ศูนย์เสรีภาพพลเมือง (องค์การด้านสิทธิมนุษยชน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศูนย์เสรีภาพพลเมือง
ก่อตั้ง30 พฤษภาคม 2007; 16 ปีก่อน (2007-05-30)
ประเภทองค์การด้านสิทธิมนุษยชน
วัตถุประสงค์กลุ่มสิทธิมนุษยชน
สํานักงานใหญ่เคียฟ ประเทศยูเครน[1]
ประธาน
ออแลกซันดรา มัตวีย์ชุก
รางวัลรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ (2022)
เว็บไซต์ccl.org.ua/en/

ศูนย์เสรีภาพลเมือง (ยูเครน: Центр Громадянських Свобод, อักษรโรมัน: Tsentr Hromadyansʹkykh Svobod; อังกฤษ: Center for Civil Liberties) เป็นองค์การด้านสิทธิมนุษยชนสัญชาติยูเครน นำโดยออแลกซันดรา มัตวีย์ชุก นักกฎหมายชาวยูเครน[2] องค์การก่อตั้งขึ้นในปี 2007[3][4] โดยมีเป้าหมายเพื่อกดดันรัฐบาลของยูเครนให้นำพาประเทศให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น[5][6] องค์การได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 2022 ร่วมกับอาเลส เบียเลียตสกี ชาวเบลารุส และองค์การเมมมอเรียลสัญชาติรัสเซีย[3]

ศูนย์ก่อตั้งขึ้นในเคียฟ ประเทศยูเครน เมื่อวนัมี่ 30 พฤษภาคม 2007[3][4] และมีบทบาทในการเสนอการแปรญัติกฎหมายเพื่อผลักดันยูเครนให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และปรับปรุงการควบคุมหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย และ หน่วยงานด้านยุติธรรมของรัฐบาลกลาง[5] หนึ่งในเป้าหมายหลักของศูนย์คือการปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญาของยูเครน[5]

หลังรัสเซียผนวกไครเมียในปี 2014 และหลังสงครามในดอนบัสปะทุขึ้นในปีเดียวกันนั้น องค์การเริ่มหันมาทำการเก็บบันทึกการตัดสินลงโทษทางการเมืองต่าง ๆ ในไครเมีย และเขตแดนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์และสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์ซึ่งเป็นกลุ่มแบ่งแยกดินแดนรัสเซีย[7] นอกจากนี้ องค์การยังเคลื่อนไหวเรียกร้องในระดับนานาชาติให้มีการปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองของรัสเซีย, ไครเมีย และดอนบัส[5][8]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Nobel Committee Champions Human Rights With 2022 Peace Prize". Radio Free Europe (ภาษาอังกฤษ). 2022-10-07. สืบค้นเมื่อ 2022-10-07.
  2. "Oleksandra Matviychuk - Ukraine | Coalition for the International Criminal Court". www.coalitionfortheicc.org. สืบค้นเมื่อ 17 August 2021.
  3. 3.0 3.1 3.2 "The Nobel Peace Prize 2022". NobelPrize.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-10-07.
  4. 4.0 4.1 "Ukraine's Center for Civil Liberties becomes one of Nobel Peace Prize laureates". Ukrinform (ภาษาอังกฤษ). 2022-10-07. สืบค้นเมื่อ 2022-10-07.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Todorov, Svetoslav (2022-02-14). "Meet Oleksandra Matviichuk from Ukraine". Friedrich Naumann Foundation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-10-07.
  6. Specia, Megan; Mykolyshyn, Oleksandra (2022-10-07). "Ukraine's Center for Civil Liberties was documenting rights violations long before Russia's full-scale invasion". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2022-10-08.
  7. "Belarus, Ukraine, Russia activists win Nobel Peace Prize". BBC News (ภาษาอังกฤษ). 2022-10-07. สืบค้นเมื่อ 2022-10-07.
  8. "Oleksandra Matviichuk". religiousfreedom.in.ua. สืบค้นเมื่อ 17 August 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]