ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การดื้อแพ่ง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
'''การดื้อแพ่ง''' หรือ '''การขัดขืนอย่างสงบ''' ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: civil disobedience) ภาษาปาก{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}ว่า '''"อารยะขัดขืน"''' เป็นรูปแบบการต่อต้านทางการเมืองอย่างสงบเพื่อกดดันให้รัฐบาลเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางการเมืองที่เป็นอยู่<ref>http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=2738</ref> ในอดีต มีการใช้แนวทางดื้อแพ่งในการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้าน[[อังกฤษ]]ใน[[ประเทศอินเดีย]] ในการต่อสู้กับ[[การแบ่งแยกสีผิว]]ใน[[แอฟริกาใต้]] ในการเคลื่อนไหวด้านสิทธิพลเมืองของอเมริกา และใน[[ยุโรป]] รวมถึงประเทศแถบ[[สแกนดิเนเวีย]]ในการต่อต้านการยึดครองของนาซี แนวคิดนี้ริเริ่มโดย[[เฮนรี เดวิด ธอโร]] นักเขียนชาวอเมริกันในบทความชื่อดื้อแพ่ง ในชื่อเดิมว่า ''การต่อต้านรัฐบาลพลเมือง'' ซึ่งแนวคิดที่ผลักดันบทความนี้ก็คือการพึ่งตนเอง และการที่บุคคลจะมีจุดยืนที่ถูกต้องเมื่อพวกเขา "ลงจากหลังของคนอื่น" นั่นคือ การต่อสู้กับรัฐบาลนั้นประชาชนไม่จำเป็นต้องต่อสู้ทางกายภาพ แต่ประชาชนจะต้องไม่ให้การสนับสนุนรัฐบาลหรือให้รัฐบาลสนับสนุนตน (ถ้าไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล) บทความนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อผู้ที่ยึดแนวทางดื้อแพ่งนี้ ในบทความนี้ทอโรอธิบายเหตุผลที่เขาไม่ยอมจ่ายภาษีเพื่อเป็นการประท้วงระบบ[[ทาส]]และ[[สงครามเม็กซิกัน-อเมริกัน]]
'''การดื้อแพ่ง''' หรือ '''การขัดขืนอย่างสงบ''' ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: civil disobedience) ภาษาปาก{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}ว่า '''"อารยะขัดขืน"''' เป็นรูปแบบการต่อต้านทางการเมืองอย่างสงบเพื่อกดดันให้รัฐบาลเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางการเมืองที่เป็นอยู่<ref>http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=2738</ref> ในอดีต มีการใช้แนวทางดื้อแพ่งในการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้าน[[อังกฤษ]]ใน[[ประเทศอินเดีย]] ในการต่อสู้กับ[[การแบ่งแยกสีผิว]]ใน[[แอฟริกาใต้]] ในการเคลื่อนไหวด้านสิทธิพลเมืองของอเมริกา และใน[[ยุโรป]] รวมถึงประเทศแถบ[[สแกนดิเนเวีย]]ในการต่อต้านการยึดครองของนาซี แนวคิดนี้ริเริ่มโดย[[เฮนรี เดวิด ธอโร]] นักเขียนชาวอเมริกันในบทความชื่อดื้อแพ่ง ในชื่อเดิมว่า ''การต่อต้านรัฐบาลพลเมือง'' ซึ่งแนวคิดที่ผลักดันบทความนี้ก็คือการพึ่งตนเอง และการที่บุคคลจะมีจุดยืนที่ถูกต้องเมื่อพวกเขา "ลงจากหลังของคนอื่น" นั่นคือ การต่อสู้กับรัฐบาลนั้นประชาชนไม่จำเป็นต้องต่อสู้ทางกายภาพ แต่ประชาชนจะต้องไม่ให้การสนับสนุนรัฐบาลหรือให้รัฐบาลสนับสนุนตน (ถ้าไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล) บทความนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อผู้ที่ยึดแนวทางดื้อแพ่งนี้ ในบทความนี้ทอโรอธิบายเหตุผลที่เขาไม่ยอมจ่ายภาษีเพื่อเป็นการประท้วงระบบ[[ทาส]]และ[[สงครามเม็กซิกัน-อเมริกัน]]


เพื่อที่จะแสดงออกถึงดื้อแพ่ง ผู้ขัดขืนอาจเลือกที่จะฝ่าฝืนกฎหมายใดเป็นการเฉพาะ เช่น กีดขวางทางสัญจรอย่างสงบ หรือเข้ายึดครองสถานที่อย่างผิดกฎหมาย ผู้ประท้วงกระทำการจลาจลอย่างสันติเหล่านี้ โดยคาดหวังว่าพวกตนจะถูกจับกุม หรือกระทั่งถูกทำร้ายร่างกายโดยเจ้าหน้าที่. ผู้ประท้วงมักจะได้รับการนัดแนะล่วงหน้า ว่าควรจะตอบสนองการจับกุมหรือทำร้ายร่างกายอย่างไร และจะขัดขืนอย่างเงียบ ๆ หรือไม่รุนแรง โดยไม่คุกคามเจ้าหน้าที่
เพื่อที่จะแสดงออกถึงดื้อแพ่ง ผู้ขัดขืนอาจเลือกที่จะฝ่าฝืนกฎหมายใดเป็นการเฉพาะ เช่น กีดขวางทางสัญจรอย่างสงบ หรือเข้ายึดครองสถานที่อย่างผิดกฎหมาย ผู้ประท้วงกระทำการจลาจลอย่างสันติเหล่านี้ โดยคาดหวังว่าพวกตนจะถูกจับกุม หรือกระทั่งถูกทำร้ายร่างกายโดยเจ้าหน้าที่. ผู้ประท้วงมักจะได้รับการนัดแนะล่วงหน้า ว่าควรจะตอบสนองการจับกุมหรือทำร้ายร่างกายอย่างไร และจะขัดขืนอย่างเงียบ ๆ หรือไม่รุนแรง โดยไม่คุกคามเจ้าหน้าที่
บรรทัด 8: บรรทัด 8:
ในสมัยนั้นในประเทศอินเดียมีกฎหมายบังคับให้การผลิตและขายเกลือกระทำได้โดยรัฐบาลอังกฤษเท่านั้น การผูกขาดเกลือเป็นรายได้ที่สำคัญ ถึงแม้ว่าคนอินเดียที่อาศัยอยู่ชายฝั่งทะเลจะสามารถผลิตเกลือเพื่อบริโภคเองได้ ก็จำเป็นต้องซื้อจากอังกฤษ หากผู้ใดฝ่าฝืนก็มีโทษถึงจำคุกทีเดียว
ในสมัยนั้นในประเทศอินเดียมีกฎหมายบังคับให้การผลิตและขายเกลือกระทำได้โดยรัฐบาลอังกฤษเท่านั้น การผูกขาดเกลือเป็นรายได้ที่สำคัญ ถึงแม้ว่าคนอินเดียที่อาศัยอยู่ชายฝั่งทะเลจะสามารถผลิตเกลือเพื่อบริโภคเองได้ ก็จำเป็นต้องซื้อจากอังกฤษ หากผู้ใดฝ่าฝืนก็มีโทษถึงจำคุกทีเดียว


เมื่อวันที่ 12 มีนาคม [[ค.ศ. 1930]] มหาตมะ คานธี พร้อมกับผู้ร่วมเดินทางจำนวน 78 คน เริ่มเดินเท้าจากเมือง Sabarmati ไปยังเมือง Dansi เมืองชายฝั่งทะเลที่อยู่ห่างออกไป 240 ไมล์ เมื่อขบวนเดินผ่านเมืองใดก็จะมีชาวเมืองนับพันเข้ามาร่วมเดิน จนขบวนยาวหลายไมล์ มหาตมะ คานธี เดินเท้าใช้เวลา 23 วันก็ถึงที่หมาย เมื่อถึงแล้วก็เริ่มการกระทำ "ดื้อแพ่ง" โดยขุดดินที่เต็มไปด้วยเกลือ ต้มในน้ำทะเลเพื่อผลิตเกลือ บรรดาผู้ร่วมเดินทางก็ทำตาม ช่วยกันผลิตเกลือท้าทายกฎหมาย
เมื่อวันที่ 12 มีนาคม [[ค.ศ. 1930]] มหาตมะ คานธี พร้อมกับผู้ร่วมเดินทางจำนวน 78 คน เริ่มเดินเท้าจากเมือง Sabarmati ไปยังเมือง Dansi เมืองชายฝั่งทะเลที่อยู่ห่างออกไป 240 ไมล์ เมื่อขบวนเดินผ่านเมืองใดก็จะมีชาวเมืองนับพันเข้ามาร่วมเดิน จนขบวนยาวหลายไมล์ มหาตมะ คานธี เดินเท้าใช้เวลา 23 วันก็ถึงที่หมาย เมื่อถึงแล้วก็เริ่มการกระทำ "ดื้อแพ่ง" โดยขุดดินที่เต็มไปด้วยเกลือ ต้มในน้ำทะเลเพื่อผลิตเกลือ บรรดาผู้ร่วมเดินทางก็ทำตาม ช่วยกันผลิตเกลือท้าทายกฎหมาย


การกระทำของคานธีกลายเป็นข่าวไปทั่วโลก ในขณะที่ชาวอินเดียพากันเลียนแบบ ผลิตและขายเกลือกันอย่างไม่กลัวกฎหมาย ในที่สุดมหาตมะคานธีก็ถูกจับพร้อมกับประชาชนนับหมื่นคน มหาตมะ คานธี ให้การต่อศาลว่า
การกระทำของคานธีกลายเป็นข่าวไปทั่วโลก ในขณะที่ชาวอินเดียพากันเลียนแบบ ผลิตและขายเกลือกันอย่างไม่กลัวกฎหมาย ในที่สุดมหาตมะคานธีก็ถูกจับพร้อมกับประชาชนนับหมื่นคน มหาตมะ คานธี ให้การต่อศาลว่า


:''".. การที่ข้าพเจ้ามิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่นั้น มิใช่เพราะข้าพเจ้าไม่เคารพกฎหมายบ้านเมือง แต่เป็นเพราะข้าพเจ้าต้องการปฏิบัติตามคำสั่งที่สูงยิ่งไปกว่านั้น นั่นคือคำสั่งแห่งความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของข้าพเจ้าเอง..."''
: ''".. การที่ข้าพเจ้ามิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่นั้น มิใช่เพราะข้าพเจ้าไม่เคารพกฎหมายบ้านเมือง แต่เป็นเพราะข้าพเจ้าต้องการปฏิบัติตามคำสั่งที่สูงยิ่งไปกว่านั้น นั่นคือคำสั่งแห่งความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของข้าพเจ้าเอง..."''


เหตุการณ์ดื้อแพ่งของมหาตมะ คานธี ครั้งนั้นมีชื่อเรียกว่า "The Salt March" เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์อินเดีย หลังจากคานธีได้รับการปล่อยตัวออกมา ก็เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้คนอินเดียร่วมกันต่อสู้จนได้รับอิสรภาพใน [[ค.ศ. 1947]] ในที่สุด
เหตุการณ์ดื้อแพ่งของมหาตมะ คานธี ครั้งนั้นมีชื่อเรียกว่า "The Salt March" เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์อินเดีย หลังจากคานธีได้รับการปล่อยตัวออกมา ก็เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้คนอินเดียร่วมกันต่อสู้จนได้รับอิสรภาพใน [[ค.ศ. 1947]] ในที่สุด
บรรทัด 22: บรรทัด 22:
ในปี ค.ศ. 1955 [[โรซา พาร์กส์]] (Rosa Parks) ปฏิเสธที่จะลุกให้ที่นั่งแก่คนผิวขาวบนรถประจำทางตามที่คนขับรถสั่ง ทั้งที่กฎหมายท้องถิ่นระบุว่าเมื่อโดยสารรถร่วมกัน เธอจะต้องสละที่ให้คนผิวขาวนั่ง เธอถูกจับขึ้นศาลและถูกตัดสินจำคุก จากนั้นกลุ่มคนผิวดำจึงพากันประท้วง จนกระทั่งรัฐบาลท้องถิ่นต้องยกเลิกกฎหมายนี้ กรณีประท้วงนี้มีชื่อเรียกว่า การคว่ำบาตรรถประจำทางมอนต์โกเมอรี (Montgomery Bus Boycott)<ref>พัฒนายุ ทารส, [http://www.nationweekend.com/2005/10/28/NW15_552.php แด่ 'โรซา ปาร์คส์' นักสู้เพื่อสิทธิคนผิวสี], เนชั่น สุดสัปดาห์, 28 ตุลาคม พ.ศ. 2548</ref>
ในปี ค.ศ. 1955 [[โรซา พาร์กส์]] (Rosa Parks) ปฏิเสธที่จะลุกให้ที่นั่งแก่คนผิวขาวบนรถประจำทางตามที่คนขับรถสั่ง ทั้งที่กฎหมายท้องถิ่นระบุว่าเมื่อโดยสารรถร่วมกัน เธอจะต้องสละที่ให้คนผิวขาวนั่ง เธอถูกจับขึ้นศาลและถูกตัดสินจำคุก จากนั้นกลุ่มคนผิวดำจึงพากันประท้วง จนกระทั่งรัฐบาลท้องถิ่นต้องยกเลิกกฎหมายนี้ กรณีประท้วงนี้มีชื่อเรียกว่า การคว่ำบาตรรถประจำทางมอนต์โกเมอรี (Montgomery Bus Boycott)<ref>พัฒนายุ ทารส, [http://www.nationweekend.com/2005/10/28/NW15_552.php แด่ 'โรซา ปาร์คส์' นักสู้เพื่อสิทธิคนผิวสี], เนชั่น สุดสัปดาห์, 28 ตุลาคม พ.ศ. 2548</ref>


มีร้านอาหารหลาย ๆ แห่งในรัฐทางใต้ ปฏิเสธที่จะให้บริการแก่คนผิวดำ จึงมีการดื้อแพ่งโดยใช้วิธี "ซิทอิน" (sit in) คือเข้าไปนั่งเฉย ๆ โดยนักศึกษาผิวดำพากันแต่งตัวเรียบร้อย ใส่สูทผูกไทเข้าไปนั่งในร้านอาหารที่ปฏิเสธคนผิวดำ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้าไปนั่งในทุกที่นั่ง จนไม่มีที่ว่างเหลือ จนกระทั่งร้านนั้นไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ มีการกระทำเลียนแบบไปทั่วทุกรัฐทางใต้ โดยมีคนผิวขาวส่วนหนึ่งที่เห็นใจคนผิวดำร่วมขบวนการด้วย มีการใช้วิธีซิทอินกับสถานที่สาธารณะต่าง ๆ ทั้งสวนสาธารณะ ห้องสมุด โรงภาพยนตร์ พิพิธภัณฑ์ เมื่อถูกเจ้าหน้าที่จับนักศึกษาเหล่านี้ก็ไม่ยอมประกันตัว ต้องการติดคุกเพื่อให้เป็นข่าว และให้เป็นภาระกับเจ้าหน้าที่
มีร้านอาหารหลาย ๆ แห่งในรัฐทางใต้ ปฏิเสธที่จะให้บริการแก่คนผิวดำ จึงมีการดื้อแพ่งโดยใช้วิธี "ซิทอิน" (sit in) คือเข้าไปนั่งเฉย ๆ โดยนักศึกษาผิวดำพากันแต่งตัวเรียบร้อย ใส่สูทผูกไทเข้าไปนั่งในร้านอาหารที่ปฏิเสธคนผิวดำ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้าไปนั่งในทุกที่นั่ง จนไม่มีที่ว่างเหลือ จนกระทั่งร้านนั้นไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ มีการกระทำเลียนแบบไปทั่วทุกรัฐทางใต้ โดยมีคนผิวขาวส่วนหนึ่งที่เห็นใจคนผิวดำร่วมขบวนการด้วย มีการใช้วิธีซิทอินกับสถานที่สาธารณะต่าง ๆ ทั้งสวนสาธารณะ ห้องสมุด โรงภาพยนตร์ พิพิธภัณฑ์ เมื่อถูกเจ้าหน้าที่จับนักศึกษาเหล่านี้ก็ไม่ยอมประกันตัว ต้องการติดคุกเพื่อให้เป็นข่าว และให้เป็นภาระกับเจ้าหน้าที่


การต่อสู้เหล่านี้เพื่อกดดันรัฐบาลกลาง จนนำมาสู่การออกกฎหมายสิทธิเลือกตั้ง (Voting Rights Act) ค.ศ. 1965 และกฎหมายสิทธิพลเมือง (Civil Rights Act) ค.ศ. 1968 ที่ให้สิทธิเท่าเทียมกันระหว่างคนผิวขาวและคนผิวดำ
การต่อสู้เหล่านี้เพื่อกดดันรัฐบาลกลาง จนนำมาสู่การออกกฎหมายสิทธิเลือกตั้ง (Voting Rights Act) ค.ศ. 1965 และกฎหมายสิทธิพลเมือง (Civil Rights Act) ค.ศ. 1968 ที่ให้สิทธิเท่าเทียมกันระหว่างคนผิวขาวและคนผิวดำ


== ดื้อแพ่งในสังคมไทย ==
== ดื้อแพ่งในสังคมไทย ==
แนวคิดดื้อแพ่งในทางการเมือง หรือที่นิยมใช้คำว่า "อารยะขัดขืน" นั้น เริ่มแพร่หลายใน[[ภาษาไทย]] ในบริบทของ[[การขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี|การประท้วงขับไล่นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร]] ในปี [[พ.ศ. 2549]] อย่างไรก็ตาม คำว่า "อารยะขัดขืน" นั้นถูกนำมาใช้ครั้งแรกโดย[[ชัยวัฒน์ สถาอานันท์]]<ref name="nationsud">ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์. [http://www.nationweekend.com/2006/03/03/NW14_441.php คอลัมน์หมายเหตุการณ์.] เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ 15 ฉบับที่ 718 วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2549.</ref> เมื่อกล่าวถึงสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ โดยชัยวัฒน์อธิบายว่า
แนวคิดดื้อแพ่งในทางการเมือง หรือที่นิยมใช้คำว่า "อารยะขัดขืน" นั้น เริ่มแพร่หลายใน[[ภาษาไทย]] ในบริบทของ[[การขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี|การประท้วงขับไล่นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร]] ในปี [[พ.ศ. 2549]] อย่างไรก็ตาม คำว่า "อารยะขัดขืน" นั้นถูกนำมาใช้ครั้งแรกโดย[[ชัยวัฒน์ สถาอานันท์]]<ref name="nationsud">ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์. [http://www.nationweekend.com/2006/03/03/NW14_441.php คอลัมน์หมายเหตุการณ์.] เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ 15 ฉบับที่ 718 วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2549.</ref> เมื่อกล่าวถึงสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ โดยชัยวัฒน์อธิบายว่า


:''อารยะขัดขืนเป็นเรื่องของการขัดขืนอำนาจรัฐ ที่ทั้งเป้าหมายและตัววิธีการอันเป็นหัวใจของ Civil Disobedience ส่งผลในการทำให้สังคมการเมืองโดยรวมมี 'อารยะ' มากขึ้น... การจำกัดอำนาจรัฐนั้นเอง เป็นหนทาง 'อารยะ' ยิ่งการจำกัดอำนาจรัฐโดยพลเมืองด้วยวิธีการอย่างอารยะคือ เป็นไปโดยเปิดเผย ไม่ใช้ความรุนแรง และยอมรับผลตามกฎหมายที่จะเกิดขึ้นกับตัวผู้ใช้สันติวิธีแนวนี้ เพื่อให้สังคมการเมือง 'เป็นธรรม' ขึ้น เคารพสิทธิเสรีภาพของคนมากขึ้น และเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น''<ref>จากบทความใน ''รัฐศาสตร์สาร'' ปีที่ 24 ฉบับที่ 3, 2546, อ้างตาม ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์.</ref>
: ''อารยะขัดขืนเป็นเรื่องของการขัดขืนอำนาจรัฐ ที่ทั้งเป้าหมายและตัววิธีการอันเป็นหัวใจของ Civil Disobedience ส่งผลในการทำให้สังคมการเมืองโดยรวมมี 'อารยะ' มากขึ้น... การจำกัดอำนาจรัฐนั้นเอง เป็นหนทาง 'อารยะ' ยิ่งการจำกัดอำนาจรัฐโดยพลเมืองด้วยวิธีการอย่างอารยะคือ เป็นไปโดยเปิดเผย ไม่ใช้ความรุนแรง และยอมรับผลตามกฎหมายที่จะเกิดขึ้นกับตัวผู้ใช้สันติวิธีแนวนี้ เพื่อให้สังคมการเมือง 'เป็นธรรม' ขึ้น เคารพสิทธิเสรีภาพของคนมากขึ้น และเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น''<ref>จากบทความใน ''รัฐศาสตร์สาร'' ปีที่ 24 ฉบับที่ 3, 2546, อ้างตาม ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์.</ref>


และโดยได้อธิบายคุณลักษณะ 7 ประการของ "อารยะขัดขืน" ในฐานะของปฏิบัติการทางการเมือง คือ
และโดยได้อธิบายคุณลักษณะ 7 ประการของ "อารยะขัดขืน" ในฐานะของปฏิบัติการทางการเมือง คือ
บรรทัด 42: บรรทัด 42:
ก่อนหน้านี้ ช่วงปี [[พ.ศ. 2543]] [[สมชาย ปรีชาศิลปกุล]] ใช้คำว่า "สิทธิการดื้อแพ่งต่อกฎหมาย" เพื่ออธิบายแนวคิดเดียวกันนี้ ในหนังสือชื่อเดียวกัน<ref>สมชาย ปรีชาศิลปกุล, สิทธิการดื้อแพ่งต่อกฎหมาย : ศาสตร์แห่งการไม่เชื่อฟังรัฐ, สำนักพิมพ์ร่วมด้วยช่วยกัน พ.ศ. 2543. ISBN 9748768279</ref><ref>วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์, [http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=627 อ่านเอาเรื่อง : รัฐประหาร ทางออกสุดท้ายของการเมืองไทยยุคทักษิณ?], นิตยสาร[[สารคดี (นิตยสาร)|สารคดี]] ฉบับที่ 260 ปีที่ 22, ตุลาคม พ.ศ. 2549</ref> โดยเสนอว่า
ก่อนหน้านี้ ช่วงปี [[พ.ศ. 2543]] [[สมชาย ปรีชาศิลปกุล]] ใช้คำว่า "สิทธิการดื้อแพ่งต่อกฎหมาย" เพื่ออธิบายแนวคิดเดียวกันนี้ ในหนังสือชื่อเดียวกัน<ref>สมชาย ปรีชาศิลปกุล, สิทธิการดื้อแพ่งต่อกฎหมาย : ศาสตร์แห่งการไม่เชื่อฟังรัฐ, สำนักพิมพ์ร่วมด้วยช่วยกัน พ.ศ. 2543. ISBN 9748768279</ref><ref>วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์, [http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=627 อ่านเอาเรื่อง : รัฐประหาร ทางออกสุดท้ายของการเมืองไทยยุคทักษิณ?], นิตยสาร[[สารคดี (นิตยสาร)|สารคดี]] ฉบับที่ 260 ปีที่ 22, ตุลาคม พ.ศ. 2549</ref> โดยเสนอว่า


:''civil disobedience ถือเป็นสิทธิที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ด้วยเหตุว่า เวทีประชาธิปไตยไม่น่าจะคับแคบเพียงการเลือกตั้งที่เป็นทางการ เพราะการใช้สิทธิเช่นนี้ถือได้ว่า เป็นการใช้ประชาธิปไตยทางตรง และดังนั้น จึงมีสถานะเหนือกว่าประชาธิปไตยของนักเลือกตั้งในระบบตัวแทน''
: ''civil disobedience ถือเป็นสิทธิที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ด้วยเหตุว่า เวทีประชาธิปไตยไม่น่าจะคับแคบเพียงการเลือกตั้งที่เป็นทางการ เพราะการใช้สิทธิเช่นนี้ถือได้ว่า เป็นการใช้ประชาธิปไตยทางตรง และดังนั้น จึงมีสถานะเหนือกว่าประชาธิปไตยของนักเลือกตั้งในระบบตัวแทน''


ส่วน [[ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร]] เสนอ<ref>"ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ ขบวนการเคลื่อนไหวประชาสังคมในต่างประเทศ : บทสำรวจพัฒนาการ สถานภาพและนัยเชิงความคิด/ ทฤษฎีต่อการพัฒนาประชาธิปไตย" ISBN 9748539636 ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร พ.ศ. 2545.</ref> ว่า
ส่วน [[ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร]] เสนอ<ref>"ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ ขบวนการเคลื่อนไหวประชาสังคมในต่างประเทศ : บทสำรวจพัฒนาการ สถานภาพและนัยเชิงความคิด/ ทฤษฎีต่อการพัฒนาประชาธิปไตย" ISBN 9748539636 ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร พ.ศ. 2545.</ref> ว่า
:''สิทธิที่จะไม่เชื่อฟังรัฐเป็นช่องทางการเคลื่อนไหวเรียกร้องของผู้คนธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย นอกเหนือช่องทางปกติ เป็นตัวสร้างสิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นในสังคม ซึ่งกระทำไม่ได้ในระบบที่ดำรงอยู่ ถือเป็นคุณูปการที่เด่นชัดของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม/ประชาสังคมรูปแบบใหม่ในปัจจุบัน''
: ''สิทธิที่จะไม่เชื่อฟังรัฐเป็นช่องทางการเคลื่อนไหวเรียกร้องของผู้คนธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย นอกเหนือช่องทางปกติ เป็นตัวสร้างสิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นในสังคม ซึ่งกระทำไม่ได้ในระบบที่ดำรงอยู่ ถือเป็นคุณูปการที่เด่นชัดของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม/ประชาสังคมรูปแบบใหม่ในปัจจุบัน''


ในวันที่ [[2 เม.ย.]] [[พ.ศ. 2549]] [[ไชยันต์ ไชยพร]] อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ฉีกบัตรเลือกตั้งของตนทิ้งให้สื่อมวลชนดูหลังจากที่ใช้สิทธิลงคะแนนไม่เลือกผู้ใดแล้ว โดยเขายอมรับว่ากระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งและพร้อมสู้คดีในทางกฎหมายต่อไป อย่างไรก็ตามไชยันต์ยืนยันสิทธิของตนตามมาตรา 65 ของรัฐธรรมนูญว่าบุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เชิญตัวไปสอบสวน (อ้าง [http://www.bangkokbiznews.com/specialreport/2Apr/x001_91918.php?news_id=91918] และ [http://prachatai.com/05web/th/home/3273]) หลังจากนั้น [[รัฐเอกราช ราษฎร์ภักดีรัช]] ได้ร่วมฉีกบัตรเลือกตั้งเช่นเดียวกัน โดยรัฐเอกราชได้กล่าวว่า ตนเห็นว่าการวางตำแหน่งของคูหาเลือกตั้งนั้นไม่ถูกต้อง จึงได้แต่งชุดดำประท้วงและฉีกบัตรเลือกตั้ง รัฐเอกราชกล่าวว่าตนมีอุดมการณ์เดียวกับไชยันต์ด้วย (อ้าง [http://www.bangkokbiznews.com/2006/04/02/w001_91998.php?news_id=91998]) หลังจากเหตุการณ์นั้น[[ศูนย์นิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]ได้ยืนยันว่าจะช่วยเหลือไชยันต์ในทางกฎหมาย (อ้าง [http://www.bangkokbiznews.com/specialreport/2Apr/x001_92003.php?news_id=92003]) นอกจากนั้น ในวันเดียวกัน [[ยศศักดิ์ โกศยากานนท์]] อาจารย์คณะ[[นิติศาสตร์]] [[มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต]] ยังได้ใช้ไม้จิ้มฟันจิ้มนิ้วชี้ตนเองและใช้เลือดในการกากบาทในช่องลงคะแนนของบัตรเลือกตั้ง โดยเขายืนยันว่าได้ศึกษาข้อกฎหมายแล้วไม่ได้เป็นการกระทำผิดต่อกฎหมายแต่อย่างใด แม้ว่ายศศักดิ์จะกล่าวว่าเขาประท้วงตามแนวทางอารยะขัดขืน ถ้าพิจารณาในแง่ที่ว่าการกระทำดังกล่าวไม่ผิดกฎหมายของยศศักดิ์จึงไม่น่าจัดว่าเป็นอารยะขัดขืนหรือดื้อแพ่ง แต่เป็นการประท้วงแบบสันติวิธี
ในวันที่ [[2 เม.ย.]] [[พ.ศ. 2549]] [[ไชยันต์ ไชยพร]] อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ฉีกบัตรเลือกตั้งของตนทิ้งให้สื่อมวลชนดูหลังจากที่ใช้สิทธิลงคะแนนไม่เลือกผู้ใดแล้ว โดยเขายอมรับว่ากระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งและพร้อมสู้คดีในทางกฎหมายต่อไป อย่างไรก็ตามไชยันต์ยืนยันสิทธิของตนตามมาตรา 65 ของรัฐธรรมนูญว่าบุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เชิญตัวไปสอบสวน (อ้าง [http://www.bangkokbiznews.com/specialreport/2Apr/x001_91918.php?news_id=91918] และ [http://prachatai.com/05web/th/home/3273]) หลังจากนั้น [[รัฐเอกราช ราษฎร์ภักดีรัช]] ได้ร่วมฉีกบัตรเลือกตั้งเช่นเดียวกัน โดยรัฐเอกราชได้กล่าวว่า ตนเห็นว่าการวางตำแหน่งของคูหาเลือกตั้งนั้นไม่ถูกต้อง จึงได้แต่งชุดดำประท้วงและฉีกบัตรเลือกตั้ง รัฐเอกราชกล่าวว่าตนมีอุดมการณ์เดียวกับไชยันต์ด้วย (อ้าง [http://www.bangkokbiznews.com/2006/04/02/w001_91998.php?news_id=91998]) หลังจากเหตุการณ์นั้น[[ศูนย์นิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]ได้ยืนยันว่าจะช่วยเหลือไชยันต์ในทางกฎหมาย (อ้าง [http://www.bangkokbiznews.com/specialreport/2Apr/x001_92003.php?news_id=92003]) นอกจากนั้น ในวันเดียวกัน [[ยศศักดิ์ โกศยากานนท์]] อาจารย์คณะ[[นิติศาสตร์]] [[มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต]] ยังได้ใช้ไม้จิ้มฟันจิ้มนิ้วชี้ตนเองและใช้เลือดในการกากบาทในช่องลงคะแนนของบัตรเลือกตั้ง โดยเขายืนยันว่าได้ศึกษาข้อกฎหมายแล้วไม่ได้เป็นการกระทำผิดต่อกฎหมายแต่อย่างใด แม้ว่ายศศักดิ์จะกล่าวว่าเขาประท้วงตามแนวทางอารยะขัดขืน ถ้าพิจารณาในแง่ที่ว่าการกระทำดังกล่าวไม่ผิดกฎหมายของยศศักดิ์จึงไม่น่าจัดว่าเป็นอารยะขัดขืนหรือดื้อแพ่ง แต่เป็นการประท้วงแบบสันติวิธี


=== คำว่า "อารยะขัดขืน" ===
=== คำว่า "อารยะขัดขืน" ===
บรรทัด 53: บรรทัด 53:
ชัยวัฒน์ได้อธิบายไว้ว่า ได้เลี่ยงที่จะใช้คำว่า "สิทธิการดื้อแพ่งต่อกฎหมาย" อย่างที่สมชายใช้ เนื่องจากคำว่า "ดื้อแพ่ง" ในภาษาไทยนั้นมีความหมายในนัยไม่สู้ดี และเสนอคำว่า "อารยะขัดขืน" ซึ่งเป็นคำที่มีอคติทางลบแฝงอยู่น้อยกว่า ขณะเดียวกัน ยังเป็นคำ[[กิริยา]]ที่คงคุณลักษณะความเป็นคำในเชิงปฏิบัติเอาไว้<ref>[http://www.bangkokbiznews.com/2006/03/07/news_20091046.php?news_id=20091046 'อารยะขัดขืน' กับการล้ม 'ระบอบทักษิณ'] หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2549.</ref>
ชัยวัฒน์ได้อธิบายไว้ว่า ได้เลี่ยงที่จะใช้คำว่า "สิทธิการดื้อแพ่งต่อกฎหมาย" อย่างที่สมชายใช้ เนื่องจากคำว่า "ดื้อแพ่ง" ในภาษาไทยนั้นมีความหมายในนัยไม่สู้ดี และเสนอคำว่า "อารยะขัดขืน" ซึ่งเป็นคำที่มีอคติทางลบแฝงอยู่น้อยกว่า ขณะเดียวกัน ยังเป็นคำ[[กิริยา]]ที่คงคุณลักษณะความเป็นคำในเชิงปฏิบัติเอาไว้<ref>[http://www.bangkokbiznews.com/2006/03/07/news_20091046.php?news_id=20091046 'อารยะขัดขืน' กับการล้ม 'ระบอบทักษิณ'] หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2549.</ref>


"สุดสงวน" คอลัมนิสต์ประจำนิตยสารสกุลไทย ให้ความเห็นว่า การนำ "อารยะ" ซึ่งเป็นคำสันสกฤต มาสมาสหรือสนธิกับ "ขัดขืน" ซึ่งเป็นคำไทยนั้น ไม่เข้าหลักเกณฑ์ทางภาษา แต่ขณะเดียวกันก็นึกไม่ออกว่าจะหาคำใดมาใช้แทนคำที่ชัยวัฒน์ใช้ได้<ref>สุดสงวน, [http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp?stcolumnid=4731&stissueid=2693&stcolcatid=2&stauthorid=17 ภาษายุคสมัยขัดแย้งทางความคิด], นิตยสาร[[สกุลไทย]], ฉบับที่ 2693 ปีที่ 52, 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2549</ref>
"สุดสงวน" คอลัมนิสต์ประจำนิตยสารสกุลไทย ให้ความเห็นว่า การนำ "อารยะ" ซึ่งเป็นคำสันสกฤต มาสมาสหรือสนธิกับ "ขัดขืน" ซึ่งเป็นคำไทยนั้น ไม่เข้าหลักเกณฑ์ทางภาษา แต่ขณะเดียวกันก็นึกไม่ออกว่าจะหาคำใดมาใช้แทนคำที่ชัยวัฒน์ใช้ได้<ref>สุดสงวน, [http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp?stcolumnid=4731&stissueid=2693&stcolcatid=2&stauthorid=17 ภาษายุคสมัยขัดแย้งทางความคิด], นิตยสาร[[สกุลไทย]], ฉบับที่ 2693 ปีที่ 52, 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2549</ref>


[[แก้วสรร อติโพธิ]] ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการใช้คำว่า ''อารยะ'' ว่าแท้จริงแล้วคำว่า ''civil'' น่าจะหมายถึงคำว่าพลเมือง และเสนอว่าน่าจะแปลเป็นไทยว่า "การแข็งข้อไม่ยอมเป็นพลเมือง"<ref>[http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01pra09230349 คอลัมน์สยามภาษา] หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2549.</ref>
[[แก้วสรร อติโพธิ]] ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการใช้คำว่า ''อารยะ'' ว่าแท้จริงแล้วคำว่า ''civil'' น่าจะหมายถึงคำว่าพลเมือง และเสนอว่าน่าจะแปลเป็นไทยว่า "การแข็งข้อไม่ยอมเป็นพลเมือง"<ref>[http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01pra09230349 คอลัมน์สยามภาษา] หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2549.</ref>
บรรทัด 72: บรรทัด 72:
* [[พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์]]. 2549. [http://www.komchadluek.net/news/2006/04-04/pol--18132.html กระดานความคิด : อารยะขัดขืนของ อ.ไชยันต์ : บททดลองตีความ] [[หนังสือพิมพ์คมชัดลึก]] ฉบับวันที่ 4 เมษายน 2549
* [[พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์]]. 2549. [http://www.komchadluek.net/news/2006/04-04/pol--18132.html กระดานความคิด : อารยะขัดขืนของ อ.ไชยันต์ : บททดลองตีความ] [[หนังสือพิมพ์คมชัดลึก]] ฉบับวันที่ 4 เมษายน 2549
* [[วีระ สมบูรณ์]]. 2549. อารยะขัดขืน คอลัมน์อริยวิถี [[มติชนสุดสัปดาห์]] ปีที่ 26 ฉบับที่ 1340, 21-27 เมษายน 2549 หน้า 36
* [[วีระ สมบูรณ์]]. 2549. อารยะขัดขืน คอลัมน์อริยวิถี [[มติชนสุดสัปดาห์]] ปีที่ 26 ฉบับที่ 1340, 21-27 เมษายน 2549 หน้า 36
* [http://www.bangkokbiznews.com/2006/04/27/u001_98149.php?news_id=98149 ที่มาของ "ขัดขืนอย่างอารยะ..." คือต่อต้านรัฐบาลเลวอย่างอหิงสา] [[กรุงเทพธุรกิจ]] 27 เมษายน 2549
* [http://www.bangkokbiznews.com/2006/04/27/u001_98149.php?news_id=98149 ที่มาของ "ขัดขืนอย่างอารยะ..." คือต่อต้านรัฐบาลเลวอย่างอหิงสา] [[กรุงเทพธุรกิจ]] 27 เมษายน 2549
* Saichan, Kosum. 2003. [http://dlc.dlib.indiana.edu/archive/00001112/ ''Civil Disobedience under Thai Crony Capitalism.''] Presented at "Politics of the Commons: Articulating Development and Strengthening Local Practices".
* Saichan, Kosum. 2003. [http://dlc.dlib.indiana.edu/archive/00001112/ ''Civil Disobedience under Thai Crony Capitalism.''] Presented at "Politics of the Commons: Articulating Development and Strengthening Local Practices".



รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:34, 31 มกราคม 2556

การดื้อแพ่ง หรือ การขัดขืนอย่างสงบ (อังกฤษ: civil disobedience) ภาษาปาก[ต้องการอ้างอิง]ว่า "อารยะขัดขืน" เป็นรูปแบบการต่อต้านทางการเมืองอย่างสงบเพื่อกดดันให้รัฐบาลเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางการเมืองที่เป็นอยู่[1] ในอดีต มีการใช้แนวทางดื้อแพ่งในการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านอังกฤษในประเทศอินเดีย ในการต่อสู้กับการแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้ ในการเคลื่อนไหวด้านสิทธิพลเมืองของอเมริกา และในยุโรป รวมถึงประเทศแถบสแกนดิเนเวียในการต่อต้านการยึดครองของนาซี แนวคิดนี้ริเริ่มโดยเฮนรี เดวิด ธอโร นักเขียนชาวอเมริกันในบทความชื่อดื้อแพ่ง ในชื่อเดิมว่า การต่อต้านรัฐบาลพลเมือง ซึ่งแนวคิดที่ผลักดันบทความนี้ก็คือการพึ่งตนเอง และการที่บุคคลจะมีจุดยืนที่ถูกต้องเมื่อพวกเขา "ลงจากหลังของคนอื่น" นั่นคือ การต่อสู้กับรัฐบาลนั้นประชาชนไม่จำเป็นต้องต่อสู้ทางกายภาพ แต่ประชาชนจะต้องไม่ให้การสนับสนุนรัฐบาลหรือให้รัฐบาลสนับสนุนตน (ถ้าไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล) บทความนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อผู้ที่ยึดแนวทางดื้อแพ่งนี้ ในบทความนี้ทอโรอธิบายเหตุผลที่เขาไม่ยอมจ่ายภาษีเพื่อเป็นการประท้วงระบบทาสและสงครามเม็กซิกัน-อเมริกัน

เพื่อที่จะแสดงออกถึงดื้อแพ่ง ผู้ขัดขืนอาจเลือกที่จะฝ่าฝืนกฎหมายใดเป็นการเฉพาะ เช่น กีดขวางทางสัญจรอย่างสงบ หรือเข้ายึดครองสถานที่อย่างผิดกฎหมาย ผู้ประท้วงกระทำการจลาจลอย่างสันติเหล่านี้ โดยคาดหวังว่าพวกตนจะถูกจับกุม หรือกระทั่งถูกทำร้ายร่างกายโดยเจ้าหน้าที่. ผู้ประท้วงมักจะได้รับการนัดแนะล่วงหน้า ว่าควรจะตอบสนองการจับกุมหรือทำร้ายร่างกายอย่างไร และจะขัดขืนอย่างเงียบ ๆ หรือไม่รุนแรง โดยไม่คุกคามเจ้าหน้าที่

สัตยาเคราะห์ในอินเดีย

มหาตมะ คานธี ผู้นำการเคลื่อนไหวดื้อแพ่ง เพื่อต่อต้านอังกฤษในประเทศอินเดีย เรียกแนวทางของตนว่า "สัตยาเคราะห์" (Satyagraha) หมายถึง การต่อสู้บนรากฐานของความจริงหรือสัจจะ

ในสมัยนั้นในประเทศอินเดียมีกฎหมายบังคับให้การผลิตและขายเกลือกระทำได้โดยรัฐบาลอังกฤษเท่านั้น การผูกขาดเกลือเป็นรายได้ที่สำคัญ ถึงแม้ว่าคนอินเดียที่อาศัยอยู่ชายฝั่งทะเลจะสามารถผลิตเกลือเพื่อบริโภคเองได้ ก็จำเป็นต้องซื้อจากอังกฤษ หากผู้ใดฝ่าฝืนก็มีโทษถึงจำคุกทีเดียว

เมื่อวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1930 มหาตมะ คานธี พร้อมกับผู้ร่วมเดินทางจำนวน 78 คน เริ่มเดินเท้าจากเมือง Sabarmati ไปยังเมือง Dansi เมืองชายฝั่งทะเลที่อยู่ห่างออกไป 240 ไมล์ เมื่อขบวนเดินผ่านเมืองใดก็จะมีชาวเมืองนับพันเข้ามาร่วมเดิน จนขบวนยาวหลายไมล์ มหาตมะ คานธี เดินเท้าใช้เวลา 23 วันก็ถึงที่หมาย เมื่อถึงแล้วก็เริ่มการกระทำ "ดื้อแพ่ง" โดยขุดดินที่เต็มไปด้วยเกลือ ต้มในน้ำทะเลเพื่อผลิตเกลือ บรรดาผู้ร่วมเดินทางก็ทำตาม ช่วยกันผลิตเกลือท้าทายกฎหมาย

การกระทำของคานธีกลายเป็นข่าวไปทั่วโลก ในขณะที่ชาวอินเดียพากันเลียนแบบ ผลิตและขายเกลือกันอย่างไม่กลัวกฎหมาย ในที่สุดมหาตมะคานธีก็ถูกจับพร้อมกับประชาชนนับหมื่นคน มหาตมะ คานธี ให้การต่อศาลว่า

".. การที่ข้าพเจ้ามิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่นั้น มิใช่เพราะข้าพเจ้าไม่เคารพกฎหมายบ้านเมือง แต่เป็นเพราะข้าพเจ้าต้องการปฏิบัติตามคำสั่งที่สูงยิ่งไปกว่านั้น นั่นคือคำสั่งแห่งความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของข้าพเจ้าเอง..."

เหตุการณ์ดื้อแพ่งของมหาตมะ คานธี ครั้งนั้นมีชื่อเรียกว่า "The Salt March" เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์อินเดีย หลังจากคานธีได้รับการปล่อยตัวออกมา ก็เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้คนอินเดียร่วมกันต่อสู้จนได้รับอิสรภาพใน ค.ศ. 1947 ในที่สุด

ดื้อแพ่งในสหรัฐอเมริกา

ช่วงระหว่าง ค.ศ. 1955-1968 ในสหรัฐอเมริกามีการต่อสู้เพื่อสิทธิความเท่าเทียมกันของคนผิวดำ ที่เรียกว่า ขบวนการสิทธิพลเมือง (Civil Rights Movement) ซึ่งก่อนหน้านี้คนผิวดำและผิวขาวต้องแยกใช้ห้องน้ำ ร้านอาหาร โรงเรียน โรงพยาบาล ย่านที่อยู่อาศัย รถประจำทาง โดยเฉพาะในรัฐทางใต้จะใช้งานร่วมกันไม่ได้

ในปี ค.ศ. 1955 โรซา พาร์กส์ (Rosa Parks) ปฏิเสธที่จะลุกให้ที่นั่งแก่คนผิวขาวบนรถประจำทางตามที่คนขับรถสั่ง ทั้งที่กฎหมายท้องถิ่นระบุว่าเมื่อโดยสารรถร่วมกัน เธอจะต้องสละที่ให้คนผิวขาวนั่ง เธอถูกจับขึ้นศาลและถูกตัดสินจำคุก จากนั้นกลุ่มคนผิวดำจึงพากันประท้วง จนกระทั่งรัฐบาลท้องถิ่นต้องยกเลิกกฎหมายนี้ กรณีประท้วงนี้มีชื่อเรียกว่า การคว่ำบาตรรถประจำทางมอนต์โกเมอรี (Montgomery Bus Boycott)[2]

มีร้านอาหารหลาย ๆ แห่งในรัฐทางใต้ ปฏิเสธที่จะให้บริการแก่คนผิวดำ จึงมีการดื้อแพ่งโดยใช้วิธี "ซิทอิน" (sit in) คือเข้าไปนั่งเฉย ๆ โดยนักศึกษาผิวดำพากันแต่งตัวเรียบร้อย ใส่สูทผูกไทเข้าไปนั่งในร้านอาหารที่ปฏิเสธคนผิวดำ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้าไปนั่งในทุกที่นั่ง จนไม่มีที่ว่างเหลือ จนกระทั่งร้านนั้นไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ มีการกระทำเลียนแบบไปทั่วทุกรัฐทางใต้ โดยมีคนผิวขาวส่วนหนึ่งที่เห็นใจคนผิวดำร่วมขบวนการด้วย มีการใช้วิธีซิทอินกับสถานที่สาธารณะต่าง ๆ ทั้งสวนสาธารณะ ห้องสมุด โรงภาพยนตร์ พิพิธภัณฑ์ เมื่อถูกเจ้าหน้าที่จับนักศึกษาเหล่านี้ก็ไม่ยอมประกันตัว ต้องการติดคุกเพื่อให้เป็นข่าว และให้เป็นภาระกับเจ้าหน้าที่

การต่อสู้เหล่านี้เพื่อกดดันรัฐบาลกลาง จนนำมาสู่การออกกฎหมายสิทธิเลือกตั้ง (Voting Rights Act) ค.ศ. 1965 และกฎหมายสิทธิพลเมือง (Civil Rights Act) ค.ศ. 1968 ที่ให้สิทธิเท่าเทียมกันระหว่างคนผิวขาวและคนผิวดำ

ดื้อแพ่งในสังคมไทย

แนวคิดดื้อแพ่งในทางการเมือง หรือที่นิยมใช้คำว่า "อารยะขัดขืน" นั้น เริ่มแพร่หลายในภาษาไทย ในบริบทของการประท้วงขับไล่นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2549 อย่างไรก็ตาม คำว่า "อารยะขัดขืน" นั้นถูกนำมาใช้ครั้งแรกโดยชัยวัฒน์ สถาอานันท์[3] เมื่อกล่าวถึงสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ โดยชัยวัฒน์อธิบายว่า

อารยะขัดขืนเป็นเรื่องของการขัดขืนอำนาจรัฐ ที่ทั้งเป้าหมายและตัววิธีการอันเป็นหัวใจของ Civil Disobedience ส่งผลในการทำให้สังคมการเมืองโดยรวมมี 'อารยะ' มากขึ้น... การจำกัดอำนาจรัฐนั้นเอง เป็นหนทาง 'อารยะ' ยิ่งการจำกัดอำนาจรัฐโดยพลเมืองด้วยวิธีการอย่างอารยะคือ เป็นไปโดยเปิดเผย ไม่ใช้ความรุนแรง และยอมรับผลตามกฎหมายที่จะเกิดขึ้นกับตัวผู้ใช้สันติวิธีแนวนี้ เพื่อให้สังคมการเมือง 'เป็นธรรม' ขึ้น เคารพสิทธิเสรีภาพของคนมากขึ้น และเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น[4]

และโดยได้อธิบายคุณลักษณะ 7 ประการของ "อารยะขัดขืน" ในฐานะของปฏิบัติการทางการเมือง คือ

  1. เป็นการละเมิดกฎหมาย หรือตั้งใจจะละเมิดกฎหมาย
  2. ใช้สันติวิธี (ไม่ใช้ความรุนแรง)
  3. เป็นการกระทำสาธารณะโดยแจ้งให้ฝ่ายรัฐรับรู้ล่วงหน้า
  4. ประกอบด้วยความเต็มใจที่จะรับผลทางกฎหมายของการละเมิดกฎหมายดังกล่าว
  5. ปกติกระทำไปเพื่อเปลี่ยนแปลงกฎหมายหรือนโยบายของรัฐบาล
  6. มุ่งเชื่อมโยงกับสำนึกแห่งความยุติธรรมของผู้คนส่วนใหญ่ในบ้านเมือง
  7. มุ่งเชื่อมโยงกับสำนึกแห่งความยุติธรรม ซึ่งโดยหลักแล้วเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายและสถาบันทางสังคม

ก่อนหน้านี้ ช่วงปี พ.ศ. 2543 สมชาย ปรีชาศิลปกุล ใช้คำว่า "สิทธิการดื้อแพ่งต่อกฎหมาย" เพื่ออธิบายแนวคิดเดียวกันนี้ ในหนังสือชื่อเดียวกัน[5][6] โดยเสนอว่า

civil disobedience ถือเป็นสิทธิที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ด้วยเหตุว่า เวทีประชาธิปไตยไม่น่าจะคับแคบเพียงการเลือกตั้งที่เป็นทางการ เพราะการใช้สิทธิเช่นนี้ถือได้ว่า เป็นการใช้ประชาธิปไตยทางตรง และดังนั้น จึงมีสถานะเหนือกว่าประชาธิปไตยของนักเลือกตั้งในระบบตัวแทน

ส่วน ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร เสนอ[7] ว่า

สิทธิที่จะไม่เชื่อฟังรัฐเป็นช่องทางการเคลื่อนไหวเรียกร้องของผู้คนธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย นอกเหนือช่องทางปกติ เป็นตัวสร้างสิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นในสังคม ซึ่งกระทำไม่ได้ในระบบที่ดำรงอยู่ ถือเป็นคุณูปการที่เด่นชัดของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม/ประชาสังคมรูปแบบใหม่ในปัจจุบัน

ในวันที่ 2 เม.ย. พ.ศ. 2549 ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ฉีกบัตรเลือกตั้งของตนทิ้งให้สื่อมวลชนดูหลังจากที่ใช้สิทธิลงคะแนนไม่เลือกผู้ใดแล้ว โดยเขายอมรับว่ากระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งและพร้อมสู้คดีในทางกฎหมายต่อไป อย่างไรก็ตามไชยันต์ยืนยันสิทธิของตนตามมาตรา 65 ของรัฐธรรมนูญว่าบุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เชิญตัวไปสอบสวน (อ้าง [1] และ [2]) หลังจากนั้น รัฐเอกราช ราษฎร์ภักดีรัช ได้ร่วมฉีกบัตรเลือกตั้งเช่นเดียวกัน โดยรัฐเอกราชได้กล่าวว่า ตนเห็นว่าการวางตำแหน่งของคูหาเลือกตั้งนั้นไม่ถูกต้อง จึงได้แต่งชุดดำประท้วงและฉีกบัตรเลือกตั้ง รัฐเอกราชกล่าวว่าตนมีอุดมการณ์เดียวกับไชยันต์ด้วย (อ้าง [3]) หลังจากเหตุการณ์นั้นศูนย์นิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ยืนยันว่าจะช่วยเหลือไชยันต์ในทางกฎหมาย (อ้าง [4]) นอกจากนั้น ในวันเดียวกัน ยศศักดิ์ โกศยากานนท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ยังได้ใช้ไม้จิ้มฟันจิ้มนิ้วชี้ตนเองและใช้เลือดในการกากบาทในช่องลงคะแนนของบัตรเลือกตั้ง โดยเขายืนยันว่าได้ศึกษาข้อกฎหมายแล้วไม่ได้เป็นการกระทำผิดต่อกฎหมายแต่อย่างใด แม้ว่ายศศักดิ์จะกล่าวว่าเขาประท้วงตามแนวทางอารยะขัดขืน ถ้าพิจารณาในแง่ที่ว่าการกระทำดังกล่าวไม่ผิดกฎหมายของยศศักดิ์จึงไม่น่าจัดว่าเป็นอารยะขัดขืนหรือดื้อแพ่ง แต่เป็นการประท้วงแบบสันติวิธี

คำว่า "อารยะขัดขืน"

ชัยวัฒน์ได้อธิบายไว้ว่า ได้เลี่ยงที่จะใช้คำว่า "สิทธิการดื้อแพ่งต่อกฎหมาย" อย่างที่สมชายใช้ เนื่องจากคำว่า "ดื้อแพ่ง" ในภาษาไทยนั้นมีความหมายในนัยไม่สู้ดี และเสนอคำว่า "อารยะขัดขืน" ซึ่งเป็นคำที่มีอคติทางลบแฝงอยู่น้อยกว่า ขณะเดียวกัน ยังเป็นคำกิริยาที่คงคุณลักษณะความเป็นคำในเชิงปฏิบัติเอาไว้[8]

"สุดสงวน" คอลัมนิสต์ประจำนิตยสารสกุลไทย ให้ความเห็นว่า การนำ "อารยะ" ซึ่งเป็นคำสันสกฤต มาสมาสหรือสนธิกับ "ขัดขืน" ซึ่งเป็นคำไทยนั้น ไม่เข้าหลักเกณฑ์ทางภาษา แต่ขณะเดียวกันก็นึกไม่ออกว่าจะหาคำใดมาใช้แทนคำที่ชัยวัฒน์ใช้ได้[9]

แก้วสรร อติโพธิ ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการใช้คำว่า อารยะ ว่าแท้จริงแล้วคำว่า civil น่าจะหมายถึงคำว่าพลเมือง และเสนอว่าน่าจะแปลเป็นไทยว่า "การแข็งข้อไม่ยอมเป็นพลเมือง"[10]

อ้างอิง

  1. http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=2738
  2. พัฒนายุ ทารส, แด่ 'โรซา ปาร์คส์' นักสู้เพื่อสิทธิคนผิวสี, เนชั่น สุดสัปดาห์, 28 ตุลาคม พ.ศ. 2548
  3. ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์. คอลัมน์หมายเหตุการณ์. เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ 15 ฉบับที่ 718 วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2549.
  4. จากบทความใน รัฐศาสตร์สาร ปีที่ 24 ฉบับที่ 3, 2546, อ้างตาม ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์.
  5. สมชาย ปรีชาศิลปกุล, สิทธิการดื้อแพ่งต่อกฎหมาย : ศาสตร์แห่งการไม่เชื่อฟังรัฐ, สำนักพิมพ์ร่วมด้วยช่วยกัน พ.ศ. 2543. ISBN 9748768279
  6. วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์, อ่านเอาเรื่อง : รัฐประหาร ทางออกสุดท้ายของการเมืองไทยยุคทักษิณ?, นิตยสารสารคดี ฉบับที่ 260 ปีที่ 22, ตุลาคม พ.ศ. 2549
  7. "ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ ขบวนการเคลื่อนไหวประชาสังคมในต่างประเทศ : บทสำรวจพัฒนาการ สถานภาพและนัยเชิงความคิด/ ทฤษฎีต่อการพัฒนาประชาธิปไตย" ISBN 9748539636 ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร พ.ศ. 2545.
  8. 'อารยะขัดขืน' กับการล้ม 'ระบอบทักษิณ' หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2549.
  9. สุดสงวน, ภาษายุคสมัยขัดแย้งทางความคิด, นิตยสารสกุลไทย, ฉบับที่ 2693 ปีที่ 52, 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
  10. คอลัมน์สยามภาษา หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2549.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Link GA