วัดจงกอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดจงกอ
แผนที่
ที่ตั้งหมู่ที่ 7 ตำบลบ้านเก่า อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา 30210
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดจงกอ เป็นวัดเก่าแก่ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2430 ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านเก่า อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา เดิมเป็นวัดร้าง ปัจจุบันวัดนี้มีพระสงฆ์มาอยู่จำพรรษา และพัฒนาตั้งเป็นวัดขึ้นใหม่

ประวัติ[แก้]

วัดจงกอ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2430 เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ต่อมาวันที่ 7 พฤศจิกายน 2554 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และยังเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ 135[1][2]

สถานที่สำคัญ[แก้]

อาคารเสนาสนะ[แก้]

อาคารภายในวัดจงกอ ประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาการเปรียญ ศาลาปฏิบัติธรรม กุฏิสงฆ์ หอกลอง-ระฆัง ศาลาบำเพ็ญกุศล และฌาปนสถาน

จารึก[แก้]

จารึกวัดจงกอ
วัสดุศิลา
ขนาดกว้าง 34 ซม.
สูง 51 ซม.(จากพื้นซีเมนต์ถึงตำแหน่งสูงสุด)
หนา 6.5 ซม.
ตัวหนังสือตัวอักษรขอมโบราณ
ภาษาสันสกฤตและเขมร
สร้างพุทธศักราช 1551
ค้นพบไม่ปรากฏหลักฐาน
วัดจงกอ หมู่ 7 ตำบลบ้านเก่า อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา
ที่อยู่ปัจจุบันปักอยู่บนฐานชุกชี ด้านข้างขวาของพระพุทธรูปประธาน

จารึกวัดจงกอ เป็นจารึกพบที่วัดจงกอ มีการลงในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 49 ฉบับที่ 2 (มีนาคม-เมษายน 2549)[3] จารึกหลักนี้ ปักอยู่บนฐานชุกชี ด้านข้างขวาของพระพุทธรูปประธาน สลักเป็นตัวอักษรขอมโบราณ ภาษาสันสกฤตและเขมร บนแผ่นหินศิลา รูปใบเสมา กว้าง 34 ซม. สูง (จากพื้นซีเมนต์ถึงตำแหน่งสูงสุด) 51 ซม. หนา 6.5 ซม.[3]

ข้อความจารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 1 ระบุมหาศักราช 930 ตรงกับพุทธศักราช 1551 ซึ่งอยู่ในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ครองราชอาณาจักรกัมพูชา (พ.ศ. 1545-1593)[3] เนื้อหากล่าวถึงพระบรมราชโองการ ธุลีพระบาทกมรเตงกำตวนอัญศรีชยวีรวรมันเทวะ ดำรัสสั่งให้ข้าราชการดำเนินการวัดที่ดิน และปักศิลาจารึกเพื่อถวายแก่กมรเตงชคตวิมาย กำหนดเขตศาสนสถาน และอุทิศข้าพระจำนวนมาก ดังมีรายชื่อปรากฏในจารึก[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "วัดจงกอ". สารสนเทศท้องถิ่นนครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
  2. "วัดจงกอ". ระบบทะเบียนวัด สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "จารึกวัดจงกอ". จารึกในประเทศไทย. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).