วิชิต ชี้เชิญ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิชิต ชี้เชิญ
เกิด ไทย
อาชีพผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านกระบี่กระบองและมวยไทย แห่งสถาบันอาศรมศิลป์
รางวัลครูภูมิปัญญาไทยสาขาศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของไทย ปี 2548

ดร.วิชิต ชี้เชิญ เป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านกระบี่กระบองและมวยไทย แห่งสถาบันอาศรมศิลป์ ผู้ทำการฝึกสอนวิชากระบี่กระบองให้แก่นักมวยไทยชาวต่างชาติ[1] รวมถึงได้รับการยกย่องให้เป็นครูภูมิปัญญาไทยของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา และเป็นครูผู้สอนวิชากระบี่กระบองคนแรกของอาจารย์โชคอนันต์ อังสกุลอาภรณ์[2][3]

ทั้งนี้ อาจารย์วิชิต ชี้เชิญ ได้รับการจัดให้เป็นผู้นำด้านกระบี่กระบองระดับสูงสุด ของการพลศึกษาแห่งประเทศไทย[4]

ประวัติ[แก้]

พ.ศ. 2550 วิชิต ชี้เชิญ ซึ่งเป็นอาจารย์จากสถาบันอาศรมศิลป์ ได้เป็นหนึ่งในผู้ดำเนินกิจกรรมกีฬาภูมิปัญญาไทยเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นผู้แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของกีฬาไทยในแง่มุมต่าง ๆ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวที่ประมาณ 1,600 คน ณ จังหวัดเชียงราย[5]

พ.ศ. 2556 วิชิต ชี้เชิญ ซึ่งเป็นตัวแทนจากสถาบันอาศรมศิลป์ ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, กรมพลศึกษา และคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการแข่งขัน “นอร์ทกรุงเทพมหกรรมกีฬาไทย” ครั้งที่ 8 ชิงถ้วยเกียรติยศจากพิจิตร กุลละวณิชย์ ผู้เป็นองคมนตรี โดยเน้นให้สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ รวมถึงกลุ่มประเทศอาเซียน ได้เห็นคุณค่าของกีฬาไทย ที่สืบทอดมาจากสมัยบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน[6][7]

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ได้มีการจัดงานวันมวยไทย ขึ้นที่เวทีกลางแจ้ง ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งวิชิต ชี้เชิญ ได้รับเกียรติให้เป็นครูผู้ประกอบพิธีอ่านโองการสรรเสริญบูชาครู รวมทั้งมีบรมครูมวยไทย 5 สายเข้าร่วม[8][9] ซึ่งได้แก่ ยอดธง ศรีวราลักษณ์ (มวยไทยภาคกลาง), ประเสริฐ ยาและ (มวยไทยไชยา), จ.ส.อ.สมนึก ไตรสุทธิ (มวยไทยลพบุรี), พ.อ.(พิเศษ) อำนาจ พุกศรีสุข (มวยไทยโคราช), รศ.ดร.สมพร แสงชัย (มวยไทยท่าเสา และพระยาพิชัยดาบหัก) และจรัสเดช อุลิต (มวยไทยพลศึกษา)[10]

นอกจากนี้ อาจารย์วิชิต ชี้เชิญ ยังได้รับการกล่าวถึง ในฐานะผู้มอบธรรมทานด้านมวยไทย ตามวิถีพุทธมาอย่างยาวนาน[11]

เกียรติประวัติ[แก้]

  • ปรมาจารย์อาวุโส กิตติมศักดิ์ (มงคล ๙ - มงคลทอง) แห่งสมาคมครูมวยไทย[1]
  • ครูภูมิปัญญาไทยสาขาศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของไทย ปี 2548
  • 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ได้รับโล่เชิดชูเกียรติบุคคลทรงคุณค่า เนื่องในงานครบรอบ 73 ปี สนามศุภชลาศัย ที่สนามศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ[12]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Mongkol 9 (Honorary) - Master Muaythai Association
  2. “โชคอนันต์ อังสกุลอาภรณ์” ผู้ถ่ายทอดกระบี่-กระบอง สานต่อกีฬาไทย[ลิงก์เสีย]
  3. ""โชคอนันต์ อังสกุลอาภรณ์" ผู้ถ่ายทอดกระบี่-กระบอง สานต่อกีฬาไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2014-03-30.
  4. Krabikrabong - AITMA - Homepage
  5. ZOOM - สสส.
  6. อาศรมศิลป์จับมือ ม.นอร์ทกรุงเทพลุยกีฬาไทย - สยามธุรกิจ
  7. ระเบิดศึกมหกรรมกีฬาไทย 3 ธ.ค.นี้ - สยามธุรกิจ
  8. งานวันมวยไทยจัดยิ่งใหญ่! 'สนธยา' เตรียมดันมวยไทยเข้าโอลิมปิก
  9. วธ.จัดไหว้ครูวันมวยไทยยิ่งใหญ่[ลิงก์เสีย]
  10. สืบสานศิลปะแม่ไม้มวยไทยจัดพิธีไหว้ครู เนื่องในวันมวยไทย ๒๕๕๕[ลิงก์เสีย]
  11. "6 กุมภาพันธ์วันมวยไทยวิถีพุทธ : ศาสนาพระเครื่อง : ข่าวทั่วไป : คมชัดลึก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-20. สืบค้นเมื่อ 2021-10-16.
  12. 73 ปี สนามศุภชลาศัย - กรมพลศึกษา :: รายละเอียดข่าวกรมพลศึกษา[ลิงก์เสีย]