สมพร แสงชัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร แสงชัย
เกิด ไทย
อาชีพปรมาจารย์มวยไทย สายพระยาพิชัยดาบหัก

รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร แสงชัย เป็นปรมาจารย์มวยไทยสายพระยาพิชัยดาบหัก และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิแห่งสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ[1]

ประวัติ[แก้]

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขารัฐศาสตร์ เกียรตินิยม Magna Cum Laude จากมหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตตเมื่อปี พ.ศ. 2506 จากนั้น เขาได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกสาขาการปกครอง จากมหาวิทยาลัยอินเดียนาในปี พ.ศ. 2508 และ 2510 ตามลำดับ[2]

รศ.ดร.สมพร แสงชัย เป็นผู้ฝึกสอนมวยไทยโบราณ สายมวยท่าเสา และมวยพระยาพิชัยดาบหัก โดยในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เขาได้รับเกียรติเป็นตัวแทนในการสาธิตมวยไทยโบราณ สายมวยท่าเสา และมวยพระยาพิชัยดาบหัก ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย[3]

และในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ได้มีการจัดงานวันมวยไทย ขึ้นที่เวทีกลางแจ้ง ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย รศ.ดร.สมพร แสงชัย ได้รับเกียรติเป็นหนึ่งในตัวแทนครูมวยไทย 5 สาย ที่ได้ทำการรำไหว้ครูมวยไทย ร่วมกับยอดธง ศรีวราลักษณ์ (มวยไทยภาคกลาง), ประเสริฐ ยาและ (มวยไทยไชยา), จ.ส.อ.สมนึก ไตรสุทธิ (มวยไทยลพบุรี), พ.อ.(พิเศษ) อำนาจ พุกศรีสุข (มวยไทยโคราช) และจรัสเดช อุลิต (มวยไทยพลศึกษา)[4]

นอกจากนี้ เขายังมีผลงานด้านวิชาการ อาทิ ผลงานเขียน สิ่งแวดล้อม: อุดมการณ์ การเมือง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน การวางแผนเชิงกลยุทธ์ภาครัฐ ฯลฯ[5] โดยเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์[6] และเป็นอาจารย์พิเศษโครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง[7]

มรดกสืบทอด[แก้]

รศ.ดร.สมพร แสงชัย ได้รับการยกย่องเป็นผู้สืบสานมวยไทยสายพระยาพิชัยดาบหัก ที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน โดยเป็นตัวแทนสืบทอดวิชาจากรุ่นสู่รุ่น ให้คงอยู่สืบไป[8] รวมถึงมีผลงานหนังสือชื่อ ยุทธศิลป์มวยโบราณ ที่ได้ถ่ายทอดลักษณะการต่อสู้ของมวยไทยสายพระยาพิชัยดาบหัก ทั้งในรูปแบบของการรุกและการรับ

หนังสือมวยไทย[แก้]

  1. ดร.สมพร แสงชัย, มวยไทย : ศิลปะมวยไทยสายพระยาพิชัยดาบหัก อุตรดิตถ์ : สำนักศิลปวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์, 2545.
  2. ดร.สมพร แสงชัย และคณะ, มวยอุตรดิตถ์ : มวยสำนักท่าเสาของพระยาพิชัยดาบหัก, อุตรดิตถ์ : สำนักงานจังหวัดอุตรดิตถ์, 2549.
  3. ดร.สมพร แสงชัย และคณะ, มวยไทยในไทยุทธ์ : ความสัมพันธ์ของไทยุทธ์กับมวยพระยาพิชัยดาบหัก, กรุงเทพ : ทิพเนตร์, 2550.
  4. ดร.สมพร แสงชัย, มวยไทยโบราณ : องค์ความรู้และไม้มวยไทยโบราณ, กรุงเทพ : ทิพเนตร์, 2552.
  5. ดร.สมพร แสงชัย และคณะ, ยุทธศิลป์มวยโบราณ : มวยพระยาพิชัยดาบหัก, กรุงเทพ : ทิพเนตร์, 2553.
  6. ดร.สมพร แสงชัย และคณะ, ยุทธศิลป์มวยไทยต้องห้าม ลิงและยักษ์ในมวยพระยาพิชัยดาบหัก, กรุงเทพ : ทิพเนตร์, 2554.
  7. ดร.สมพร แสงชัย และคณะ, มวยพระนเรศวร : ลีลาคชยุทธและคัมภีร์มวยปลัดเต็ง, กรุงเทพ : ทิพเนตร์, 2555.
  8. ดร.สมพร แสงชัย และคณะ, มวยพระยาพิชัยดาบหัก : ทายาทยุทธศิลป์สำนักมวยท่าเสา, อุตรดิตถ์ : กองศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 2555.
  9. ดร.สมพร แสงชัย และคณะ, มวยไทยเดิม, กรุงเทพ : ทิพเนตร์, 2557.
  10. ดร.สมพร แสงชัย และคณะ, ศาสตร์ลับในมวยไทยเดิม, กรุงเทพ : ทิพเนตร์, 2557.
  11. ดร.สมพร แสงชัย และคณะ, การซ้อนไม้ในมวยพระยาพิชัยดาบหัก, กรุงเทพ : ทิพเนตร์, 25ุ60.
  12. ดร.สมพร แสงชัย และคณะ, การแก้ไม้ในมวยพระยาพิชัยดาบหัก, อยู่ระหว่างจัดทำ (ตีพิมพ์), 2561.

เกียรติประวัติ[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Mongkol 9 - Kru Muaythai Association
  2. "สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ - มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-12-18.
  3. มวยไทยขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาไทยแล้ว - สยามสปอร์ต
  4. เห็นคุณค่าวันมวยไทย บวงสรวงใหญ่เผยแพร่ทั่วโลก - ข่าวไทยรัฐ
  5. สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 6 - ทฤษฎีกายา (Gaia Theory)[ลิงก์เสีย]
  6. ผู้ทรงคุณวุฒิ - วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์
  7. Director Teachers - โครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  8. "ประวัติความเป็นมาของมวยไทย - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-21. สืบค้นเมื่อ 2014-12-18.
  9. 'ปืนกล-วันเฮง' ซิวยอดเยี่ยม 'วันมวยไทย' - Voice TV
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๖๖๕, ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๙