เทเลกซ์เทเลกส์
เทเลกซ์เทเลกส์ | |
---|---|
สมาชิกวง TELEx TELEXs | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ที่เกิด | กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
แนวเพลง | ป๊อบ,ซินธ์ป๊อป |
ช่วงปี | พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | อิสระ (พ.ศ. 2558) เวย์เฟอร์เรคคอร์ดส (พ.ศ. 2559 - 2565) เลิฟอีส (พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน) |
สมาชิก | ออม - สรรัตน์ ลิมปะนพรัตน์ (ร้องนำ) ปิ้ว - กษิเดช ฤทธิ์งาม (ซินธิไซเซอร์) นาว - คิรากร อิงควราภรณ์กุล (กีต้าร์,คีย์บอร์ด) |
อดีตสมาชิก | กร - พากร พานอ่อง (เบส) |
เว็บไซต์ | TELEx TELEXs (Facebook) TELEx TELEXs (Twitter) TELEx TELEXs (Instagram) TELEx TELEXs (YouTube) |
เทเลกซ์เทเลกส์ (อังกฤษ: TELEx TELEXs) วงดนตรีซินธ์ป๊อบสัญชาติไทย ในค่ายเพลงเวย์เฟอร์เรคคอร์ดส ภายใต้สังกัดวอร์นเนอร์ มิวสิค ไทยแลนด์ เป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงจากงานแสดงดนตรี "ฟังใจมัน" และงานเทศกาลดนตรี "Cat T-Shirt" นอกจากนี้ยังเป็นวงดนตรีเปิดให้กับงาน "The fin. Live in Bangkok"[1] เนื้อเพลงส่วนใหญ่จะพูดถึงผู้หญิงที่ตกอยู่ในห้วงของความรู้สึกบางอย่าง บุคลิกเป็นผู้หญิงเท่ มีรสนิยม แต่ก็มีความเศร้าสร้อยอยู่ในคราวเดียวกัน[2]
ประวัติ
[แก้]เทเลกซ์เทเลกส์ เป็นวงดนตรีที่เกิดจากการรวมตัวกันของนักศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร[3] ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2558 ที่มาของชื่อมาจากคำว่า Telex แปลว่า โทรเลข แล้วเพิ่มคำด้วยการเติมตัว s "ปิ้ว" กษิเดช ฤทธิ์งาม และ "กร" พากร พานอ่อง ได้ตั้งวงดนตรีประเภทออลเทอร์นาทิฟร็อคร่วมกับเพื่อนๆ ภายใต้ชื่อ "Shoot the Dog" สุดท้ายทุกคนต่างก็แยกย้ายกันไป ทำให้กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของวงดนตรีที่มีชื่อว่า TELEx TELEXs เปิดตัวเพลงแรก คือ "Bad Old Days" ลักษณะเป็นเพลงป๊อบที่มีเสียงซินธิไซเซอร์ผสมผสานอยู่ ต่อมาได้สมาชิกใหม่เพิ่มเข้ามา 2 คน คือ "ออม" สรรัตน์ ลิมปะนพรัตน์ ทำหน้าที่ร้องนำ และ "นาว" คิรากร อิงควราภรณ์กุล มือกีต้าร์และคีย์บอร์ด พร้อมกับเปิดตัวเพลงที่ 2 คือ "Labelle" ถ่ายทอดเรื่องราวความรู้สึกของผู้หญิงที่เป็นเพียงที่ระบายหรือเพื่อนคุยเวลาเหงา หลังจากนั้นได้เปิดตัวเพลงใหม่อีก 2 เพลง คือ "เรือใบ"[4] และ "ถาม" (Damsel in Distress) บอกเล่าความรู้สึกของผู้หญิงคนหนึ่งที่พยายามจะส่งต่อถึงใครสักคน[5]
ในปี พ.ศ. 2559 ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน เปิดตัวเพลงที่ 5 คือ "Shibuya" บอกเล่าเรื่องราวของคนที่เลิกรากันไป แต่เวลาและความบังเอิญนำพาให้มาเจอกัน กลับพบว่าคนรักเก่าดูมีความสุขดี ต่างจากตอนเลิกกันที่อีกฝ่ายได้แต่ร้องไห้เสียใจ[6]
TELEx TELEXs ร่วมกันขับร้องบรรเลงเพลง "ยามเย็น" เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 2 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระราชนิพนธ์ในปี พ.ศ. 2489 นอกจากนี้ "ออม" สรรัตน์ ลิมปะนพรัตน์ ได้เป็นส่วนหนึ่งในการขับร้องเพลง "Father Bhumibol" ของยืนยง โอภากุล หรือแอ๊ด คาราบาว[7] และ "แผ่นดินของเรา" เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 34 ร่วมกับศิลปินจากค่าย "Wayfer Records" ภายใต้สังกัด "Warner Music Thailand"[8]
วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2560 ผลงานเพลงชุดแรกของวง TELEx TELEXs ออกจำหน่ายเป็นครั้งแรก โดยใช้ชื่ออัลบั้มว่า "Melt your popsicle!"[9] ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ เปิดตัวเพลง "Labelle" ในรูปแบบ Live Session ภายใต้ชื่อ "Labelle (Live at the Office)"[10] ต่อมาช่วงปลายเดือนมีนาคม เปิดตัวเพลง "Shibuya" ในรูปแบบ Live Session ภายใต้ชื่อ "Shibuya (Live at the Office)" เป็นเพลงที่นำมาขับร้องใหม่กับการจำลองบรรยากาศของออฟฟิศหลังเลิกงาน[11]
เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 TELEx TELEXs เป็นหนึ่งในวงดนตรีที่ทำการแสดงเปิดคอนเสิร์ต Soundbox : Tattoo Colour x Polycat จัดขึ้นที่เมืองไทย จีเอ็มเอ็มไลฟ์เฮาส์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร[12]
เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 Wayfer Records ได้ออกประกาศอย่างเป็นทางการว่า พากร พานอ่อง(กร) มีหน้าที่ ที่ต้องรับผิดชอบในงานประจำและมีความฝันในหลากหลายเส้นทาง จึงขอยุติการทำงานกับวง TELEx TELEXs ไปก่อน ทำให้สมาชิกในวง TELEx TELEXs จะมีทั้งหมด 3 คน คือ สรรัตน์ ลิมปะนพรัตน์ (ออม) กษิเดช ฤทธิ์งาม (ปิ้ว) และคิรากร อิงควรา-ภรณ์กุล (นาว) การตัดสินใจของสมาชิกในวงครั้งนี้เกิดจากภาระ หน้าที่ และเวลาที่ไม่ตรงกัน แต่หากความสัมพันธ์ของสมาชิกทั้ง 4 คน ยังคงสวยงามและยังคงหวังดีต่อกันอยู่เสมอ[13]
ผลงานเพลง
[แก้]ผลงานเพลงของเทเลกซ์เทเลกส์ | |
---|---|
สตูดิโออัลบั้ม | 2 |
อีพี | 5 |
ซิงเกิล | 22 |
สตูดิโออัลบั้ม
[แก้]ชื่ออัลบั้ม | รายละเอียด | รายชื่อเพลง |
---|---|---|
ENOUGH FOR LONELINESS AND INTERNET TODAY |
|
|
WHEN YOU HAVE NOTHING TO DO JUST GO TO SLEEP |
|
|
อีพี
[แก้]ชื่ออีพี | รายละเอียด | รายชื่อเพลง |
---|---|---|
Melt your popsicle![14] |
|
|
Yes I'm 25 and I'm Single |
|
|
ขับรถ |
|
|
ดื่ม |
|
|
กลับไป |
|
|
ซิงเกิล
[แก้]ในฐานะศิลปินนำ
[แก้]ปี | วันที่เผยแพร่ | ชื่อเพลง | อันดับสูงสุด | อัลบั้ม |
---|---|---|---|---|
IW Chart [15] | ||||
2558 | 5 กรกฎาคม | "Bad Old Days" | — | Enough for Loneliness and Internet Today |
5 พฤศจิกายน | "Labelle"[16] | — | Melt your popsicle![17] | |
2559 | 12 มกราคม | "เรือใบ" | — | |
30 พฤษภาคม | "ถาม (Damsel in Distress)" | — | ||
29 พฤศจิกายน | "Shibuya"[18] | — | ||
2560 | 17 พฤศจิกายน | "หยุดตรวจ" | — | Enough for Loneliness and Internet Today |
22 ธันวาคม | "สุขสันต์วันเหงา" | — | ||
2561 | 25 พฤษภาคม | "ซ่อน (B2B)" | — | |
1 มิถุนายน | "เอายังไง? (Now What?)" | — | ||
8 มิถุนายน | "เพื่อนชื่อความเหงา (01.23 A.M.)" | — | ||
29 มิถุนายน | "เอายังไง? (Piano Version)" | — | ไม่มีอัลบั้ม | |
3 สิงหาคม | "ซ่อน (Machina Remix)" | — | Enough for Loneliness and Internet Today | |
19 ตุลาคม | "ดีออก (Dok)" | — | ||
15 พฤศจิกายน | "O-O (Ooh)" | — | ||
2562 | 1 ตุลาคม | "JUNE" | — | Yes I'm 25 and I'm Single |
25 ตุลาคม | "RAIN" | — | ||
25 ธันวาคม | "JUNE (Acoustic Version)" | — | ไม่มีอัลบั้ม | |
2563 | 22 มกราคม | "คนที่ยังไม่พร้อม" (สมเกียรติ ต้นฉบับ) | — | |
8 พฤษภาคม | "DAY 11 (Quarantine)" | — | ||
16 มิถุนายน | "ดวง ดวง ดวง (Mutelu)" | — | WHEN YOU HAVE NOTHING TO DO JUST GO TO SLEEP | |
3 กันยายน | "รถไฟเที่ยวสุดท้าย (A Train From Now to Never)" | — | ||
27 ตุลาคม | "หรือฉันเองที่ขังเธอไว้ในความทรงจำ (Move On)" | — | ||
2 ธันวาคม | "ไม่อยากนอน (Night Mode)" | — |
เพลงอื่นๆ
[แก้]ปี | วันที่เผยแพร่ | ชื่อเพลง | อัลบัม | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
2559 | 17 พฤศจิกายน | "ยามเย็น" | - | เพลงพระราชนิพนธ์ |
1 ธันวาคม | "แผ่นดินของเรา" | |||
2562 | 12 กรกฎาคม | "Fantasy" | BNM X WAYFER | - |
รางวัล
[แก้]- Best New Band จากงานประกาศรางวัล "Fungjai Awards 2016"[19]
- ศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม จากงานประกาศรางวัล "คมชัดลึกอวอร์ด ครั้งที่ 14"[20]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "โชว์ของวงอินดี้ร็อคจากญี่ปุ่น The fin. กับความฟินที่(เกือบ)สุด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-24. สืบค้นเมื่อ 2016-12-04.
- ↑ "โลกเท่ๆ อันแสนเศร้าจาก TELEX TELEXS". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-24. สืบค้นเมื่อ 2016-12-04.
- ↑ TELEx TELEXs on Fungjai
- ↑ "TELEx TELEXs พาแล่น "เรือใบ" ออกไปตามฝัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-15. สืบค้นเมื่อ 2016-12-04.
- ↑ ซิ่งไปให้สุดทางกับ "Telex Telexs"
- ↑ TELEX TELEXS กับ "Shibuya" เพลงเศร้าซาวนด์ซินธ์ป๊อปสำหรับคนเคยถูกทิ้ง[ลิงก์เสีย]
- ↑ แอ๊ด คาราบาว แต่ง Father Bhumibol สื่อหัวใจคนไทยสู่ต่างชาติ
- ↑ แผ่นดินของเรา โดย รวมศิลปิน Wayfer Records (เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 34)
- ↑ อัลบั้มเพลงของ Telex Telexs
- ↑ TELEx TELEXs - Labelle (Live at the Office)
- ↑ TELEx TELEXs - Shibuya (Live at the Office)
- ↑ "ซาวด์บ็อกซ์" ระดมวงดนตรีรุ่นใหม่ฝีมือดีขึ้นเวทีเดียวกันครั้งแรก
- ↑ Wayfer Records ได้ออกประกาศอย่างเป็นทางการ
- ↑ วันหยุดว่างๆฟังเพลงอะไร(ก็)ดี Green Day - One Ok Rock - Telex Telexs
- ↑ IW Music Chart Top 40 เพลงไทยสากล อันดับเพลงที่มีการเปิดมากที่สุดโดยการ monitor ของ IW จากสถานีวิทยุ 40 FM radio station ในกรุงเทพและปริมณฑล)
- ↑ จับตา Telex Telexs วงอินดี้ป็อป อิเล็กโทรป็อป 4 ชีวิต[ลิงก์เสีย]
- ↑ รีวิวจัดเต็ม EP Melt Your Popsicle จากวง TELEx TELEXs
- ↑ TELEx TELEXs are the Thai synth-pop band you need in your life
- ↑ Fungjai Awards 2016 - fungjaizine
- ↑ ผลคมชัดลึกอวอร์ด ครั้งที่ 14 ประเภทเพลงไทยสากล