ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แอปเปิล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8118682 สร้างโดย 49.229.187.29 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
ต้นแอปเปิล (อังกฤษ: apple; ชื่อวิทยาศาสตร์: Malus domestica) เป็นต้นไม้ผลัดใบในวงศ์กุหลาบ มีผลรสหวานเรียกว่า ผลแอปเปิล แอปเปิลมีปลูกอยู่ทั่วโลกในลักษณะของไม้ผล และสายพันธุ์ที่ถูกปลูกมากที่สุดคือสกุล Malus ต้นแอปเปิลมีต้นกำเนิดในเอเชียกลาง ซึ่งบรรพบุรุษคือ Malus sieversii ยังคงพบได้ในปัจจุบัน แอปเปิลมีปลูกเป็นเวลาหลายพันปีในเอเชียและยุโรป และกลุ่มอาณานิคมชาวยุโรปนำมาปลูกที่อเมริกาเหนือ แอปเปิลมีความสำคัญทางศาสนาและเทพปกรณัมในหลายวัฒนธรรม รวนอร์ส กรีก และประเพณีต่าง ๆ ของคริสต์ศาสนิกชนของชาวยุโรป
{{ความหมายอื่น}}
{{taxobox
|name = ผลแอปเปิล
|image = Red Apple.jpg
|image_caption =
|regnum = พืช
|unranked_divisio = [[พืชดอก]]
|unranked_classis = [[พืชใบเลี้ยงคู่แท้]]
|unranked_ordo = [[โรสิด]]
|ordo = [[อันดับกุหลาบ]]
|familia = [[วงศ์กุหลาบ]]
|genus = ''[[Malus]]''
|species = '''''M. domestica'''''
|binomial = ''Malus domestica''
|binomial_authority = [[Moritz Balthasar Borkhausen|Borkh.]], 1803
|synonyms = ''Malus communis'' <small>Desf.</small><br/>
''Malus pumila'' <small>auct.</small><ref>{{GRIN | name = ''Malus pumila'' auct. | id = 410495 | accessdate = 4 January 2012}}</ref><br/>
''Pyrus malus'' <small>L.</small><ref>{{GRIN | name = ''Pyrus malus'' L. | id = 30530 | accessdate = 29 January 2012}}</ref>
|}}

'''ต้นแอปเปิล''' ({{lang-en|apple}}; {{ชื่อวิทยาศาสตร์|Malus domestica}}) เป็น[[ต้นไม้]][[ผลัดใบ]]ใน[[วงศ์กุหลาบ]] มีผลรสหวานเรียกว่า '''ผลแอปเปิล''' แอปเปิลมี[[เกษตรกรรม|ปลูก]]อยู่ทั่วโลกในลักษณะของ[[ไม้ผล]] และสายพันธุ์ที่ถูกปลูกมากที่สุดคือสกุล ''[[Malus]]'' ต้นแอปเปิลมีต้นกำเนิดใน[[เอเชียกลาง]] ซึ่งบรรพบุรุษคือ ''[[Malus sieversii]]'' ยังคงพบได้ในปัจจุบัน แอปเปิลมีปลูกเป็นเวลาหลายพันปีในเอเชียและยุโรป และกลุ่มอาณานิคมชาวยุโรปนำมาปลูกที่อเมริกาเหนือ แอปเปิลมีความสำคัญทาง[[ศาสนา]]และ[[เทพปกรณัม]]ในหลายวัฒนธรรม รวมถึง[[เทพปกรณัมนอร์ส|นอร์ส]] [[เทพปกรณัมกรีก|กรีก]] และประเพณีต่าง ๆ ของคริสต์ศาสนิกชนของชาวยุโรป

ต้นแอปเปิลจะมีขนาดใหญ่หากเติบโตจากเมล็ด แต่จะมีขนาดเล็กถ้าถูกตัดต่อเนื้อเยื่อเข้ากับราก ปัจจุบันมีแอปเปิลที่พันธุ์ปลูกมากกว่า 7,500 ชนิด ทำให้แอปเปิลมีลักษณะพิเศษหลากหลาย พันธุ์ปลูกแต่ละพันธุ์จะมีรสชาติแตกต่างกัน และการนำไปใช้ต่างกันด้วย เช่น นำไปประกอบอาหาร กินดิบ ๆ หรือนำไปผลิต[[แอปเปิลไซเดอร์|ไซเดอร์]] ปกติแอปเปิลจะแพร่พันธุ์ด้วยการตัดต่อเนื้อเยื่อ แต่แอปเปิลป่าจะเติบโตได้เองจากเมล็ด ต้นแอปเปิลและผลแอปเปิลอาจประสบปัญหาจากจาก[[เห็ดรา]] [[แบคทีเรีย]] และศัตรูพืชต่าง ๆ ซึ่งอาจควบคุมได้ด้วยวิธีการทาง[[เกษตรอินทรีย์]]และอนินทรีย์หลายวิธี ใน ค.ศ. 2010 มีการถอดรหัส[[จีโนม]]ของแอปเปิล เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยควบคุมโรคและการคัดเลือกผสมพันธุ์ในการผลิตแอปเปิล

ใน ค.ศ. 2013 มีการปลูกแอปเปิลประมาณ 80 ล้านตันขึ้นทั่วโลก [[ประเทศจีน]]ผลิตได้จำนวนเกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนดังกล่าว<ref>{{cite web|url=http://faostat3.fao.org/download/Q/QC/E|title=FAO production data|publisher=FAO|accessdate=2 July 2015}}</ref> [[สหรัฐอเมริกา]]เป็นผู้ผลิตแอปเปิลมากที่เป็นอันดับที่สอง ด้วยการผลิตมากกว่า 6% [[ประเทศตุรกี]]เป็นที่สาม ตามด้วย[[ประเทศอิตาลี]] [[อินเดีย]] และ[[โปแลนด์]] แอปเปิลมักนิยมกินดิบ แต่สามารถพบได้ในอาหารที่เตรียมขึ้น (โดยเฉพาะของหวาน) และเครื่องดื่ม มีความคิดว่าแอปเปิลส่งผลดีต่อสุขภาพมากมาย แต่อย่างไรก็ตาม โปรตีนในแอปเปิลอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้


==อนุกรมวิธาน==
==อนุกรมวิธาน==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:01, 18 มิถุนายน 2562

ต้นแอปเปิล (อังกฤษ: apple; ชื่อวิทยาศาสตร์: Malus domestica) เป็นต้นไม้ผลัดใบในวงศ์กุหลาบ มีผลรสหวานเรียกว่า ผลแอปเปิล แอปเปิลมีปลูกอยู่ทั่วโลกในลักษณะของไม้ผล และสายพันธุ์ที่ถูกปลูกมากที่สุดคือสกุล Malus ต้นแอปเปิลมีต้นกำเนิดในเอเชียกลาง ซึ่งบรรพบุรุษคือ Malus sieversii ยังคงพบได้ในปัจจุบัน แอปเปิลมีปลูกเป็นเวลาหลายพันปีในเอเชียและยุโรป และกลุ่มอาณานิคมชาวยุโรปนำมาปลูกที่อเมริกาเหนือ แอปเปิลมีความสำคัญทางศาสนาและเทพปกรณัมในหลายวัฒนธรรม รวนอร์ส กรีก และประเพณีต่าง ๆ ของคริสต์ศาสนิกชนของชาวยุโรป

อนุกรมวิธาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ดอก ผล และใบของต้นแอปเปิล (Malus domestica)

แอปเปิลเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ สูง 3 - 12 เมตร เรือนยอดกว้าง กิ่งหนาแน่น ใบรูปไข่เรียงสลับ ยาว 5 - 12 ซม. กว้าง 3 - 6 ซม. ก้านใบยาว 2 - 5 ซม. ปลายใบแหลม ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ใต้ใบปกคลุมด้วยขนนุ่มเล็กน้อย ดอกเกิดขึ้นพร้อมการแตกใบใหม่ในฤดูใบไม้ผลิ ดอกมีสีขาวแต้มสีชมพู และเข้มขึ้นเมื่อดอกใกล้โรย มีกลีบดอกห้ากลีบ เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 - 3.5 ซม. ผลสุกในฤดูใบไม้ร่วง โดยทั่วไปมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 - 9 ซม. กลางผลมีคาร์เพล (carpel) ห้าโพรงเรียงตัวในรูปดาวห้าแฉก แต่ละโพรงบรรจุไปด้วยเมล็ดหนึ่งถึงสามเมล็ด

บรรพบุรุษ

บรรพบุรุษดั้งเดิมของแอปเปิล (Malus domestica) คือ Malus sieversii ซึ่งพบเจริญเติบโตตามธรรมชาติในแถบภูเขาของเอเชียกลางในตอนใต้ของประเทศคาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน, และเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ประเทศจีน การเพาะปลูกพืชชนิดนี้ ซึ่งเป็นไปได้ว่าเริ่มต้นขึ้นครั้งแรกในป่าแถบไหล่เขาของเทือกเขาเทียนชาน วิวัฒนาการมาเป็นเวลานาน และเกิดกระบวนการอินโทรเกรสชัน (introgression คือการที่ชิ้นส่วนของโครโมโซมจากพืชชนิดหนึ่งถูกถ่ายทอดไปอยู่ในพืชอีกชนิดหนึ่ง โดยการผสมพันธุ์ข้ามชนิดหรือผสมข้ามสกุล) ของยีนจากพืชชนิดอื่นในเมล็ดพันธุ์จากการผสมเปิด เช่น การแลกเปลี่ยนกับแคร็บแอปเปิล (Malus sylvestris) ส่งผลให้ประชากรของแอปเปิลในปัจจุบันมีความเกี่ยวข้องกับแคร็บแอปเปิลมากกว่าต้นตระกูล Malus sieversii. ที่มีโครงสร้างคล้ายกัน ในบรรดาสายพันธุ์ที่ไม่ได้มาจากการผสมสายพันธุ์ สายพันธุ์ Malus sieversii เป็นที่นิยมมากกว่า[1][2]

ประวัติศาสตร์

สกุล Malus มีศูนย์กลางความหลากหลายอยู่ที่ภาคตะวันออกของประเทศตุรกี เป็นไปได้ว่าต้นแอปเปิลเป็นต้นไม้ชนิดแรกสุดที่ถูกปลูกขึ้น[3] และผลแอปเปิลได้รับการปรับปรุงผ่านการคัดเลือกเป็นเวลาหลายพันปี อเล็กซานเดอร์มหาราชได้ชื่อว่าค้นพบผลแอปเปิลแคระในประเทศคาซัคสถานเมื่อ 328 ปีก่อนคริสต์ศักราช ผลแอปเปิลแคระที่เขานำกลับไปที่มาซิโดเนียอาจเป็นต้นตระกูลของรากแอปเปิลพันธุ์แคระก็ได้ แอปเปิลฤดูหนาวที่ถูกเก็บในปลายฤดูใบไม้ร่วงและป้องกันความเย็นไว้ เป็นอาหารที่สำคัญในเอเชียและยุโรปมาเป็นเวลาพันปีแล้ว[3]

กลุ่มอาณานิคมนำแอปเปิลเข้ามาในอเมริกาเหนือในคริสต์ศตวรรษที่ 17 และสวนแอปเปิลแห่งแรกในทวีปอเมริกาเหนือ เกิดขึ้นในบอสตันโดยบาทหลวงวิลเลียม แบร็กซ์ตัน เมื่อ ค.ศ. 1625[4] แอปเปิลเพียงชนิดเดียวที่มีต้นกำเนิดมาจากอเมริกาเหนือคือ แคร็บแอปเปิล (crab apple) ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเรียกว่า "common apple"[5] แอปเปิลหลากหลายสายพันธุ์ที่นำเข้าจากยุโรปในรูปของเมล็ดแพร่หลายตามเส้นทางการค้าของชาวอเมริกันดั้งเดิม และถูกนำไปปลูกที่สวนของกลุ่มอาณานิคม รายการแอปเปิลที่ได้รับการดูแลอย่างดีในสหรัฐอเมริกาเมื่อ ค.ศ. 1845 ขายสายพันธุ์ที่ "ดีที่สุด" ได้ 350 สายพันธุ์ แสดงให้เห็นว่าแอปเปิลสายพันธุ์จากอเมริกาเหนือเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วภายในคริสต์ศตวรรษที่ 19[5] ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โครงการชลประทานหลายโครงการในวอชิงตันตะวันออกได้ริเริ่มขึ้นและมีการพัฒนาอุตสาหกรรมผลไม้ระดับหลายพันล้าน โดยมีแอปเปิลเป็นผลิตภัณฑ์ชั้นนำ

จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชาวไร่เก็บแอปเปิลไว้ในห้องเก็บป้องกันความเย็นตลอดฤดูหนาวสำหรับใช้และสำหรับขาย ต่อมาการคมนาคมขนส่งแอปเปิลที่พัฒนาขึ้นได้เข้ามาแทนที่ ทำให้การเก็บรักษาไม่จำเป็นอีกต่อไป[6][7] ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 การเก็บรักษาแอปเปิลในระยะยาวกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง เนื่องจากมีสาธารณูปโภคที่ "ควบคุมบรรยากาศได้" สามารถเก็บแอปเปิลได้นานถึงปี สาธารณูปโภคดังกล่าวใช้ความชื้นสูง ออกซิเจนต่ำ และควบคุมระดับคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อรักษาความสดของแอปเปิล[8][9]

การใช้ประโยชน์และความเชื่อ กวย

อาดัมกับอีฟและผลแอปเปิล โดย Albrecht Dürer ค.ศ. 1507
แอปเปิล
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน218 กิโลจูล (52 กิโลแคลอรี)
13.81 g
น้ำตาล10.39 g
ใยอาหาร2.4 g
0.17 g
0.26 g
วิตามิน
วิตามินเอ
(0%)
3 μg
ไทอามีน (บี1)
(1%)
0.017 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(2%)
0.026 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(1%)
0.091 มก.
(1%)
0.061 มก.
วิตามินบี6
(3%)
0.041 มก.
โฟเลต (บี9)
(1%)
3 μg
วิตามินซี
(6%)
4.6 มก.
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(1%)
6 มก.
เหล็ก
(1%)
0.12 มก.
แมกนีเซียม
(1%)
5 มก.
ฟอสฟอรัส
(2%)
11 มก.
โพแทสเซียม
(2%)
107 มก.
สังกะสี
(0%)
0.04 มก.
องค์ประกอบอื่น
น้ำ85.56 g
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central

แอปเปิลใช้รับประทานเป็นผลไม้สด และใช้ปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น สลัด ซอสแอปเปิล แยม พาย หรืออบแห้ง ในไทยใช้ผลแอปเปิลเปรี้ยวมาทำอาหาร เช่น ใส่ในยำ น้ำพริก ทางยามีสรรพคุณลดกรดในกระเพาะอาหาร ละลายเสมหะ ลดความดันโลหิต ช่วยขับเกลือโซเดียมส่วนเกินออกจากร่างกาย มีฤทธิ์เป็นยาระบาย

ชาวกรีกและโรมันเชื่อว่าแอปเปิลเป็นผลไม้แห่งความรักและความสวยงาม ในไบเบิลกล่าวถึงแอปเปิลว่าเป็นผลไม้ต้องห้ามในสวนอีเดนเป็นตัวแทนของบาป ในตำนานกรีก แอปเปิลเป็นผลไม้ต้องห้ามของ Hesperides [10][11][12]

อ้างอิง

  1. Amandine Cornille; Gladieux, Pierre; Smulders, Marinus J. M.; Roldán-Ruiz, Isabel; Laurens, François; Le Cam, Bruno; Nersesyan, Anush; Clavel, Joanne; Olonova, Marina (2012). Mauricio, Rodney (บ.ก.). "New Insight into the History of Domesticated Apple: Secondary Contribution of the European Wild Apple to the Genome of Cultivated Varieties". PLOS Genetics. 8 (5): e1002703. doi:10.1371/journal.pgen.1002703. PMC 3349737. PMID 22589740. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |displayauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|display-authors=) (help)
  2. Sam Kean (17 May 2012). "ScienceShot: The Secret History of the Domesticated Apple".
  3. 3.0 3.1 "An apple a day keeps the doctor away". vegparadise.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2008. สืบค้นเมื่อ 27 January 2008. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  4. Smith, Archibald William (1997). A Gardener's Handbook of Plant Names: Their Meanings and Origins. Dover Publications. p. 39. ISBN 0-486-29715-2.
  5. 5.0 5.1 Lawrence, James (1980). The Harrowsmith Reader, Volume II. Camden House Publishing Ltd. p. 122. ISBN 0-920656-10-2.
  6. James M. Van Valen (2010). History of Bergen county, New Jersey. Nabu Press. p. 744. ISBN 1-177-72589-4.
  7. Brox, Jane (2000). Five Thousand Days Like This One: An American Family History. Beacon Press. ISBN 978-0-8070-2107-1.
  8. "Controlled Atmosphere Storage". Washington Apple Commission. สืบค้นเมื่อ 3 April 2012.
  9. http://postharvest.tfrec.wsu.edu/EMK2001D.pdf
  10. Wasson, R. Gordon (1968). Soma: Divine Mushroom of Immortality. Harcourt Brace Jovanovich. p. 128. ISBN 0-15-683800-1.
  11. Ruck, Carl (2001). The Apples of Apollo, Pagan and Christian Mysteries of the Eucharist. Durham: Carolina Academic Press. pp. 64–70. ISBN 0-89089-924-X. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  12. Heinrich, Clark (2002). Magic Mushrooms in Religion and Alchemy. Rochester: Park Street Press. pp. 64–70. ISBN 0-89281-997-9.

แหล่งข้อมูลอื่น