ฟุตบอลในประเทศแอลเบเนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟุตบอลในประเทศแอลเบเนีย
ประเทศแอลเบเนีย
องค์กรบริหารดูแลสมาคมฟุตบอลแอลเบเนีย
ทีมชาติฟุตบอลทีมชาติแอลเบเนีย
การแข่งขันระดับชาติ
การแข่งขันของสโมสร
การแข่งขันระดับนานาชาติ

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมในประเทศแอลเบเนีย[1][2] โดยอยู่ภายใต้การบริหารของสมาคมฟุตบอลแอลเบเนีย (แอลเบเนีย: Federata Shqiptare e Futbollit)

ระบบลีก[แก้]

ระบบลีกแอลเบเนียถูกแบ่งออกเป็น 4 ระดับ แอลเบเนียนซูเปอร์ลีกาหรือกาเตกอรีอาซูเปรีออเร (Kategoria superiore) ซึ่งเป็นลีกสูงสุดของประเทศ ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1930 เพื่อแทนที่เฟิสต์ดิวิชันหรือกาเตกอรีอาเอปาเรอ (Kategoria e Parë) ซึ่งเคยเป็นลีกสูงสุดเดิม และปัจจุบันเป็นลีกระดับที่สอง ปัจจุบันซูเปอร์ลีกามีทีมเข้าร่วมแข่งขัน 10 ทีม ลีกระดับรองลงมาคือเฟิสต์ดิวิชัน รองลงมาอีกคือเซคันด์ดิวิชัน ซึ่งแบ่งโซนตามภูมิภาคออกเป็น 2 โซน ได้แก่ โซน A และโซน B

ทีมชนะเลิศของซูเปอร์ลีกาจะได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกรอบคัดเลือกรอบแรก ส่วนทีมรองชนะเลิศ จะได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันยูฟ่ายูโรปาลีกในรอบคัดเลือกรอบแรกเช่นกัน ติรานาเป็นสโมสรที่คว้าแชมป์ลีกมากที่สุดที่ 24 สมัย

ระดับ

ลีก

1

กาเตกอรีอาซูเปรีออเร
10 สโมสร

↓↑ 2–3 สโมสร

2

กาเตกอรีอาเอปาเรอ
20 สโมสร แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 สโมสร

↓↑ 2–4 สโมสร

3

กาเตกอรีอาเอดือเตอ
23 สโมสร + 3 ทีมสำรอง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 13 สโมสร

↓ 2–3 สโมสร ↑ 2–3 สโมสร

4

กาเตกอรีอาเอเตรเตอ
8 สโมสร

ฟุตบอลคัพ[แก้]

แอลเบเนียนคัพ (Kupa e Shqipërisë) เป็นการแข่งขันฟุตบอลแบบแพ้คัดออกที่สำคัญของประเทศ ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1939 ทีมชนะเลิศจะได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันยูฟ่ายูโรปาลีกในรอบคัดเลือกรอบแรก สโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือปาร์ตีซานีติรานา ซึ่งชนะเลิศ 15 สมัย

แอลเบเนียนซูเปอร์คัพซึ่งเริ่มแข่งขันมาตั้งแต่ ค.ศ. 1989 เป็นการแข่งขันฟุตบอลแบบนัดเดียวจบระหว่างทีมชนะเลิศซูเปอร์ลีกากับทีมชนะเลิศแอลเบเนียนคัพ สโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือติรานา ซึ่งชนะเลิศ 9 สมัย

ทีมชาติ[แก้]

ฟุตบอลทีมชาติแอลเบเนียก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1930 แต่ต้องรอนานถึง 16 ปี กว่าจะได้ลงแข่งขันในระดับนานาชาตินัดแรก ซึ่งเป็นการพบกับยูโกสลาเวียใน ค.ศ. 1946 แอลเบเนียเข้าร่วมเป็นสมาชิกของฟีฟ่าระหว่างการประชุมวันที่ 12–16 มิถุนายน ค.ศ. 1932 และเป็นสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งยูฟ่าใน ค.ศ. 1954 ในฟุตบอลโลก 1934 ทีมชาติแอลเบเนียถูกเชิญให้เข้าร่วมแข่งขัน แต่พวกเขาก็ปฏิเสธไป

ในวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 2015 แอลเบเนียผ่านรอบคัดเลือกเข้าไปเล่นในรอบสุดท้ายของฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 นับเป็นครั้งแรกที่แอลเบเนียได้เข้าร่วมรายการแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติ

อ้างอิง[แก้]

  1. Wilson, Jonathan (2011-05-03). "Albania loves football - just not the version played in its stadiums | Jonathan Wilson | Football". theguardian.com. สืบค้นเมื่อ 2013-12-02.
  2. "Albania cast their net wide and reap the dividends « World Soccer World Soccer". Worldsoccer.com. 2013-06-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-18. สืบค้นเมื่อ 2013-12-02.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]