ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาลิซานิด โนซาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาลิซานิด โนซาน
לשניד נשן Lišānîd Nošān, לשנא דידן Lišānā Dîdān
ออกเสียง/liʃɑˈnid noˈʃɑ̃/
ภูมิภาคเยรูซาเลม เดิมมาจากอิรักตะวันออกและเหนือ
จำนวนผู้พูด3,500 คน  (2018)[1]
ตระกูลภาษา
รหัสภาษา
ISO 639-3aij

ภาษาลิซานิด โนซาน เป็นภาษาแอราเมอิกใหม่ของชาวยิว เริ่มใช้พูดในทางใต้และทางตะวันออกของเคอร์ดิสถานในอิรัก อยู่ในบริเวณที่เรียกว่าอาร์บิล ผู้พูดส่วนใหญ่ปัจจุบันอยู่ในอิสราเอล คำว่าลิซานิก โนซานหมายถึง “ภาษาของพวกเราเอง” ชื่อเรียกอื่นๆของภาษานี้คือ ภาษาฮาลัวลา (หมายถึงภาษายิว) ภาษากาลิกาลู (หมายถึง “ของฉัน-ของคุณ” เรียกตามลักษณะเฉพาะของไวยากรณ์ และภาษาคูร์ดิต (หมายถึงภาษาเคิร์ด)

จุดกำเนิด

[แก้]

สำเนียงของภาษาแอราเมอิกใหม่จำนวนมากใช้พูดในบริเวณทะเลสาบอูร์เมียและทะเลสาบวานในตุรกี จนถึงที่ราบโมซุลในอิรักและบริเวณซานานดาซในอิหร่าน ภาษาลิซานิดใช้พูดในแถบตอนกลางของบริเวณนี้จัดอยู่ในสำเนียงตะวันตกเฉียงใต้ ไม่อาจเข้าใจกันได้กับภาษาแอราเมอิกใหม่อัสซีเรียและภาษาแอราเมอิกใหม่แคลเดีย

การใช้ในปัจจุบัน

[แก้]

ภาษานี้มีสำเนียงหลักสองกลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มตะวันตกใช้พูดรอบๆอาร์บิล ชาวยิวส่วนใหญ่ในบริเวณนี้พูดภาษาอาหรับด้วยและภาษาสำเนียงนี้ได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับแบบอิรักมาก สำเนียงตะวันออกพบในเมืองกอย ซันจัต ในเขตภูเขาทางตะวันออกเฉียงเหนือของอิรัก สำเนียงนี้ได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับและภาษาเคิร์ดมาก

ระบบคำกริยาของภาษาลิซานิดต่างจากภาษาแอราเมอิกใหม่อื่นๆมาก และมีความผันแปรไปตามกลุ่มสำเนียง สำเนียงอาร์บิลแสดงเป้าหมายกำลังกระทำโดยใชคำอุปสรรค la- กับรูปกริยา เช่น laqatil (เขากำลังฆ่า) สำเนียงโดเบใช้ระบบเดียวกันแต่ใช้คำอุปสรรค na- กลุ่มสำเนียงตะวันออกใช้รุปกริยาไม่จำกัดขอบเขตกับคำเชื่อมเพื่อแสดงการกำลังกระทำ

ความไม่สงบในดินแดนที่เคยอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และการก่อตั้งรัฐอิสราเอล ทำให้ชาวยิวส่วนใหญ่ในเคอร์ดิสถานอพยพออกไปที่อื่น ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ภาษานี้ถูกแทนที่ด้วยภาษาฮีบรู เหลือผู้พูดภาษานี้เพียง 3,000 คน ส่วนใหญ่อายุมากกว่า 40 ปี และจะกลายเป็นภาษาตายในอนาคตอันใกล้ เขียนด้วยอักษรฮีบรู

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Inter-Zab Jewish Neo-Aramaic". Ethnologue. สืบค้นเมื่อ 20 April 2021.