พระยาศรีภูริปรีชา (กมล สาลักษณ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาเสวกโท นายกองตรี
พระยาศรีภูริปรีชา
(กมล สาลักษณ)
พระยาศรีภูริปรีชา (กมล สาลักษณ)
ขณะดำรงตำแหน่งสมุหพระอาลักษณ์ฝ่ายพระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ. 2459
สมุหพระอาลักษณ์
ฝ่ายพระบรมมหาราชวัง (ฝ่ายวังหลวง)
ดำรงตำแหน่ง
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2460
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เจ้ากรมพระอาลักษณ์
ดำรงตำแหน่ง
20 พฤษภาคม พ.ศ. 2436 – 24 มกราคม พ.ศ. 2437
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าพระยาศรีสุนทรโวหาร (ฟัก สาลักษณ)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404
สี่กั๊กพระยาศรี
เขตพระนคร กรุงรัตนโกสินทร์
เสียชีวิต3 มีนาคม พ.ศ. 2460 (56 ปี)
บุตรพระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน สาลักษณ)
บุพการี
อาชีพขุนนาง
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองเสือป่า
ประจำการพ.ศ. ไม่ปรากฏ – พ.ศ. 2460
ยศนายกองตรี

มหาเสวกโท นายกองตรี พระยาศรีภูริปรีชา (4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404 - 3 มีนาคม พ.ศ. 2460) นามเดิม กมล ผู้ได้รับพระราชทานนามสกุลสาลักษณ สมุหพระอาลักษณ์ เลขานุการรัฐมนตรีสภา ปลัดทูลฉลองกระทรวงเกษตราธิการ ปลัดทูลฉลองกระทรวงมุรธาธร ผู้ช่วยราชเลขาธิการ ราชเลขานุการ[1] องคมนตรี[2]

ปฐมวัย[แก้]

มหาเสวกโท พระยาศรีภูริปรีชา มีนามเดิมว่า กมล เป็นบุตรของพระยาศรีสุนทรโวหาร (ฟัก สาลักษณ) เจ้ากรมพระอาลักษณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 กับคุณหญิงอิ่ม เกิดเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2404 ปีระกา ที่เรือนมารดาในบ้านของพระศรีสหเทพ (เพง) ซึ่งตั้งอยู่ติดกับสี่แยกถนนเจริญกรุง และถนนเฟื่องนคร หรือที่รู้จักกันในนามของสี่กั๊กพระยาศรีในปัจจุบัน

พระยาศรีภูริปรีชาได้เริ่มเรียนหนังสือตั้งแต่ยังเล็ก โดยมารดาได้เริ่มสอนอ่านหนังสือตั้งแต่ 5 ขวบ ครั้นบิดา พระยาศรีสุนทรโวหาร (ฟัก สาลักษณ) ได้พาขึ้นเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยให้อ่านหนังสือถวายตัว จนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชหฤทัยเอ็นดูและพระราชทานทองคำลิ่มเป็นรางวัล

การศึกษา[แก้]

เนื่องจากพระยาศรีสุนทรโวหาร (ฟัก สาลักษณ) ผู้เป็นบิดา แม้ว่าจะเป็นผู้ที่มีความรู้มากอย่างยิ่ง แต่ก็หาได้มีเวลาว่างจากงานราชการเลย มหาเสวกโท พระยาศรีภูริปรีชา (กมล สาลักษณ) จึงต้องเที่ยวเรียนวิชาในสำนักอื่น อาทิเช่น วัดพระเชตุพน สำนักพระมงคลเทพมุนี (เที่ยง) สำนักพระครูสมุหคณิศร (โต) และสำนักหมอยอน ฮัสเสต ชันดเลอร์ (หมอจัน) ซึ่งเป็นครูสอนศาสนาชาวอเมริกัน เป็นต้น

นอกจากนี้ พระยาศรีภูริปรีชายังเคยได้รับการอบรมสั่งสอนวิชาจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ร่วมกับนายเจิม ซึ่งเป็นน้องชาย เมื่อครั้นยังเป็นเสมียนฝึกหัด[3]

ชีวิตราชการ[แก้]

ราชการพิเศษ[แก้]

  • กรรมการองคมนตรี
  • ที่ปรึกษาความฎีกาทูลเกล้าฯ ถวาย
  • กรรมการหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร (หอสมุดแห่งชาติ)[13]
  • เลขานุการกรรมการจัดการสร้างพระบรมรูปทรงม้า
  • เลขานุการกรรมการจัดการสมโภชราชสมบัติครบ 41 ปี
  • 29 พฤศจิกายน 2459 กรรมการวรรณคดีสโมสร[14]
  • เลขาธิการราชนาวีสมาคมแห่งกรุงสยาม

ยศและบรรดาศักดิ์[แก้]

บรรดาศักดิ์[แก้]

  • มหาดเล็กวิเศษ
  • พ.ศ. 2428 นายจำนงราชกิจ ศักดินา 500
  • พ.ศ. 2433 หลวงจำนงนริศร ศักดินา 800
  • พ.ศ. 2436 พระยาศรีสุนทรโวหาร ญาณปรีชามาตย์ บรมนารถนิตยภักดี พิริยะพาหะ ศักดินา 3000
  • พ.ศ. 2459 พระยาศรีภูริปรีชา รามาธิปติราชภักดี ศรีสาลักษณวิสัย อภัยพิริยพาหะ ศักดินา 10000

ยศข้าราชการกระทรวงวัง[แก้]

  • มหาเสวกตรี
  • 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 มหาเสวกโท[15]

ยศกองเสือป่า[แก้]

  • 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2455 นายหมู่ตรี[16]
  • นายหมู่ใหญ่
  • 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2457 นายหมวดตรี[17]
  • 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2458 นายหมวดโท[18]
  • นายกองตรี

พระราชทานนามสกุล[แก้]

ด้วยเหตุที่ตระกูลสาลักษณได้รับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท ในตำแหน่งเจ้ากรมพระอาลักษณ์ถึงสามชั้น นับตั้งแต่รุ่นบิดา อันได้แก่ พระยาศรีสุนทรโวหาร (ฟัก สาลักษณ) เจ้ากรมพระอาลักษณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สืบต่อมายัง มหาเสวกโท พระยาศรีภูริปรีชา สมุหพระอาลักษณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จวบจนกระทั่งถึงบุตร คือ มหาเสวกตรี พระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน สาลักษณ) ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ดำรงในตำแหน่งเจ้ากรมพระอาลักษณ์สืบทอดต่อจากปู่และบิดาด้วยเช่นกัน

สำหรับการพระราชทานนามสกุล ปรากฏใน พระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ความว่า :-

วันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๔๕๖

ถึง พระยาศรีสุนทรโวหาร (กมล)

นามสกุลของเจ้าที่ขอมานั้น ข้าได้ไตร่ตองดูแล้ว เห็นว่าในสกุลของเจ้าได้มีผู้ได้เคยรับใช้พระเจ้าแผ่นดินในน่าที่อาลักษณ์ เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยมาแล้วติตต่อกันได้สองชั่วคน ซึ่งถ้าจะคิดไปก็ควรนับว่าเป็นสิ่งควรรำฦกถึงและเปนที่ภาคภูมิใจแห่งลูกหลาน เพราะมิใช่ของง่ายที่บุตรจะรับมฤดกบิดาได้ในน่าที่ราชการอย่างเช่นเจ้ากับบิดาเจ้า เพราะเหตุนี้ ข้าขอให้นามสกุลของเจ้าว่า สาลักษณ (เขียนเปนตัวอักษรโรมันว่า Salakshna) เพื่อให้เปนพยานความชอบแห่งบิดาเจ้าและตัวเจ้า ขอให้สกุลสาลักษณ์เจริญรุ่งเรืองและมั่นคงอยู่ในกรุงสยามชั่วกัลปาวสาร

วชิราวุธ ป.ร.[19]: ก 

โดยนามสกุลสาลักษณนับเป็นนามสกุลพระราชทานชุดแรกในลำดับที่ 56 ของประกาศกระทรวงมุรธาธร เรื่อง การพระราชทานนามสกุลครั้งที่ 1[20]

ผลงานทางด้านการประพันธ์และงานทางด้านสาธารณกุศล[แก้]

นอกจากงานในหน้าที่ราชการแล้ว มหาเสวกโท พระยาศรีภูริปรีชา (กมล สาลักษณ) ยังได้รับการยกย่องให้เป็นนักประพันธ์คนสำคัญท่านหนึ่งของประเทศไทย ดังจะเห็นได้จากผลงานอันประกอบไปด้วย

  • 1. ตำนานทัพเรือไทย (พิมพ์ลงในหนังสือสมุทรสาร)
  • 2. บทละครดึกดำบรรพ์ เรื่องสิทธิธนู ซึ่งใช้เป็นหนังสืออ่านประกอบนอกเวลาวิชาภาษาไทยตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ วก.228/2538 และวก.256/2538[21]
  • 3. คำเจรจาโขนหลวง ตอนสุครีพถอนพญารัง และตอนถวายลิง
  • 4. โคลงสุภาษิต

ในส่วนของงานทางด้านสาธารณกุศล มหาเสวกโทพระยาศรีภูริปรีชาได้มีการบริจาคทานอยู่เป็นนิจ ดังจะเห็นได้จากการบริจาคเงินเป็นจำนวน 45 บาท เพื่อเป็นสาธารณกุศลในการพยาบาล เนื่องในโอกาสคล้ายวันเกิด โดยมอบให้แก่เจ้าพนักงานกระทรวงธรรมการเป็นผู้นำไปดำเนินการต่อ[22] เป็นต้น

รวมไปถึงการสร้างตึกสาลักษณาลัย[23] ภายในวัดโสมนัสราชวรวิหาร เพื่อเป็นโรงเรียนสำหรับสาธารณประโยชน์ โดยสร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่คุณหญิง (พึ่ง) ศรีภูริปรีชา และได้ขอแบบจากกรมศึกษาธิการไปจัดการก่อสร้างเป็นตึกสองชั้น ยาว 8 วา กว้างในประธาน 4 วา สามารถจุนักเรียนได้ห้องละ 30 คน รวมทั้งสิ้น 4 ห้อง โดยในการนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีพระราชศรัทธาพระราชทานทรัพย์เข้าในส่วนกุศล ร่วมด้วยเจ้านายหลายพระองค์ และข้าราชการอีกเป็นจำนวนมาก พร้อมกันนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามตึกโรงเรียนหลังดังกล่าวนี้ว่า สาลักษณาลัย อีกด้วย

มหาเสวกโท พระยาศรีภูริปรีชา ได้มอบตึกดังกล่าวให้แก่กรมศึกษาธิการเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2459 และในปัจจุบันตึกสาลักษณาลัยได้กลายเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมภายในวัดโสมนัสราชวรวิหาร ยังประโยชน์สมดังเจตนารมณ์ของท่านเจ้าคุณในที่สุด

ชีวิตครอบครัวและชีวิตในบั้นปลาย[แก้]

มหาเสวกโท พระยาศรีภูริปรีชา (กมล สาลักษณ) ได้ตั้งเคหสถานอยู่ที่ถนนตลาด ตำบลนางเลิ้ง จังหวัดพระนคร และสมรสกับคุณหญิง (พึ่ง) ศรีภูริปรีชา[24]มีบุตรธิดาจำนวนทั้งสิ้น 8 คน[25] ได้แก่

  • 1. มหาเสวกตรี พระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน สาลักษณ)
  • 2. ท่านผู้หญิง (ถวิล) ธรรมศักดิมนตรี สมรสกับเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
  • 3. นาง (ปรุง) ธรรมศักดิมนตรี ภริยาในเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
  • 4. นาง (ฉวี) บวรวาที (นพวงศ์ ณ อยุธยา)
  • 5. เสวกโท หลวงวิจิตรราชมนตรี (เล็ก สาลักษณ)
  • 6. อำมาตย์เอก พระสุนทรวาจนา (สุนทร สาลักษณ) อัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน[26] สมรสกับนางสุนทรวาจนา (สดับ) และนางสุนทรวาจนา (สดม) ซึ่งทั้งสองท่านล้วนเป็นบุตรีของเจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค)[27]
  • 7. นางสาวศรี สาลักษณ
  • 8. นายอุดม สาลักษณ
  • 9. นางสาวเหรียญ สาลักษณ
  • 10. พระศรีเกษตราภิบาล (แนบ สาลักษณ)
  • 11. นางเอื้อน เทพหัสดิน ณ อยุธยา
  • 12. เสวกตรี หลวงบำบัดอัศวแพทย์ (นิตย์ สาลักษณ)
  • 13. นายกฤษณ์ สาลักษณ
  • 14. นางสาวอัมพร สาลักษณ
  • 15. นางจงกล พงศ์พิพัฒน์
  • 16. นางอุบล ศิริวงศ์

เกียรติยศ[แก้]

เครื่องยศ[แก้]

พระยาศรีภูริปรีชา (กมล สาลักษณ) ได้รับพระราชทานเครื่องยศ ดังต่อไปนี้

  • พานทอง
  • เค้าน้ำทอง
  • กระโถนทอง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พระยาศรีภูริปรีชา (กมล สาลักษณ) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญ และเข็ม ชั้นสูงสุดตระกูลต่างๆ ดังนี้

ถึงแก่อนิจกรรม[แก้]

มหาเสวกโท พระยาศรีภูริปรีชา (กมล สาลักษณ) ถึงแก่อนิจกรรมในปีมะเส็ง เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2460 (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2461) สิริอายุรวม 56 ปี ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศแปดเหลี่ยมสวมศพตั้งบนแว่นฟ้า 2 ชั้น ตั้งฉัตรเบญจา 4 คัน กลองชนะเขียว 10 จ่าปี่ 1 ประโคมประจำศพ กับพระสงฆ์สวดพระอภิธรรมรับพระราชทานฉันเช้า 4 รูป มีกำหนด 3 วันเป็นเกียรติยศ[38]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/A/283.PDF
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-18. สืบค้นเมื่อ 2017-02-01.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-29. สืบค้นเมื่อ 2017-02-01.
  4. สัญญาบัตรปีระกาสัปตศก
  5. พระราชทานสัญญาบัตร
  6. การประชุมองคมนตรี
  7. พระราชทานสัญญาบัตรพลเรือน (หน้า 101)
  8. การเปิดรัฐมนตรีสภา
  9. แจ้งความกระทรวงเกษตราธิการ
  10. พระบรมราชโองการ ประกาศ ย้ายพระยาศรีสุนทรโวหารปลัดทูลฉลองกระทรวงมุรธาธรมารับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยราชเลขานุการ
  11. เจียระไน วิทิตกูล และชานป์วิชช์ ทัดแก้ว. (2563). "พม่า มอญ ไทย บาลี: ความหลากหลายของกลุ่มวรรณคดีราชาธิราชในประเทศไทย", ใน วารสารอักษรศาสตร์, 49(2). (2563). อ้างใน ข้อความจากบานแพนกของราชาธิราชสำนวนเจ้าพระยาพระคลัง (หน).
  12. พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
  13. https://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3_%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_%E0%B9%98
  14. แจ้งความวรรณคดีสโมสร
  15. พระราชทานยศ
  16. พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
  17. ประกาศเลื่อนยศเสือป่า
  18. พระราชทานยศเสือป่า
  19. ศรีภูริปรีชา (กมล สาลักษณ), พระยา. (2463). นิพนธของพระยาศรีภูริปรีชา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทย. 130 หน้า.
  20. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-18. สืบค้นเมื่อ 2017-02-02.
  21. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-17. สืบค้นเมื่อ 2021-09-26.
  22. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2449/036/916_1.PDF
  23. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2460/D/3768.PDF
  24. ข่าวตาย
  25. http://www.sammajivasil.net/sripen/sriphen.htm
  26. http://thaiembassy.de/site/index.php/de/uncategorised/686-ambassadors-and-ministers[ลิงก์เสีย]
  27. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-31. สืบค้นเมื่อ 2017-02-01.
  28. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตรารัตนวราภรณ์, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๙๕, ๙ มกราคม ๒๔๕๘
  29. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๓๗, ๒๒ ตุลาคม ๒๔๕๙
  30. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2020-03-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๑๙, ๒๒ มกราคม ๑๓๑
  31. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๐, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗
  32. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราวชิรมาลา, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๕, ๔ เมษายน ๒๔๕๘
  33. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๑๔ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๓๗๐, ๒๙ กันยายน ๑๑๖
  34. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๘๐, ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๖
  35. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบัน ฝ่ายหน้า เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๑๒, ๑๑ มกราคม ๑๒๙
  36. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ[ลิงก์เสีย], เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๗๒๑, ๙ กรกฎาคม ๑๓๐
  37. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชินี, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๒๘๔, ๒๕ กันยายน ๑๑๕
  38. "ข่าวถึงอนิจกรรม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (ง): 3617. 10 มีนาคม 2460. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)