ข้ามไปเนื้อหา

ราชอาณาจักรนาวาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ราชอาณาจักรปัมโปลนา)
ราชอาณาจักรนาวาร์

Reino de Navarra
Nafarroako Erresuma
ค.ศ. 824–ค.ศ. 1620
ธงชาติราชอาณาจักรนาวาร์
ธงชาติ
ตราแผ่นดินของราชอาณาจักรนาวาร์
ตราแผ่นดิน
ราชอาณาจักรนาวาร์ ค.ศ. 1400 (เขียวเข้ม)
ราชอาณาจักรนาวาร์ ค.ศ. 1400 (เขียวเข้ม)
สถานะราชอาณาจักร
เมืองหลวงปัมโปลนา
ภาษาทั่วไปบาสก์, สเปน
ศาสนา
คริสต์ศาสนา (โรมันคาทอลิก)
การปกครองราชาธิปไตย
ยุคประวัติศาสตร์สมัยกลาง
• ก่อการกบฏต่อจักรวรรดิแฟรงก์
ค.ศ. 824
• เปลี่ยนชื่อจากปัมโปลนาเป็นนาวาร์
ค.ศ. 1004
• สเปนผนวกนาวาร์ตอนไต้
ค.ศ. 1522
• รวมกับฝรั่งเศสโดยการเสกสมรสในรัชสมัยของพระเจ้าอ็องรีที่ 4
ค.ศ. 1589
• สิ้นสุด
ค.ศ. 1620
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิแฟรงก์
ฝรั่งเศสสมัยใหม่ตอนต้น
สเปนสมัยราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค

ราชอาณาจักรนาวาร์ (อังกฤษ: Kingdom of Navarre; สเปน: Reino de Navarra; ฝรั่งเศส: Royaume de Navarre) เดิมชื่อ ราชอาณาจักรปัมโปลนา[1] เป็นราชอาณาจักรในยุโรปที่ตั้งอยู่สองฝั่งเหนือใต้ของเทือกเขาพิรินีทางด้านมหาสมุทรแอตแลนติก

ราชอาณาจักรนาวาร์ก่อตั้งขึ้นเมื่อ Íñigo I of Pamplona ผู้นำบาสก์ (Basque) ผู้ได้รับเลือกและประกาศให้เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งปัมโปลนา (ราว ค.ศ. 824) นำการกบฏต่อต้านอำนาจการปกครองของชาวแฟรงก์ในบริเวณนั้น

ด้านใต้ของราชอาณาจักรถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรกัสติยาในปี ค.ศ. 1513 ซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสเปน ทางด้านเหนือยังคงเป็นอิสระจนมารวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศสโดยการสมรสในปี ค.ศ. 1589 เมื่อพระเจ้าอ็องรีที่ 3 แห่งนาวาร์ทรงขึ้นครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสเป็นพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส และในที่สุดก็รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1620

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ยุคเริ่มต้นของราชวงศ์นาวาร์

[แก้]

ในปี ค.ศ. 714 ชาวมัวร์ซึ่งเป็นชาวมุสลิมได้เข้ายึดครองลุ่มแม่น้ำเอโบร ทว่ามีอำนาจไม่มากพอที่จะกุมอำนาจทางการเมืองและสังคมได้ ผู้ปกครองชาวบาสก์ของปัมโปลนาจึงยังคงมีอิสรภาพในระดับหนึ่ง ต่อมาชาวคริสต์ลุกขึ้นมาต่อต้านชาวมัวร์ ราวปี ค.ศ. 798 อิญญิโก อารีสตาได้ยุติการอยู่ภายใต้อำนาจของชาวมัวร์และสถาปนาตนเป็นผู้ปกครองอิสระภายใต้ร่มเงาของชาวแฟรงก์ อันเป็นจุดเริ่มต้นของราชวงศ์อิญญิเกซ ราชวงศ์แรกที่ปกครองนาวาร์ (หรือราชอาณาจักรปัมโปลนา) ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อพระเจ้าการ์ซีอา อิญญิเกซได้ขึ้นครองอำนาจ ราชวงศ์อิญญิเกซของนาวาร์ก็มีอำนาจแข็งแกร่งพอที่จะไม่ต้องอยู่ภายใต้ร่วมเงาของใคร พระองค์ได้สร้างสายสัมพันธ์ทางการทูตและครอบครัวกับราชอาณาจักรอัสตูเรียส

สถานะทางการเมืองของนาวาร์เป็นมั่นคงขึ้นภายใต้การปกครองของราชวงศ์ต่อมา คือ ราชวงศ์ฆีเมเนส พระเจ้าซันโช การ์เซส ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฆีเมเนสได้ดำเนินนโยบายขยายอาณาเขตด้วยการต่อสู้กับชาวมัวร์ พระองค์ได้สร้างสัมพันธไมตรีกับราชอาณาจักรคริสเตียนอื่น ๆ ในคาบสมุทรไอบีเรีย

ยุคเรืองอำนาจ

[แก้]

ภายใต้การปกครองของพระเจ้าซันโช การ์เซสและรัชกาลต่อ ๆ มานาวาร์ก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดทางอำนาจ การผสมผสานระหว่างความช่ำชองทางการทูตและความแข็งแกร่งทางการทหารทำให้ราชอาณาจักรอยู่รอดในยุคที่อิทธิพลของรัฐเคาะลีฟะฮ์ในสเปนรุ่งเรืองถึงขีดสุดในคริสต์ศตวรรษที่ 10

พระเจ้าซันโช การ์เซสที่ 3 มหาราชซึ่งปกครองนาวาร์ตั้งแต่ ค.ศ. 1004 ถึง ค.ศ. 1035 สามารถรวมราชอาณาจักรชาวคริสต์ในสเปนเป็นหนึ่งเดียวได้เป็นระยะเวลาสั้น ๆ โดยทรงปกครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของชาวคริสต์ในคาบสมุทรไอบีเรีย ได้แก่ ปัมโปลนา, นาเฆรา, อารากอน, โซบราเบ, ริบาร์โกร์ซา, กัสติยา และเลออน ขณะเดียวกันได้อ้างสิทธิ์ในกัสกอญและเคาน์ตีบาร์เซโลนา รัชสมัยของพระองค์เป็นยุคแห่งการขยายตัวทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจของราชอาณาจักรปัมโปลนาไปพร้อม ๆ กับการขยายอาณาเขต พระมหากษัตริย์นาวาร์เป็นผู้บริหารจัดการเส้นทางสู่ซันเตียโก ทรงนำสถาปัตยกรรมแบบโรมาเนสก์มาใช้ และเผยแผ่วัฒนธรรมคลูนิคไปทั่วราชอาณาจักร

ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 ราชอาณาจักรปัมโปลนาถูกบีบให้หยุดการขยายอาณาเขตเนื่องจากอำนาจที่เพิ่มขึ้นของกัสติยาและอารากอน ซึ่งคุกคามความมั่นคงทางการเมืองของราชอาณาจักรที่ผนวกรวมเป็นหนึ่งเดียว การไม่ยอมตัดสินใจว่าจะตั้งตนเป็นอิสระหรือจะอยู่ภายใต้ร่วมเงาของฝรั่งเศสทำให้กษัตริย์ของกัสติยาและอารากอนซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของนาวาร์ตกอยู่ในสถานะลำบากในช่วงสมัยกลางตอนต้น

ยุคภายใต้ราชบัลลังก์อารากอน

[แก้]

จักรวรรดิของพระเจ้าซันโชคงอยู่ได้ไม่นาน ในปี ค.ศ. 1076 พระเจ้าซันโช รามีเรซแห่งอารากอนได้เข้ายึดครองปัมโปลนา ทำให้ราชอาณาจักรตกอยู่ภายใต้การปกครองของอารากอนจนถึงปี ค.ศ. 1134 กระทั่งแยกตัวออกมาในรัชสมัยของพระเจ้าการ์ซีอา รามีเรส และกลับมามีอิสรภาพทางการเมืองอีกครั้ง ในรัชสมัยต่อมาของพระเจ้าซันโชที่ 6 ราชอาณาจักรปัมโปลนาได้เปลี่ยนชื่อเป็นราชอาณาจักรนาวาร์ เพื่อยืนยันถึงอำนาจทางการเมืองและความเป็นอธิปไตยทางอาณาเขต ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรอื่นในคาบสมุทรไอบีเรีย โดยเฉพาะกัสติยา

ทว่าในระหว่างการกอบกู้อิสรภาพกลับคืนมานี้อาณาจักรได้สูญเสียอาณาเขตไปอย่างต่อเนื่อง จนในปี ค.ศ. 1200 ในรัชสมัยของพระเจ้าซันโชที่ 7 ดินแดนอาลาบา, กีปุซโกอา และดุรันเกซาโดในบิซกายาถูกพระมหากษัตริยกัสติยาพิชิตเอาไป ฝั่งตะวันตกของนาวาร์จึงถูกพรมแดนของกัสติยาขวางไว้ บีบให้นาวาร์หันไปให้ความสนใจกับการขยายอาณาเขตไปทางเหนือสู่ดินแดนอุลตราปูเอร์ตอสของฝรั่งเศสและทางตะวันออกสู่พื้นที่ชายแดนที่ติดกับอารากอนแทน

ยุคภายใต้อิทธิพลของฝรั่งเศส

[แก้]

ทิศทางของประวัติศาสตร์นาวาร์เปลี่ยนไปในปี ค.ศ. 1234 เมื่อการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าซันโชที่ 7 ทำให้ราชวงศ์นาวาร์สิ้นสุดลง ราชอาณาจักรยอมอยู่ภายใต้อิทธิพลของฝรั่งเศสเพื่อเอาตัวรอดจากแรงกดดันจากกัสติยาและอารากอน ชาวฝรั่งเศสกลุ่มแรกที่ขึ้นครองบัลลังก์นาวาร์คือราชวงศ์ช็องปาญ โดยตีโบที่ 1 เคานต์แห่งช็องปาญ พระภาคิไนยของพระเจ้าซันโชที่ 7 ต่อด้วยราชวงศ์กาแปที่ครองทั้งบัลลังก์ฝรั่งเศสและบัลลังก์นาวาร์ในช่วง ค.ศ. 1274 ถึง ค.ศ. 1326 ผู้ปกครองชาวฝรั่งเศสที่โด่งดังในประวัติศาสตร์นาวาร์คือชาร์ลที่ 2 เคานต์แห่งเอเวรอที่ทำให้นาวาร์มีความสำคัญในระดับนานาชาติจากการเข้าไปพัวพันในกิจการภายในของฝรั่งเศส จนนำพาราชอาณาจักรต่าง ๆ ในคาบสมุทรไอบีเรียเข้าสู่สงครามร้อยปี ชาร์ลมีความทะเยอทะยานที่จะกอบกู้ดินแดนเดิมในสเปนที่เคยเป็นราชอาณาจักรในยุคของพระเจ้าซันโช การ์เซสที่ 3 กลับคืนมา พระองค์ได้รับสมญานามว่า "ผู้ร้ายกาจ" จากการปรับเปลี่ยนนโยบายด้านการต่างประเทศของนาวาร์อย่างน่าไม่อายอยู่บ่อยครั้ง เพื่อปรับเปลี่ยแรงกดดันจากต่างประเทศที่มีต่อนาวาร์ ทว่าพระเจ้าชาร์ลเป็นทีจงรักภักดีของคนในปกครองและรักษาเอกราชของนาวาร์ไว้ได้ แต่พระองค์ได้สูญเสียการครอบครองในฝรั่งเศสทั้งหมดยกเว้นอัลเลียนปูเอร์ตอส ในปี ค.ศ. 1379 พระองค์ถูกบีบคั้นจนต้องยอมให้ทหารรักษาการณ์ของกัสติยาเข้ามาอยู่ในปราสาททางตอนใต้ของพระองค์

ความขัดแย้งเรื่องการสืบราชบัลลังก์และการสิ้นสภาพความเป็นราชอาณาจักร

[แก้]

การสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าชาร์ลที่ 3 ก่อเกิดความขัดแย้งในการสืบราชบัลลังก์จนนำไปสู่สงครามกลางเมือง พระเจ้าชวนที่ 2 ผู้นำฝ่ายอารากอนได้สมรสกับบลังกา ทายาทในราชบัลลังก์นาวาร์และขึ้นครองตำแหน่งเป็นกษัตริยแห่งนาวาร์และอารากอนในปี ค.ศ. 1458

ในปี ค.ศ. 1484 ราชบัลลังก์ตกเป็นของฌ็องที่ 2 แห่งอาลแบร แต่อิสรภาพเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้สำหรับนาวาร์ซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างสองรัฐใหญ่ที่เป็นศัตรูกัน คือ ฝรั่งเศสและสเปน สงครามภายในดำเนินอยู่ครึ่งศตวรรษและสร้างประโยชน์ให้แก่พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอนซึ่งให้การสนับสนุนฝ่ายบูมงต์และเข้ารุกรานนาวาร์ในปี ค.ศ. 1512 ในปี ค.ศ. 1515 ราชอาณาจักรถูกผนวกเข้ากับราชบัลลังก์กัสติยาอย่างเป็นทางการ ความพ่ายแพ้อย่างสมบูรณ์ทำให้ดอนฌ็องและดอนญากาตาลีนา เด อาลแบร สองกษัตริย์คู่สุดท้ายแห่งนาวาร์ขอลี้ภัยในอีกฝั่งหนึ่งของเทือกเขาพิรินีและไม่ได้ข้ามกลับมาอีก ทั้งคู่ได้ให้การสนับสนุนราชวงศ์บูร์บงที่ขึ้นมามีอำนาจในฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1555 นาวาร์ฝั่งฝรั่งเศสซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ราบชันทางตะวันตกของเทือกเขาพิรินียังคงความเป็นราชอาณาจักรอิสระได้จนถึงปี ค.ศ. 1589 จนถูกรวมเข้ากับฝรั่งเศส ราชวงศ์บูร์บงของฝรั่งเศสได้ขึ้นปกครองสเปนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1700 เป็นต้นมา แต่ในฝรั่งเศสราชวงศ์ถูกปฏิวัติในปี ค.ศ. 1789

หลังถูกกัสติยาพิชิต นาวาร์ถูกบริหารปกครองโดยอุปราชซึ่งมีอำนาจเทียบเท่ากษัตริย์แห่งปัมโปลนา ขณะเดียวกันหน่วยงานต่าง ๆ ของราชอาณาจักร โดยเฉพาะสภานิติบัญญัติ มียังคงอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 17 ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ได้มีการออกกฎหมายยกให้การเงินของราชอาณาจักรอยู่ในการตัดสินใจของกษัตริย์สเปน ในปี ค.ศ. 1576 ได้มีการจัดตั้งสภาอาณาจักรขึ้นมาแทนที่สภานิติบัญญัติและบริหารปกครองนาวาร์ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นสภาจังหวัด ต่อด้วยสภาภูมิภาคนาวาร์ และในปี ค.ศ. 1982 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นรัฐบาลนาวาร์ แม้จะเป็นส่วนหนึ่งของสเปน แต่นาวาร์มีการบริหารปกครองและกฎหมายเป็นของตนเองในฐานะแคว้นปกครองตนเอง

การสืบราชบัลลังก์

[แก้]

ราชวงศ์อิญญิเกซ

[แก้]
  • พระเจ้าอิญญิโก อาริสตาแห่งปัมโปลนา ปฐมกษัตริย์แห่งนาวาร์ (หรือปัมโปลนา) ผู้ก่อตั้งชาติในปี ค.ศ. 824
  • พระเจ้าการ์เซีย อิญญิเกซ สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระราชบิดาในปี ค.ศ. 851 หรือ ค.ศ. 852
  • พระเจ้าฟอร์ตุน การ์เซส สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระราชบิดาในปี ค.ศ. 870 ทรงครองราชย์เป็นเวลา 30 ปีและเป็นพระมเหากษัตริย์คนสุดท้ายของราชวงศ์อิญญิเกซ พระมเหสีของพระองค์เป็นพระราชินีที่ได้รับการบันทึกชื่อคนแรกของปัมโปลนา ทรงมีพระนามว่าออเรีย พระเจ้าฟอร์ตุน การ์เซสถูกแทนที่โดยซันโช การ์เซสในปี ค.ศ. 905 และเกษียณตนเข้าสู่อาราม ทรงสิ้นพระชนม์ในอารามดังกล่าวในปี ค.ศ. 922

ราชวงศ์ฆีเมเนซ

[แก้]

ราชวงศ์บลัว

[แก้]

ราชวงศ์กาแป

[แก้]

ราชวงศ์เอเวรอ

[แก้]

ราชวงศ์ตรัสตามารา

[แก้]
  • สมเด็จพระราชินีนาถบลังกาที่ 2 แห่งนาวาร์ พระราชธิดาของพระราชินีบล็องช (บลังกา) ที่ 1 และพระขนิษฐาของการ์โลส พระนางอภิเษกสมรสกับพระเจ้าเอนริเกที่ 4 แห่งกัสติยา แต่ชีวิตสมรส 13 ปีของทั้งคู่ถูกประกาศให้เป็นโมฆะด้วยเหตุผลว่าไม่เคยสมบูรณ์และบลังกาถูกส่งตัวกลับบ้าน พระนางถูกพระบิดาจับขังคุกจนสิ้นพระชนม์
  • สมเด็จพระราชินีนาถเลโอนอร์ที่ 1 แห่งนาวาร์ สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระเชษฐภคินี พระนางไม่ได้รับสิทธิ์ตามตำแหน่งจากพระบิดาเช่นกัน แต่สองพ่อลูกมีมิตรภาพที่ดีต่อกันมากพอที่จะทำให้พระนางได้รับอนุญาตให้ทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแห่งนาวาร์ พระนางแต่งงานกับแกสตงที่ 4 เคานต์แห่งฟรัวซ์ เมื่อพระเจ้าชวนที่ 2 สิ้นพระชนม์ พระราชินีเลโอนอร์จึงได้เข้ารับการสาบานตนเป็นพระมหากษัตริย์แห่งนาวาร์ แต่ทรงสิ้นพระชนม์ในอีกสองสัปดาห์ต่อมา

ราชวงศ์ฟลัวซ์

[แก้]

ราชวงศ์อาลแบร

[แก้]

ราชวงศ์บูร์บง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Catholic Encyclopedia. Diocese of Pamplona. [1]
  • Ariqita y Lasa, Colección de documentos para la historia de Navarra (Pamplona, 1900)
  • Bascle de Lagreze, La Navarre française (Paris, 1881)
  • Blade, Les Vascons espagnols (Agen, 1891)
  • Pierre Boissonade, Histoire de la reunion de la Navarre à la Castille (Paris, 1893)
  • Chappuys, Histoire du royaume de Navarre (Paris, 1590; 1616)
  • Favyn, Histoire de Navarre (Paris, 1612)
  • Ferreras, La Historia de España (Madrid, 1700-27)
  • Galland, Memoires sur la Navarre (Paris, 1648)
  • Idem, Annales del reino de Navarra (5 vols., Pamplona, 1684-95; 12 vols., Tolosa, 1890-92)
  • Idem, Diccionario de las antigüedades de Nayanna (Pamplona, 1840-43)
  • Idem, Historia compendiada del reino de Navarra (S. Sebastián, 1832)
  • Jaurgain, La Vasconie (Pau, 1898)
  • de Marca, Histoire de Bearn (Paris, 1640)
  • Moret, Investigationes históricas del reino de Navarra (Pamplona, 1655)
  • Oihenart, Notitia utriusque Vasconiae (Paris, 1656)
  • Sorauren, Mikel. Historia de Navarra, el estado vasco. Pamiela, 1999. ISBN 84-7681-299-X
  • Risco, La Vasconia en España Sagrada, XXXII (Madrid, 1779)
  • Ruano Prieto, Anexión del Reino de Navarra en tiempo del Rey Católico (Madrid, 1899)
  • Urzaniqui, Tomás, and de Olaizola, Juan María. La Navarra marítima. Pamiela, 1998. ISBN 84-7681-293-0
  • Yanguas y Miranda, Crónica de los reyes de Navarra (Pamplona, 1843)

ดูเพิ่ม

[แก้]