ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กึนเทอร์ ฟ็อน คลูเกอ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 50: บรรทัด 50:


=== ยุทธการที่ฝรั่งเศส ===
=== ยุทธการที่ฝรั่งเศส ===
[[ไฟล์:Bundesarchiv_Bild_146-1973-023-19,_Frankreich,_Günther_v._Kluge,_Adolf_Hitler.jpg|thumb|Kluge with Hitler during a troop visit in France, 1940]]
[[ไฟล์:Bundesarchiv_Bild_146-1973-023-19,_Frankreich,_Günther_v._Kluge,_Adolf_Hitler.jpg|thumb|คลูเกอกับฮิตเลอร์ในช่วงเยี่ยมเยียนกองทหารในฝรั่งเศส ค.ศ. 1940]]

{{โครงส่วน}}
ในการเตรียมความพร้อมสำหรับฟัลเก็ลพ์ ("กรณีเหลือง") [[ยุทธการที่ฝรั่งเศส|การบุกครองฝรั่งเศส]] คลูเกอและกองทัพที่ 4 ได้ถูกย้ายไปอยู่ในกองทัพกลุ่มเอภายใต้บัญชาการของ[[แกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท]]{{sfn|Horne|1969|pp=204–207}} ฮิตเลอร์ยังคงมองหาทางเลือกที่ดูก้าวร้าวมาแทนที่ในแผนการเดิม ได้ยอมรับความคิดของ[[เอริช ฟ็อน มันชไตน์]] ซึ่งเป็นที่รู้จักกันคือ [[แผนมันชไตน์]] ภายหลังการประชุมกับพวกเขา เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1940{{sfn|Horne|1969|pp=204–207}} แผนการได้ระบุว่า กองทัพที่ 4 จะให้การสนับสนุนเพื่อเข้าโจมตีผ่านภูมิประเทศ[[อาร์แดน]]ที่ดูขรุขระจากทางตอนใต้ของเบลเยียมและลักเซมเบิร์กมุ่งหน้าไปยังแม่น้ำเมิซ คลูเกอได้มอบหมายให้กองทัพน้อยกองทัพบกที่ 15 ทำการห้อมล้อมกองพลยานเกราะที่ 5 และที่ 7 เพื่อจัดตั้งปีกคุ้มกันแก่กองทัพน้อยของ Georg-Hans Reinhardt โดยการข้ามแม่น้ำเมิซที่ Dinant{{sfn|Horne|1969|p=208}}

การเปิดฉาก เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม กรณีเหลืองเริ่มประสบความสำเร็จ กองทัพน้อยของคลูเกอได้เข้ารุกอย่างรวดเร็ว จนมาถึงแม่น้ำเมิซในสองวัน{{sfn|Barnett|1989|pp=397–398}} ในการข้ามแม่น้ำ ผู้นำหัวหอกโดย[[แอร์วีน ร็อมเมิล]] ผู้บัญชาการยานเกราะที่ 7 ได้สร้างหัวสะพานบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเมิซ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม และบีบบังคับให้กองทัพฝรั่งเศสที่ 9 ต้องล่าถอย{{sfn|Horne|1969|pp=324–326; 329–331}} กองกำลังของคลูเกอ - โดยเฉพาะกองพลยานเกราะที่ 7 ได้ประสบความเร็วในการบุกทะลวงอย่างรวดเร็วจากหัวสะพานของพวกเขาในวันต่อมา ระหว่างวันที่ 16 และ 17 พฤษภาคม ร็อมเมิลได้จับกุมเชลยศึกจำนวน 10,000 นาย และยึดรถถัง 100 คัน และกวาดล้างกองทัพฝรั่งเศสที่ 9 ที่หลงเหลืออยู่โดยสูญเสียกำลังคนไปเพียง 35 นาย{{sfn|Horne|1969|pp=472–479}} ด้วยการเคลื่อนทัพที่ยาวไกลเกินไปและนำหน้าอย่างเต็มที่ของกองทัพกลุ่ม กองพลยานเกราะที่ 5 และที่ 7 ได้ป้องกัน[[ยุทธการที่อารัส (ค.ศ. 1940)|การโจมตีตอบโต้กลับร่วมกัน]]ของบริติช-ฝรั่งเศส ใกล้กับเมืองอารัส เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม{{sfn|Barnett|1989|pp=399–400}}

หลังจากการประชุมกับฮิตเลอร์และรุนท์ชเต็ท คลูเกอได้ออกคำสั่งแก่หน่วยยานเกราะของเขาให้หยุด เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ซึ่งอยู่ห่างระยะทางเพียง 16 กิโลเมตร(9.9 ไมล์) จาก[[เดิงแกร์ก]] ซึ่งในขณะนั้นเป็นเส้นทางการหลบหนีที่เป็นไปได้สำหรับ[[กองกำลังรบนอกประเทศบริติช (สงครามโลกครั้งที่สอง)|กองกำลังรบนอกประเทศบริติช]]{{sfn|Barnett|1989|pp=399–400}} การหยุดพักชั่วคราวเพียงสองวันทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรทำการรวบรวมกำลังคนบริเวณรอบเดิงแกร์กและเตรียมความพร้อมสำหรับ[[การถอนทัพที่เดิงแกร์ก|การอพยพ]]{{sfn|Barnett|1989|pp=399–400}} เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ณ จุดเริ่มต้นของ[[ฟัลโรท]] (กรณีแดง) ระยะที่สองของแผนการบุกครอง กองทัพที่ 4 ของคลูเกอได้ช่วยเหลือในการบรรลุการบุกทะลวงครั้งแรกที่อาเมียงและมุ่งหน้าไปถึง[[แม่น้ำแซน]] เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน{{sfn|Barnett|1989|pp=401–402}}{{sfn|Horne|1969|pp=641–643}} การบัญชาการของคลูเกอและการนำทัพของร็อมเมิลในช่วงตลอดของการบุกครองทำให้เขาได้รับเลื่อนตำแหน่งยศเป็น[[จอมพล (เยอรมัน)|แกเนอราลเฟ็ลท์มาร์ชัล]](จอมพล) เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม{{sfn|Barnett|1989|pp=401–402}}


=== การบุกครองสหภาพโซเวียต ===
=== การบุกครองสหภาพโซเวียต ===
{{บทความหลัก|ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา|สงครามของการทำลายล้าง}}คลูเกอได้บัญชาการแก่กองทัพที่ 4 ในการเปิดฉาก[[ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา]] ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพกลุ่มกลาง นอกเหนือจากการบัญชาการของเขา กองทัพกลุ่มซึ่งรวมทั้งกองทัพบกภาคสนาม กองทัพที่ 9 และขบวนเคลื่อนที่เร็วสองหน่วย กลุ่มยานเกราะที่ 2 (ไฮนทซ์ กูเดรีอัน) และที่ 3 (แฮร์มันน์ โฮท){{sfn|Glantz|House|2015|p=35}}
{{โครงส่วน}}

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน คลูเกอได้ออกคำสั่งว่า ผู้หญิงที่อยู่ในชุดเครื่องแบบจะต้องถูกยิงทิ้ง ตามที่สอดคล้องกับโลกทัศน์ในอุดมการณ์นาซี ซึ่งถือว่า ผู้ต่อสู้รบที่เป็นผู้หญิงเป็นการแสดงให้เห็นถึงรูปแบบหนึ่งของลัทธิบอลเชวิคที่ดู"ป่าเถื่อน" ซึ่งบทบาททางเพศตามธรรมชาติได้พลิกกลับ คำสั่งดังกล่าวได้ถูกยกเลิกในวันต่อมา และให้จับกุมผู้หญิงที่อยู่ในชุดเครื่องแบบแทน{{sfn|''Die Zeit''|2011}} เมื่อวันที่ 4 กรกฏาคม [[กองบัญชาการใหญ่กองทัพบกเยอรมัน]] (OKH) ได้ส่งมอบกลุ่มยานเกราะที่ 2 และที่ 3 ให้อยู่ภายใต้บัญชาการของคลูเกอ เพื่อปรับปรุงการประสานงานระหว่างหัวหอกยานเกราะที่เคลื่อนที่เร็วและทหารราบที่เชื่องช้า ผลลัพธ์ได้ก่อตัวขึ้นทำให้เกิดสามัคคีบนกระดาษ ในความเป็นจริง ผู้บัญชาการกลุ่มยานเกราะมักจะขัดคำสั่งของคลูเกอและกูเดรีอัน และคลูเกอหมั่นไส้แต่ละคนเป็นการส่วนตัว{{sfn|Glantz|House|2015|p=62}}<ref>https://www.youtube.com/watch?v=0GogjX5SppE&t=419s</ref> คลูเกอได้ยอมแพ้ทั้งหมดยกเว้นแต่กองทัพน้อยทหารราบสองหน่วยของเขา กองทัพน้อยหน่วยอื่น ๆ ของเขาได้รับมอบหมายให้เป็นกองทัพที่ 2 ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ถูกจัดให้เป็นกองกำลังสำรอง{{sfn|Klink|1998|p=527}}

ด้วยการคาดหวังว่า สงครามในระยะเวลาสั้น ๆ ซึ่งไม่มีความจำเป็นในการแสวงหาผลประโยชน์จากแรงงานโซเวียตสำหรับความพยายามในการทำสงครามของเยอรมัน กองบัญชาการใหญ่และผู้นำทางทหารไม่ได้เตรียมความพร้อมที่เพียงพอสำหรับที่พักเชลยศึกและพลเรือนที่ถูกคุมขัง ในเขตบังคับบัญชาการของคลูเกอ เชลยศึก 100,000 นายและพลเรือน 40,000 คนได้ถูกต้อนเข้าไปในค่ายกลางแจ้งขนาดเล็กในมินสค์ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1941 ท่ามกลางสภาพที่ดูทรุดโทรมและความอดอยากในค่าย [[องค์การท็อท|องค์กรท็อท]]ได้ร้องขอให้คลูเกอปล่อยคนงานที่มีความสามารถจำนวน 10,000 คน คลูเกอได้ปฏิเสธและต้องการตัดสินใจเกี่ยวกับนักโทษด้วยตัวเขาเอง{{sfn|Müller|1998|pp=1146–1147}}

ในส่วนหนึ่งของ[[แผนความหิว]] ซึ่งเป็นหนึ่งในเสาหลักของสงครามของการทำลายล้างกับสหภาพโซเวียต แวร์มัคท์ส่วนใหญ่คาดหวังว่า "พื้นที่ที่จะได้อยู่อาศัย" ดังนั้น การฉกชิงทรัพย์ การปล้นสะดม และการกระทำทารุณต่อประชากรพลเรือนได้ลุกลามมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ด้านหลัง ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1941 คลูเกอได้ออกคำสั่งให้กองทหารของเขามุ่งเป้าไปที่การฟื้นฟูกฎระบียบวินัย โดยกล่าวว่า "ถึงเวลาแล้วที่จะต้องยุติวิธีการได้รับเสบียงอย่างไม่ยุติธรรม การโจมตีโฉบฉวย การเที่ยวปล้นสะดมในระยะทางอันกว้างใหญ่ การกระทำที่ไร้สติและอาชญากรรมทั้งหมด " คลูเกอได้ข่มขู่ว่าจะใช้มาตรการรุนแรงต่อผู้รับผิดชอบพร้อมกับผู้บัญชาการทหารระดับสูงของพวกเขาที่ล้มเหลวในการรักษากฎระบียบวินัย{{sfn|Förster|1998|pp=1210–1211}}


=== ยุทธการที่มอสโก ===
=== ยุทธการที่มอสโก ===
{{บทความหลัก|ยุทธการที่มอสโก|}}
{{โครงส่วน}}
[[ไฟล์:Bundesarchiv_Bild_101I-141-1258-08,_Russland-Mitte,_Soldaten_der_französischen_Legion,_Hans_Günter_v._Kluge.jpg|thumb|คลูเกอได้ตรวจแถว[[กองพันทหารอาสาสมัครฝรั่งเศสต่อต้านบอลเชวิค|กองพันทหารอาสาสมัครชาวฝรั่งเศส]] ซึ่งเป็นฝ่ายให้ความร่วมมือของฝรั่งเศส พฤศจิกายน ค.ศ. 1941.]]
ในช่วง[[ปฏิบัติการไต้ฝุ่น]] เยอรมันได้เข้ารุกสู่กรุงมอสโก คลูเกอได้กลุ่มยานเกราะที่ 4 ภายใต้บัญชาการโดย[[เอริช เฮิพเนอร์]] ซึ่งมาอยู่ใต้บังคับบัญชาการของกองทัพที่ 4 ในช่วงต้นเดือนตุลาคม กลุ่มยานเกราะที่ 4 ได้ทำ[[ยุทธการที่มอสโก|การโอบล้อมที่ Vyazma อย่างสมบูรณ์]] ด้วยความไม่พอใจอย่างมากของเฮิพเนอร์ คลูเกอได้สั่งให้เขาหยุดการรุก เนื่องจากหน่วยของเขามีความจำเป็นเพื่อขัดขวางการตีฝ่าวงล้อมของกองทัพโซเวียต เฮิพเนอร์นั้นมีความมั่นใจว่า จะสามารถเคลียร์วงล้อมและรุกเข้าสู่กรุงมอสโกซึ่งสามารถทำได้ในเวลาเดียวกัน เขามองว่า การกระทำของคลูเกอเป็นการแทรกแซง ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งและ"การปะทะ" กับหัวหน้าของเขา ในขณะที่เขาได้เขียนจดหมายไปทางบ้าน เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม{{sfn|Stahel|2013|pp=74–75, 95}} ดูเหมือนว่า เฮิพเนอร์จะไม่ปลื้มที่หน่วยของเขามีเชื้อเพลิงน้อยมาก กองพลยานเกราะที่ 11 ได้รายงานว่าไม่มีเชื้อเพลิงเลย มีเพียงแต่กองพลยานเกราะที่ 20 ซึ่งมุ่งหน้าเข้าสู่กรุงมอสโกท่ามกลางสภาพถนนที่ทรุดโทรม{{sfn|Stahel|2013|p=95}}

วันที่ 17 พฤศจิกายน กลุ่มยานเกราะที่ 4 เข้าโจมตีมอสโกอีกครั้งพร้อมกับกองทัพน้อยกองทัพที่ 5 ของกองทัพที่ 4 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการไต้ฝุ่นโดยกองทัพกลุ่มกลาง กลุ่มยานเกราะและกองทัพน้อยกองทัพบกได้แสดงให้เห็นแล้วว่าเป็นกองกำลังที่ดีที่สุดของคลูเกอ ซึ่งมีความพร้อมอย่างมากสำหรับการรุกอย่างต่อเนื่อง ในการสู้รบสองสัปดาห์ กองทัพเยอรมันได้เข้ารุกเพียงระยะทาง 60 กิโลเมตร (37 ไมล์)(4 กิโลเมตร (2.5 ไมล์) ต่อวัน){{sfn|Stahel|2015|p=228}} การขาดแคลนรถถัง การขนส่งทางรถยนต์ที่ไม่เพียงพอ และสถานการณ์ด้านเสบียงที่ดูล่อแหลม พร้อมกับการต้านทานที่เหนี่ยวแน่นของกองทัพแดง และอำนาจเหนือน่านฟ้าที่ทำได้โดยเครื่องบินรบของโซเวียตได้เข้าขัดขวางการโจมตี{{sfn|Stahel|2015|pp=240–244}}

เมื่อเผชิญแรงกดดันจากกองบัญชาการใหญ่ ในที่สุดคลูเกอได้ส่งกองกำลังเข้าโจมตีปืกใต้ที่อ่อนแอ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ในภายหลังจากการสู้รบ เฮิพเนอร์และกูเดรีอันได้กล่าวโทษความมุ่งมั่นที่ล่าช้าของคลูเกอที่ปีกใต้ของกองทัพที่ 4 เพื่อเข้าโจมตีสำหรับความล้มเหลวของเยอรมันในการเข้าถึงมอสโก นักประวัติศาสตร์ที่ชื่อว่า David Stahel ได้เขียนว่า การประเมินผลครั้งนี้ได้ประเมินความสามารถสูงเกินไปอย่างไม่ลดละของกองกำลังที่เหลืออยู่ของคลูเกอ{{sfn|Stahel|2015|pp=229–230}} พวกเขายังมองไม่เห็นถึงความเป็นจริงที่ว่ากรุงมอสโกเป็นเมืองขนาดใหญ่ และกองกำลังเยอรมันก็ขาดแคลนกำลังคนจำนวนมากเพื่อการโอบล้อม ด้วยแนวป้องกันชั้นนอกได้เสร็จสิ้นในวันที่ 25 พฤศจิกายน มอสโกจึงเป็นตำแหน่งที่มีป้อมปราการซึ่งแวร์มัคท์ขาดแคลนกำลังคนเพื่อเข้าจู่โจมส่วนหน้า การโจมตีที่ไกลห่างออกไปได้ถูกยกเลิก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม กองทัพแดงได้เปิดฉากการรุกตอบโต้กลับฤดูหนาวในวันเดียวกัน{{sfn|Stahel|2015|pp=306–307}}


=== กองทัพกลุ่มกลาง ===
=== กองทัพกลุ่มกลาง ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:41, 29 กันยายน 2564

กึนเทอร์ ฟ็อน คลูเกอ
จอมพล กึนเทอร์ ฟ็อน คลูเกอ
ชื่อเล่นแดร์คลูเกอฮันส์
เกิด30 ตุลาคม ค.ศ. 1882(1882-10-30)
โพเซิน, ราชอาณาจักรปรัสเซีย, จักรวรรดิเยอรมัน
เสียชีวิต19 สิงหาคม ค.ศ. 1944(1944-08-19) (61 ปี)
แม็ส, นาซีเยอรมนี
รับใช้ เยอรมนี
 เยอรมนี
 ไรช์เยอรมัน
แผนก/สังกัดกองทัพเยอรมัน 1901–1919
ไรชส์แวร์ 1919–1935
แวร์มัคท์ 1935–1944
ประจำการ1901–1944
ชั้นยศจอมพล
หน่วย46th Field Artillery Regiment
XXI Corps
บังคับบัญชา4th Army
Army Group Centre
การยุทธ์สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

สงครามโลกครั้งที่สอง

บำเหน็จกางเขนเหล็กกางเขนอัศวินประดับด้วยใบโอ๊กและดาบ

กึนเทอร์ อดอล์ฟ แฟร์ดีนันท์ ฟ็อน คลูเกอ (30 ตุลาคม ค.ศ. 1882 – 19 สิงหาคม ค.ศ. 1944) ยังเป็นรู้จักกันคือ ฮันส์ กึนเทอร์ ฟ็อน คลูเกอ เป็นจอมพลชาวเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งได้บัญชาการการรบทั้งแนวรบตะวันออกและแนวรบตะวันตก เขาได้บัญชาการแก่กองทัพที่ 4 ของแวร์มัคท์ในช่วงการบุกครองโปแลนด์ในปี ค.ศ. 1939 และยุทธการที่ฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1940 ได้รับเลื่อนตำแหน่งยศเป็นจอมพลไรช์ คลูเกอยังคงบัญชาการกองทัพที่ 4 ในปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา(การบุกครองสหภาพโซเวียต) และยุทธการที่มอสโกในปี ค.ศ. 1941

ท่ามกลางวิกฤตของการรุกตอบโต้กลับของโซเวียตในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 คลูเกอได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการแห่งกองทัพกลุ่มกลาง เข้ามาแทนที่กับจอมพล เฟดอร์ ฟ็อน บ็อค สมาชิกหลายคนของกลุ่มทหารเยอรมันฝ่ายต่อต้านอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ซึ่งทำหน้าที่ในคณะเสนาธิการของเขา รวมทั้งเฮ็นนิง ฟ็อน เทร็สโค คลูเกอได้รับรู้ถึงความเคลื่อนไหวของผู้วางแผนก่อกบฏ แต่ปฏิเสธที่จะให้การสนับสนุนยกเว้นแต่เพียงฮิตเลอร์จะถูกสังหาร การบัญชาการของเขาในแนวรบด้านตะวันออกได้ดำเนินไปจนถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 1943 เมื่อคลูเกอได้รับบาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุทางรถยนต์

ภายหลังจากได้พักฟื้นรักษาตัวเป็นเวลานาน คลูเกอได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการใหญ่ตะวันตก(OB West) ในเขตยึดครองฝรั่งเศสในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1944 ภายหลังคนก่อนหน้านี้ จอมพล แกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท ถูกสั่งปลดเพราะมีความเชื่อว่าจะพ่ายแพ้สงคราม กองกำลังของคลูเกอไม่สามารถหยุดยั้งแรงผลักดันของการบุกครองนอร์ม็องดีของฝ่ายสัมพันธมิตรไว้ได้ และเขาเริ่มตระหนักแล้วว่าสงครามทางด้านตะวันตกกำลังจะพ่ายแพ้แล้ว แม้ว่าคลูเกอจะไม่ได้เป็นผู้สมรู้ร่วมคิดในแผนลับ 20 กรกฎาคม แต่ภายหลังการก่อรัฐประหารได้ล้มเหลว เขาได้กระทำอัตวินิบาตกรรมในวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1944 หลังจากที่ถูกเรียกตัวกลับไปยังกรุงเบอร์ลินเพื่อเข้าพบกับฮิตเลอร์ ดังนั้นตำแหน่งของคลูเกอร์จึงถูกแทนที่โดยจอมพล วัลเทอร์ โมเดิล

ช่วงชีวิตตอนต้นและอาชีพ

คลูเกอเกิดเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1882 ในโพเซิน ปรัสเซีย และปัจจุบันคือทางตะวันตกของโปแลนด์[1] พ่อของเขา แม็กซ์ ฟ็อน คลูเกอ ซึ่งมาจากครอบครัวทหารปรัสเซียชนชั้นสูง ด้วยการเป็นผู้บัญชาการที่มีความโดดเด่น แม็กซ์เป็นนายทหารตำแหน่งยศพลโทในกองทัพบกปรัสเซีย ซึ่งประจำการอยู่ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขาได้แต่งงานกับ lise Kühn-Schuhmann[1] ในปี ค.ศ. 1881 คลูเกอเป็นหนึ่งในลูกชายสองคน ซึ่งมีน้องชายที่ชื่อว่า ว็อล์ฟกัง (ค.ศ. 1892-1976)[1] ว็อล์ฟกังได้ปฏิบัติหน้าที่ในสงครามโลกสองครั้ง ได้รับเลื่อนยศตำแหน่งเป็นพลโท ในปี ค.ศ. 1943, และเป็นผู้บัญชาการแห่งป้อมปราการดันเคิร์ก ระหว่างเดือนกรกฏาคม ถึง เดือนกันยายน ค.ศ. 1944[2]

ในปี ค.ศ. 1901 คลูเกอได้รับหน้าที่ในกรมทหารปืนใหญ่ภาคสนามที่ 46 แห่งกองทัพบกปรัสเซีย เขาได้ทำหน้าที่ในคณะเสนาธิการทั่วไป ระหว่างปี ค.ศ. 1910 และ ค.ศ. 1918 ได้รับเลื่อนตำแหน่งยศเป็นร้อยเอกบนแนวรบด้านตะวันตกในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขายังคงประจำการอยู่ในไรชส์แวร์ภายหลังความขัดแย้ง จนได้เป็นพันเอกในปี ค.ศ. 1930 พลตรีในปี ค.ศ. 1933 และพลโทในอีกหนึ่งปีต่อมา[1] วันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1934 คลูเกอได้บัญชาการแก่กองพลที่ 6 ในมึนส์เทอร์[1] คำประกาศแวร์มัคท์ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ในปี ค.ศ. 1935 ได้เร่งรัดการกำหนดของเขาให้กับกองพลน้อยที่ 6 และกองทัพกลุ่มที่ 6 ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกองทัพที่ 4 [1]

คลูเกอเชื่อว่า "ลัทธิแสนยนิยมที่หยาบประด้าง" ของฮิตเลอร์จะนำพาเยอรมนีไปสู่หายนะ ในช่วงวิกฤตการณ์ซูเดเทินลันท์ เขาเป็นสมาชิกของกลุ่มลับต่อต้านสงครามซึ่งนำโดยลูทวิช เบ็ค และ Ernst von Weizsäcker ได้คาดหวังว่าจะหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในดินแดนข้อพิพาท วิกฤตดังกล่าวได้ถูกเบี่ยงเบนโดยข้อตกลงมิวนิก เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1938 แม้ว่าเขาจะวิพากษ์วิจารณ์ถึงพวกนาซีเป็นการส่วนตัว แต่คลูเกอมีความเชื่อมั่นในหลักการของเลเบินส์เราม์ (พื้นที่อยู่อาศัย) และภาคภูมิใจในการฟื้นแสนยานุภาพของแวร์มัคท์[3]

เขาได้มีชื่อเล่นว่า เดอ คลูเกอ ฮันส์ ("เคลฟเวอร์ ฮันส์") ตามชื่อของม้าเยอรมันที่สามารถคำนวณคิดเลขได้[4]

สงครามโลกครั้งที่สอง

การบุกครองโปแลนด์

ฮิตเลอร์ได้อนุมัติเค้าโครงสำหรับการรุกรานโปแลนด์ของกองบัญชาการใหญ่กองทัพบกเยอรมันกับกองทัพสองกลุ่มในช่วงการบรรยายสรุปทางทหาร เมื่อวันที่ 26-27 เมษายน ค.ศ. 1939[5] กองทัพที่ 4 ของคลูเกอได้รับมอบหมายให้เป็นกองกำลังของกองทัพกลุ่มเหนือภายใต้การบัญชาการโดยเฟดอร์ ฟ็อน บ็อค[6] การทัพโปแลนด์ได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อวันที่ 1 กันยายน โดยใช้ประโยชน์จากชายแดนที่ยืดยาวติดกับประเทศเยอรมนี กองทัพที่ 4 ได้เคลื่อนทัพไปทางตะวันออกเข้าสู่ฉนวนจากทางตะวันตกของพอเมอเรเนียเพื่อเข้าสมทบกับกองทัพที่ 3 เมืองท่าเรือดันท์ซิชได้ถูกยึดครองภายในวันแรก[7]

ในวันต่อมา ด้วยความวิตกกังวลต่อแนวป้องกันของโปแลนด์ที่แข็งแกร่งตามแนวแม่น้ำเบรดาไม่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน กองทัพที่ 4 ได้ข้ามแม่น้ำ ทำการปิดล้อมกองพลทหารราบที่ 9 กองพลทหารราบที่ 27 และกองพลน้อยทหารม้าพอเมอเรเนียของโปแลนด์ไว้ในฉนวน คลูเกอได้ส่งกองพลยานเกราะที่ 10 จากกองทัพของเขาเองให้ข้ามแม่น้ำวิสตูล่า ไปสมทบกับกองทัพที่ 3 เมื่อวันที่ 3 กันยายน[8] กองทัพน้อยยานเกราะที่ 19 (ไฮนทซ์ กูเดรีอัน) ได้เข้ายึดครองเมืองเบรสท์ เมื่อวันที่ 17 กันยายน ภายหลังสามวันของการสู้รบในยุทธการที่เบรสท์-ลีตอฟสก์[9] กองทัพกลุ่มเหนือได้รับแจ้งข่าวว่า การบุกครองโปแลนด์ทางตะวันออกของกองทัพในวันเดียวกัน และได้รับคำสั่งให้อยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำ Bug เมืองเบรสท์ได้ถูกส่งไปให้กับกองทัพโซเวียต เมื่อวันที่ 22 กันยายน สำหรับการโอบล้อมต่อกองกำลังโปแลนด์ในช่วงเริ่มต้นของการบุกครอง คลูเกอได้รับการยกย่องจากฮิตเลอร์ว่าเป็นหนึ่งในผู้บัญชาการที่เก่งกาจที่สุดของเขา[6]

ยุทธการที่ฝรั่งเศส

คลูเกอกับฮิตเลอร์ในช่วงเยี่ยมเยียนกองทหารในฝรั่งเศส ค.ศ. 1940

ในการเตรียมความพร้อมสำหรับฟัลเก็ลพ์ ("กรณีเหลือง") การบุกครองฝรั่งเศส คลูเกอและกองทัพที่ 4 ได้ถูกย้ายไปอยู่ในกองทัพกลุ่มเอภายใต้บัญชาการของแกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท[10] ฮิตเลอร์ยังคงมองหาทางเลือกที่ดูก้าวร้าวมาแทนที่ในแผนการเดิม ได้ยอมรับความคิดของเอริช ฟ็อน มันชไตน์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันคือ แผนมันชไตน์ ภายหลังการประชุมกับพวกเขา เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1940[10] แผนการได้ระบุว่า กองทัพที่ 4 จะให้การสนับสนุนเพื่อเข้าโจมตีผ่านภูมิประเทศอาร์แดนที่ดูขรุขระจากทางตอนใต้ของเบลเยียมและลักเซมเบิร์กมุ่งหน้าไปยังแม่น้ำเมิซ คลูเกอได้มอบหมายให้กองทัพน้อยกองทัพบกที่ 15 ทำการห้อมล้อมกองพลยานเกราะที่ 5 และที่ 7 เพื่อจัดตั้งปีกคุ้มกันแก่กองทัพน้อยของ Georg-Hans Reinhardt โดยการข้ามแม่น้ำเมิซที่ Dinant[11]

การเปิดฉาก เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม กรณีเหลืองเริ่มประสบความสำเร็จ กองทัพน้อยของคลูเกอได้เข้ารุกอย่างรวดเร็ว จนมาถึงแม่น้ำเมิซในสองวัน[12] ในการข้ามแม่น้ำ ผู้นำหัวหอกโดยแอร์วีน ร็อมเมิล ผู้บัญชาการยานเกราะที่ 7 ได้สร้างหัวสะพานบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเมิซ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม และบีบบังคับให้กองทัพฝรั่งเศสที่ 9 ต้องล่าถอย[13] กองกำลังของคลูเกอ - โดยเฉพาะกองพลยานเกราะที่ 7 ได้ประสบความเร็วในการบุกทะลวงอย่างรวดเร็วจากหัวสะพานของพวกเขาในวันต่อมา ระหว่างวันที่ 16 และ 17 พฤษภาคม ร็อมเมิลได้จับกุมเชลยศึกจำนวน 10,000 นาย และยึดรถถัง 100 คัน และกวาดล้างกองทัพฝรั่งเศสที่ 9 ที่หลงเหลืออยู่โดยสูญเสียกำลังคนไปเพียง 35 นาย[14] ด้วยการเคลื่อนทัพที่ยาวไกลเกินไปและนำหน้าอย่างเต็มที่ของกองทัพกลุ่ม กองพลยานเกราะที่ 5 และที่ 7 ได้ป้องกันการโจมตีตอบโต้กลับร่วมกันของบริติช-ฝรั่งเศส ใกล้กับเมืองอารัส เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม[15]

หลังจากการประชุมกับฮิตเลอร์และรุนท์ชเต็ท คลูเกอได้ออกคำสั่งแก่หน่วยยานเกราะของเขาให้หยุด เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ซึ่งอยู่ห่างระยะทางเพียง 16 กิโลเมตร(9.9 ไมล์) จากเดิงแกร์ก ซึ่งในขณะนั้นเป็นเส้นทางการหลบหนีที่เป็นไปได้สำหรับกองกำลังรบนอกประเทศบริติช[15] การหยุดพักชั่วคราวเพียงสองวันทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรทำการรวบรวมกำลังคนบริเวณรอบเดิงแกร์กและเตรียมความพร้อมสำหรับการอพยพ[15] เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ณ จุดเริ่มต้นของฟัลโรท (กรณีแดง) ระยะที่สองของแผนการบุกครอง กองทัพที่ 4 ของคลูเกอได้ช่วยเหลือในการบรรลุการบุกทะลวงครั้งแรกที่อาเมียงและมุ่งหน้าไปถึงแม่น้ำแซน เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน[16][17] การบัญชาการของคลูเกอและการนำทัพของร็อมเมิลในช่วงตลอดของการบุกครองทำให้เขาได้รับเลื่อนตำแหน่งยศเป็นแกเนอราลเฟ็ลท์มาร์ชัล(จอมพล) เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม[16]

การบุกครองสหภาพโซเวียต

คลูเกอได้บัญชาการแก่กองทัพที่ 4 ในการเปิดฉากปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพกลุ่มกลาง นอกเหนือจากการบัญชาการของเขา กองทัพกลุ่มซึ่งรวมทั้งกองทัพบกภาคสนาม กองทัพที่ 9 และขบวนเคลื่อนที่เร็วสองหน่วย กลุ่มยานเกราะที่ 2 (ไฮนทซ์ กูเดรีอัน) และที่ 3 (แฮร์มันน์ โฮท)[18]

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน คลูเกอได้ออกคำสั่งว่า ผู้หญิงที่อยู่ในชุดเครื่องแบบจะต้องถูกยิงทิ้ง ตามที่สอดคล้องกับโลกทัศน์ในอุดมการณ์นาซี ซึ่งถือว่า ผู้ต่อสู้รบที่เป็นผู้หญิงเป็นการแสดงให้เห็นถึงรูปแบบหนึ่งของลัทธิบอลเชวิคที่ดู"ป่าเถื่อน" ซึ่งบทบาททางเพศตามธรรมชาติได้พลิกกลับ คำสั่งดังกล่าวได้ถูกยกเลิกในวันต่อมา และให้จับกุมผู้หญิงที่อยู่ในชุดเครื่องแบบแทน[19] เมื่อวันที่ 4 กรกฏาคม กองบัญชาการใหญ่กองทัพบกเยอรมัน (OKH) ได้ส่งมอบกลุ่มยานเกราะที่ 2 และที่ 3 ให้อยู่ภายใต้บัญชาการของคลูเกอ เพื่อปรับปรุงการประสานงานระหว่างหัวหอกยานเกราะที่เคลื่อนที่เร็วและทหารราบที่เชื่องช้า ผลลัพธ์ได้ก่อตัวขึ้นทำให้เกิดสามัคคีบนกระดาษ ในความเป็นจริง ผู้บัญชาการกลุ่มยานเกราะมักจะขัดคำสั่งของคลูเกอและกูเดรีอัน และคลูเกอหมั่นไส้แต่ละคนเป็นการส่วนตัว[20][21] คลูเกอได้ยอมแพ้ทั้งหมดยกเว้นแต่กองทัพน้อยทหารราบสองหน่วยของเขา กองทัพน้อยหน่วยอื่น ๆ ของเขาได้รับมอบหมายให้เป็นกองทัพที่ 2 ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ถูกจัดให้เป็นกองกำลังสำรอง[22]

ด้วยการคาดหวังว่า สงครามในระยะเวลาสั้น ๆ ซึ่งไม่มีความจำเป็นในการแสวงหาผลประโยชน์จากแรงงานโซเวียตสำหรับความพยายามในการทำสงครามของเยอรมัน กองบัญชาการใหญ่และผู้นำทางทหารไม่ได้เตรียมความพร้อมที่เพียงพอสำหรับที่พักเชลยศึกและพลเรือนที่ถูกคุมขัง ในเขตบังคับบัญชาการของคลูเกอ เชลยศึก 100,000 นายและพลเรือน 40,000 คนได้ถูกต้อนเข้าไปในค่ายกลางแจ้งขนาดเล็กในมินสค์ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1941 ท่ามกลางสภาพที่ดูทรุดโทรมและความอดอยากในค่าย องค์กรท็อทได้ร้องขอให้คลูเกอปล่อยคนงานที่มีความสามารถจำนวน 10,000 คน คลูเกอได้ปฏิเสธและต้องการตัดสินใจเกี่ยวกับนักโทษด้วยตัวเขาเอง[23]

ในส่วนหนึ่งของแผนความหิว ซึ่งเป็นหนึ่งในเสาหลักของสงครามของการทำลายล้างกับสหภาพโซเวียต แวร์มัคท์ส่วนใหญ่คาดหวังว่า "พื้นที่ที่จะได้อยู่อาศัย" ดังนั้น การฉกชิงทรัพย์ การปล้นสะดม และการกระทำทารุณต่อประชากรพลเรือนได้ลุกลามมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ด้านหลัง ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1941 คลูเกอได้ออกคำสั่งให้กองทหารของเขามุ่งเป้าไปที่การฟื้นฟูกฎระบียบวินัย โดยกล่าวว่า "ถึงเวลาแล้วที่จะต้องยุติวิธีการได้รับเสบียงอย่างไม่ยุติธรรม การโจมตีโฉบฉวย การเที่ยวปล้นสะดมในระยะทางอันกว้างใหญ่ การกระทำที่ไร้สติและอาชญากรรมทั้งหมด " คลูเกอได้ข่มขู่ว่าจะใช้มาตรการรุนแรงต่อผู้รับผิดชอบพร้อมกับผู้บัญชาการทหารระดับสูงของพวกเขาที่ล้มเหลวในการรักษากฎระบียบวินัย[24]

ยุทธการที่มอสโก

คลูเกอได้ตรวจแถวกองพันทหารอาสาสมัครชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นฝ่ายให้ความร่วมมือของฝรั่งเศส พฤศจิกายน ค.ศ. 1941.

ในช่วงปฏิบัติการไต้ฝุ่น เยอรมันได้เข้ารุกสู่กรุงมอสโก คลูเกอได้กลุ่มยานเกราะที่ 4 ภายใต้บัญชาการโดยเอริช เฮิพเนอร์ ซึ่งมาอยู่ใต้บังคับบัญชาการของกองทัพที่ 4 ในช่วงต้นเดือนตุลาคม กลุ่มยานเกราะที่ 4 ได้ทำการโอบล้อมที่ Vyazma อย่างสมบูรณ์ ด้วยความไม่พอใจอย่างมากของเฮิพเนอร์ คลูเกอได้สั่งให้เขาหยุดการรุก เนื่องจากหน่วยของเขามีความจำเป็นเพื่อขัดขวางการตีฝ่าวงล้อมของกองทัพโซเวียต เฮิพเนอร์นั้นมีความมั่นใจว่า จะสามารถเคลียร์วงล้อมและรุกเข้าสู่กรุงมอสโกซึ่งสามารถทำได้ในเวลาเดียวกัน เขามองว่า การกระทำของคลูเกอเป็นการแทรกแซง ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งและ"การปะทะ" กับหัวหน้าของเขา ในขณะที่เขาได้เขียนจดหมายไปทางบ้าน เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม[25] ดูเหมือนว่า เฮิพเนอร์จะไม่ปลื้มที่หน่วยของเขามีเชื้อเพลิงน้อยมาก กองพลยานเกราะที่ 11 ได้รายงานว่าไม่มีเชื้อเพลิงเลย มีเพียงแต่กองพลยานเกราะที่ 20 ซึ่งมุ่งหน้าเข้าสู่กรุงมอสโกท่ามกลางสภาพถนนที่ทรุดโทรม[26]

วันที่ 17 พฤศจิกายน กลุ่มยานเกราะที่ 4 เข้าโจมตีมอสโกอีกครั้งพร้อมกับกองทัพน้อยกองทัพที่ 5 ของกองทัพที่ 4 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการไต้ฝุ่นโดยกองทัพกลุ่มกลาง กลุ่มยานเกราะและกองทัพน้อยกองทัพบกได้แสดงให้เห็นแล้วว่าเป็นกองกำลังที่ดีที่สุดของคลูเกอ ซึ่งมีความพร้อมอย่างมากสำหรับการรุกอย่างต่อเนื่อง ในการสู้รบสองสัปดาห์ กองทัพเยอรมันได้เข้ารุกเพียงระยะทาง 60 กิโลเมตร (37 ไมล์)(4 กิโลเมตร (2.5 ไมล์) ต่อวัน)[27] การขาดแคลนรถถัง การขนส่งทางรถยนต์ที่ไม่เพียงพอ และสถานการณ์ด้านเสบียงที่ดูล่อแหลม พร้อมกับการต้านทานที่เหนี่ยวแน่นของกองทัพแดง และอำนาจเหนือน่านฟ้าที่ทำได้โดยเครื่องบินรบของโซเวียตได้เข้าขัดขวางการโจมตี[28]

เมื่อเผชิญแรงกดดันจากกองบัญชาการใหญ่ ในที่สุดคลูเกอได้ส่งกองกำลังเข้าโจมตีปืกใต้ที่อ่อนแอ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ในภายหลังจากการสู้รบ เฮิพเนอร์และกูเดรีอันได้กล่าวโทษความมุ่งมั่นที่ล่าช้าของคลูเกอที่ปีกใต้ของกองทัพที่ 4 เพื่อเข้าโจมตีสำหรับความล้มเหลวของเยอรมันในการเข้าถึงมอสโก นักประวัติศาสตร์ที่ชื่อว่า David Stahel ได้เขียนว่า การประเมินผลครั้งนี้ได้ประเมินความสามารถสูงเกินไปอย่างไม่ลดละของกองกำลังที่เหลืออยู่ของคลูเกอ[29] พวกเขายังมองไม่เห็นถึงความเป็นจริงที่ว่ากรุงมอสโกเป็นเมืองขนาดใหญ่ และกองกำลังเยอรมันก็ขาดแคลนกำลังคนจำนวนมากเพื่อการโอบล้อม ด้วยแนวป้องกันชั้นนอกได้เสร็จสิ้นในวันที่ 25 พฤศจิกายน มอสโกจึงเป็นตำแหน่งที่มีป้อมปราการซึ่งแวร์มัคท์ขาดแคลนกำลังคนเพื่อเข้าจู่โจมส่วนหน้า การโจมตีที่ไกลห่างออกไปได้ถูกยกเลิก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม กองทัพแดงได้เปิดฉากการรุกตอบโต้กลับฤดูหนาวในวันเดียวกัน[30]

กองทัพกลุ่มกลาง

แนวรบด้านตะวันตก

แผนลับต่อต้านฮิตเลอร์

รางวัลเกียรติยศ

  • กางเขนเหล็ก (ค.ศ. 1914) ชั้นที่ 2 และชั้นที่ 1
  • กางเขนอัศวินแห่งเครื่องราชอิสรยาภรณ์ราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น ประดับด้วยดาบ[31]
  • เข็มกลัดกางเขนเหล็ก (ค.ศ. 1939) ชั้นที่ 2 (5 กันยายน ค.ศ. 1939) และชั้นที่ 1[32]
  • กางเขนอัศวินติดใบโอ๊กคาดดาบแห่งกางเขนเหล็ก
    • กางเขนอัศวิน เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1939 และผู้บัญชาการกองทัพที่ 4[33]
    • ใบโอ๊ก เมื่อวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1943 ในฐานะผู้บัญชาการแห่งกองทัพกลุ่มกลาง[33]
    • ดาบ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1943 ในฐานะผู้บัญชาการแห่งกองทัพกลุ่มกลาง[33][33]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Barnett 1989, pp. 395–396.
  2. Mitcham 2008, p. 201.
  3. Barnett 1989, pp. 396–398.
  4. Margaritis 2019, p. 29.
  5. Kennedy 2015, p. 71.
  6. 6.0 6.1 Barnett 1989, pp. 396–397.
  7. Barnett 1989, pp. 79–80.
  8. Kennedy 2015, p. 82.
  9. Kennedy 2015, p. 98.
  10. 10.0 10.1 Horne 1969, pp. 204–207.
  11. Horne 1969, p. 208.
  12. Barnett 1989, pp. 397–398.
  13. Horne 1969, pp. 324–326, 329–331.
  14. Horne 1969, pp. 472–479.
  15. 15.0 15.1 15.2 Barnett 1989, pp. 399–400.
  16. 16.0 16.1 Barnett 1989, pp. 401–402.
  17. Horne 1969, pp. 641–643.
  18. Glantz & House 2015, p. 35.
  19. Die Zeit 2011.
  20. Glantz & House 2015, p. 62.
  21. https://www.youtube.com/watch?v=0GogjX5SppE&t=419s
  22. Klink 1998, p. 527.
  23. Müller 1998, pp. 1146–1147.
  24. Förster 1998, pp. 1210–1211.
  25. Stahel 2013, pp. 74–75, 95.
  26. Stahel 2013, p. 95.
  27. Stahel 2015, p. 228.
  28. Stahel 2015, pp. 240–244.
  29. Stahel 2015, pp. 229–230.
  30. Stahel 2015, pp. 306–307.
  31. Hürter 2007, p. 639.
  32. Thomas 1997, p. 378.
  33. 33.0 33.1 33.2 33.3 Scherzer 2007, p. 451.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • Hoffman, Peter, (tr. Richard Barry) (1977). The History of the German Resistance, 1939–1945. Cambridge, MA: MIT Press. ISBN 978-0-262-08088-0.
  • Knopp, Guido (2007). Die Wehrmacht: Eine Bilanz. C. Bertelsmann Verlag. München. ISBN 978-3-570-00975-8.
  • Moczarski, Kazimierz; Mariana Fitzpatrick; Jürgen Stroop (1981). Conversations With an Executioner. Prentice-Hall. ISBN 0-13-171918-1.
  • Scherzer, Veit (2007). Die Ritterkreuzträger 1939–1945 Die Inhaber des Ritterkreuzes des Eisernen Kreuzes 1939 von Heer, Luftwaffe, Kriegsmarine, Waffen-SS, Volkssturm sowie mit Deutschland verbündeter Streitkräfte nach den Unterlagen des Bundesarchives [The Knight's Cross Bearers 1939–1945 The Holders of the Knight's Cross of the Iron Cross 1939 by Army, Air Force, Navy, Waffen-SS, Volkssturm and Allied Forces with Germany According to the Documents of the Federal Archives] (ภาษาเยอรมัน). Jena, Germany: Scherzers Miltaer-Verlag. ISBN 978-3-938845-17-2.
  • Shirer, William L. (1990). The Rise and Fall of the Third Reich. New York: Simon & Schuster. ISBN 0-671-72868-7.
  • Wheeler-Bennett, Sir John (2005) [1953]. The Nemesis of Power: German Army in Politics, 1918 – 1945. New York: Palgrave Macmillan Publishing Company. ISBN 978-1-4039-1812-3.
  • Die Wehrmachtberichte 1939–1945 Band 1, 1. September 1939 bis 31. Dezember 1941 [The Wehrmacht Reports 1939–1945 Volume 1, 1 September 1939 to 31 December 1941] (ภาษาเยอรมัน). München, Germany: Deutscher Taschenbuch Verlag GmbH & Co. KG. 1985. ISBN 978-3-423-05944-2.
ก่อนหน้า กึนเทอร์ ฟ็อน คลูเกอ ถัดไป
จอมพล เฟดอร์ ฟ็อน บ็อค แม่ทัพกลุ่มกลาง
(19 ธันวาคม 1941 – 12 ตุลาคม 1943)
จอมพล แอ็นสท์ บุช
จอมพล แกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท แม่ทัพกลุ่ม D
(2 กรกฎาคม 1944 – 15 สิงหาคม 1944)
จอมพล แกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท
จอมพล แกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท ผู้บัญชาการใหญ่ตะวันตก
(2 กรกฎาคม 1944 – 15 สิงหาคม 1944)
จอมพล วัลเทอร์ โมเดิล
(รักษาการแทน)
จอมพล แอร์วีน ร็อมเมิล แม่ทัพกลุ่ม B
(19 กรกฎาคม 1944 – 17 สิงหาคม 1944)
จอมพล วัลเทอร์ โมเดิล