ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง
ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง[1] (อังกฤษ: heir apparent) คือทายาทผู้ (นอกจากมีเหตุการณ์อันคาดไม่ถึง) ที่ไม่สามารถมีผู้ใดมาแทนได้ในการรับตำแหน่งหรือมรดก เป็นคำที่ตรงกันข้ามกับคำว่า “ทายาทโดยสันนิษฐาน” (heir presumptive) ผู้เป็นทายาทอยู่ในสายที่มีสิทธิแต่อาจจะมาแทนได้เมื่อใดก็ได้
กรณีที่หมายถึงทายาทตำแหน่งขุนนางสืบตระกูลโดยเฉพาะในกรณีของพระมหากษัตริย์จะเรียกว่ารัชทายาท (heir to the throne) และใช้เป็นอุปลักษณ์ว่าผู้นั้นเป็นผู้ได้ผ่านพิธีในการยอมรับในตำแหน่งเช่นว่าอย่างเป็นทางการ (“anointed”) ไม่ว่าจะเป็นในด้านการเมืองหรือผู้นำทางธุรกิจ
“ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง” ไม่ปรากฏบ่อยนักและถ้าใช้ในภาษาอังกฤษก็มักจะใช้ในรูป “Heir Apparent” สถาบันพระมหากษัตริย์ส่วนใหญ่แล้วก็จะมีตำแหน่งเป็นทางการสำหรับรัชทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงเช่น “มกุฎราชกุมาร” หรือมีตำแหน่งที่มีชื่อเฉพาะเช่น “เจ้าชายแห่งออเรนจ์” (Prince of Orange) ในเนเธอร์แลนด์ “เจ้าชายแห่งเวลส์” ในสหราชอาณาจักร หรือ เจ้าชายแห่งอัสตูเรียส ในสเปน ดยุกแห่งบราบันต์ ใน เบลเยียม
ตำแหน่ง
[แก้]ตำแหน่งสำหรับทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงมีดังนี้
ตำแหน่งอื่น ๆ
[แก้]ปัจจุบัน
[แก้]- ดยุกแห่งบราบันต์ (เบลเยียม)
- ดยุกแห่งบรากันซา (โปรตุเกส)
- ดยุกแห่งคอร์นวอลล์ (อังกฤษ)
- ดยุกแห่งรอธซี (สกอตแลนด์)
- เจ้าชายแห่งอัสตูเรียส (สเปน)
- เจ้าชายแห่งฌิโรนา (อารากอน)
- เจ้าชายแห่งออเรนจ์ (เนเธอร์แลนด์)
- เจ้าชายแห่งเวลส์ (บริเตนใหญ่)
ในอดีต
[แก้]- โดแฟ็ง (ฝรั่งเศส)
- ดยุกแห่งบรากันซา (โปรตุเกส)
- มาร์คกราฟแห่งมอเรเวีย (โบฮีเมีย)
- เจ้าชายแห่งเพียมอนเต (อิตาลี)
- เจ้าชายแห่งเนเปิลส์ (อิตาลี)
- เจ้าชายแห่งเทอร์โนโว (บัลแกเรีย)
- เจ้าชายแห่งเวียนา (นาวาร์)
- จุลกษัตริย์ (ฮังการี)
- ซาเรวิช (รัสเซีย)
- ซีซาร์ (โรมัน)
- ซิมบาซิเลวส์ (ไบแซนไทน์)
- เอเธลลิง (แองโกล-แซกซัน)
- ดยุคแห่งเอสโตเนีย (เดนมาร์ก)
- เจ้าชายแห่งนอร์เวย์ (เดนมาร์ก–นอร์เวย์)
- ดยุคแห่งวาล็องติโน (โมนาโก)
- พระมหากษัตริย์แห่งชาวโรมัน (โรมันอันศักดิ์สิทธิ์)
- ดยุคแห่งสปาร์ตา (กรีซ)
- มาซควิสแห่งบุซ (โมนาโก)
- เจ้าชายแห่งบราซิล (โปรตุเกส)
- ดยุคแห่งสแกนเนีย (สวีเดน)
- เจ้าชายแห่งอานิ (อาร์เมเนียตะสันตก)
- เจ้าชายแห่งอัลบาลูเลีย (โรมาเนีย)
- แกรนด์วอยโวเดอแห่งกราโฮโว (มอนเตเนโกร)
- เจ้าชายแห่งเวนิส (อิตาลี)
- ดยุคแห่งกาลาเบรีย (ซิซิลีทั้งสอง)
- เจ้าชายแห่งซาอิด (อียิปต์)
- เจ้าจากัวร์ (เมโสอเมริกา)
- เจ้าแห่งฮาวาย (ฮาวาย)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2009-05-02.