ข้ามไปเนื้อหา

มาร์การิดาแห่งพรอว็องส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาร์การิดาแห่งพรอว็องส์
พระราชินีคู่สมรสแห่งฝรั่งเศส
ดำรงพระยศ27 พฤษภาคม ค.ศ.1234 - 25 สิงหาคม ค.ศ.1270
ราชาภิเษก28 พฤษภาคม ค.ศ.1234
ประสูติฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ.1221
ฟอร์แกลคิเยร์, แอลป์-เดอ-อูต์-พรอว็องส์
สวรรคต20 ธันวาคม ค.ศ.1295 (พระชนมายุ 74 ชันษา)
ปารีส
ฝังพระศพแซ็งด์เดอนีส์บาซิลิกา
คู่อภิเษกพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส
พระราชบุตร
ดูรายละเอียด...
อิซาเบลลา ราชินีแห่งนาวาร์
หลุยส์แห่งฝรั่งเศส
พระเจ้าฟิลิปที่ 3 แห่งฝรั่งเศส
จอห์น ทริสต็อง เคานต์แห่งวาลัวส์
ปิแอร์ เคานต์แห่งแปช
บล็องช์ อินฟานตาแห่งคาสตีล
มาร์การิดา ดัชเชสแห่งบราบง
โรแบต์ เคานต์แห่งแคลร์มง
แอ็กเนส ดัชเชสแห่งเบอร์กันดี
ราชวงศ์บาร์เซโลนา
พระราชบิดาราโมน บารังเกที่ 4 เคานต์แห่งพรอว็องส์
พระราชมารดาเบียทริซแห่งซาวัว
ศาสนาโรมันคาทอลิก

มาร์การิดาแห่งพรอว็องส์ (ภาษาอังกฤษ: Margaret of Provence; ค.ศ.1221 - 20 ธันวาคม ค.ศ.1295) เป็นพระราชินีแห่งฝรั่งเศสจากการอภิเษกสมรสกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 9

ชีวิตวัยเด็ก

[แก้]

มาร์การิดาประสูติในฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ.1221 ในฟอร์แกลคิเยร์[1] พระองค์เป็นคนโตในบุตรสาวสี่คนของราโมน บารังเกที่ 4 เคานต์แห่งพรอว็องส์ กับเบียทริซแห่งซาวัว พระขนิษฐาของพระองค์คือพระราชินีเอเลนอร์แห่งอังกฤษ, พระราชินีซ็องเจียแห่งเยอรมนี และพระราชินีเบียทริซแห่งซิซิลี พระองค์สนิทสนมกับเอเลนอร์เป็นพิเศษ ด้วยมีอายุใกล้เคียงกัน และด้วยความสัมพันธ์อันดีที่มีต่อกันจนโต[2]

พระราชินี

[แก้]

ใน ค.ศ.1233 บล็องช์แห่งคาสตีลส่งหนึ่งในอัศวินของพระองค์มาพรอว็องส์ ส่วนหนึ่งเพื่อถ่วงดุลสร้างความลำบากใจให้แก่เรย์มงด์ที่ 7 เคานต์แห่งตูลูส และอีกส่วนหนึ่งเพื่อยลโฉมมาร์การิดา ที่ความสง่าและความงามเป็นที่พูดถึงในวงกว้าง มาร์การิดากับบิดาของพระองค์ดูแลอัศวินเป็นอย่างดี และหลังจากนั้นไม่นานบล็องช์ก็เจรจากับเคานต์แห่งพรอว็องส์ ขอลูกสาวมาอภิเษกสมรสกับกษัตริย์ มาร์การิดาได้รับเลือกให้เป็นคู่ที่เหมาะสมของกษัตริย์จากการอุทิศตนให้กับศาสนาและมารยาทตามแบบราชสำนักมากกว่าความงาม พระองค์ได้รับการอารักขาไปลียงโดยบิดามารดาเพื่อแต่งงานตามสนธิสัญญาที่จะได้รับการลงนาม จากที่นั่น พระองค์ได้รับการอารักขาไปที่งานอภิเษกสมรสของพระองค์ในซ็องซ์โดยพระมาตุลาจากซาวัว วิลเลี่ยมกับโธมัส ในวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ.1234 ด้วยพระชนมายุ 13 ชันษา มาร์การิดากลายเป็นพระมเหสีของหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและพระราชินีคู่สมรสแห่งฝรั่งเศส[3] พระองค์ได้รับการสวมมงกุฎในวันต่อมา[1] งานอภิเษกสมรสและการราชาภิเษกเป็นพระราชินีถูกเฉลิมฉลองที่มหาวิหารแห่งซ็องซ์[3]

การแต่งงานเป็นการแต่งงานที่ยากลำบากครั้งหนึ่งในหลายๆแง่[3] บล็องช์ยังคงมีอิทธิพลอย่างมากเหนือพระโอรส และจะมีไปตลอดพระชนม์ชีพ[4] สัญญาณแห่งอำนาจของพระองค์คือ หลังงานอภิเษกสมรสไม่นาน บล็องช์ไล่พระมาตุลาของมาร์การิดากับข้ารับใช้ตั้งแต่วัยเด็กที่พระองค์พามาด้วยกลับไป มาร์การิดาไม่พอใจบล็องช์และบล็องช์ก็ไม่พอใจพระองค์เช่นกันตั้งแต่เริ่มต้น[3]

มาร์การิดานั้น เช่นเดียวกับพี่น้องหญิงของพระองค์ ถูกกล่าวถึงในเรื่องของความงาม พระองค์ถูกพูดถึงว่า "งดงาม มีผมสีดำและตาสวย"[5] และในช่วงปีแรกๆของการอภิเษกสมรส พระองค์กับหลุยส์ที่ความสัมพันธ์ที่อบอุ่นต่อกัน ผู้สารภาพบาปนิกายฟรานซิสกันของพระองค์ วิลเลี่ยม เดอ แซ็งต์ แปธุส เล่าว่าในคืนที่หนาวเย็น มาร์การิดาจะวางเสื้อคลุมลงบนบ่าของหลุยส์ ในยามที่สามีผู้ศรัทธาในศาสนาอย่างแรงกล้าของพระองค์ลุกขึ้นมาสวดมนต์ อีกเกร็ดประวัติศาสตร์ที่บันทึกโดยแซ็งต์ ปาธุส เล่าว่ามาร์การิดารู้สึกว่าเสื้อผ้าที่ธรรมดาของหลุยส์ไม่สมพระเกียรติ ซึ่งหลุยส์ตอบกลับว่าพระองค์จะใส่เสื้อผ้าตามที่มาร์การิดาต้องการ หากมาร์การิดาใส่เสื้อผ้าตามที่พระองค์ต้องการ

ทั้งคู่เพลิดเพลินกับการขี่ม้า, อ่านหนังสือ และฟังดนตรีด้วยกัน ความสนใจของหลุยส์และราชสำนักพุ่งไปที่พระราชินีคนใหม่จนทำให้บล็องช์อิจฉา และพระองค์ตั้งหน้าตั้งตาทำให้กษัตริย์กับพระราชินีแยกห่างจากกันมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

ช่วงครูเสดครั้งที่เจ็ด

[แก้]

มาร์การิดาร่วมเดินทางกับหลุยส์ไปทำครูเสดครั้งที่เจ็ด (ครั้งแรกของทั้งคู่) พระขนิษฐาของพระองค์ เบียทริซ ก็ร่วมเดินทางด้วย แม้ตอนแรกการทำครูเสดจะประสบผลสำเร็จ อย่างเช่นการยึดแดมิเอ็ตต้าได้ใน ค.ศ.1249 แต่มันกลายเป็นหายนะหลังพระอนุชาของกษัตริย์ถูกฆ่าและกษัตริย์ถูกจับตัว

พระราชินีมาร์การิดามีส่วนในการเจรจาและรวบรวมเงินให้มากพอกับค่าไถ่ตัวของพระองค์ พระองค์จึงเป็นผู้หญิงคนเดียวที่เคยเป็นผู้นำในการทำครูเสดในช่วงเวลาสั้นๆ ใน ค.ศ.1250 ขณะที่ในแดมิเอ็ตต้า พระองค์ประสูติพระโอรส ฌ็อง ทริสต็อง[6][7]

นักเขียนพงศาวดาร ฌ็อง เดอ จอยน์วีลล์ เล่าเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญชาญชัยของมาร์การิดาหลังหลุยส์ตกเป็นนักโทษในอียิปต์: พระองค์กระทำการอย่างเด็ดขาดเพื่อหาอาหารมาให้ชาวคริสต์ในแดมิเอ็ตต้า และทำถึงขั้นขอให้อัศวินที่คุ้มกันห้องนอนของพระองค์ฆ่าพระองค์กับพระโอรสที่เพิ่งเกิดเสียหากเมืองตกเป็นของชาวอาหรับ พระองค์ยังโน้มน้าวคนที่กำลังจะไปให้อยู่ปกป้องแดมิเอ็ตต้า จอยน์วีลล์ยังเล่าเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงอารมณ์ขันของมาร์การิดา ในเหตุการณ์หนึ่งที่จอยน์วีลล์ส่งเสื้อผ้าดีๆไปให้พระองค์และในตอนที่พระราชินีเห็นคนส่งของของเขาถือมันเข้าไป พระองค์คุกเข่าลงด้วยความเข้าใจผิดคาดว่าเขาเอาโบราณวัตถุศักดิ์สิทธิ์มาให้ ในตอนที่รู้ตัวว่าตนเข้าใจผิด พระองค์ระเบิดหัวเราะออกมาและสั่งกับคนส่งของว่า "บอกนายของเจ้าว่าวันที่เลวร้ายรอเขาอยู่ โทษฐานที่ทำให้ข้าคุกเข่าให้คาเมลีนของเขา"

ทว่าจอยน์วีลล์ให้ข้อคิดเห็นด้วยความไม่เห็นด้วยอย่างสังเกตเห็นต่การที่พระเจ้าหลุยส์แทบไม่เคยถามถึงพระมเหสีกับพระโอรสธิดา ในช่วงเวลาที่อันตรายที่สุดในช่วงของพายุที่เลวร้ายในการเดินทางจากการทำครูเสดกลับฝรั่งเศสทางทะเล มาร์การิดาขอร้องให้จอยน์วีลล์ช่วยพระองค์ เขาบอกให้พระองค์สวดมนต์ขอให้แคล้วคลาด และปฏิญาณว่าเมื่อไปถึงฝรั่งเศส พระองค์จะทำการจาริกแสวงบุญและเสนอเรือทองคำที่มีภาพของกษัตริย์ พระองค์เอง และพระโอรสธิดาให้เป็นการขอบคุณที่ช่วยให้หนีจากพายุมาได้ มาร์การิดาตอบเพียงว่าพระองค์ไม่กล้าปฏิญาณโดยที่ยังไม่ได้รับการอนุญาตจากกษัตริย์ เพราะเมื่อไหร่ที่หลุยส์จับได้ว่าพระองค์ทำเช่นนั้น พระองค์จะไม่ยอมให้มาร์การิดาทำการจาริกแสวงบุญ ในท้ายที่สุด จอยน์วีลล์สัญญากับพระองค์ว่าหากพระองค์ทำการปฏิญาณ เขาจะทำการจาริกแสวงบุญแทนพระองคค์ และเมื่อทั้งคู่ไปถึงฝรั่งเศสเขาก็ทำตามที่บอก[8][9]

ความสำคัญทางการเมือง

[แก้]

ความเป็นผู้นำของพระองค์ในช่วงครูเสดนำมาซึ่งเกรียรติคุณในระดับนานาชาติและหลังจากกลับมาฝรั่งเศส มาร์การิดามักถูกขอให้ไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง แม้พระองค์จะกลัวความทะเยอทะยานของพระอนุชาของพระสวามี ชาร์ล แต่ก็ได้เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับสายสัมพันธ์กับพระขนิษฐา เอเลนอร์ กับพระสวามี พระเจ้าเฮนรี่ที่ 3 แห่งอังกฤษ เป็นการถ่วงน้ำหนัก ใน ค.ศ.1254 พระองค์กับพระสวามีเชื้อเชิญทั้งคู่มาใช้เวลาช่วงคริสต์มาสในปารีส

ต่อมาใน ค.ศ.1259 สนธิสัญญาปารีส ก็เกิดขึ้นเมื่อความสัมพันธ์ระหว่างหลุยส์กับเฮนรี่ที่ 3 แห่งอังกฤษได้พัฒนามากขึ้น มาร์การิดาปรากฏตัวในช่วงที่มีการเจรจา พร้อมกับพี่น้องผู้หญิงทุกคนของพระองค์และมารดา

ในปีหลังๆ หลุยส์เริ่มรำคาญกับความทะเยอทะยานของมาร์การิดา ดูเหมือนว่าการเมืองหรือไม่ก็การทูตทำให้พระองค์จำเป็นต้องทะเยอทะยาน แต่ค่อนไปในทางไม่เหมาะสม ทูตอังกฤษที่ปารีสในยุค 1250 รายงานต่ออังกฤษ ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงถึงความรังเกียจ ว่า "พระราชินีแห่งฝรั่งเศสพูดจาและมีพฤติกรรมที่น่าเบื่อ" และจากรายงานของทูตเรื่องการสนทนากับพระราชินีชัดเจนว่าพระองค์พยายามสร้างโอกาสให้ตนเองที่แม้แต่ทูตเองก็ไม่ประทับใจในความพยายามของพระองค์ หลังการสวรรคตของพระโอรสคนโต หลุยส์ ใน ค.ศ.1260 มาร์การิดาชี้ชวนพระโอรสองค์รองลงมา ฟิลิป ให้ปฏิญาณว่าไม่ว่าพระองค์จะได้สืบทอดต่อบัลลังก์ตอนอายุเท่าใดก็ตาม พระองค์จะยังคงอยู่ภายใต้การอนุบาลของพระองค์ไปจนกว่าจะพระชนมายุ 30 ชันษา เมื่อหลุยส์ทราบถึงเรื่องการปฏิญาณนี้ พระองค์ขอพระสันตะปาปาทันที ให้ยกโทษให้ฟิลิปที่กล่าวคำปฏิญาณด้วยเหตุผลที่ว่าตัวฟิลิปเองไม่มีอำนาจที่จะกระทำ และพระสันตะปาปายอมทำตามทันที สุดท้ายความพยายามของมาร์การิดาทำให้ตัวพระองค์เองกลายเป็นบล็องช์แห่งคาสตีลคนที่สอง มาร์การิดาล้มเหลวอย่างต่อเนื่องในการใช้อิทธิพลให้พระนัดดา เอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ หลีกเลี่ยงการแต่งงานของหนึ่งในพระธิดาที่จะยิ่งสร้างข้อได้เปรียบในพรอว็องส์ บ้านเกิดของพระองค์ ให้กับพระขนิษฐภรรดา ชาร์ลแห่งอ็องฌู ที่อภิเษกสมรสกับพระขนิษฐาคนเล็กของพระองค์ เบียทริซ

พระราชินีม่าย

[แก้]

หลังการสิ้นพระชนม์ของหลุยส์ในครูเสดครั้งที่สองของพระองค์ใน ค.ศ.1270[3] ในช่วงที่มาร์การ์เร็ตยังคงอยู่ในฝรั่งเศส พระองค์กลับไปพรอว็องส์ มาร์การิดาเป็นบุคคลที่เคลื่อนไหวทางการเมืองมากขึ้นหลังการสิ้นพระชนม์[3] เอ็มเมอร์สันเขียนว่าพระองค์รีบเร่งเป็นพิเศษในการตั้งกองทหารขึ้นมาปกป้องสิทธิ์ของพระองค์ในพรอว็องส์ ที่ซึ่งพระอนุชาของพระสวามีของพระองค์ ชาร์ลแห่งอ็องฌู ยังคงรักษาอำนาจทางการเมืองและการควบคุมดินแดนไว้ได้หลังการสิ้นพระชนม์ของพระมเหสี ขัดกับความตั้งใจของเคานต์คนก่อนที่ตายใน ค.ศ.1245[3] พระองค์ซื่อสัตย์ต่อพระขนิษฐา พระราชินีเอเลนอร์แห่งอังกฤษ และทั้งคู่ยังคงติดต่อกันจนกระทั่งเอเลนอร์สิ้นพระชนม์ใน ค.ศ.1291 ปีท้ายๆของพระองค์ถูกใช้ไปกับการทำงานในทางศาสนา รวมไปถึงการก่อตั้งสำนักชีนิกายฟรานซิสกันแห่งลูร์ซินส์ใน ค.ศ.1289[3] ตัวมาร์การิดาเองสิ้นพระชนม์ในปารีส ที่อารามพัวร์แคลร์ที่พระองค์ได้ก่อตั้ง[10] เมื่อ 20 ธันวาคม ค.ศ.1295 ด้วยพระชนมายุ 74 ชันษา พระองค์ถูกฝังอยู่ใกล้ๆ (แต่ไม่ได้ติดกัน) กับพระสวามีในบาซิลิกาแห่งแซ็งต์เดอนีส์นอกปารีส

พระโอรสธิดา

[แก้]

มีพระโอรสธิดากับพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส 11 คน[3]

  1. บล็องช์ (ค.ศ.1240 - 29 เมษายน ค.ศ.1243)
  2. อิซาเบลลา (2 มีนาคม ค.ศ.1241 - 28 มกราคม ค.ศ.1271) อภิเษกสมรสกับเธโอบาลด์แห่งนาวาร์
  3. หลุยส์ (25 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1244 - มกราคม ค.ศ.1260)
  4. ฟิลิปที่ 3 แห่งฝรั่งเศส (1 พฤษภาคม ค.ศ.1245 - 5 ตุลาคม ค.ศ.1285) อภิเษกสมรสครั้งแรกกับอิซาเบลลาแห่งอารากอน ที่มีพระโอรสธิดากับพระองค์ รวมถึงฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศสกับชาร์ล เคานต์แห่งวาลัวส์; อภิเษกสมรสครั้งที่สองกับมาเรียแห่งบราบงต์ ที่มีพระโอรสธิดากับพระองค์ รวมถึงมาร์การิดาแห่งฝรั่งเศส
  5. จอห์น (ประสูติและสิ้นพระชนม์ในค.ศ.1248)
  6. จอห์น ทริสต็อง (ค.ศ.1250 - 3 สิงหาคม ค.ศ.1270) ประสูติในอียิปต์ในครูเสดครั้งแรกของพระบิดา และสิ้นพระชนม์ในตูนิเซียในครูเสดครั้งที่สองของพระบิดา
  7. ปิแอร์ (ค.ศ.1251-1284)
  8. บล็องช์ (ค.ศ.1253-1323) แต่งงานกับแฟร์ดินันด์ เดอ ลา เซร์ดา อินฟานเตแห่งคาสตีล
  9. มาร์การิดา (ค.ศ.1254-1271) แต่งงานกับจอห์นที่ 1 ดยุคแห่งบราบงต์
  10. โรแบต์ เคานต์แห่งแคลร์มงต์ (ค.ศ.1256 - 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1317) แต่งงานกับเบียทริซแห่งเบอร์กันดี เลดี้แห่งบราบงต์ ที่มีบุตรกับพระองค์ กษัตริย์บูร์บงแห่งฝรั่งเศสสืบเชื้อสายมาจากพระองค์ผ่านทางสายเพศชาย
  11. แอ็กเนส (ค.ศ.1260 - 19 ธันวาคม ค.ศ.1327) แต่งงานกับโรแบต์ที่ 2 ดยุคแห่งเบอร์กันดี

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Richardson 2011, p. 121.
  2. Howell 2001, p. 3.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 3.8 Emmerson 2013, p. 448.
  4. Shadis 2010, p. 17-19.
  5. Costain 1951, p. 125-126.
  6. Joinville 1963, p. 262-263.
  7. Hodgson 2007, p. 167-170.
  8. Joinville 2008.
  9. Hodgson 2007, p. 105-106, 120-125.
  10. Robson 2007, p. 328.