ข้ามไปเนื้อหา

รังสิมันต์ โรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รังสิมันต์ โรม
รังสิมันต์ ในปี พ.ศ. 2563
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562
(5 ปี 95 วัน)
โฆษกพรรคก้าวไกล
เริ่มดำรงตำแหน่ง
30 เมษายน พ.ศ. 2565
(2 ปี 58 วัน)
ก่อนหน้าวิโรจน์ ลักขณาอดิศร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด31 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 (32 ปี)
จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย
พรรคการเมืองอนาคตใหม่ (2561–2563)
ก้าวไกล (2563–ปัจจุบัน)
คู่สมรสอิวาน่า คูร์เนียวาติ (Ivana Kurniawati)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อาชีพนักศึกษา
นักการเมือง

รังสิมันต์ โรม (เกิด 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2535[1]) ชื่อเล่น พลู[2] เป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองและนักการเมืองชาวไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคก้าวไกล โฆษกพรรคก้าวไกล อดีตผู้ช่วยเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่[3] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่ และโฆษกคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร[4]

ประวัติ

รังสิมันต์ โรม เป็นลูกครึ่งไทย-อเมริกัน เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ที่จังหวัดภูเก็ต​ แต่ไปเติบโตที่จังหวัดนครศรีธรรมราช​ เป็นบุตรของมาร์ค โรม ชาวอเมริกัน และ นภาภรณ์ เฮาส์[3] จบมัธยมศึกษาที่โรงเรียนทวีธาภิเศก จบปริญญาตรีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันกำลังศึกษาระดับปริญญาโทที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[5]

การเคลื่อนไหวทางการเมือง

รังสิมันต์ โรม ได้เคลื่อนไหวทางการเมืองกับกลุ่มศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย โดยเข้าร่วมกิจกรรมการทานแซนวิช เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557 เนื่องในวาระครบรอบรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 1 เดือน[6] และเป็นนักเคลื่อนไหวกิจกรรมทางการเมืองในกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีประชาธิปไตย โดยมีบทบาทในการส่งเสริมประชาธิปไตยในมหาวิทยาลัยและการเมืองในประเทศ โดยมีเพื่อนนักเคลื่อนเป็นจำนวนมากเข้าร่วมกลุ่ม

ภายหลังรังสิมันต์ โรม ได้แยกทำกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมืองมาภายหลังการจับกุมหน้าหอศิลป์เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ภายใต้ชื่อว่า กลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่ (NDM)[7]

การทำงานด้านการเมือง

รังสิมันต์ โรม ได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคอนาคตใหม่พร้อมกับ ปิยะรัฐ จงเทพ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2561[8] โดยลงรับสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อพรรคอนาคตใหม่ในลำดับที่ 16[9] ซึ่งรังสิมันต์ โรม ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หลังการเลือกตั้งปี 24 มีนาคม 2562

ภายหลังการยุบพรรคอนาคตใหม่ รังสิมันต์ โรม เป็นหนึ่งใน 54 อดีตส.ส.พรรคอนาคตใหม่ ย้ายไปสังกัดพรรคก้าวไกล ร่วมกับ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ โดยได้รับตำแหน่งรองเลขาธิการ และโฆษกพรรคตามลำดับ ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 เขาสมัครเป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของพรรคก้าวไกล ลำดับที่ 8[10] อีกทั้งเขาได้ไปให้กำลังใจสมาชิกพรรคที่ลงสมัคร ส.ส. จังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ 3 เมษายน ปีเดียวกันอีกด้วย[11]

ประวัติการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 บัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 บัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคก้าวไกล

อ้างอิง

  1. นายรังสิมันต์  โรม
  2. งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ
  3. 3.0 3.1 "บัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของนายรังสิมันต์ โรม" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-26. สืบค้นเมื่อ 2019-09-14.
  4. “ช่อ” นั่งเก้าอี้ รองประธาน กมธ.กฎหมาย-ยุติธรรม ส่วน “โรม” นั่งตำแหน่ง โฆษกกมธ.
  5. “รังสิมันต์ โรม” เขาทำมาหากินอะไร ??
  6. ทำไมแซนด์วิชมีสรรพคุณต้านรัฐประหาร? คุยกับนักศึกษาขอพื้นที่ให้สปิริต ปชต.
  7. นศ.หอศิลป์-ดาวดิน แถลงย้ำจุดยืนเคลื่อนไหว เย็นวันนี้จัดกิจกรรมอีกที่อนุสาวรีย์ปชต.
  8. พรรคอนาคตใหม่: ทางเลือกใหม่ ของ รังสิมันต์ โรม สู้กับรัฐประหาร
  9. เปิด 50 บัญชีรายชื่อปาร์ตี้ลิสต์อนาคตใหม่ ลุ้นนั่ง ส.ส.
  10. "เช็ค 92 รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เรียงตามลำดับ". prachatai.com.
  11. ""โรม" นำทีมว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.นครศรีฯ ทั้ง 10 เขต มั่นใจปักธงส้มได้แน่". Thai PBS.

แหล่งข้อมูลอื่น