ภาษาฮีบรูเซฟาร์ดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาษาฮีบรูเซฟาร์ดี (Sephardi Hebrew) เป็นระบบการออกเสียงของภาษาฮีบรูไบเบิลที่มาจากการใช้งานของชาวยิวเซฟาร์ดี สัทวิทยาของภาษานี้ได้รับอิทธิพลจากภาษาที่ติดต่อด้วยเช่น ภาษาลาดิโน ภาษาโปรตุเกส ภาษาเปอร์เซีย ภาษาดัตช์ ภาษาอาหรับ

สัทวิทยา[แก้]

ภาษาฮีบรูเซฟาร์ดีมีรูปแบบที่แตกต่างกันมาก แต่ลักษณะโดยทั่วไปได้แก่

  • เสียงเน้นหนักมักตกที่พยางค์สุดท้าย ในขณะที่เป็นการกในภาษาฮีบรูไบเบิล
  • มีความพยายามออกเสียงอยิน แต่มีความแตกต่างระหว่างสำเนียง
  • Resh ออกเสียงคล้าย r ในภาษาสเปนมากกว่า r ในภาษาฝรั่งเศส
  • /t/ และ /d/ เป็นเสียงdental plosives มากกว่า alveolar
  • มีความแตกต่างระหว่างเสียงของ ת และ ס
  • ระหว่างสำเนียงของภาษาฮีบรูเซฟาร์ดี พบว่า มีระบบเสียงสระ 5 เสียง โดยอาจจะแยกหรือไม่แยกเสียงสั้นยาว

ความแปรผัน[แก้]

ภาษาฮีบรูเซฟาร์ดีที่พูดโดยชาวยิวในโมร็อกโก กรีซ ตุรกี คาบสมุทรบอลข่านและเยรูซาเลม ออกเสียง ב เป็น /v/ และพบในภาษาฮีบรูสมัยใหม่ ในขณะที่ชาวยิวในสเปนและโปรตุเกสออกเสียงเป็น /b/ เช่นเดียวกับในภาษาฮีบรูมิซราฮี และในปัจจุบันการออกเสียงแบบนี้กำลังลดลงซึ่งเป็นผลมาจากภาษาฮีบรูสมัยใหม่

การเปลี่ยนแปลงนี้อาจจะได้รับอิทธิพลมาจากการออกเสียงของภาษาสเปน ในภาษาสเปนยุคกลางและภาษาลาดิโน b และ v เป็นหน่วยเสียงแยกต่างหากจากกัน ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการและในภาษาสเปนสมัยใหม่ ทั้งสองเสียงนี้กลายเป็นเสียง/β/ เมื่อตามหลังสระและเป็น /b/ ในที่อื่นๆ ด้วยเหตุนี้ ชาวยิวจากประเทศที่พูดภาษาสเปนในอเมริกาใต้รวมทั้งชาวยิวอาซเกนาซีจึงเปลี่ยนการออกเสียงในภาษาฮีบรูของตนไปด้วย ภาษาฮีบรูสมัยใหม่ได้รับอิทธิพลนี้จากภาษาฮีบรูเซฟาร์ดีเช่นกัน

นอกจากนี้ ยังพบความแตกต่างในการออกเสียง ת ด้วย เช่น

  • การออกเสียงของภาษาฮีบรูเซฟาร์ดีปกติ ออกเสียงเป็น /t/
  • ชาวยิวในกรีซรวมทั้งชาวยิวมิซราฮี ออกเสียงเป็น /θ/
  • ชาวยิวในสเปนและโปรตุเกสบางส่วนรวมทั้งในโมร็อกโกและอิตาลีออกเสียงเป็น /d/ หรือ /ð/

อิทธิพลต่อภาษาฮีบรูสมัยใหม่[แก้]

เมื่อ Eliezer ben Yehuda วางโครงร่างของภาษาฮีบรูมาตรฐาน เขาใช้ภาษาฮีบรูเซฟาร์ดีเป็นพื้นฐานเพราะเป็นตัวแทนของภาษาที่เคยเป็นภาษากลางในอิสราเอลและเป็นสำเนียงของภาษาฮีบรูที่ไพเราะที่สุด อย่างไรก็ตามการออกเสียงภาษาฮีบรูสมัยใหม่มีลักษณะของภาษาฮีบรูอาซเกนาซีปนอยู่ด้วย

อ้างอิง[แก้]

  • Solomon Almoli, Halichot Sheva: Constantinople 1519
  • Paul E. Kahle Masoreten des Ostens: Die Altesten Punktierten Handschriften des Alten Testaments und der Targume: 1913, repr. 1966
  • Kahle, Paul, Masoreten des Westens: 1927, repr. 1967 and 2005
  • S. Morag, 'Pronunciations of Hebrew', Encyclopaedia Judaica XIII, 1120-1145
  • Sáenz-Badillos, Angel (1996). A History of the Hebrew Language. trans. John Elwolde. Cambridge, England: Cambridge University Press. ISBN 0-521-55634-1.
  • Zimmels, Ashkenazim and Sephardim: their Relations, Differences, and Problems As Reflected in the Rabbinical Responsa : London 1958 (since reprinted). ISBN 0-88125-491-6