สกุลลิงซ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สกุลลิงซ์
ลิงซ์แคนาดา (Lynx canadensis)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Felidae
วงศ์ย่อย: Felinae
สกุล: Lynx
Kerr, 1792
ชนิดต้นแบบ
Felis lynx
Linnaeus, 1758
ชนิด
ดูในเนื้อหา
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์

สำหรับลิงซ์ในความหมายอื่น ดูที่: Lynx

สกุลลิงซ์ (อังกฤษ: lynx, bobcat) เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อสกุลหนึ่ง จัดเป็นเสือขนาดเล็ก ใช้ชื่อสกุลว่า Lynx อยู่ในวงศ์เสือและแมว (Felidae)

คำว่า Lynx ที่ใช้เป็นชื่อสกุล มีที่มาจากภาษาอังกฤษสมัยกลาง ที่มาจากภาษากรีกคำว่า "λύγξ"[1] หรือมาจากรากศัพท์ภาษาอินโด-ยูโรเปียนคำว่า "ลุก" หมายถึง "แสงสว่าง" ซึ่งหมายถึงตาของลิงซ์ที่แวววาว[2]

ลิงซ์ มีลักษณะทั่วไปเหมือนแมวในสกุล Felis ทำให้ครั้งหนึ่งมีการพิจารณาว่า ควรมีสกุลเป็นของตนเองหรือไม่ หรือแค่จัดเป็นสกุลย่อยของสกุล Felis[3][4] แต่ปัจจุบันได้ยอมรับว่าเป็นสกุลของตนเอง โดย จอห์นสัน และคนอื่น ๆ รายงานว่า ลิงซ์ได้มีเครือบรรพบุรุษร่วมกับ เสือพูม่า, แมวดาว และเชื้อสายของแมวบ้าน เมื่อ 7.15 ล้านปีมาแล้ว และลิงซ์ได้แยกตัวออกมาเป็นกลุ่มแรก เมื่อประมาณ 3.24 ล้านปีก่อน[5]

ลักษณะเด่นของลิงซ์ คือ มีขนที่หนาและปุกปุยกว่าตั้งแต่หางตาตลอดจนแก้ม มีจุดเด่น คือ ขนปลายหูที่เป็นพู่แหลมชี้ตั้งขึ้นตรง ลำตัวมีความยาวประมาณ 2 ฟุตครึ่ง แต่มีส่วนหางที่สั้นไม่สมมาตรกับลำตัว อุ้งเท้ามีขนาดกว้างใหญ่ ทำให้เดินบนหิมะและน้ำแข็งได้อย่างสะดวก ลิงซ์มีอุปนิสัยชอบลับเล็บกับต้นไม้ เหมือนกับสัตว์ในวงศ์นี้ทั่วไป ลิงศ์เป็นสัตว์ที่กินเนื้อได้หลากหลาย ตั้งแต่สัตว์เล็กเช่น นก, หนู, กระต่าย จนกระทั่งสัตว์ขนาดใหญ่กว่า เช่น ลูกวัว และลูกแกะ เป็นต้น[6]

ลิงซ์ กระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ทวีปเอเชียตอนเหนือและตอนกลาง, ทวีปยุโรป และอเมริกาเหนือ โดยอนุกรมวิธานออกเป็นชนิดได้ทั้งหมด 4 ชนิด

การจำแนก[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Definition of lynx from Oxford Dictionary". Oxford Dictionary. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-12. สืบค้นเมื่อ October 5, 2010.
  2. "Lynx". สืบค้นเมื่อ October 5, 2010.
  3. Zielinski, William J; Kuceradate, Thomas E (1998). American Marten, Fisher, Lynx, and Wolverine: Survey Methods for Their Detection. DIANE Publishing. pp. 77–8. ISBN 0-7881-3628-3.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  4. Carron Meaney; Gary P. Beauvais (2004). "Species Assessment for Canada Lynx (Lynx canadensis) in Wyoming" (PDF). United States Department of the Interior, Bureau of Land Management. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-26. สืบค้นเมื่อ 2007-06-25. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  5. Johnson, W.E., Eizirik, E., Pecon-Slattery, J., Murphy, W.J., Antunes, A., Teeling, E. & O'Brien, S.J. (2006). "The Late Miocene radiation of modern Felidae: A genetic assessment". Science. 311 (5757): 73–77. doi:10.1126/science.1122277. PMID 16400146.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. หน้า 106, สัตว์สวยป่างาม (พ.ศ. 2518) โดย ชมรมนิเวศวิทยามหาวิทยาลัยมหิดล
  7. จาก itis.gov (อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Lynx ที่วิกิสปีชีส์