ข้ามไปเนื้อหา

โอโตยะ ยามางูจิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Otoya Yamaguchi)
โอโตยะ ยามางูจิ
山口 二矢
เกิด22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943(1943-02-22)
ไทโตะ โตเกียว ญี่ปุ่น
เสียชีวิต2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1960(1960-11-02) (17 ปี)
เนริมะ โตเกียว ญี่ปุ่น
สาเหตุเสียชีวิตฆ่าตัวตายโดยการแขวนคอ
สุสานสุสานอาโอยามะ อาโอยามะ โตเกียว
มีชื่อเสียงจากการลอบสังหารอิเนจิโร อาซานูมะ

โอโตยะ ยามางูจิ (ญี่ปุ่น: 山口 二矢โรมาจิYamaguchi Otoya; 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1943 – 2 พฤศจิกายน ค.ศ.1960) เป็นชาวญี่ปุ่นคลั่งชาติที่ลงมือลอบสังหาร อิเนจิโระ อาซานูมะ หัวหน้าพรรคสังคมนิยมญี่ปุ่น โอโตยะเป็นสมาชิกของอุโยกุ ดันไต พรรคการเมืองฝ่ายขวาของญี่ปุ่น และสังหารอิเนจิโระด้วย โยโรย-โดชิ ในช่วงหาเสียงที่หอประชุมฮิเบยะ เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ.1960[1]

เสียชีวิต

[แก้]

หลังจากเหตุการณ์ลอบสังหารไปไม่มากกว่าสามสัปดาห์ โอโตยะ ซึ่งอยู่ในเรือนจำได้ผสมยาสีฟันกับน้ำพร้อมกับเขียนบนผนังว่า "เจ็ดชีวิตในประเทศของผม ทรงพระเจริญแด่พระจักรพรรดิ!" และฆ่าตัวตายโดยการแขวนคอ[2] คำว่า "เจ็ดชีวิตในประเทศของผม" เป็นคำพูดสุดท้ายของคุซุโนกิ มาซาชิเกะ ซามูไรในช่วงศตวรรษที่ 14[3]

พรรคการเมืองฝ่ายขวาได้ยกย่องให้เขาเป็นผู้พลีชีพ; แล้วให้เสื้อฝังศพ, ชุดกิโมโน และเข็มขัดให้กับพ่อแม่ของเขาเพื่อใช้ในพิธีทางศาสนา[4] อัฐิของเขาถูกบรรจุที่สุสานอาโอยามะ[5]

สิ่งตกทอด

[แก้]
ยาซูชิ นากาโอะ กับภาพที่ได้รับรางวัลพูลิชเชอร์ของเขา (ค.ศ. 1961)

ภาพที่ถ่ายโดยยาซูชิ นากาโอะ ได้ทั้งรางวัลพูลิตเซอร์ เมื่อปี ค.ศ. 1961[6] และรางวัลการประกวดภาพถ่ายสื่อมวลชนโลก สาขาภาพข่าวยอดเยี่ยมประจำปี เมื่อปี ค.ศ. 1960[7]

เคนซาบูโร โอเอะ ผู้ได้รางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรมได้บอกว่า วรรณกรรมเรื่อง Seventeen และ The Death of a Political Youth ของเขาได้อิงมาจากโอโตยะ[8]

ในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 2010 พรรคการเมืองฝ่ายขวาได้ร่วมงานฉลองครบรอบ 50 ปีของการลอบสังหารที่สวนฮิบิยะ[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "山口 二矢" [Otoya Yamaguchi]. Nihon Jinmei Daijiten (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Shogakukan. 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-25. สืบค้นเมื่อ 7 November 2012.
  2. "JAPAN: Assassin's Apologies". TIME Magazine. Time Inc. November 14, 1960. สืบค้นเมื่อ June 11, 2010.
  3. "Using a traditional blade, 17-year-old Yamaguchi assassinates politician Asanuma in Tokyo, 1960". Rare Historical Photos. 27 November 2013. สืบค้นเมื่อ 2 July 2018.
  4. 4.0 4.1 Newton, Michael (17 April 2014). "Inejiro Asanuma (1898–1960)". Famous Assassinations in World History: An Encyclopedia. Vol. 2. ABC-CLIO. pp. 234–235. ISBN 978-1-61069-286-1.
  5. "四月廿九日 山口二矢及び筆保泰禎兩氏之墓參 於港區南青山「梅窓院」". Douketusya (ภาษาญี่ปุ่น). 3 May 2013. สืบค้นเมื่อ 2 July 2018.
  6. Zelizer, Barbie (1 December 2010). About to Die:How News Images Move the Public. Oxford: Oxford University Press. pp. 183–4. ISBN 0199752133. สืบค้นเมื่อ 18 August 2012.
  7. Inejiro Asanuma Assassination Footage (1960) (Digital video). YouTube.com (ตีพิมพ์ May 18, 2006). October 12, 1960. สืบค้นเมื่อ June 11, 2010.
  8. Weston, Mark (1999). Giants of Japan: The Lives of Japan’s Most Influential Men and Women. New York: Kodansha International. p. 295. ISBN 1-568362862.