วิวัฒนาการในมุมมองของศาสนาอิสลาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิวัฒนาการในมุมมองของศาสนาอิสลามมีความหลากหลาย โดยอยู่ในขอบเขตตั้งแต่วิวัฒนาการแบบเทวนิยมถึงรังสรรค์นิยมแบบโลกมีอายุมาก[1] มุสลิมทั่วโลกบางส่วนเชื่อว่า "มนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ วิวัฒนาการไปตามกาลเวลา"[2][3] ในขณะที่บางส่วนเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตยังคง "ดำรงอยู่ในรูปปัจจุบันเสมอ"[4] มุสลิมบางส่วนเชื่อว่า กระบวนการของชีวิตบนโลกเริ่มต้นจากจุดเดียวของสายพันธุ์[5]ที่มีส่วนผสมของน้ำและมีสารคล้ายดินเหนียวหนืด[6][7] นักคิดมุสลิมได้เสนอและยอมรับองค์ประกอบของทฤษฎีวิวัฒนาการ บางคนมีความเชื่อถึงอำนาจสูงสุดของของพระเจ้า นักวิชาการบางส่วนเสนอแนะว่า ทั้งเรื่องเล่าการสร้างสรรค์และวิวัฒนาการตามที่วิทยาศาสตร์สมัยใหม่เข้าใจนั้น มุสลิมสมัยใหม่อาจเชื่อว่าเป็นการกล่าวถึงความจริงสองประเภทที่แตกต่างกัน คือ แบบที่ได้รับโองการและแบบเชิงประจักษ์[8] ในขณะที่บางส่วนโต้แย้งว่าความศรัทธาและวิทยาศาสตร์สามารถบูรณาการและเสริมซึ่งกันและกันได้[9]

ประวัติ[แก้]

เทววิทยา[แก้]

เรื่องราวการสร้างโลกในอัลกุรอานไม่ได้ปรากฏในบทเดียวเหมือนกับคัมภีร์ไบเบิล แต่สามารถปะติดปะต่อจากโองการต่าง ๆ ทั่วทั้งเล่มได้[10]

การสร้างจักรวาล[แก้]

นักวิชาการมุสลิมสมัยใหม่บางส่วนสนับสนุนให้ตีความคำว่า อัสซะมาอ์ เชื่อกันว่าเป็นการอ้างอิงถึงทั้งท้องฟ้าและชั้นฟ้าทั้งเจ็ด[11] และหมายถึงจักรวาลโดยรวมด้วย ดังนั้น พวกเขาจึงโต้แย้งว่ากุรอานยืนยันบิกแบงในซูเราะฮ์ อัลอันบิยาอ์[12][13][14][15][16] โดยในโองการนั้นระบุว่า "ชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินนั้นแต่ก่อนนี้รวมติดเป็นอันเดียวกัน" ก่อนที่จะแยกจากกัน:[17]

และบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาเหล่านั้นไม่เห็นดอกหรือว่า แท้จริงชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินนั้นแต่ก่อนนี้รวมติดเป็นอันเดียวกัน แล้วเราได้แยกมันทั้งสองออกจากกัน และเราได้ทำให้ทุกสิ่งมีชีวิตมาจากน้ำ ดังนั้นพวกเขาจะยังไม่ศรัทธาอีกหรือ

— กุรอาน 21:30

มุมมองที่ว่ากุรอานอ้างอิงถึงภาวะเอกฐานเบื้องต้นของบิกแบงก็เป็นที่ยอมรับจากนักวิชาการมุสลิมหลายคน เช่น มุฮัมมัด ฏอฮิรุลกอดิรี และมุฮัมมัด อะซัด[18][19] มุสลิมหลายคนตีความเรื่องราวการสร้างจักรวาลของอัลกุรอานในบริบทของวิทยาศาสตร์ และนักวิชาการบางส่วน อย่าง Faheem Ashraf จาก Islamic Research Foundation International, Inc. และชัยค์ อุมัร ซุลัยมานจาก Yaqeen Institute for Islamic Research โต้แย้งว่า อัลกุรอานได้กล่าวถึงทฤษฎีจักรวาลขยายตัวในซูเราะฮ์ อัษษาริยาต:[18][20][21]

และชั้นฟ้า เราได้สร้างมันด้วยความแข็งแกร่ง และแท้จริงเราได้แผ่ให้กว้างไพศาล

— กุรอาน 51:47

นักวิชาการสมัยใหม่บางคนเข้าใจว่า "ไอหมอก" ที่ปรากฏในซูเราะฮ์ ฟุศศิลัตอาจสื่อถึงช่วงไม่กี่นาทีหลังบิกแบง เมื่อเอกภพมีไฮโดรเจนและฮีเลียมร้อนเป็นหลัก:[16]

แล้วพระองค์ทรงมุ่งสู่ฟากฟ้าขณะที่มันเป็นไอหมอก พระองค์จึงตรัสแก่ชั้นฟ้าและแผ่นดินว่า "เจ้าทั้งสองจงมาจะโดยเต็มใจหรือไม่เต็มใจก็ตาม" มันทั้งสองกล่าวว่า "ข้าพระองค์มาอย่างเต็มใจแล้ว"

— กุรอาน 41:11

ช่วงเวลาในการสร้างสรรค์นั้นอยู่ในระยะเวลา 6 วัน[22] มุสลิมส่วนใหญ่มีความเห็นว่า 6 วันในที่นี้ไม่ใช่วันสุริยคติ แต่เป็นเวลาที่สัมพันธ์กัน ซึ่งเริ่มต้นจากจุดเริ่มต้นของจักรวาล

อัลมุอัยยัด ฟีดดีน อัชชีรอซี นักคิดมุสลิมในรัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาฏิมียะฮ์ ตำหนิแนวคิดเรื่องการสร้างโลกใน 6 วันสุริยคติ ซึ่งได้แก่ 24 ชั่วโมง 1,000 หรือ 50,000 ปี เขาตั้งคำถามว่าการสร้างสรรค์สามารถวัดเป็นหน่วยเวลาที่ยังไม่ได้สร้างขึ้นได้อย่างไร เช่นเดียวกับวิธีที่ผู้สร้างที่ทรงพลังอย่างไร้ขอบเขตสามารถถูกจำกัดด้วยข้อจำกัดของเวลา เนื่องจากเวลาเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์ของพระองค์เอง

ในอัลกุรอาน คำว่าเยาม์เป็นที่เข้าใจว่าเป็นระบะเวลาที่ยาวนาน นั่นคือ ยุคหรือสมัย ดังนั้น มุสลิมหลายคนจึงตีความคำอธิบายของการทรงสร้าง "หกวัน" ว่าเป็นหกยุคหรือสมัยที่แตกต่างกัน ความยาวของช่วงเวลาเหล่านี้ไม่ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจน และไม่ได้กำหนดพัฒนาการเฉพาะที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา[23]

แนวคิด"วันแห่งการพัก"ไม่ปรากฏในอัลกุรอาน และแนวคิดที่ว่าพระเจ้าต้องการพักผ่อนหลังจากการสร้างสรรค์เนื่องด้วยความเหนื่อยล้านั้น ถูกปฏิเสธอย่างชัดเจนในโองการนี้:[24][25][26]

และโดยแน่นอน เราได้สร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน และสิ่งที่อยู่ระหว่างมันทั้งสองในเวลา 6 วัน และไม่มีความเหน็ดเหนื่อยใด ๆ มาสัมผัสเรา

— กุรอาน 50:38[27]

การสร้างชีวิต[แก้]

การสร้างมนุษย์[แก้]

สถิติ[แก้]

งานวิจัยใน ค.ศ. 2000 ที่ดำเนินการโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอกลาโฮมาพบว่าผู้ร่วมมือร้อยละ 19 เชื่อว่าหลักคำสอนของศาสนาอิสลามไม่ขัดแย้งกับทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วิน ในขณะที่ร้อยละ 81 เชื่อว่ามีบางส่วนที่ขัดแย้งระหว่างศาสนาอิสลามกับลัทธิดาร์วิน[28] ครูสอนศาสนาอิสลาม หนึ่งในผู้มีส่วนร่วม ยืนหยัดคัดค้านทฤษฎีวิวัฒนาการ แม้ว่าจะเต็มใจยอมรับบางแง่มุมที่เสนอโดยทฤษฎีนี้ก็ตาม[29] ผู้มีส่วนร่วมที่เชื่อว่าไม่มีความขัดแย้งระหว่างศาสนาอิสลามกับทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วินถูกแยกออก เนื่องจากเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ที่เป็นไปได้ระหว่างอันดับวานรและมนุษย์ โดยมีผู้มีส่วนร่วมเพียงร้อยละ 6 เท่านั้นที่เห็นว่าไม่มีปัญหากับการยืนยันดังกล่าว[30]

ตามรายงานใน ค.ศ. 2008 มีการรวมชีววิทยาวิวัฒนาการเข้าในหลักสูตรมัธยมปลายของประเทศมุสลิมส่วนใหญ่ เมื่อเร็ว ๆ นี้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์ของประเทศมุสลิม 14 ประเทศ เช่น ปากีสถาน, อิหร่าน, ตุรกี, อินโดนีเซีย และอียิปต์ ได้ลงนามในแถลงการณ์โดย Interacademy Panel (IAP เป็นเครือข่ายสถาบันวิทยาศาสตร์ระดับโลก) เพื่อสนับสนุนการสอนเรื่องวิวัฒนาการ รวมถึงวิวัฒนาการของมนุษย์[31]

การสำรวจใน ค.ศ. 2009 ที่จัดทำโดยนักวิจัยของ McGill และผู้ร่วมงานระหว่างประเทศ พบว่าร้อยละ 85 ของนักเรียนมัธยมปลายชาวอินโดนีเซีย และนักเรียนมัธยมปลายชาวปากีสถานร้อยละ 86 เห็นด้วยกับข้อความที่ว่า "ฟอสซิลนับล้านชิ้นแสดงให้เห็นว่า สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่มานับพันล้านปีและมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา"[1] อย่างไรก็ตาม ในประเทศอินโดนีเซีย แนวคิดรังสรรค์นิยมเป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไปในหมู่ผู้ที่มีอายุมากกว่า แม้แต่ในหมู่ครูชีววิทยาและอาจารย์ด้านการศึกษาชีววิทยาก็ตาม[32]

สำนักวิจัยพิวรายงานไว้ใน ค.ศ. 2013 ว่า จำนวนมุสลิมที่สนับสนุนวิวัฒนาการดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ แต่มั่นคง ตัวอย่างเช่น คนส่วนใหญ่จำนวนมากยอมรับวิวัฒนาการของมนุษย์ในคาซัคสถาน (79%) และ เลบานอน (78%) แต่ค่อนข้างน้อยในอัฟกานิสถาน (26%) และอิรัก (27%) ส่วนประเทศอิสลามอื่น ๆ ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงระหว่างนั้น[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Chang, Kenneth (2009-11-02). "Creationism, Without a Young Earth, Emerges in the Islamic World". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2017-04-24.
  2. "Bülent Şahin Erdeğer | Evrim, İslam ile çelişir mi?". Independent Türkçe (ภาษาตุรกี). 2020-06-12. สืบค้นเมื่อ 2021-05-06.
  3. "Evolution In Quran". Evolution In Quran. สืบค้นเมื่อ 2021-05-06.
  4. 4.0 4.1 "The World's Muslims: Religion, Politics and Society" (PDF). Pew Research Center. April 30, 2013.
  5. Review of Religions eGazette November 2008
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :9
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :10
  8. al-Azami, Usaama (2013-02-14). "Muslims and Evolution in the 21st Century: A Galileo Moment?". Huffington Post Religion Blog. สืบค้นเมื่อ 19 February 2013.
  9. Al-Ali, Muneer (2013). A scientific Tafsir of Qur'anic verses: interplay of faith and science (2nd Ed.). North Charleston, S.C.: CreateSpace Independent Publishing Platform. ISBN 978-1480169968[แหล่งข้อมูลที่ตีพิมพ์เอง?]
  10. Dodge, Christine Huda (2003). The Everything Understanding Islam Book: A Complete and Easy to Read Guide to Muslim Beliefs, Practices, Traditions, and Culture. Simon and Schuster. p. 221. ISBN 9781605505459.
  11. Oliver Leaman, บ.ก. (2005). The Qur'an: An Encyclopedia. Routledge. p. 258.
  12. Taslaman, Caner (2006). The Big Bang Philosophy and God. Citlembik. ISBN 994442403X.
  13. Ahmad, Mirza Tahir. "The Quran and Cosmology". Al Islam. สืบค้นเมื่อ 7 April 2017.
  14. "Big Bang Theory and Religion by Ron Kurtus – Succeed in Understanding Religion: School for Champions". www.school-for-champions.com. สืบค้นเมื่อ 2017-01-06.
  15. Grubu, Kuran Araştırmaları (2008). Kuran: Hiç Tükenmeyen Mucize. İstanbul Yayınevi. ISBN 978-9758727001.
  16. 16.0 16.1 Taslaman, Prof Dr Caner (2015). Big Bang ve Tanrı (ภาษาตุรกี). İstanbul Yayınevi.
  17. อัลกุรอาน 21:30
  18. 18.0 18.1 Ashraf, Faheem. "Islamic Concept of Creation of Universe Big Bang and Science-Religion Interaction". สืบค้นเมื่อ 3 March 2017.
  19. Asad, Muhammad (1984). The Message of the Qu'rán (PDF). Gibraltar, Spain: Dar al-Andalus Limited. p. 676. ISBN 978-1904510000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-08-11. สืบค้นเมื่อ 2023-11-25.
  20. Guessoum, Nidhal (2010). Islam's Quantum Question: Reconciling Muslim Tradition and Modern Science (PDF). I.B.Tauris. p. 351. ISBN 978-0857730756. สืบค้นเมื่อ 3 March 2017.
  21. Suleiman, Omar (31 March 2015). "The Beginning and the End with Omar Suleiman: 6 Days, 7 Heavens, 7 Earths? (Ep. 15)". Bayyinah Institute. สืบค้นเมื่อ 23 April 2017.
  22. Q57:4, 50+ translations, islamawakened.com
  23. "Islam creation story". nau.edu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 December 2019. สืบค้นเมื่อ 12 January 2020.
  24. "Qaf 50:38".
  25. Ashraf, Faheem. "Islamic Concept of Creation of Universe Big Bang and Science-Religion Interaction". สืบค้นเมื่อ 3 March 2017.
  26. Suleiman, Omar (31 March 2015). "The Beginning and the End with Omar Suleiman: 6 Days, 7 Heavens, 7 Earths? (Ep. 15)". Bayyinah Institute. สืบค้นเมื่อ 23 April 2017.
  27. Q50:38, 50+ translations, islamawakened.com
  28. Ali, Yacob Mohammed (2000). Perceptions of Islamic educators about the conflict between conservative and secular Muslims regarding Islamic education and the teaching of science, philosophy, and mythical stories to Muslim students (Thesis) (ภาษาEnglish). Ann Arbor, MI: Bell & Howell Information and Learning Company. pp. 94–95. hdl:11244/6022.{{cite thesis}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  29. Ali, Yacob Mohammed (2000). Perceptions of Islamic educators about the conflict between conservative and secular Muslims regarding Islamic education and the teaching of science, philosophy, and mythical stories to Muslim students (Thesis) (ภาษาEnglish). Ann Arbor, MI: Bell & Howell Information and Learning Company. pp. 95–96. hdl:11244/6022.{{cite thesis}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  30. Ali, Yacob Mohammed (2000). Perceptions of Islamic educators about the conflict between conservative and secular Muslims regarding Islamic education and the teaching of science, philosophy, and mythical stories to Muslim students (Thesis) (ภาษาEnglish). Ann Arbor, MI: Bell & Howell Information and Learning Company. pp. 99–100. hdl:11244/6022.{{cite thesis}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  31. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ science
  32. Aini, Rahmi Qurota; Rachmatullah, Arif; Harliadi, Muhammad Dika; Ha, Minsu (2020-06-05). "Indonesian Pre-service Biology Teachers' and Biology Education Professors' Views on Evolution". Science & Education (ภาษาอังกฤษ). 29 (3): 713–741. Bibcode:2020Sc&Ed..29..713A. doi:10.1007/s11191-020-00127-5. ISSN 1573-1901. S2CID 219925614.

ข้อมูล[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]