วาโด
หน้าตา
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ |
ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น |
---|
วาโด (ญี่ปุ่น: 和銅; โรมาจิ: Wadō) เป็นศักราชของญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นหลังศักราชเคอุงและก่อนศักราชเรกิ ศักราชนี้อยู่ในช่วงมกราคม ค.ศ. 708 ถึงกันยายน ค.ศ. 715[1] ผู้ครองราชย์ในศักราชนี้คือจักรพรรดินีเก็มเม (元明天皇, Genmei-tennō)[2]
เปลี่ยนศักราช
[แก้]- ค.ศ. 708 วาโดกันเน็ง (ญี่ปุ่น: 和銅元年; โรมาจิ: Wadō gannen): มีการสถาปนา วาโด (หมายถึง "ทองแดงญี่ปุ่น") เป็นชื่อศักราชใหม่ขึ้น เนื่องจากมีการค้นพบเหมืองทองแดงคุณภาพสูงที่ชิจิบุ แคว้นมูซาชิ ปัจจุบันคืดอดีตเหมืองวาโด ศักราชก่อนหน้าสิ้นสุดลงในฤดูใบไม้ผลิของศักราชเคอุงที่ 5 วันที่ 11 เดือน 1 ใน ค.ศ. 708[3]
คำว่าทองแดงในภาษาญี่ปุ่นคือ โด (ญี่ปุ่น: 銅; โรมาจิ: dō) เนื่องจากสิ่งนี้เป็นทองแดงพื้นเมือง คำว่า "วะ" (ศัพท์ภาษาจีนโบราณที่ใช้เรียกญี่ปุ่น) สามารถประสมกับ "โด" (ทองแดง) เพื่อสร้างคำประสมใหม่ว่า "วาโด"—หมายถึง "ทองแดงญี่ปุ่น" มีการจัดตั้งโรงกษาปณ์ขึ้นในแคว้นโอมิ[4]
เหตุการณ์
[แก้]- 5 พฤษภาคม ค.ศ. 708 (วาโดที่ 1, วันที่ 11 เดือน 4): มีการนำตัวอย่างทองแดงที่พึ่งค้นพบไปถวายต่อราชสำนักเก็มเม ซึ่งรับรู้อย่างเป็นทางการในฐานะ ทองแดงญี่ปุ่น[5]
- 708 (วาโดที่ 1, เดือน 3): ฟูจิวาระ โนะ ฟูฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 藤原不比等; โรมาจิ: Fujiwara no Fuhito) ได้รับชื่อเป็น อูไดจิง (รัฐมนตรีฝ่ายขวา) ส่วนอิโซะ-คามิ มาโรกลายเป็น ซาไดจิง (รัฐมนตรีฝ่ายซ้าย)[6]
- 709 (วาโดที่ 2, เดือน 3): เกิดการกบฏต่ออำนาจส่วนกลางที่แคว้นมุตสึและแคว้นเอจิโงะ มีการส่งกองทัพไปปราบกบฏ[6]
- 709 (วาโดที่ 2, เดือน 5): บรรดาทูตจากชิลลาเดินทางมาถวายเครื่องบรรณาการ[7]
- 710 (วาโดที่ 3, เดือน 3): จักรพรรดินีเก็มเมทรงสถาปนาที่ประทับอย่างเป็นทางการที่นาระ ซึ่งขณะนั้นรู้จักกันในชื่อ เฮโจเกียว[4]
- วาโดที่ 5, เดือน 1, วันที่ 28 (711): โอ โนะ ยาซูมาโระเขียนโคจิกิเสร็จ[8]
- 712 (วาโดที่ 5): แคว้นมุตสึแยกจากแคว้นเดวะ[6]
- 713 (วาโดที่ 6, เดือน 3): แคว้นทัมบะแยกจากแคว้นทังโงะ; แคว้นมิมาซากะแยกจากแคว้นบิเซ็ง และแคว้นฮีวงะแยกจากแคว้นโอซูมิ[6]
- วาโดที่ 6, เดือน 5, วันที่ 2 (713): พระราชกฤษฎีกาของจักรพรรดิให้เรียบเรียงฟูโดกิ[9]
- 713 (าโดที่ 6): ขยายถนนที่ตัดผ่านแคว้นมิโนะกับแคว้นชินาโนะเพื่อรองรับนักเดินทาง และขยายถนนเพิ่มที่อำเภอคิโซะบริเวณจังหวัดนางาโนะในปัจจุบัน[6]
หลังจักรพรรดินีเก็มเมย้ายที่ตั้งรัฐบาลไปที่นาระ สถานที่ตั้งบนภูเขายังคงเป็นเมืองหลวงอีก 7 ปี[10] หลังครองราชย์เป็นเวลา 8 ปี จักรพรรดิเก็มเมจึงสละราชสมบัติแก่พระราชธิดา[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Nussbaum, Louis-Frédéric. (2005). "Wadō" in Japan encyclopedia, p. 1024; n.b., Louis-Frédéric is pseudonym of Louis-Frédéric Nussbaum, see Deutsche Nationalbibliothek Authority File เก็บถาวร 2012-05-24 ที่ archive.today.
- ↑ Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 63–65; Brown, Delmer et al. (1979). Gukanshō, p. 271; Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki. p. 140.
- ↑ Brown, p. 271; Titsingh, p. 63.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1959). The Imperial House of Japan, p. 56.
- ↑ Titsingh, p. 63.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 Titsingh, p. 64.
- ↑ Titsingh, p. 64; Aoki (1989: 149)Aoki, Kazuo et al. (1989). Shin Nihon Koten Bungaku Taikei 12: Shoku Nihongi I, p. 149. (in Japanese).
- ↑ Hioki (2007:250)
- ↑ Hioki (2007:253)
- ↑ Varley, p. 140.
ข้อมูล
[แก้]- Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida, eds. (1979). Gukanshō: The Future and the Past. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-03460-0; OCLC 251325323
- Hioki, Eigō. (2007). ญี่ปุ่น: 新・国史大年表. 第1卷; โรมาจิ: Shin kokushi dainenpyō. dai 1 kan ; Chronology of New National History, Vol. 1. Tōkyō: Kokusho Kankōkai. ISBN 9784336048264; OCLC 676118585
- Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
- Nussbaum, Louis-Frédéric and Käthe Roth. (2005). Japan encyclopedia. Cambridge: Harvard University Press. ISBN 978-0-674-01753-5; OCLC 58053128
- Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Odai Ichiran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691
- Varley, H. Paul. (1980). A Chronicle of Gods and Sovereigns: Jinnō Shōtōki of Kitabatake Chikafusa. New York: Columbia University Press. ISBN 9780231049405; OCLC 6042764
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- National Diet Library, "The Japanese Calendar" -- historical overview plus illustrative images from library's collection
ก่อนหน้า | วาโด | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เคอุง | ศักราช หรือ เน็งโง วาโด (708–715) |
เรกิ |