ฟุตบอลในประเทศอิสราเอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟุตบอลในประเทศอิสราเอล
สนามกีฬาเท็ดดี เป็นสนามเหย้าของฟุตบอลทีมชาติอิสราเอลและสโมสรฟุตบอลอีกสามแห่ง
ประเทศอิสราเอล
องค์กรบริหารดูแลสมาคมฟุตบอลอิสราเอล
ทีมชาติฟุตบอลทีมชาติอิสราเอล
การแข่งขันระดับชาติ
การแข่งขันของสโมสร
การแข่งขันระดับนานาชาติ
สนามกีฬาบลูมฟีลด์ในเทลอาวีฟ เป็นสนามเหย้าของมัคคาบีเทลอาวีฟ, ฮาโปเอลเทลอาวีฟ แลพ Bnei Yehuda

ฟุตบอล (ฮีบรู: כַּדוּרֶגֶל, Kaduregel) เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศอิสราเอล[1][2][3][4][5][6][7] กีฬาชนิดนี้ถูกพัฒนาขึ้นโดยสหราชอาณาจักรซึ่งเคยปกครองปาเลสไตน์ในอาณัติ

สมาคมฟุตบอลอิสราเอลเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียใน ค.ศ. 1954 แต่ถูกขับออกใน ค.ศ. 1974 หลังจากที่อิสราเอลถูกชาติอาหรับคว่ำบาตร ทำให้ในช่วงทศวรรษ 1970–1980 สมาคมฟุตบอลอิสราเอลไม่ได้เป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลใดเลย หากแต่ทำได้เพียงเข้าร่วมแข่งขันในรอบคัดเลือกของโอเอฟซี, ยูฟ่า และคอนเมบอล สุดท้าย อิสราเอลได้เข้าร่วมยูฟ่าใน ค.ศ. 1992 และกลายเป็นสมาชิกอย่างเต็มตัวใน ค.ศ. 1994 ทำให้อิสราเอลได้ลงเล่นในการแข่งขันระดับทวีปยุโรปนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

สมาคมฟุตบอลอิสราเอล[แก้]

สมาคมฟุตบอลอิสราเอล (IFA) เป็นหน่วยงานที่บริหารฟุตบอลในประเทศอิสราเอล สโมสรฟุตบอลอาชีพทุกสโมสรในประเทศเป็นสมาชิกของสมาคมนี้ เช่นเดียวกันกับสโมสรฟุตบอลกึ่งอาชีพและสมัครเล่นกว่าร้อยสโมสร[8][9]

ระบบลีก[แก้]

ในฤดูกาล 2019-20 อิสราเอลมีระดับลีก 5 ระดับ และมีลีกที่แข่งขันทั้งหมด 16 ลีก อยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมฟุตบอลอิสราเอล ลีกทุกระดับจะมีการเลื่อนชั้นและตกชั้นหลังจบฤดูกาล

โครงสร้างระบบลีกฟุตบอลอิสราเอลมีดังนี้

  • อิสราเอลพรีเมียร์ลีก: ลีกระดับสูงสุด มี 14 สโมสร
  • ลีกาลูมิต: ลีกระดับสอง มี 16 สโมสร
  • ลีกาอาเลฟ: ลีกระดับสาม ประกอบด้วยลีกภูมิภาค 2 โซน (เหนือและใต้) มี 32 สโมสร (โซนละ 16 สโมสร)
  • ลีกาเบ็ต: ลีกระดับสี่ ประกอบด้วยลีกภูมิภาค 4 โซน มี 64 สโมสร (โซนละ 16 สโมสร)
  • ลีกากิเมล: ลีกระดับห้า ประกอบด้วยลีกภูมิภาค 8 โซน มี 114 สโมสร (โซนละ 11-16 สโมสร)

ถ้วย[แก้]

ในอิสราเอล มีการแข่งขันฟุตบอลถ้วยหลัก 2 รายการ ได้แก่

  • สเตตคัพ (ฮีบรู: גביע המדינה, Gvia HaMedina) มีศักดิ์เทียบเท่ากับเอฟเอคัพของอังกฤษ ทุกสโมสรมีสิทธิ์เข้าร่วมแข่งขัน รูปแบบการแข่งขันเป็นแบบแพ้คัดออก นัดชิงชนะเลิศจัดขึ้นที่สนามกีฬาแห่งชาติ ทีมชนะเลิศจะได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันยูฟ่ายูโรปาลีก
  • โตโตคัพ (ฮีบรู: גביע הטוטו, Gvia HaToto) มีศักดิ์เทียบเท่ากับอีเอฟแอลคัพของอังกฤษ มีสองถ้วยย่อยสำหรับลีกสูงสุดและลีกระดับสองตามลำดับ การแข่งขันในรอบแรกเป็นแบบพบกันหมด ทีมที่มีอันดับสูงที่สุดในแต่ละกลุ่มจะผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออก นัดชิงชนะเลิศจัดขึ้นที่สนามกีฬาแห่งชาติ อย่างไรก็ตาม ทีมชนะเลิศจะไม่ได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันยูฟ่ายูโรปาลีก

อ้างอิง[แก้]

  1. Gross, Tom. "Tom Gross on Soccer & Israel on National Review Online". Old.nationalreview.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-03. สืบค้นเมื่อ 2013-12-02.
  2. "FIFA asks Israel to assist Palestinian soccer - CBC Sports - Soccer". Cbc.ca. สืบค้นเมื่อ 2013-12-02.
  3. "Israeli soccer club fans say no to Muslim players". Alarabiya.net. สืบค้นเมื่อ 2013-12-02.
  4. Greenberg, Joel (2013-02-11). "Soccer racism raises concern in Israel - Washington Post". Articles.washingtonpost.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-03. สืบค้นเมื่อ 2013-12-02.
  5. Ackerman, Gwen. "Israel-Based Football Website Is Turning Fans' Love of the Game Into a New Media Business". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2013-12-02.
  6. "How German football is embracing Israel - CNN.com". Edition.cnn.com. สืบค้นเมื่อ 2013-12-02.
  7. "Football in Israel, the not-so-beautiful game | The Jewish Chronicle". Thejc.com. 2008-08-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-02. สืบค้นเมื่อ 2013-12-02.
  8. "When Saturday Comes - Israel". Wsc.co.uk. 2012-07-09. สืบค้นเมื่อ 2013-12-02.
  9. "When Saturday Comes - Anti-Arab league". Wsc.co.uk. 2012-07-09. สืบค้นเมื่อ 2013-12-02.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]