ภาษาอาหรับยิวโมร็อกโก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาอาหรับยิวโมร็อกโก
ประเทศที่มีการพูดอิสราเอล, โมร็อกโก
จำนวนผู้พูด258,925 คน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรฮีบรู
รหัสภาษา
ISO 639-3aju


ภาษาอาหรับยิวโมร็อกโก (Judeo-Moroccan Arabic) เป็นสำเนียงภาษาอาหรับที่พูดโดยชาวยิวที่เคยอยู่ในโมร็อกโก ปัจจุบันผู้พูด 99% อยู่ในอิสราเอล ผู้ที่อยู่ในโมร็อกโกมักเป็นผู้สูงอายุ[1]

ประวัติ[แก้]

ภาษาอาหรับโมร็อกโกของชาวยิวนี้เคยใช้ในหมู่ชาวยิวในโมร็อกโกมาก่อนและได้รับอิทธิพลจากภาษาอื่นๆมาก รวมทั้งภาษาสเปน ภาษาสเปนโมร็อกโกของชาวยิวหรือภาษาฮาเกเตีย ซึ่งเป็นผลมาจากการอพยพของชาวยิวเซฟาร์ดีออกจากสเปนเมื่อ พ.ศ. 2035 และภาษาฝรั่งเศสจากการที่โมร็อกโกเคยเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส รวมทั้งคำยืมจากภาษาฮีบรูด้วย ภาษานี้เข้าใจกันได้กับภาษาอาหรับตูนิเซียของชาวยิวและภาษาอาหรับตริโปลีของชาวยิวอื่นๆ เข้าใจกันไม่ได้กับภาษาอาหรับอิรักของชาวยิว

ปัจจุบัน[แก้]

ชาวยิวในโมร็อกโกกว่า 265,000 คนอพยพเข้าสู่อิสราเอลเมื่อ พ.ศ. 2491 อีกส่วนหนึ่งอพยพเข้าสู่ยุโรป โดยเฉพาะฝรั่งเศส ปัจจุบันพบผู้พูดภาษานี้ในอิสราเอลประมาณ 250,000 คน ซึ่งพูดภาษาฮีบรูได้ด้วย และอยู่ในโมร็อโกราว 8,925 คน

ตัวอย่างประโยค[แก้]

สวัสดี: שלמה šlāma / שלמה עליכ šlāma ʿlik
ลาก่อน: בשלמה bšlāma / בשלמה עליכ bšlāma ʿlik
ขอบคุณ: מרסי mersi
ใช่: ייוה ēywa
ไม่ใช่: לא lā
คุณเป็นอย่างไรบ้าง?: אשכברכ? āš iḫbark?
สบายดี ขอบคุณ: לבש, מרסי lābaš, mersi
ไม่มีปัญหา: לבש lābaš

อ้างอิง[แก้]

  1. Raymond G. Gordon, Jr, ed. 2005. Ethnologue: Languages of the World. 15th edition. Dallas: Summer Institute of Linguistics.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]