ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระสีวลีเถระ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 61: บรรทัด 61:
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}
# สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2525). '''ธรรมวิภาคปริเฉทที่ 2'''. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการแผนกตำรา มหามกุฏราชวิทยาลัย.
# สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2525). '''ธรรมวิภาคปริเฉทที่ 2'''. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการแผนกตำรา มหามกุฏราชวิทยาลัย.
โง่
เง่า
เต่า
ตุ่น


== ดูเพิ่ม ==
== ดูเพิ่ม ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:34, 18 ตุลาคม 2562

พระสีวลีเถระ
ข้อมูลทั่วไป
พระนามเดิมสีวลีกุมาร, เจ้าชายสีวลี
สถานที่ประสูติกรุงโกลิยะ
วิธีบวชไตรสรณคมน์
เอตทัคคะผู้มีลาภมาก
อาจารย์ผนวชในสำนักพระสารีบุตร
ฐานะเดิม
ชาวเมืองแคว้นโกลิยะ
พระมารดาพระนางสุปปวาสา
วรรณะเดิมกษัตริย์
ราชวงศ์โกลิยราชวงศ์
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

พระสีวลีเถระ หรือ พระสีวลี เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล

พระสีวลีเถระเป็นเจ้าชายในโกลิยวงศ์ ออกบวชในสำนักพระสารีบุตร บรรลุพระอรหันต์ในขณะที่ปลงเกศานั่นเอง และหลังจากผนวช ท่านเป็นผู้มีลาภสักการะมากด้วยกุศลกรรมที่ทำมาแต่อดีต ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็นเอตทัคคะผู้เลิศในทาง ผู้มีลาภมาก

ชาติภูมิ

พระสีวลีเถระ เป็นพระโอรสของพระนางสุปปวาส ผู้เป็นพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงโกลิยะ อยู่ในพระครรภ์ถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน เมื่อทรงพระครรภ์ทำให้พระมารดาสมบูรณ์ด้วยลาภสักการะมาก เมื่อประสูติก็ประสูติง่ายด้าย พุทธานุภาพที่ทรงพระราชทานพรว่า "ขอพระนางสุปปวาสาจงมีความสุข ปราศจากโรคาพยาธิ ประสูติพระราชบุตรผู้ไม่มีโรคเถิด"

เมื่อประสูติและพระประยูรญาติขนานถวายพระนามว่า สีวลีกุมาร ในวันที่นิมนต์พระพุทธเจ้ามาเสวยภัตตาหารตลอด ๗ วัน สีวลีกุมารก็ได้ถือธมกรกรองน้ำถวายพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ตลอด ๗ วัน

เมื่อเจริญวัย ท่านได้ออกผนวชในสำนักพระสารีบุตร ได้บรรลุอรหันตผลในเวลาปลงเกศาเสร็จ จากนั้นมาท่านสมบูรณ์ด้วยลาภสักการะไม่ขาดด้วยปัจจัย ๔ ทั้งปวง ด้วยเหตุนี้จึงได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็นเอตทัคคะผู้เลิศในทาง ผู้มีลาภมาก

บั้นปลายชีวิต

ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาไม่ระบุว่าท่านดับขันธปรินิพพานที่ใด แต่ท่านคงดำรงขันธ์อยู่พอสมควรแก่กาลจึงปรินิพพาน

พระสีวลีเถระในความเชื่อของคนไทย

เนื่องจากพระสีวลีเถระเป็นพระอรหันต์ที่ได้รับการเป็นเอตทัคคะผู้เลิศในทางผู้มีลาภมาก คนไทยเชื่อว่าผู้ใดได้บูชาพระสีวลีเถระแล้ว จะได้รับโชคลาภเงินทองไหลมาเทมา ซึ่งคนไทยก็เชื่ออีกว่าเคยมีผู้หนึ่งเคยได้รับมาแล้วในสมัยพุทธกาลก็คือ มีหญิงสาวคนหนึ่งซึ่งเกิดในตระกูลพ่อค้ามีนามว่า สุภาวดี นางได้เลื่อมใสศรัทธาพระพุทธศาสนา และนับถือพระสีวลีเถระเป็นอย่างยิ่ง

เมื่อแม่นางได้ฟังธรรมจนลึกซึ้ง พระสีวลีก็ให้ศีลและให้พรว่า"จงเจริญรุ่งเรืองด้วยทรัพย์สิน เงินทองจากการค้าขาย เงินทองไหลมาเทมาสมความมุ่งมาดปรารถนาด้วยเถิด"

หลังจากที่นางสุภาวดีได้รับพรจากพระสีวลีเถระแล้ว ไม่ว่านางและผู้เป็นบิดามารดาจะไปค้าขายที่ใด ก็จะขายดีเป็นเทน้ำเทท่า มีแต่กำไรหลั่งไหลเข้ามาทุกครั้งไป ซึ่งนางสุภาวดีนั้นได้เป็นที่รู้จักของคนไทยเป็นอย่างดี ซึ่งก็คือนางกวักนั่นเอง

อ้างอิง

  1. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2525). ธรรมวิภาคปริเฉทที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการแผนกตำรา มหามกุฏราชวิทยาลัย.

โง่ เง่า เต่า ตุ่น

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

  1. เว็บไซต์ 84000
  2. เว็บไชต ธรรมะ เกตเวย์
  3. เว็บไซต์พระสีวลี