ข้ามไปเนื้อหา

แอร์โครยอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอร์โครยอ
고려항공
IATA ICAO รหัสเรียก
JS KOR AIR KORYO
ก่อตั้งค.ศ. 1950 (74 ปี) (ในชื่อ โซเกา)
ค.ศ. 1954 (70 ปี) (ในชื่อ โชซ็อนมินฮังโคเรียนแอร์เวยส์)
ท่าหลักท่าอากาศยานนานาชาติเปียงยางซูนัน
จุดหมาย23 แห่ง (เฉพาะฤดูกาล 4 แห่ง, ชาร์เตอร์ 1 แห่ง)
สำนักงานใหญ่เกาหลีเหนือ เปียงยาง ประเทศเกาหลีเหนือ
บุคลากรหลัก
  • คัง กี-ซ็อป (ผู้อำนวยการกรมการบินพลเรือนเกาหลีเหนือ)
  • อัน พย็อง-ชิล (ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งทางอากาศ)[1]
เว็บไซต์www.airkoryo.com.kp
แอร์โครยอ
โชซ็อนกึล
ฮันจา
อาร์อาร์Goryeo Hanggong
เอ็มอาร์Koryŏ Hanggong

แอร์โครยอ (เกาหลี: 고려항공, โครยอฮังกง; ชื่อเดิมคือ โชซ็อนมินฮัง (조선민항)) เป็นสายการบินประจำชาติของประเทศเกาหลีเหนือ ดำเนินการโดยรัฐบาล มีศูนย์บัญชาการในเขตซูนัน กรุงเปียงยาง[2] และมีฐานการบินหลักอยู่ที่ ท่าอากาศยานนานาชาติเปียงยางซูนัน (IATA: FNJ)[3] โดยให้บริการเที่ยวบินประจำและเที่ยวบินพิเศษไปยังจุดหมายปลายทางในทวีปเอเชียและยุโรป

แอร์โครยอ มีสำนักงานสายการบินในกรุงปักกิ่ง กับนครเฉิ่นหยาง ประเทศจีน, นครวลาดีวอสตอค ประเทศรัสเซีย, กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี และมีสำนักงานขายในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น, กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย, ประเทศสิงคโปร์, กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน, เขตบริหารพิเศษฮ่องกง, ประเทศคูเวต, ประเทศอิตาลี, ประเทศออสเตรีย และประเทศเยอรมนี[4]

ประวัติ

[แก้]

การก่อตั้ง

[แก้]

แอร์โครยอ ก่อตั้งครั้งแรกภายใต้ชื่อ โซเกา (การบินโซเวียต-เกาหลีเหนือ) ในปี ค.ศ. 1950 เพื่อเชื่อมต่อระหว่างกรุงเปียงยาง ประเทศเกาหลีเหนือ กับกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย[5] แต่การบริการได้หยุดชะงักลงช่วงหนึ่งระหว่างสงครามเกาหลี จนต่อมาในปี ค.ศ. 1953 สายการบินได้กลับมาเปิดใหม่อีกครั้งในชื่อ ยูแคมปส์[5] (เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น กรมการบินพลเรือนเกาหลี (CAAK) ในคริสต์ทศวรรษ 1970) เริ่มเปิดให้บริการเที่ยวบินวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1955 และถูกแทนที่ภายใต้การควบคุมของกรมการบินพลเรือนเกาหลี (CAAK)[3] ได้ให้บริการเครื่องบิน ลิซูโนฟ ลิ-2, อานโตนอฟ อาน-2 และอิลยูชิน อิล-12 ส่วนเครื่องบินเทอร์โบ อิลยูชิน อิล-14 และอิลยูชิน อิล-18 ก็ได้ถูกนำเข้ามาเพิ่มในคริสต์ทศวรรษ 1960

การให้บริการเครื่องบินไอพ่น

[แก้]

การให้บริการเครื่องบินไอพ่น เริ่มในปี ค.ศ. 1975 เมื่อเครื่องบินตูโปเลฟ ตู-154 ลำแรกได้ให้บริการเที่ยวบินจากกรุงเปียงยาง ไปยังปราก, เบอร์ลินตะวันออก (ในขณะนั้น) และมอสโก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเครื่องบินตู-154 มีจำนวนไม่เพียงพอ เครื่องบินจึงจำเป็นต้องจอดรับผู้โดยสารระหว่างทางที่อีร์คุตสค์และโนโวซีบีสค์เพิ่มด้วย ต่อมาเครื่องบิน ตู-154, ตู-134 และ อาน-24 ก็เริ่มให้บริการเที่ยวบินในประเทศ

เครื่องบิน ตู-154 มีจำนวนมากขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 และเครื่องบิน อิลยูชิน อิล-62 ก็ได้ให้บริการครั้งแรกในปี ค.ศ. 1982 (เป็นเครื่องบินของบุคคลสำคัญ)[6] ในฐานะเที่ยวบินระหว่างประเทศ เปียงยาง-มอสโก โดยไม่หยุดรับผู้โดยสารระหว่างทาง ในช่วงนี้ โซเฟียและเบลเกรด ก็ได้เป็นจุดหมายปลายทางเพิ่มด้วย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการควบคุมการบินในยุโรป ได้มีข้อกำหนดเกี่ยวกับมลพิษทางเสียง แอร์โครยอจึงถูกสั่งห้ามไม่ให้ลงจอดที่ท่าอากาศยานใด ๆ ในทวีปยุโรปอีกเลย

สกายแทร็กซ์ ได้ประเมินสายการบินแอร์โครยอให้เป็นสายการบินที่แย่ที่สุดในโลก (ในด้านการบริการและความปลอดภัย) และยังเป็นสายการบินเดียวในโลกที่ได้รับการประเมิน 1 ดาว เนื่องจากการบริการที่ไม่มีประสิทธิภาพ[7]

การจัดซื้อเครื่องบินใหม่และขยายเที่ยวบิน

[แก้]

หลังจากสิ้นสุดสงครามเย็น และการล่มสลายของรัฐคอมมิวนิสต์ ซึ่งส่งผลให้มีเที่ยวบินระหว่างประเทศน้อยลง กรมการบินพลเรือนเกาหลี (CAAK) ได้เปลี่ยนชื่อเป็น แอร์โครยอ ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1992 ต่อมาในปี ค.ศ. 1993 แอร์โครยอได้สั่งซื้อเครื่องบิน อิลยูชิน อิล-76 จำนวน 3 ลำ เพื่อใช้ขนส่งสินค้าไปยังประเทศจีนและรัสเซีย และยังซื้อเครื่องบิน ตูโปเลฟ ตู-204-300 ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2007 และมีนาคม ค.ศ. 2010[8] เพื่อนำมาใช้ในเที่ยวบินระหว่างประเทศแทนเครื่องเก่า[9] หลังจากนั้น แอร์โครยอก็เริ่มปรับปรุงเครื่องบินให้ดีขึ้น และมีแผนเที่ยวบินไปยุโรป พร้อมกับเครื่องบินใหม่ ตู-204

เครื่องบินขนส่งสินค้า อิลยูชิน อิล-76 ที่ท่าอากาศยานนานาชาติเชเรเมเตียโว กรุงมอสโก ในปี ค.ศ. 1994

ในเดือนกันยายน 2009 แอร์โครยอได้สั่งซื้อตัวอย่างเครื่องบิน ตู-204-300 และตู-204-100 และยังเจรจาในการสั่งซื้อเครื่องบินซุคฮอย ซูเปอร์เจ็ต 100 เพื่อใช้แทนที่เครื่องบิน ตู-134 และอาน-24

ต่อมา แอร์โครยอได้รับเครื่องบิน ตูโปเลฟ ตู-204-100B จำนวน 210 ที่นั่ง และใช้เป็นเที่ยวบินไปยังเมืองต้าเหลียน ประเทศจีน และในปี ค.ศ. 2010 ได้ทำพิธีเปิดเที่ยวบินเปียงยาง-เซี่ยงไฮ้ผู่ตง (เครื่องบิน ตู-134) โดยให้บริการ 2 เที่ยวบินต่อสัปดาห์[10][11][12] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2015 แอร์โครยอได้ทำการเปิดเที่ยวบินใหม่ไปยังปักกิ่ง, วลาดีวอสตอค และเฉิ่นหยาง[13]

การให้บริการในเส้นทางใหม่

[แก้]

ในปี ค.ศ. 2011 แอร์โครยอได้เปิดเที่ยวบินใหม่ไปยังกัวลาลัมเปอร์และคูเวตซิตี โดยเครื่องบิน ตูโปเลฟ ตู-204 เปิดให้บริการช่วงฤดูการท่องเที่ยว คือช่วงเดือนเมษายน ถึงตุลาคม[14]

ในปี ค.ศ. 2012 แอร์โครยอได้กลับมาเปิดเที่ยวบินกัวลาลัมเปอร์อีกครั้ง พร้อมกับการขยายเที่ยวบินไปยังเมืองฮาร์บิน ประเทศจีน[15][16] และในปีเดียวกัน บริษัทชูเช ซึ่งเป็นบริษัทนำเที่ยว ก็ได้เปิดเส้นทางท่องเที่ยวในเกาหลีเหนือโดยเครื่องบินส่วนตัว เครื่องบินที่ให้บริการได้แก่ อิล-76, มิล-17, อาน-24, ตู-134 และตู-154 ส่วนเที่ยวบินระหว่างประเทศ ใช้เครื่องบิน ตู-204 หรือไม่ก็ อิล-62

จุดหมายปลายทาง

[แก้]

ประวัติเที่ยวบินระหว่างเกาหลีเหนือ–เกาหลีใต้

[แก้]

เที่ยวบินระหว่างประเทศ เกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้ ให้บริการครั้งแรกในปี ค.ศ. 2003 โดยเครื่องบิน ตูโปเลฟ ตู-154 ลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน แอร์โครยอเคยให้บริการเที่ยวบิน 40 เที่ยวไปยังโซล, ยังยัง และปูซาน ในประเทศเกาหลีใต้[17] ส่วนเที่ยวบินจากท่าอากาศยานฮัมฮึง ไปยังท่าอากาศยานนานาชาติยังยังนั้น เริ่มในปี ค.ศ. 2002[18] แต่ต่อมาท่าอากาศยานยังยังได้ปิดตัวลงในปี ค.ศ. 2008 และไม่มีเที่ยวบินพาณิชย์ระหว่างเกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้อีกเลย

ฝูงบิน

[แก้]
เครื่องบิน อิล-62M (พี-881) ที่ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง ในปี ค.ศ. 2003

ณ เดือนมกราคม พ.ศ. 2558 ฝูงบินของแอร์โครยอทั้งหมดประกอบไปด้วยเครื่องบินดังต่อไปนี้[19]

ฝูงบินของแอร์โครยอ
เครื่องบิน ประจำการ สั่งซื้อ จำนวนที่นั่ง หมายเหตุ
ทั้งหมด
อานโตนอฟ อาน-24R/RV [20] 3 0 52 52
อานโตนอฟ อาน-148-100B 2 8 62 70
อิลยูชิน อิล-18D [21] 1 ? ? ?
อิลยูชิน อิล-62M 2 12 178 180 เครื่องบินส่วนตัวของรัฐบาลเกาหลีเหนือ
2 เฉพาะกิจ ลายด้านข้างเป็นลายรัฐบาลเกาหลีเหนือ[22]
ตูโปเลฟ ตู-134B-3 [23] 2 0 76 76
ตูโปเลฟ ตู-154B/B-2 2 16 136 152
ตูโปเลฟ ตู-204-100B 1 0 210 210
ตูโปเลฟ ตู-204-300 1 16 150 166
ฝูงบินของแอร์โครยอคาร์โก้
อิลยูชิน อิล-76TD [21] 3
ทั้งหมด 18 1

การปรับให้ทันสมัย

[แก้]
เครื่องบิน ตู-204 ที่ท่าอากาศยานนานาชาติเปียงยางซูนัน
ภายในห้องโดยสาร เครื่องบิน ตู-204
เครื่องบิน ตู-204 และรถโดยสารเทียบประตูทางออกที่ ท่าอากาศยานนานาชาติเปียงยางซูนัน

ในปัจจุบัน แอร์โครยออยู่ระหว่างการระดมหาเครื่องบินใหม่ โดยเครื่องบินใหม่อาจจะถูกสร้างโดยรัสเซีย เนื่องจากถูกปิดกั้นจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป แอร์โครยอได้เลือกเครื่องบิน อิลยูชิน อิล-96 และซุคฮอย ซูเปอร์เจ็ต 100 ส่วนเครื่องบินที่มีอยู่อย่าง ตูโปเลฟ ตู-204 ก็มีประสิทธิภาพในการบินไปยังมอสโกโดยไม่หยุดพัก นอกจากนี้ แอร์โครยอยังได้ติดตั้งจอโทรทัศน์ในเครื่องบินตูโปเลฟ ตู-204 อีกด้วย

นิตรสาร แอร์ไลเนอร์เวิลด์ รายงานว่า แอร์โครยอ พยายามที่จะบินไปยังยุโรปอีกครั้ง ซึ่งเป็นปัจจัยที่จะให้เกิดเที่ยวบินเปียงยาง-เบอร์ลินในอนาคต การบินไปยังยุโรปได้รับการยินยอมอีกครั้งในเดือนเมษายน ค.ศ. 2010 หลังจากถูกปิดกั้นมา 7 ปี ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2011 แอร์โครยอ ได้เปิดเที่ยวบินจากกรุงเปียงยางไปยังกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย สัปดาห์ละ 2 เที่ยว โดยเครื่องบิน ตู-204 และเที่ยวบินไปยังคูเวตซิตี ทุกสัปดาห์[14]

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2012 ได้มีการเปิดจองที่นั่งออนไลน์เป็นครั้งแรก[7] และในช่วงไตรมาสแรกของปี ค.ศ. 2013 แอร์โครยอได้รับเครื่องบินใหม่อีกครั้ง เป็นเครื่องบิน อานโตนอฟ อาน-148[24]

ตูโปเลฟ ตู-204

[แก้]

เครื่องบิน ตูโปเลฟ ตู-204 ลำแรก ถูกส่งมอบเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 2007 ซึ่งถูกส่งข้ามฟากจากอุลยานอฟสก์มายังเปียงยาง ประกอบไปด้วยที่นั่งชั้นธุรกิจ 16 ที่ และชั้นประหยัด 150 ที่ เครื่องบินลำนี้เป็นเครื่องบิน ตูโปเลฟ ตู-204-300 ลำแรกที่ถูกส่งออกนอกประเทศรัสเซีย

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 เครื่องบิน ตู-204 ถูกกำหนดให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ ระหว่างเปียงยาง-สิงคโปร์ และเปียงยาง-กรุงเทพมหานคร

แอร์โครยอได้ให้บริการเครื่องบินไอพ่น ตู-204-100B ซึ่งเป็นรูปแบบที่ทันสมัยกว่าเครื่องบิน ตู-204-300 และในวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 2010 แอร์โครยอได้รับมอบเครื่องบิน ตู-204-100B ลำที่สอง[25] และเริ่มให้บริการในวันถัด ๆ มา[26]

วันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2010 เครื่องบิน ตูโปเลฟ ตู-204 จำนวน 2 ลำ ได้บินไปยังสหภาพยุโรป และมีโอกาสสูงที่เที่ยวบินเปียงยาง-เบอร์ลิน จะกลับมาให้บริการในอนาคต[27]

อุบัติเหตุและอุบัติการณ์

[แก้]
เครื่องบิน อิล-76, ตู-204, อิล-62, ตู-154 และตู-134 ที่ท่าอากาศยานนานาชาติเปียงยางซูนัน

การถูกสั่งห้ามไม่ให้เข้าไปในสหภาพยุโรป

[แก้]

เนื่องจากปัจจัยด้านความปลอดภัยและมลพิษทางเสียง แอร์โครยอจึงถูกสั่งห้ามไม่ให้เข้าไปในสหภาพยุโรป ตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 2006 คณะกรรมาธิการแห่งสหภาพยุโรป ได้พบข้อบกพร่องของเครื่องบินในหลุมจอดของท่าอากาศยานในประเทศฝรั่งเศสและเยอรมนี ทำให้แอร์โครยอถูกกล่าวหาด้านการให้บริการเครื่องบินที่บกพร่องมาก และยังล้มเหลวในการเจรจากับกรมการบินพลเรือนฝรั่งเศส ทำให้ฝ่ายฝรั่งเศสมองว่าสายการบินนี้มีประสิทธิภาพตกต่ำมาก นอกจากนี้ องค์กรอีซียังกล่าวว่า เกาหลีเหนือควบคุมสายการบินประจำชาติได้ไม่เพียงพอ และการประชุมที่ชิคาโก ก็ได้สรุปว่า ด้วยเหตุนี้ หากวัดกันด้วยพื้นฐานของเกณฑ์ตัดสินทั่วไปแล้ว[30] คณะกรรมการจึงได้ประเมินผลว่า แอร์โครยอไม่มีมาตรฐานความปลอดภัยที่ดีพอ[31]

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2010 แอร์โครยอ ได้รับอนุญาตให้กลับไปบินเหนือน่านฟ้ายุโรปได้อีกครั้ง โดยเครื่องบิน ตู-204 ซึ่งมีอุปกรณ์ที่เหมาะสม และเข้ากันกับมาตรฐานนานาชาติ อย่างไรก็ตาม เครื่องบินประเภทอื่น ยังคงถูกสั่งห้าม[27][32][33]

การประเมินสายการบิน

[แก้]

แอร์โครยอ เป็นเพียงสายการบินเดียวที่ได้รับการประเมินเพียง 1 ดาว จาก 681 สายการบิน ได้รับการประเมินโดย สกายแทร็กซ์[34] ซึ่งแอร์โครยอได้รับการประเมิน 1 ดาวมาแล้ว 4 ปีติดต่อกัน[35]

สมุดภาพ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "» Pyongyang Airport provides flight service worldwide". Korea-dpr.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-29. สืบค้นเมื่อ 9 October 2010.
  2. "Contact เก็บถาวร 2011-06-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." Air Koryo. Retrieved on 6 August 2009. "Democratic People's Republic of Korea P'yongyang – Head office Air Koryo Sunan District P'yongyang"
  3. 3.0 3.1 "Directory: World Airlines". Flight International. 27 March 2007. p. 59.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-27. สืบค้นเมื่อ 2015-04-18.
  5. 5.0 5.1 "World Airlines Survey". Flight Global: 512. 13 April 1961. สืบค้นเมื่อ 5 October 2014.
  6. Kim Jong-Un's 'Air Force One' Revealed, 12 may 2014, The Chonsunilbo
  7. 7.0 7.1 "'World's worst airline' launches online booking". Telegraph. 31 May 2011. สืบค้นเมื่อ 2012-10-25.
  8. Air Koryo Asian Info, Retrieved 25 January 2015
  9. "North Korea's quirky (and unsafe) Air Koryo survives and, increasingly, appears to thrive". International Herald Tribune. 29 March 2009. สืบค้นเมื่อ 9 October 2010.
  10. "North Korean Economy Watch » Blog Archive » Air Koryo launches Shanghai-Pyongyang flights". Nkeconwatch.com. 28 July 2010. สืบค้นเมื่อ 9 October 2010.
  11. "2010年*上海=平壤8月散客*出团计划 行行摄摄 旅游摄影 出行旅游论坛". www.dayout.com.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-07. สืบค้นเมื่อ 9 October 2010.
  12. "Photo ť P-814 (CN: 66368) Air Koryo Tupolev Tu-134 by LGY". Jetphotos.net. สืบค้นเมื่อ 9 October 2010.
  13. (25 January 2015) Air Koryo - cheap flights to Pyongyang เก็บถาวร 2020-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Air Koryo web site, Retrieved 25 January 2015
  14. 14.0 14.1 "Al - Malek International Group". Almalekint.com. สืบค้นเมื่อ 2012-10-25.
  15. JL (2012-02-23). "Air Koryo to Start Pyongyang – Harbin Charter service from late-Apr 2012 | Airline Route – Worldwide Airline Route Updates". Airlineroute.net. สืบค้นเมื่อ 2013-08-15.
  16. JL (2012-03-19). "Air Koryo S12 Operation Changes to Kuala Lumpur | Airline Route – Worldwide Airline Route Updates". Airlineroute.net. สืบค้นเมื่อ 2013-08-15.
  17. "air koryo | 2003 | 2045 | Flight Archive". Flightglobal.com. สืบค้นเมื่อ 9 October 2010.
  18. "N. Korean plane to test-fly direct air route with South". Asia Africa Intelligence Wire. 20 July 2002.
  19. "Air Koryo". ch-aviation.ch. สืบค้นเมื่อ 2013-08-15.
  20. Air Koryo Antonov fleet list
  21. 21.0 21.1 Air Koryo Ilyushin fleet list
  22. Air Koryo VIP IL-62M now operating in Govt. livery
  23. Air Kory Tupolev flet list
  24. "Air Koryo - The Official Webpage of the national airline of the DPRK". Korea-dpr.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-05. สืบค้นเมื่อ 9 October 2010.
  25. "Самолёт Ту-204-100В передан авиакомпании "Air Koryo" – Аргументы и Факты". Ul.aif.ru. สืบค้นเมื่อ 9 October 2010.
  26. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-10. สืบค้นเมื่อ 2015-04-18.
  27. 27.0 27.1 "EU Bans All Airlines From Philippines, Sudan in New Blacklist". BusinessWeek. 30 March 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-29. สืบค้นเมื่อ 9 October 2010.
  28. "Aviation Safety Database report". Aviation-safety.net. 1 July 1983. สืบค้นเมื่อ 9 October 2010.
  29. UPI. "AROUND THE WORLD; 23 Killed in Guinea Crash Of a North Korean Plane". The New York Times. สืบค้นเมื่อ July 6, 1983. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  30. Fly Well portal เก็บถาวร 2006-07-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (Which contains links to the common air transport policy)(อังกฤษ), European Commission, 22 March 2006
  31. Commission Regulation (EC) No 474/2006 of 22 March 2006 เก็บถาวร 2013-10-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (PDF-file)(อังกฤษ), European Commission, 22 March 2006
  32. "Commission updates the list of airlines banned from the European airspace". Europa Press Release Database. 30 March 2010.
  33. "EU Upholds Flight Ban". Radio Free Asia. 13 January 2010.
  34. "Airline Rating". Skytrax. สืบค้นเมื่อ 7 December 2013.
  35. (22 January 2015) And the very worst airline in the world is... เก็บถาวร 2015-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Traveller24, Retrieved 25 January 2015

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]