ภาพข่าวโลกแห่งปี
รางวัล ภาพข่าวโลกแห่งปี (อังกฤษ: World Press Photo of the Year) เป็นส่วนหนึ่งของรางวัลภาพถ่ายสื่อมวลชนโลก (World Press Photo Awards) ซึ่งจัดโดยมูลนิธิภาพข่าวโลก สัญชาติเนเธอร์แลนด์
รางวัลนี้ถือเป็นรางวัลที่ทรงเกียรติและเป็นที่ปรารถนาสูงสุดรางวัลหนึ่งในวงการการถ่ายภาพข่าว โดยจะมอบให้กับภาพที่ "... ไม่เพียงแต่เป็นภาพข่าวที่เป็นภาพรวมของปีนั้น ๆ เท่านั้น แต่ยังเป็นตัวแทนของปัญหา สถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อวงการข่าว และแสดงให้เห็นถึงระดับการรับรู้ทางสายตาและความคิดสร้างสรรค์ที่โดดเด่น"[1]
คณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 10 คนยังเป็นผู้ตัดสินรางวัลเรื่องราวประกอบภาพประจำปี (World Press Photo Story of the Year) ให้กับเรื่องราวที่ประกอบด้วยภาพหลายภาพที่บอกเล่าประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องทางสังคมที่โดดเด่นด้วยความเข้มข้นของภาพถ่ายและความสำคัญของเนื้อหา เจ้าของรางวัลหลักทั้งสองรางวัลจะได้รับรางวัลเงินสดมูลค่า 5,000 ยูโร[2]
รายชื่อภาพข่าวแห่งปี
[แก้]ต่อไปนี้เป็นรายชื่อผู้ชนะรางวัลภาพข่าวแห่งปีทั้งหมดพร้อมข้อมูลเกี่ยวกับภาพแต่ละภาพ
ปีแข่งขัน | ช่างภาพ | ประเด็น | คำอธิบาย | ลิงค์ |
---|---|---|---|---|
1955 | Mogens von Haven | การแข่งขันรถจักรยานยนต์ | เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 1955 ที่สนามแข่งรถ Volk Mølle ในอัสเซนท็อฟท์ ประเทศเดนมาร์ก ผู้เข้าแข่งขันขับรถชนในระหว่างการแข่งขัน | ภาพ |
1956 | Helmuth Pirath | กลับบ้านจากสงคราม | นักโทษชาวเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่สองได้รับการปล่อยตัวโดยสหภาพโซเวียตและกลับมาพบกับลูกสาววัยสิบสองขวบของตนอีกครั้งในเยอรมนีตะวันออก ทั้งสองไม่ได้พบกันตั้งแต่ลูกสาวยังเป็นทารก | ภาพ |
1957 | ดักลาส มาร์ติน | การแบ่งแยกสีผิวในสหรัฐ | ดอรอที เคาส์ เป็นหนึ่งในนักเรียนเชื้อสายแอฟริกันคนแรกที่เข้าเรียนในโรงเรียนมัธยมแฮรี ฮาร์ดิง (Harry Harding High School) ในเมืองแชร์ลอท รัฐแคโรลินาเหนือ | ภาพ |
1958 | ไม่มีการมอบรางวัล | |||
1959 | สตานีสลาฟ เตเรบา | ฟุตบอล | ในเกมฟุตบอลระหว่างสปาร์ตาปราฮา กับ เชอร์เวนา ฮวีซดา บราติสลาวา ผู้รักษาประตู มีโรสลาฟ เชิร์ตเวิร์ตนีเซค ยืนบนสนามฟุตบอลท่ามกลางฝนที่โปรยปราย | ภาพ |
1960 | ไม่มีการมอบรางวัล | |||
1961 | ยาซูชิ นางาโอะ | การลอบสังหารอิเนจิโร อาซานูมะ | เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 1960 นักศึกษาขวาสุดโต่งวัย 17 ปี โอโตยะ ยามากูจิ สังหารนักการเมืองสังคมนิยม อิเนจิโร อาซานูมะ ด้วยดาบซามูไรขณะเขาพูดสุนทรพจน์ในโตเกียว | ภาพ |
1962 | Héctor Rondón Lovera | การก่อการกำเริบ El Porteñazo ในเวเนซูเอลา | ระหว่างการก่อกบฏ El Porteñazo ทหารนายหนึ่งที่กำลังสิ้นใจใช้มือเกาะนักบวชคนหนึ่งท่ามกลางการยิงปืนโดยรอบ | ภาพ |
1963 | มัลคอล์ม บราวน์ | การกดขี่ข่มเหงพุทธศาสนิกชนในเวียดนามใต้ | ภิกษุชาวเวียดนาม ทิก กว๋าง ดึ๊ก จุดไฟเผาตนเองจนถึงแก่มรณภาพเพื่อประท้วงการกดขี่ข่มเหงพุทธศาสนิกชนในรัฐบาลของโง ดิ่ญ เสี่ยม | ภาพ |
1964 | ดอน แม็กคัลลิน | วิกฤตการณ์ไซปรัส 1963-64 | สตรีชาวตุรกีไว้อาลัยแก่สามีของเธอที่เสียชีวิตในสงครามกลางเมืองระหว่างกรีกกับตุรกี | ภาพ |
1965 | เคียวอิจิ ซาวาดะ | สงครามเวียดนาม | แม่และลูกว่ายน้ำข้ามแม่น้ำใน Loc Thuong จังหวัดบิญดิ่ญ เพื่อหลบหนีการทิ้งระเบิดโดยสหรัฐ | ภาพ |
1966 | เคียวอิจิ ซาวาดะ | สงครามเวียดนาม | เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 1966 กองทัพสหรัฐลากร่างของนักรบเวียดกงมาด้านหลังรถ M113 ของตนเพื่อทำการฝังศพหลังการสู้รบในคืนก่อนหน้า ส่วนหนึ่งของยุทธการที่ซวยโบนจาง | ภาพ |
1967 | โค เรนท์เมสแทร์ | สงครามเวียดนาม | พลปืนของกองพันเอ็ม 48 มองผ่านลำปืนของตน ภาพนี้เป็นภาพถ่ายสีภาพแรกที่ได้รางวัล | ภาพ |
1968 | เอดดี อาดัมส์ | สงครามเวียดนาม | เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 1968 หัวหน้าตำรวจเวัยดนามใต้ Nguyễn Ngọc Loan ทำการประหารชีวิตนักโทษเวียดกง Nguyễn Văn Lém ด้วยการยิงเข้าที่ศีรษะบนท้องถนนของกรุงไซ่ง่อน | ภาพ |
1969 | Hanns-Jörg Anders | เดอะทรับเบิลส์ | บุคคลชาวไอริชคาทอลิกสวมหน้ากากกันก๊าซยืนอยู่หน้าผนังที่มีกราฟฟิตีเขียนว่า we want peace (เราต้องการสันติภาพ) ไม่นานก่อนจะถูกรมก๊าซน้ำตาโดยกองทัพอังกฤษ | ภาพ |
1970 | ไม่มีการมอบรางวัล | |||
1971 | ไม่มีการมอบรางวัล | |||
1972 | Wolfgang Peter Geller | การปล้นธนาคารในซาร์บรึคเคิน | การยิงตอบโต้หลังการปล้นธนาคารในซาร์บรึคเคินระหว่างโจรกับตำรวจ | ภาพ |
1973 | นิค อุต | สงครามเวียดนาม | Phan Thị Kim Phúc ในวัยเด็กและเด็กคนอื่น ๆ วิ่งหนีไปตามทางโดยที่เนื้อตัวเต็มไปด้วยแผลไหม้จากการทิ้งระเบิดนาปาล์มโดยเวียดนามใต้ | ภาพ |
1974 | ออร์ลันโด ลาโกส | รัฐประหารในชิลี 1973 | เมื่อวันที่ 11 กันยายน 1973 ประธานาธิบดี ซัลบาดอร์ อัลเลนเด ปรากฏตัวต่อหน้าวังประธานาธิบดีไม่นานก่อนการฆ่าตัวตาย นะหว่างปีโนเชต์ก่อการรัฐประหาร | ภาพ |
1975 | โอวี คาร์เทอร์ | ทุพภิกขภัยซาเฮลในประเทศไนเจอร์ | เด็กน้อยขาดอาหารอย่างรุนแรงในไนเจอร์ | ภาพ |
1976 | สแตนลี ฟอร์แมน | ภาพ บันไดหนีไฟถล่ม | ระหว่างเพลิงไหม้อาคารอะพาร์ตเมนต์หลังหนึ้งในบอสตัน ทางหนีไฟถล่มลงมาเป็นผลให้สตรีรายหนึ่งและลูกสาวบุญธรรมของเธอร่วงลงมาถึงแก่ชีวิต | ภาพ |
1977 | ฟรังซัว เดอมุลเดอร์ | สงครามกลางเมืองเลบานอน | ในเดือนมกราคม 1976 ผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์กลุ่มหนึ่งลี้ภัยจากสงครามกลางเมืองในนครเบรุต | ภาพ |
1978 | เลสลี ฮัมมอนด์ | อะพาร์ทายด์ | ตำรวจแอฟริกาใต้รมก๊าซน้ำตาผู้ประท้วงในมอตเตอร์ดาม ใกล้กับนครเคปทาวน์ | ภาพ |
1979 | Sadayuki Mikami | กรณีชุมชนซันริซูกะ | หลังความพยายามประท้วงการก่อสร้างท่าอากาศยานนาริตะไม่เป็นผลสำเร็จ ก่อนหน้าการเปิดตัวท่าอากาศยานอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคม 1978 มีการปะทะกันอย่างรุนแรงระหว่างผู้ประท้วงกับตำรวจควบคุมฝูงชน | ภาพ |
1980 | เดวิด เบอร์เน็ต | การล่มสลายของเขมรแดง | ในเดือนพฤศจิกายน 1979 สตรีคนหนึ่งถือลูกของตนในอ้อมแขนขณะพักพิงในค่ายผู้ลี้ภัยแห่งหนึ่งในจังหวัดสระแก้วใกล้กับพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา | ภาพ |
1981 | ไมก์ เวลส์ | ทุพภิกขภัยในการาโมยา ประเทศอูกันดา | ในเดือนเมษายน 1980 มิชชันนารีคนขาวในอูกันดาคนหนึ่งถือมือขนาดเล็กจิ๋วของเด็กชายชาวแอฟริกันที่กำลังอดอยาก | ภาพ |
1982 | Manuel Pérez Barriopedro | ความพยายามรัฐประหาร 23-F ในมาดริด | เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 1981 อันโตนิโอ เทเฌโร กล่าวพร้อมปืนในมือต่อหน้ารัฐสภาของสเปนขณะจับคณะรัฐบาลเป็นตัวประกัน | ภาพ |
1983 | Robin Moyer | สงครามในเลบานอน ปี 1982 | เมื่อวันที่ 18 กันยายน 1982 ศพผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ถูกพบเกลื่อนบนท้องถนนภายหลังการสังหารหมู่ในค่ายผู้ลี้ภัยซาบราและชาตีลาโดยกองกำลังฟาลังจิสต์คริสต์มาโรไนต์ | ภาพ |
1984 | Mustafa Bozdemir | แผ่นดินไหวปี 1983 ในตุรกี | เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 1983 หลังแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงในแอร์ซูรุม และ คาร์ส Kezban Özer พบลูกของเธอห้าคนถูกฝังทั้งเป็นในซากปรักหักพัง | ภาพ |
1985 | พาโบล บาร์ทอลอมยีว | ภัยพิบัติโภปาล | การฝังศพร่างของเด็กที่เสียชีวิตคนหนึ่งจากอุบัติเหตุสารเคมีของโรงงานสัญชาติอเมริกัน ยูเนียนคาร์บายด์ในโภปาล ประเทศอินเดีย | ภาพ |
1986 | ฟรังก์ ฟูเนียร์ | โอมีรา ซันเชซ | โอมีรา ซันเชซ เหยื่อของเหตุภูเขาไฟอาร์เมโรปะทุ เสียชีวิตหลังติดอยู่ในหลุมดินนาน 60 ชั่วโมง | ภาพ |
1987 | / Alon Reininger | เอดส์ | ผู้ป่วยโรคเอดส์ชาวอเมริกัน คีน มีกส์ (Ken Meeks) นั่งอยู่บนรถเข็น บนตัวเต็มไปด้วยรอยพยาธิสภาพที่เกิดจากคาโพซีส์ซาร์โคมา | ภาพ |
1988 | อันทอนี ซาว | การเลือกตั้งปี 1987 ในเกาหลีใต้ | ในวันที่ 18 ธันวาคม 1987 สตรีคนหนึ่งในคูโรเอนตัวต้านเกราะของตำรวจและอ้อนวอนให้ตำรวจมีเมตตาต่อลูกชายของเขาที่ถูกจับกุมจากการประท้วงต่อต้านรัฐบาลใหม่ที่ถูกกล่าวหาว่าโกงเลือกตั้งในเดือนก่อนหน้า | ภาพ |
1989 | เดวิด เทิร์นลีย์ | แผ่นดินไหวปี 1988 ในอาร์มีเนีย | ในเมืองเลนีนากัน บอรีส อับการ์ซียัน (Boris Abgarzian) ไว้อาลัยลูกชายวัย 17 ปีขอวตนที่เสียชีวิตจากแผ่นดินไหว | Image |
1990 | ชาร์ลี โคล | การสังหารหมู่บนจัตุรัสเทียนอันเหมิน | ผู้ประท้วงคนหนึ่งยืนขวางขบวนรถถังของกองทัพปลดปล่อยประชาชนใกล้กับจัตุรัสเทียนอันเหมินในปักกิ่ง | ภาพ |
1991 | Georges Merillon | ข้อพิพาทดินแดนคอซอวอ | ครอบครัวของนาชีม เอลชานี (Nashim Elshani) ล้อมรอบร่างของเขาซึ่งเสียชีวิตขณะประท้วงเพื่อเรียกร้องเอกราชของคอซอวอ | ภาพ |
1992 | เดวิด เทิร์นลีย์ | สงครามอ่าว | เคน โคแซคีวิกซ์ (Ken Kozakiewicz) ไว้อาลัยเพื่อนทหาร แอนดี แอลานิซ (Andy Alaniz) ซึ่งเสียชีวิตจากปืนลั่น | ภาพ |
1993 | เจมส์ แน็กวีย์ | ทุพภิกขภัยในโซมาเลีย | มาคดาชาวโซมาลียกร่างของลูกตนเองซึ่งเสียชีวิตจากการขาดสารอาหารอย่างุรนแรงขึ้นมา | ภาพ |
1994 | แลรี ทาเวิลล์ | ข้อพิพาทอาณาเขตปาเลสไตน์ | เด็กชาวปาเลสไตน์ชูปืนของเล่นขึ้นบนอากาศ | ภาพ |
1995 | เจมส์ แน็กวีย์ | การสังหารหมู่รวันดา | ชายชาวฮูตูถูกทำร้ายจนเสียโฉมโดยนักรบอินเตอร์ราฮัมเว หลังต้องสงสัยว่ามีส่วนช่วยเหลือแก่กบฏชาวทุตซี | ภาพ |
1996 | ลูเชียน แพร์คินส์ | สงครามเชเชนครั้งที่หนึ่ง | เด็กชายคนหนึ่งยิ่นหน้าออกจากรถบัสที่แน่นขนัดไปด้วยผู้ลี้ภัยขณะเดินทางลี้ภัยการสู้รบใกล้กับชาลีในแคว้นเชชนยา มุ่งหน้ากรอซนี | ภาพ |
1997 | ฟรังเซสโก ซีโซลา | สงครามกลางเมืองแองโกลา | เหยื่อที่ผิดรูปจากระเบิดกำลังเล่นในเมืองกูอีโต | ภาพ |
1998 | โฮซีน | สงครามกลางเมืองแองโกลา | สตรีไว้อาลัยเหยื่อจากการสังหารหมู่ในเบนทัลฮา | ภาพ |
1999 | เดย์นา สมิธ | ข้อพิพาทพรมแดนคอซอวอ | ญาติและมิตรสหายปลอบใจหม้ายของนักรบ KLA ที่ถูกยิงเสียชีวิตขณะออกตรวจตรา | ภาพ |
2000 | เคลาส์ บยอร์น ลาร์เซิน | สงครามคอซอวอ | ผู้ลี้ภัยบาวอัลเบเนีย-คอซอวอ เดินบนท้องถนนของเมืองคูคิช ประเทศอัลเบเนีย | ภาพ |
2001 | ลารา โจ เรแกน | การลี้ภัยในสหรัฐ | ผู้ลี้ภัยชาวเม็กซิโกทำงานหาเงินเลี้ยงลูกในสหรัฐ | ภาพ |
2002 | เอริก เรฟเนอร์ | วิกฤตผู้ลี้ภัยอัฟกานิสถาน | พิธีศพเด็กขายผู้ลี้ภัยชาวอัฟกานิสถานในค่ายผู้ลี้ภัยญาโลซาอี | ภาพ |
2003 | / Eric Grigorian | แผ่นดินไหวปี 2002 ในประเทศอิหร่าน | เด็กชายถือกางเกงของบิดาของเขาซึ่งเสียชีวิตจากแผ่นดินไหว | ภาพ |
2004 | ฌอง มาร์ค บูยู | สงครามอิรัก | นักโทษสงครามอิรักคลุมผ้าเหนือศีรษะขอวลูกชายตนขณะอยู่ที่ศูนย์กักกัน | ภาพ |
2005 | อรโก ทัตตา | แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย | สองวันหลังสึนามี สตรีชาวอินเดียไว้อาลัยญาติที่เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวและสึนามิในเมืองกุฑฑลูรุ รัฐทมิฬนาฑู | ภาพ |
2006 | ฟินบาร์ โอไรลี | ทุพภิกขภัยในไนเจอร์ | แม่และเด็กรอรับอาหารในทาฮูวา | ภาพ |
2007 | สเปนเซอร์ พลัต | สงครามเลบานอน | ชาวเลบานอนจำนวนหนึ่งนั่งรถเปิดประทุนผ่านซากอาคารที่ถูกทิ้งระเบิดในเบรุตใต้[3][4] | ภาพ |
2008 | ทิม ฮีเทอริงตัน | สงครามอัฟกานิสถาน | ทหารชาวอเมริกันยืนพักสายตา | ภาพ |
2009 | แอนทอนี เซา | วิกฤตการณ์สินเชื่อสับไพรม์ | เจ้าหน้าที่ติดอาวุธเดินผ่านบ้านหลังผู้อยู่อาศัยถูกไล่ออกหลังถูกยึดจำนอง | ภาพ |
2010 | ปีเอโตร มัสซูร์โซ | การเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่าน ปี 2009 | สตรีชาวอิหร่านตะโกนจากดาดฟ้าในเตหะรานเพื่อประท้วงผลการเลือกตั้ง | ภาพ |
2011 | โจดี บีเบอร์ | สตรีในรัฐบาลตอลิบาน | บีบี ไอชา (Bibi Aisha) วัย 18 ปี เสียโฉมหลังพยายามหลบหนีจากบ้านสามีในจังหวัดโอรูซกัน | ภาพ |
2012 | ซามูเอล อารันดา | การประท้วงในเยเมน, อาหรับสปริง | สตรีถือญาติที่บาดเจ็บของตนในมือ ภายในมัสยิดที่แปรสภาพมาเป็นโรงพยาบาลสนามให้กับผู้ประท้วงต่อต้านประธานาธิบดี อะลี อับดูลลอห์ ซาเลห์ ในซานา | ภาพ |
2013 | เพาล์ ฮันเซิน | เหยื่อจากปฏิบัติการเสาหลักกลาโหม | พิธีศพแก่เด็กหญิงวัยสองขวบ ซูฮาอิบ ฮีญาซี (Suhaib Hijazi) และเด็กชายวัยสามขวบ มูฮัมมัด (Muhammad) พี่ชาย ซึ่งถูกสังหารจากการโจมตีมิสไซล์ของอิสราเอลในนครกาซา | ภาพ |
2014 | จอห์น สแตนเมเยอร์ | ผู้อพยพชาวแอฟริกัน | ผู้อพยพบนชายฝั่งจีบูตีซิตีชูโทรศัพท์มือถือขึ้นมาด้วยหวังจะจับสัญญาณโทรศัพท์จากโซมาเลียซึ่งราคาถูกกว่า | ภาพ |
2015 | มัดส์ นีสเซิน[5][6][7] | ความเกลียดกลัวคนรักร่วมเพศในรัสเซีย | คู่เกย์กำลังหอมกอดกันในรัสเซีย | ภาพ |
2016 | Warren Richardson | วิกฤตผู้อพยพยุโรป | ชายส่งทารกผ่านรั้วลวดหนามบนชายแดนเมืองฮอร์กอช เซอร์เบีย กับรึซเก ฮังการี ซึ่งอยู่ในเขตสหภาพยุโรป | ภาพ |
2017 | บูร์ฮัน โอซบีลีซี | การลอบสังหารอันเดรย์ คาร์ลอฟ | เจ้าหน้าที่ตำรวจ Mevlüt Mert Altıntaş ยืนอยู่ข้างอันเดีย์ คาร์ลอฟ ทูตรัสเซียในตุรกี ไม่นานหลังเขายิงคาร์ลอฟเข้าที่หลังเพื่อประท้วงบทบาทของรัสเซียในสงครามกลางเมืองซีเรีย | ภาพ |
2018 | โรนัลโด เชมิดท์ | วิกฤตการณ์เวเนซูเอลา | José Salazar วัย 28 ปีถูกไฟลุกท่วมจากถังก๊าซระเบิดขณะปะทะกับตำรวจควบคุมฝูงชนในการประท้วงต่อต้านประธานาธิบดี Nicolás Maduro ในการากัซ ประเทศเวเนซูเอลา | ภาพ |
2019 | จอห์น มัวร์ | นโยบายผู้อพยพของดอนัลด์ ทรัมป์ | เด็กน้อยชาวฮอนดูรัสร้องไห้ขณะที่เธอและมารดาถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจพรมแดนของสหรัฐในแม็คคาเลน รัฐเท็กซัส | ภาพ |
2020 | ยาซูโยชิ ชิบะ | การรัฐประหารในซูดาน | ชายหนุ่มกำลังอ่านบทกวีประท้วงยามค่ำคืนขณะคาร์ทูมถูกตัดไฟฟ้า ท่ามกลางผู้ประท้วงคนอื่นที่ใช้แสงไฟจากมือถือในการอ่านบทกวีประท้วง | ภาพ |
2021 | มัดส์ นิสเซิน | การระบาดของโควิด-19 | โรซา (Rosa) ได้รับอ้อมกอดแรกในรอบห้าเดือนเนื่องจากโควิด-19 หลังตั้งแต่เดือนมีนาคม บ้านพักคนชราในบราซิลปิดห้ามมิให้คนภายนอกเข้าเยี่ยม[8] | ภาพ |
2022 | แอมเบอร์ แบร็กเคิน[9][10] | โรงเรียนประจำแคมลูปส์ | เสื้อเด็กแขวนบนกางเขนเพื่อระลึกถึงเด็กกว่าสองพันคนที่เสียชีวิตจากการถูกละเลยและโรคขณะประจำในโรงเรียนประจำแคมลูปส์สำหรับคนพื้นถิ่นใน รัฐบริทิชคอลัมเบีย | ภาพ |
2023 | ยูเกนีย์ มาโลเลตกา[11][12] | การโจมตีโรงพยาบาลในมารีอูปอลทางอากาศ | สตรีตั้งครรภ์คนหนึ่งบาดเจ็บอย่างหนักระหว่างการทิ้งระเบิดโจมตีคลินิกในมารีอูปอล ประเทศยูเครน กำลังถูกขนย้ายออกจากซากอาคาร ต่อมาทั้งเธอและทารกในครรภ์เสียชีวิต | ภาพ |
2024 | โมฮัมเมด ซาเลม[13][14] | การโจมตีฉนวนกาซาโดยอิสราเอล | สตรีคนหนึ่งกอดร่างของญาติที่เสียชีวิตจากการโจมตีทางอากาศของอิสราเอลในคานยูนิส | ภาพ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "World Press Photo returns to USC Annenberg". annenberg.usc.edu.
- ↑ "Press Photo of the Year". Stern (ภาษาเยอรมัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 22 November 2007.
- ↑ Putz, Ulrike (28 February 2007). "Catering to a Lebanese Cliché: World Press Photo Mix-Up". Spiegel Online. สืบค้นเมื่อ 2019-10-11 – โดยทาง Spiegel Online.
- ↑ "Lebanon war image causes controversy". 8 March 2007. สืบค้นเมื่อ 2019-10-11 – โดยทาง news.bbc.co.uk.
- ↑ "Mads Nissen's Homophobia in Russia wins World Press Photo of the Year". British Journal of Photography, 12 February 2015. Accessed 8 May 2017
- ↑ "Intimate photograph of gay Russian couple wins World Press Photo of the Year 2014". The Independent, 12 February 2015. Accessed 8 May 2017
- ↑ "Photo of Loving Couple Wins World Press Photo Award". Time, 12 February 2015. Accessed 8 May 2017
- ↑ MIKE CORDER (April 14, 2021). "Coronavirus hug image named World Press Photo of the Year". Associated Press.
- ↑ Fidler, Matt (2022-04-07). "World Press Photo winners 2022 – in pictures". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2023-11-12.
- ↑ "World Press Photo Contest 2022: Global winners revealed". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2022-04-08. สืบค้นเมื่อ 2023-11-12.
- ↑ "World Press Photo awards 2023". ISSN 0140-0460. สืบค้นเมื่อ 2023-04-20.
- ↑ Fidler, Matt (20 April 2023). "World Press Photo 2023 contest global winners – in pictures". The Guardian. ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2023-04-20.
- ↑ "Reuters photographer wins World Press Photo of the Year with poignant shot from Gaza". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2024-04-18. สืบค้นเมื่อ 2024-04-18.
- ↑ Khomami, Nadia (2024-04-18). "War, grief and hope: the stories behind the World Press Photo award-winners". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-04-18.