ข้ามไปเนื้อหา

ฟุตบอลในประเทศรัสเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟุตบอลในประเทศรัสเซีย
ประเทศรัสเซีย
องค์กรบริหารดูแลสหภาพฟุตบอลรัสเซีย[1]
ทีมชาติฟุตบอลทีมชาติรัสเซีย
จำนวนสโมสรรายชื่อสโมสร
การแข่งขันของสโมสร
รัสเซียนพรีเมียร์ลีก
รัสเซียนฟุตบอลเนชันนัลลีก
รัสเซียนโปรเฟสชันนัลฟุตบอลลีก
รัสเซียนอเมเจอร์ฟุตบอลลีก
รัสเซียนคัพ
รัสเซียนซูเปอร์คัพ
การแข่งขันระดับนานาชาติ
ออตครืยตีเย-อะเรนาเป็นสนามเหย้าของสปาร์ตัคมอสโก เปิดใช้งานในปี 2014

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศรัสเซีย โดยมีสัดส่วนความนิยมเหนือกว่าฮอกกี้น้ำแข็งเป็นอย่างมาก[2][3][4][5] ลีกของรัสเซียเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากมีข้อเสนอใหญ่จากผู้สนับสนุน เงินทุนที่ไหลเข้า และระดับการแข่งขันที่สูสีโดยมี 5 ทีมที่มีศักยภาพในการคว้าแชมป์ ทีมชั้นนำของรัสเซียมักมีบริษัทที่ควบคุมโดยรัฐเป็นผู้สนับสนุน ผู้เล่นชาวต่างชาติมีโอกาสได้ลงเล่นเป็นตัวจริงของสโมสรเทียบเท่ากับผู้เล่นท้องถิ่น[6] อย่างไรก็ตาม พวกเขามักพบสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยอยู่บ่อยครั้ง ปัญหาการเหยียดสีผิวยังคงพบเห็นในวงการฟุตบอลรัสเซียในปัจจุบัน[7][8]

ทีมชาติรัสเซียได้รับความสนใจมากขึ้นเมื่อพวกเขาเอาชนะมหาอำนาจยุโรปอย่างเนเธอร์แลนด์ 3-1 ในรอบก่อนรองชนะเลิศของฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 ก่อนที่จะพ่ายให้กับทีมแชมป์อย่างสเปน มีผู้เล่นชาวรัสเซียสี่คนติดทีมยอดเยี่ยมประจำรายการแข่งขันครั้งนั้น ต่อมา มีผู้เล่นชาวรัสเซียหลายคน อาทิ อันเดรย์ อาร์ชาวิน และโรมัน ปัฟลูย์เชนโค ย้ายไปเล่นในพรีเมียร์ลีกของอังกฤษและได้รับก้อนเงินมหาศาล[9] ปัจจุบัน นักฟุตบอลชาวรัสเซียส่วนใหญ่เล่นในลีกของประเทศเนื่องจากโควตาจำกัดของผู้เล่นชาวต่างชาติ ส่งผลให้ค่าจ้างของนักฟุตบอลท้องถิ่นและต่างชาติไม่เท่าเทียมกัน[10]

ปัจจุบัน รัสเซียนพรีเมียร์ลีกเป็นลีกฟุตบอลที่ดีที่สุดในยุโรปตะวันออก สังเกตได้จากชัยชนะของสโมสรกองทัพบกมอสโกเหนือสปอร์ติงในนัดชิงชนะเลิศยูฟ่าคัพปี 2005 และชัยชนะของเซนิตเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเหนือเรนเจอส์ในนัดชิงชนะเลิศยูฟ่าคัพปี 2008 และเหนือแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในยูฟ่าซูเปอร์คัพปีเดียวกัน[11]

ระบบลีก

[แก้]

ลีกระดับสูงสุดของรัสเซียคือ รัสเซียนพรีเมียร์ลีก ซึ่งมีสโมสรเข้าร่วมแข่งขัน 16 สโมสร ระดับรองลงมาคือ เนชันนัลลีก และเซคันด์ดิวิชัน ซึ่งก็อยู่ภายใต้การควบคุมของสหภาพฟุตบอลรัสเซีย เนชันนัลลีกมีสโมสรเข้าร่วมแข่งขัน 20 สโมสร และเซคันด์ดิวิชันมีสโมสรเข้าร่วมแข่งขัน 73 สโมสร แบ่งการแข่งขันตามภูมิศาสตร์ออกเป็น 5 โซน ได้แก่ โซนตะวันตก โซนกลาง โซนใต้ โซน Ural-Povolzhye และโซนตะวันออก แต่ละโซนจะมีจำนวนสโมสรที่แตกต่างกันออกไป

หลังจบแต่ละฤดูกาล สองทีมอันดับแรกจากเนชันนัลลีก จะเลื่อนชั้นขึ้นไปแทนที่สองทีมอันดับสุดท้ายจากพรีเมียร์ลีก ทีมชนะเลิศแต่ละโซนของเซคันด์ดิวิชัน จะเลื่อนชั้นขึ้นไปแทนที่ห้าทีมอันดับสุดท้ายของเนชันนัลลีก ทีมเยาวชนของทีมในพรีเมียร์ลีกก็มีการแข่งขันลีกด้วยเช่นกัน[12][13]

ระดับ ลีก
1 รัสเซียนพรีเมียร์ลีก
16 สโมสร
2 รัสเซียนเนชันนัลลีก
20 สโมสร
3 รัสเซียนโปรเฟสชันนัลลีก
ตะวันตก
16 สโมสร
กลาง
16 clubs
ใต้
22 สโมสร
Ural-Povolzhye
11 สโมสร
ตะวันออก
9 สโมสร
4 รัสเซียนอเมเจอร์ลีก
ตะวันตกเฉียงเหนือ วงแหวนทอง กลาง (มอสโก) กลาง (แคว้นมอสโก) ใต้ Chernozemye ยูรัลและไซบีเรียตะวันตก Privolzhye ตะวันออกไกล ไซบีเรีย

ทีมชาติ

[แก้]

ในอดีต ฟุตบอลทีมชาติสหภาพโซเวียตเคยเป็นทีมชาติมหาอำนาจของโลก[14][15][16][17][18][19] ต่อมาหลังจากโซเวียตล่มสลาย มีทีมชาติรัสเซีย ซึ่งทำผลงานได้ดีในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 และเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 ปัจจุบันรัสเซียอยู่อันดับที่ 65 จากการจัดอันดับโลกฟีฟ่า[20]

เจ้าภาพฟุตบอลโลก

[แก้]

ในวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 2010 มีการประกาศว่า รัสเซียจะเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018 โดยเป็นครั้งแรกที่ประเทศจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันรายการใหญ่ นอกจากนี้ ยังเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก ทำลายสถิติเดิมของสหรัฐในฟุตบอลโลก 1994[21][22][23]

การแข่งขันระดับทวีปยุโรป

[แก้]

ลีกรัสเซียเป็นลีกที่แข็งแกร่งอันดับที่ 6 ของทวีปยุโรป เรียงตามค่าสัมประสิทธิ์ยูฟ่า[24] สโมสรจากรัสเซียได้เข้าร่วมแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกและยูโรปาลีกอย่างสม่ำเสมอ โดยเคยประสบความสำเร็จระดับทวีปสามครั้ง ได้แก่ สโมสรกองทัพบกมอสโก ที่ชนะเลิศยูฟ่าคัพ ฤดูกาล 2004–05 และเซนิตเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ที่ชนะเลิศยูฟ่าคัพ ฤดูกาล 2007–08 และยูฟ่าซูเปอร์คัพ 2008

ฟุตบอลหญิง

[แก้]

ฟุตบอลหญิงยังคงไม่ได้รับความนิยมเทียบเท่าฟุตบอลชาย แต่ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 2000[25]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Dunmore, Tom (16 September 2011). "Historical Dictionary of Soccer". Scarecrow Press. สืบค้นเมื่อ 22 November 2017 – โดยทาง Google Books.
  2. "Самые популярные виды спорта в России, рейтинг ТОП 10". 7 April 2017. สืบค้นเมื่อ 19 March 2018.
  3. "Футбол – самый популярный вид спорта в России". สืบค้นเมื่อ 19 March 2018.
  4. ""Яндекс" назвал самые популярные виды спорта в России - ПОЛИТ.РУ". polit.ru. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-03. สืบค้นเมื่อ 19 March 2018.
  5. "Названы самые популярные виды спорта у детей в России". สืบค้นเมื่อ 19 March 2018.
  6. Nsehe, Mfonobong (2011-08-12), "Soccer Star Samuel Eto'o To Earn $25 Million With Russian Team", Forbes, Forbes.com LLC, สืบค้นเมื่อ 2013-11-19
  7. "Russia cracks down on hooligans". Fox Sports. Fox Sports Australia Pty Limited. 2013-06-22. สืบค้นเมื่อ 2013-11-19.
  8. Murphy, Chris (2013-10-25). "World Cup: Russian racism furore is the latest headache for FIFA". CNN. Cable News Network. สืบค้นเมื่อ 2013-11-19.
  9. Hughes, Bob (2012-07-17). "Challenges Aplenty for Russia's New Soccer Coach". The New York Times. London: The New York Times Company. สืบค้นเมื่อ 2013-11-19.
  10. "Naturalisation and Foreign Player Limits in Russian Football - Russian Football News". 7 June 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-19. สืบค้นเมื่อ 19 March 2018.
  11. Marcotti, Gabriele (2010-11-15). "Russia: Soccer's Sleeping Giant". The Wall Street Journal. Dow Jones & Company, Inc. สืบค้นเมื่อ 2013-11-19.
  12. "When Saturday Comes - Academy Awards". Wsc.co.uk. 2012-07-09. สืบค้นเมื่อ 2015-03-11.
  13. "Football - Domestic focus sinks Russia, rings alarms for 2018 World Cup - Yahoo Eurosport UK". Uk.eurosport.yahoo.com. 2014-06-27. สืบค้นเมื่อ 2015-03-11.
  14. "Russia: Soviet victories, racism and miracles". สืบค้นเมื่อ 23 November 2017.
  15. "Soviet Soccer and Outstanding Soccer Teams" (PDF). CIA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-19. สืบค้นเมื่อ 22 November 2017.
  16. Witzig, Richard (22 November 2017). "The Global Art of Soccer". CusiBoy Publishing. สืบค้นเมื่อ 22 November 2017 – โดยทาง Google Books.
  17. Stark, Harrison (28 May 2014). "The USSR Was a Soccer Powerhouse. Why Isn't Russia?". สืบค้นเมื่อ 22 November 2017 – โดยทาง Slate.
  18. "Euro 1988: Valery Lobanovsky's last stand for Soviet Union". 12 May 2012. สืบค้นเมื่อ 22 November 2017 – โดยทาง www.bbc.co.uk.
  19. "The golden ages of the Soviet national team". 26 July 2017. สืบค้นเมื่อ 22 November 2017.
  20. FIFA.com. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking - Ranking Table - FIFA.com". FIFA.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-26. สืบค้นเมื่อ 19 March 2018.
  21. "World Cup 2018 host Russia has a serious soccer hooligan problem". news.com.au. News Limited. 2013-10-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-14. สืบค้นเมื่อ 2013-11-19.
  22. Williams, Carol J. (2013-08-14). "Soccer World Cup 2018 host is asked to explain anti-gay law". Los Angeles Times. Tribune Company. สืบค้นเมื่อ 2013-11-19.
  23. Bird, Liviu (2013-10-31). "Russia's racism stems from lack of education but can be reversed, experts say". NBC Sports: ProSoccerTalk. NBC Sports. สืบค้นเมื่อ 2013-11-19.
  24. "UEFA-Ranglisten". UEFA.comL Live-Ergebnisse (ภาษาเยอรมัน). UEFA. สืบค้นเมื่อ 2013-11-19.
  25. Worgo, Tom (2013-07-09). "McDonogh grad braves cold to play pro soccer in Russia". The Baltimore Sun. Tribune Company. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-22. สืบค้นเมื่อ 2013-11-19.