ภาษาอราเมอิกใหม่ยิวบาร์ซานี
ภาษาอราเมอิกใหม่ยิวบาร์ซานี | |
---|---|
לשניד דינן Lišānîd Jānān | |
ประเทศที่มีการพูด | อิสราเอล |
ภูมิภาค | เยรูซาเลม, จุดกำเนิดอยู่ใน Bijil ประเทศอิรักเคอร์ดิสถาน |
จำนวนผู้พูด | 20 คน ใช้เป็นภาษาที่สอง ถือเป็นภาษาตาย (ไม่พบวันที่) |
ตระกูลภาษา | แอโฟรเอชีแอติก
|
รหัสภาษา | |
ISO 639-2 | arc |
ISO 639-3 | bjf |
ภาษาอราเมอิกใหม่ยิวบาร์ซานี เป็นภาษาอราเมอิกของชาวยิวสมัยใหม่ เริ่มแรกใช้พูดในหมู่บ้านสามแห่งในเคอร์ดิสถานของอิรัก ชื่อเรียกในภาษาของตนคือ “ลิซานิด ญานัน” หมายถึง ภาษาของเรา
จุดกำเนิดและการใช้ในปัจจุบัน[แก้]
ภาษาของชาวยิวในภาคเหนือของอิรัก ตุรกีตะวันออกและตะวันตกเฉียงเหนือของอิหร่านเป็นภาษาอราเมอิกใหม่หลากหลายสำเนียง ควายุ่งยากในบริเวณนี้ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และการจัดตั้งรัฐอิสราเอลเมื่อ พ.ศ. 2494 ทำให้ชาวยิวในบริเวณนี้ลดลง
ผู้พูดภาษานี้เป็นภาษาแม่คนสุดท้ายตายเมื่อ พ.ศ. 2541 ผู้พูดเป็นภาษาที่สองที่เหลืออยู่มีอายุมากกว่า 70 ปี โดยเขาเหล่านั้นพูดภาษาฮีบรูหรือภาษาเคิร์ดเป็นภาษาแม่ บางส่วนพูดภาษาอาหรับหรือภาษาอราเมอิกสำเนียงอื่น จึงถือว่าภาษานี้เป็นภาษาตายโดยสมบูรณ์ ไม่มีหลักฐานที่เชื่อมโยงภาษาอราเมอิกใหม่ยิวบาร์ซานีเข้ากับภาษาอราเมอิกใหม่สำเนียงอื่น มีความใกล้เคียงกับภาษาลิซานิด โนซาน ที่ใช้พูดทางตะวันออกเฉียงใต้ของบาร์ซาน ไม่มีข้อมูลหรือเอกสารที่เขียนด้วยภาษานี้