครองราชย์แทน ทรงพระนาม พระเจ้าปเย สมเด็จพระนารายณ์แห่งกรุงศรีอยุธยาทรงเล็งเห็นว่า อาจเป็นโอกาสที่อำนาจของพม่าในล้านนาเริ่มคลอนแคลน ควรจะส่งทัพไปโจมจับล้านนามาเป็นเมืองขึ้น จึงทรงดำเนินการตามนั้น แม้การทัพครั้งนี้จะทำได้เพียงยึดลำปางและเมืองเล็กเมืองน้อยแห่งอื่น ๆ แต่ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1662 ก็เบนเข็มไปเมาะตะมะ ครั้งนี้ยึดชายฝั่งตะนาวศรีตอนบนได้ โชคยังดีสำหรับพม่าที่ปัญหากับจีนได้สิ้นลง จึงส่งทัพบกทัพเรือมายึดเมาะตะมะและทวายคืนได้ภายในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1662 แล้วยกตามตีทัพอยุธยาที่ถอยหนีไป แต่ถูกอยุธยาตีโต้บริเวณกาญจนบุรี เสียหายยับเยิน[3][4]

การรุกรานครั้งที่สอง[แก้]

กรุงศรีอยุธยาส่งทัพไปยึดล้านนาอีกครั้ง การบุกเข้านครเชียงใหม่ครั้งนี้ทำให้เหล่าผู้ปกครองชาวพม่าในล้านนาต้องตื่นตระหนก ทัพอยุธยายึดเชียงใหม่ได้ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1663 ทัพหนุนพม่าที่มาช่วยล่าช้าก็ถูกตีแตกจนต้องร่นหนี ครั้นเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1663 อยุธยารุกเข้าตะนาวศรีเป็นสองทาง คือ เมาะตะมะกับมะละแหม่งทางเหนือ และทวายทางใต้ ทัพพม่าต้านการโจมตีจากอยุธยาไว้ได้จนถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1664 ซึ่งเข้าฤดูฝน ทำให้อยุธยาก็ถอยกลับไป

ขณะเดียวกัน ทัพอยุธยาที่ประจำอยู่ในเชียงใหม่ถูกล้อมกักไว้ในเมืองร้างเมืองหนึ่ง และถูกกองกำลังต่อต้านลอบโจมตีทุกครั้งที่ก้าวออกนอกเมือง จนปลายเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1664 ทัพอยุธยาจึงกวาดครัวอพยพกลับไปอยุธยา[5]

ผลสืบเนื่อง[แก้]

เหตุการณ์เหล่านี้นับเป็นการศึกใหญ่ครั้งสุดท้ายระหว่างตองอูกับอยุธยาจนถึง ค.ศ. 1760 กระนั้น ก็มีการปะทะกันประปรายในช่วง ค.ศ. 1675–1676 และ ค.ศ. 1700–1701

อ้างอิง[แก้]

  1. Keay, John (2008). China: A History. Harper. p. 410.
  2. Dennerline 2002, p. 117.
  3. Phayre 1967: 139
  4. Harvey 1925: 198
  5. Hmannan Vol. 3 2003: 277

บรรณานุกรม[แก้]