ภาษาฮีบรูสะมาริตัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาฮีบรูสะมาริตัน
ࠏࠁࠓࠉࠕ Îbrit
ภูมิภาคประเทศอิสราเอลและดินแดนปาเลสไตน์ ส่วนใหญ่อยู่ในนับลุสและโฮโลน
สูญแล้วป. คริสต์ศตวรรษที่ 2[1]
ยังคงใช้งานในพิธีสวด
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอับญัดสะมาริตัน
รหัสภาษา
ISO 639-3smp
Linguasphere12-AAB
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาฮีบรูสะมาริตัน (อังกฤษ: Samaritan Hebrew language; ࠏࠨࠁࠬࠓࠪࠉࠕʿÎbrit) เป็นรูปอ่านที่ชาวสะมาริตันใช้ในการอ่านภาษาฮีบรูโบราณในโทราห์สะมาริตัน ซึ่งตรงข้ามกับการอ่านคัมภีร์ในภาษาฮีบรูไทบีเรียนของบรรดาชาวยิว

สำหรับชาวสะมาริตัน ภาษาฮีบรูโบราณไม่มีผู้ใช้งานในชีวิตประจำวันและสืบทอดเป็นภาษาอราเมอิกสะมาริตัน ซึ่งไม่มีผู้พูดในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถึง 12 แล้วแทนที่ด้วยภาษาอาหรับ (หรือเฉพาะเจาะจงคือภาษาอาหรับปาเลสไตน์สะมาริตัน)

สัทวิทยาของภาษาฮีบรูสะมาริตันมีความคล้ายคลึงกับสัทวิทยาในภาษาอาหรับสะมาริตันอย่างมาก และชาวสะมาริตันใช้ภาษานี้ในบทสวด[2] ปัจจุบัน ภาษาพูดของชาวสะมาริตันแบ่งออกเป็นระหว่างภาษาฮีบรูสมัยใหม่และภาษอาหรับปาเลสไตน์ ขึ้นอยู่กับว่าพวกเขาอาศัยอยู่ที่โฮโลน (อิสราเอล) หรือเชเคม (เช่น นับลุสในพื้นที่ A ของปาเลสไตน์)

ประวัติและการค้นพบ[แก้]

การเขียน[แก้]

รายละเอียดโทราห์สะมาริตันนาบุลในภาษาฮีบรูสะมาริตัน

ภาษาฮีบรูสะมาริตันเขียนด้วยอักษรสะมาริตัน ซึ่งเป็นอักษรที่สืบทอดโดยตรงจากชุดตัวอักษรปาเลโอ-ฮีบรู ซึ่งถือเป็นอักษรแบบหนึ่งของอักษรไซนายดั้งเดิมตอนต้น

อักษรซามาริทัยมีความใกล้ชิดกับอักษรที่ปรากฏบนเหรีญและจารึกภาษาฮีบรูโบราณหลายแห่ง[3] ในทางตรงกันข้าม วิธภาษาของภาษาฮีบรูอื่น ๆ ทั้งหมดที่เขียนโดยชาวยิวใช้อักษรฮีบรูแบบเหลี่ยม ซึ่งเป็นอักษรที่สืบมาจากชุดตัวอักษรแอราเมอิกที่ชาวยิวเริ่มใช้งานในช่วงการคุมขังที่บาบิโลนหลังการเนรเทศจากอาณาจักรยูดาห์เมื่อศตวรรษที่ 6 ก่อน ค.ศ. ในช่วงศตวรรษที่ 3 ก่อน ค.ศ. ชาวยิวเริ่มใช้อักษรแบบ "เหลี่ยม" นี้ไว้เขียนภาษาแอราเมอิกจักรวรรดิ อักษรประจำตำแหน่งของจักรวรรดิอะคีเมนิด[4] ในขณะที่ชาวสะมาริตันยังคงใช้อักษรปาเลโอ-ฮีบรู ซึ่งพัฒนาไปเป็นอักษรสะมาริตัน

การออกเสียง[แก้]

พยัญชนะ

ชื่อ A'laf Bit Ga'man Da'lat Iy Baa Zen It Ṭit Yut Kaaf La'bat Mim Nun Sin'gaat In Fi Tsaa'diy Quf Rish Shan Taaf
อักษรสะมาริตัน
อักษรฮีบรูแบบเหลี่ยม (Ktav Ashuri) א ב ג ד ה ו ז ח ט י כ ל מ נ ס ע פ צ ק ר ש ת
ออกเสียง [ʔ] [b] [ɡ] [d] [ʔ] [b], [w] [z] [ʔ], [ʕ] [] [j] [k] [l] [m] [n] [s] [ʔ], [ʕ] [f], [b] [] [q], [ʔ] [r] [ʃ] [t]

สระ

นิกกุดกับ ‎/מ , ,
เทียบเสียง /a/, /ɒ/ /e/ /e/, /i/ /o/, /u/ (พยัญชนะซ้ำ) /ʕa/

ไวยากรณ์[แก้]

นาม[แก้]

เมื่อเติมปัจจัย ê และ ô ในพยางค์สุดท้ายอาจจะกลายเป็น î และ û เช่น bôr (Judean bohr) "pit" > búrôt "pits"

คำนำหน้านาม[แก้]

คนำหน้านามชี้เฉพาะเป็น a- หรือ e-

จำนวน[แก้]

ปัจจัยพหูพจน์เป็น –êm ปัจจัยทวิพจน์บางครั้งเป็น –ayem แต่โดยทั่วไปจะเหมือนพหูพจน์

บุพบท[แก้]

"ในหรือใช้ออกเสียงเป็น:

  • b- ก่อนสระ: b-érbi = "with a sword"; b-íštu "กับภรรยาของเขา".
  • ba- ก่อน bilabial consonant: bá-bêt (Judean Hebrew: ba-ba′yith) "ในบ้าน”
  • ev- ก่อนพยัญชนะอื่น: ev-lila "ในกลางคืน", ev-dévar "กับสิ่งของ".
  • ba-/be- ก่อนคำนำหน้านามชี้เฉพาะ: barrášet (Judean Hebrew: Bere’•shith′) "ในตอนเริ่มต้น"; béyyôm "ในวัน".

"คล้าย", ออกเสียงเป็น:

  • ka เมื่อไม่มีคำนำหน้า: ka-demútu "in his likeness"
  • ke เมื่อมีคำนำหน้า: ké-yyôm "like the day".

"ถึง" ออกเสียงเป็น:

  • l- ก่อนสระ: l-ávi "to my father", l-évad "to the slave"
  • el-, al- ก่อนพยัญชนะ: al-béni "to the children (of)"
  • le- ก่อน l: le-léket "to go"
  • l- ก่อนคำนำหน้านาม: lammúad "at the appointed time"; la-şé'on "to the flock"

"และ" ออกเสียงเป็น:

  • w- ก่อนพยัญชนะ: wal-Šárra "and to Sarah"
  • u- ก่อนสระ: u-yeššeg "and he caught up"

อ้างอิง[แก้]

  1. ภาษาฮีบรูสะมาริตัน ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  2. Ben-Ḥayyim 2000, p. 29.
  3. Herbermann, Charles, บ.ก. (1913). "Samaritan Language and Literature" . สารานุกรมคาทอลิก. New York: Robert Appleton Company.
  4. A History of the Hebrew Language. Cambridge, England: Cambridge University Press. 1993. ISBN 0-521-55634-1.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]