สิ่งหลุดอุดหลอดเลือดของปอด
สิ่งหลุดอุดหลอดเลือดของปอด (Pulmonary embolism) | |
---|---|
ภาพวาดแสดงให้เห็นลิ่มเลือดที่หลุดมาจากส่วนอื่นของร่างกาย มาทำให้เกิดการอุดตันที่หลอดเลือดแดงปอด ทำให้เกิดการอุดตันในหลอดเลือดแดงของปอดซ้ายส่วนล่าง | |
สาขาวิชา | โลหิตวิทยา, หทัยวิทยา, วิทยาปอด |
อาการ | หายใจลำบาก, เจ็บหน้าอก, ไอเป็นเลือด[1] |
ภาวะแทรกซ้อน | หมดสติ, ช็อก, เสียชีวิต[2] |
การตั้งต้น | อายุมาก[3] |
ปัจจัยเสี่ยง | มะเร็ง, การนอนติดเตียง, การสูบบุหรี่, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคทางพันธุกรรมบางชนิด, ยาฮอร์โมนเอสโตรเจน, การตั้งครรภ์, โรคอ้วน, ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด[3] |
วิธีวินิจฉัย | วินิจฉัยจากอาการ, ดี-ไดเมอร์, การตรวจซีทีสแกนพร้อมฉีดสีหลอดเลือดปอด, การตรวจสแกนดัชนีการหายใจและการไหลเวียนเลือดที่ปอด[4] |
การรักษา | ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (เช่น เฮพาริน, วาร์ฟาริน, DOAC)[5], การสลายลิ่มเลือด |
ความชุก | ~450,000 รายต่อปี (สหรัฐ), 430,000 (ยุโรป)[6][7][8] |
การเสียชีวิต | >10–12,000 รายต่อปี (สหรัฐ),[9] >30–40,000 รายต่อปี (ยุโรป)[10] |
สิ่งหลุดอุดหลอดเลือดของปอด (อังกฤษ: pulmonary embolism, PE) คือภาวะที่มีการอุดตันของหลอดเลือดแดงปอดจากสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดที่หลุดลอยมาจากส่วนอื่นของร่างกาย[6] ผู้ป่วยอาจมีอาการหายใจลำบาก เจ็บหน้าอกโดยเฉพาะตอนหายใจเข้า และอาจไอเป็นเลือดได้[1] นอกจากนี้อาจมีอาการของการมีลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำส่วนลึกของอวัยวะอื่น เช่น ที่ขา โดยอาจมีขาบวม แดง และเจ็บขาได้[1] อาจตรวจพบความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือดต่ำ หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็ว และอาจมีไข้ต่ำๆ[11] ในกรณีที่เป็นรุนแรงอาจทำให้หมดสติ ความดันเลือดต่ำ หรือเสียชีวิตกะทันหันได้[2]
ภาวะนี้มักเกิดจากการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำส่วนลึกที่ขาแล้วหลุดมาอุดหลอดเลือดปอด ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดได้แก่การเป็นมะเร็ง การนอนกับเตียงนานๆ การสูบบุหรี่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคพันธุกรรมบางชนิด ยาฮอร์โมนเอสโตรเจน การตั้งครรภ์ โรคอ้วน และการผ่าตัดบางประเภท[3] ผู้ป่วยส่วนหนึ่งเกิดการอุดตันของหลอดเลือดจากสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดชนิดอื่นที่ไม่ใช่ลิ่มเลือด เช่น ฟองอากาศ ไขมัน หรือน้ำคร่ำ[12][13] การวินิจฉัยทำได้โดยดูจากอาการ อาการแสดง ร่วมกับผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ[4] ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยความเสี่ยงต่ำอาจใช้การตรวจเลือดดูระดับของดี-ไดเมอร์ในการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยไม่ได้เป็นภาวะนี้ได้[4] หากไม่เช่นนั้นแล้วอาจต้องใช้การตรวจอย่างอื่นในการยืนยันการวินิจฉัย เช่น การตรวจซีทีสแกนพร้อมฉีดสีหลอดเลือดปอด การตรวจสแกนดัชนีการหายใจและการไหลเวียนเลือดที่ปอด หรือการตรวจอุลตร้าซาวด์ที่ขา เป็นต้น[4] ภาวะนี้เมื่อพบร่วมกับภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำส่วนลึก (DVT) จะเรียกรวมกันว่าภาวะลิ่มเลือดหลุดอุดหลอดเลือดดำ (VTE)[14]
การลดโอกาสเกิดสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดของปอดทำได้โดยผู้ป่วยหลังผ่าตัดควรพยายามขยับเคลื่อนไหวให้เร็วที่สุดเท่าที่จะได้ ขยับกล้ามเนื้อขาส่วนล่างหากต้องนั่งนานๆ และใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดหลังการผ่าตัดบางชนิด[15] การรักษาส่วนใหญ่เป็นการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น เฮพาริน วาร์ฟาริน หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือดแบบออกฤทธิ์โดยตรง (DOAC)[5] โดยอาจต้องใช้ยาต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือน[5] ผู้ป่วยบางรายจำเป็นจะต้องได้รับการสลายลิ่มเลือด อาจเป็นการสลายลิ่มเลือดด้วยยาเช่นการให้ทีพีเอทางหลอดเลือดดำหรือทางสายสวน และบางครั้งอาจต้องผ่าตัดเอาลิ่มเลือดออก[16] หากไม่สามารถใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดได้อาจต้องใช้วิธีวางแผ่นตะแกรงในหลอดเลือดดำเวนาคาวาแทนเป็นการชั่วคราว[16]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "What Are the Signs and Symptoms of Pulmonary Embolism?". NHLBI. July 1, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2016. สืบค้นเมื่อ 12 March 2016.
- ↑ 2.0 2.1 Goldhaber SZ (2005). "Pulmonary thromboembolism". ใน Kasper DL, Braunwald E, Fauci AS, และคณะ (บ.ก.). Harrison's Principles of Internal Medicine (16th ed.). New York, NY: McGraw-Hill. pp. 1561–65. ISBN 978-0-07-139140-5.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อNIH2011Risk
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 "How Is Pulmonary Embolism Diagnosed?". NHLBI. July 1, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2016. สืบค้นเมื่อ 12 March 2016.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อChest2016
- ↑ 6.0 6.1 "What Is Pulmonary Embolism?". NHLBI. July 1, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2016. สืบค้นเมื่อ 12 March 2016.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อEpi2005
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อRas2014
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อBarco_2020_US
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อBarco_2020_EU
- ↑ Tintinalli JE (2010). Emergency Medicine: A Comprehensive Study Guide (Emergency Medicine (Tintinalli)) (7 ed.). New York: McGraw-Hill Companies. p. 432. ISBN 978-0-07-148480-0.
- ↑ "What Causes Pulmonary Embolism?". NHLBI. July 1, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2016. สืบค้นเมื่อ 12 March 2016.
- ↑ Pantaleo G, Luigi N, Federica T, Paola S, Margherita N, Tahir M (2014). "Amniotic fluid embolism: review". Current Pharmaceutical Biotechnology. 14 (14): 1163–7. doi:10.2174/1389201015666140430161404. PMID 24804726.
- ↑ "Other Names for Pulmonary Embolism". July 1, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2016. สืบค้นเมื่อ 12 March 2016.
- ↑ "How Can Pulmonary Embolism Be Prevented?". NHLBI. July 1, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2016. สืบค้นเมื่อ 12 March 2016.
- ↑ 16.0 16.1 "How Is Pulmonary Embolism Treated?". NHLBI. July 1, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2016. สืบค้นเมื่อ 12 March 2016.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |