ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุลักษณ์ ศิวรักษ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
เพิ่มเติมแก้ไขและใส่อ้างอิงให้ถูกต้อง
บรรทัด 43: บรรทัด 43:
* [[รางวัลอัลเทอร์เนทีฟโนเบล]] – โนเบลทางเลือก หรือ รางวัลสัมมาอาชีวะ [[พ.ศ. ๒๕๓๘]] จาก[[รัฐสภาสวีเดน]]
* [[รางวัลอัลเทอร์เนทีฟโนเบล]] – โนเบลทางเลือก หรือ รางวัลสัมมาอาชีวะ [[พ.ศ. ๒๕๓๘]] จาก[[รัฐสภาสวีเดน]]
* รางวัล[[มิลเลนเนียมคานธี]] หรือ รางวัลเพื่อสันติภาพ ประจำปี [[พ.ศ. ๒๕๔๔]] จาก[[วิทยาลัยพิชวิทยาปริต]] [[ประเทศอินเดีย]]
* รางวัล[[มิลเลนเนียมคานธี]] หรือ รางวัลเพื่อสันติภาพ ประจำปี [[พ.ศ. ๒๕๔๔]] จาก[[วิทยาลัยพิชวิทยาปริต]] [[ประเทศอินเดีย]]
* ได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่ง Eugene M. Lang ศาสตราจารย์เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๔๖ จาก[[วิทยาลัยสวาตมอร์]] (Swarthmore College) ประเทศสหรัฐอเมริกา<ref>http://www.swarthmore.edu/lang-center-civic-social-responsibility/eugene-m-lang-38-visiting-professorship-issues-social-change</ref>
* ได้รับเชิญให้เป็นปาฐกในปาฐกถา เอวาและ[[ไลนัส พอลิง]]เพื่อสันติภาพโลก (Ava Helen and Linus Pauling Memorial Lecture for World) ประจำปีพ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งพอลิง เป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีและสาขาสันติภาพ ณ มหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอเรกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา<ref>http://liberalarts.oregonstate.edu/main/pauling-memorial/lectures</ref><ref>http://oregonstate.edu/ua/ncs/archives/2003/apr/buddhist-activist-sivaraksa-give-osu-pauling-peace-lecture</ref>
* ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาโลกแห่งอนาคต (World Future Council) ซึ่งเป็นองค์กรทำงานด้านนโยบายในการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีที่ตั้งอยู่ ณ [[ประเทศเยอรมนี]]<ref>https://www.worldfuturecouncil.org/p/sulak-sivaraksa/</ref>
*ได้รับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากสถาบันการศึกษาชั้นสูงแห่งธิเบต โดย[[ทะไลลามะที่ 14|ทะไลลามะ]] ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ (ผู้ได้รับดุษฎีบัณฑิตในปีนั้นอีกคนคือ อดีตประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอินเดีย [[อับดุล กลาม]])<ref>http://www.phayul.com/news/tools/print.aspx?id=19397&t=1</ref>
*ได้รับเชิญเป็นหนึ่งในคณะตุลาการศาลประชาชน (The Permanent People’s Tribunal) ในการพิพากษาการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวทมิฬใน[[ประเทศศรีลังกา|ศรีลังกา]]<ref>http://permanentpeoplestribunal.org/the-permanent-peoples-tribunal-will-be-conducting-a-peoples-tribunal-on-the-war-in-sri-lanka-and-its-aftermath-in-dublin-in-january-2010/</ref>
*ได้รับรางวัล[[นิวาโนเพื่อสันติภาพ]] (Newano Peace Prize) - โนเบลสันติภาพแห่งเอเชีย จากมูลนิธินิวาโน ประเทศญี่ปุ่น ประจำปีพ.ศ. ๒๕๕๔<ref>http://www.npf.or.jp/english/peace_prize/npp_recipients/28th.html</ref>
* ได้รับ[[รางวัลสุรินทราชา]] หรือ [[รางวัลนักแปลดีเด่นแห่งชาติ]] ประจำปี [[พ.ศ. ๒๕๕๕]] แต่ปฏิเสธไม่รับรางวัลดังกล่าว
* ได้รับ[[รางวัลสุรินทราชา]] หรือ [[รางวัลนักแปลดีเด่นแห่งชาติ]] ประจำปี [[พ.ศ. ๒๕๕๕]] แต่ปฏิเสธไม่รับรางวัลดังกล่าว
* ได้รับ [[รางวัลนราธิป]] ประจำปี [[พ.ศ. ๒๕๕๖]] จาก[[สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย]] แต่ปฏิเสธไม่รับรางวัลดังกล่าว
* ได้รับ [[รางวัลนราธิป]] ประจำปี [[พ.ศ. ๒๕๕๖]] จาก[[สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย]] แต่ปฏิเสธไม่รับรางวัลดังกล่าว
* ได้รับเชิญจากสภาเศรษฐกิจโลกให้เป็นผู้ร่วมอภิปรายในเวทีศาสนา โดยหนึ่งในวิทยากรคือ Lawrence Krauss นักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกาที่มีชื่อเสียง ณ เมืองเดวอส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์<ref>https://www.weforum.org/people/sulak-sivaraksa/</ref>
* ได้รับรางวัล[[จัมนาลา บาลัช]] (Jamnalal Bajaj) ประเภทผู้ส่งเสริมคุณค่าของ[[มหาตมา คานธี]] ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๗ รับมอบจากประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอินเดีย<ref>http://www.jamnalalbajajfoundation.org/awards/archives/2014/international/sulak-sivaraksa</ref>
* [[ศาสตราจารย์พิเศษ]]ที่ [[มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย]] , [[มหาวิทยาลัยฮาวาย]] และ[[มหาวิทยาลัยคอร์แนล]] [[สหรัฐอเมริกา]]
* [[ศาสตราจารย์พิเศษ]]ที่ [[มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย]] , [[มหาวิทยาลัยฮาวาย]] และ[[มหาวิทยาลัยคอร์แนล]] [[สหรัฐอเมริกา]]



รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:01, 23 มกราคม 2560

สุลักษณ์ ศิวรักษ์
ส. ศิวรักษ์ ในการบรรยายที่พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก บางรัก
เกิด27 มีนาคม พ.ศ. 2475 (92 ปี)
กรุงเทพมหานคร
สัญชาติไทยเชื้อสายจีน
ศิษย์เก่าสำนักเดอะมิดเดิ้ล เทมเปิล
วิทยาลัยเซนต์เดวิด
โรงเรียนอัสสัมชัญ
อาชีพนักวิชาการอิสระ, นักเขียน
มีชื่อเสียงจากส.ศิวรักษ์
คู่สมรสนิลฉวี ศิวรักษ์
บุตร3 คน
บิดามารดา
  • เฉลิม ศิวรักษ์ (บิดา)
  • สุพรรณ ศิวรักษ์ (มารดา)
สุลักษณ์ ศิวรักษ์

สุลักษณ์ ศิวรักษ์ (เกิด 27 มีนาคม พ.ศ. 2475) เจ้าของนามปากกา ส. ศิวรักษ์ เป็นนักเขียนชาวไทย และนักวิชาการอิสระ เป็นที่รู้จักทั่วไปจนได้รับสมญานามว่า ปัญญาชนสยาม[1] มีชื่อเสียงอย่างมากในการวิจารณ์อย่างไม่เกรงใจใคร ไม่เกรงอำนาจผู้ใด จนได้รับ รางวัลอัลเทอเนทีฟโนเบล (Alternative Nobel) หรือ "รางวัลสัมมาอาชีวะ" ในปี พ.ศ. 2538[2][3] สุลักษณ์ ยังได้รับรางวัลศรีบูรพาจากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยในปีเดียวกันอีกด้วย มีผลงานการเขียนมากมายครอบคลุมหลายด้าน เช่นพุทธศาสนา สังคม การเมือง รูปแบบการปกครอง เป็นต้น โดยมีหนังสืออัตชีวประวัติของตนเองชื่อว่า ช่วงแห่งชีวิต[4]เขาเปิดเผยว่าเขาโดนคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหลายครั้ง[5]

ประวัติ

สุลักษณ์เกิดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2475 ที่กรุงเทพมหานคร มีชื่อเล่นว่า แป๊ะ หรือ เหม่ เป็นบุตรคนเดียวของเฉลิม และสุพรรณ สมรสกับนิลฉวี มีบุตร 1 คน ธิดา 2 คน

การเมือง

สุลักษณ์เป็นที่ปรึกษาพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย[6]ในปี พ.ศ. 2549 หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ในวันที่ 1 กันยายน 2557 สุลักษณ์ ศิวรักษ์ให้สัมภาษณ์รายการ "คืนความจริง" ว่า มาตราดังกล่าวเป็นเครื่องมือของทุกรัฐบาลเพื่อกดขี่ราษฎร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า การจับคนเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทุกครั้งเป็นการรังแกพระองค์ และทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ทุกรัฐบาลที่อ้างว่าจงรักภักดี ลึก ๆ แล้วไม่จงรัก และยกตัวอย่างจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนีซึ่งจับคนข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมากที่สุด แล้วสถาบันพระมหากษัตริย์ของเยอรมนีก็สิ้นไปก่อนพระองค์สวรรคตเสียอีก สุลักษณ์ว่าเขาเสียใจที่ไม่มีปัญญาชนเห็นโทษของกฎหมายนี้ ไม่เห็นหัวใจของเสรีภาพ ไม่เห็นหัวใจของประชาธิปไตย ไม่เห็นหัวใจของความเป็นมนุษย์เป็นลำดับ เป็นปศุสัตว์เชื่อง ๆ ให้ใครเขาสั่งได้[7]

การศึกษา

  • พ.ศ. 2495 จบชั้นมัธยมปีที่ 8 จากโรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก ซึ่งเป็นโรงเรียนคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก โดยเข้าเรียนครั้งแรกในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในปี พ.ศ. 2486 แล้วต้องพักการเรียน เพราะภัยจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เกือบ 3 ปี ในระหว่างนี้ จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรที่ วัดทองนพคุณ อันเป็นช่วงที่ได้รับประสบการณ์จากระบบการศึกษาของวัดในศาสนาพุทธ แล้วกลับมาศึกษาต่อที่โรงเรียนอัสสัมชัญในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในปี พ.ศ. 2489 จนสำเร็จการศึกษา
  • พ.ศ. 2500 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางด้านปรัชญาประวัติศาสตร์ และวรรณคดี จากมหาวิทยาลัยแห่งเวลส์ เมืองแลมปีเตอร์ (University of Wales, Lampeter) ในแคว้นเวลส์ สหราชอาณาจักร
  • พ.ศ. 2503 สำเร็จการศึกษาและสอบเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษ จากสำนักเดอะมิดเดิ้ล เทมเปิล

ครอบครัว

ครอบครัวของสุลักษณ์ เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน บรรพบุรุษทั้งหมดเป็นชาวจีนโพ้นทะเลซึ่งเดินทางเข้ามาตั้งรกรากและแต่งงานกับชาวไทยตั้งแต่ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น จนถึงรัชกาลที่ 5 แม้พื้นฐานครอบครัวจะได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนก็ตาม แต่ก็ได้ผสมผสานจนกลายเป็นครอบครัวคนไทยที่นับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาทเป็นหลัก[ต้องการอ้างอิง] ส่วนพื้นฐานทางเศรษฐกิจเป็นตระกูลที่ประกอบอาชีพค้าขายเป็นส่วนใหญ่ มีเพียงส่วนน้อยที่รับราชการในส่วนกลาง แต่ในช่วงที่สุลักษณ์เกิดนั้น เป็นช่วงที่ฐานะทางเศรษฐกิจอยู่ในช่วงตกต่ำเกือบถึงขีดสุด จึงแยกครอบครัวมาอยู่ที่ซอยสันติภาพ ถนนนเรศ[ต้องการอ้างอิง] อันเป็นบ้านที่สุลักษณ์อาศัยอยู่ในปัจจุบัน หลังจากที่บิดาถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2489 สุลักษณ์ซึ่งตอนนั้นยังอยู่ในช่วงมัธยมต้น ก็ต้องทำงานหาเลี้ยงตัวเอง และต่อมาจึงได้รับการอุปการะจากมารดา จนกระทั่งสำเร็จการศึกษา

รางวัล

ผลงาน

สุลักษณ์นับเป็นนักเขียนที่มีผลงานหนังสือมากที่สุดในประเทศ รวมกว่า 200 เล่ม โดยส่วนใหญ่จะเป็นการรวมคำกล่าว หรือบทสัมภาษณ์ของเขาในที่สาธารณะ

  • พิจารณากรมดำรงเมื่อพระชนม์ครบ 150 2555
  • สิ้นฤทธิ์ คึกฤทธิ์ (หรือ คึกฤทธิยาลัย) 2555
  • รากงอกก่อนตาย 2555
  • ลอกคราบเสด็จพ่อร.5 2554
  • มองไปข้างหลัง แลไปข้างหน้า เมื่อชราภาพครอบงำ 2554
  • อาจารย์ป๋วยกับสังคมไทย 2543
  • สถาบันพระมหากษัตริย์กับอนาคตของประเทศไทย 2539
  • แหวกแนวคิด 2538
  • ความเข้าใจในเรื่องพระพุทธเจ้า และมหาสาวิกาสมัยพุทธกาล 2534
  • อโปโลเกีย (โสกราตีสแก้คดี) 2534
  • ยูไทโฟร (วิธีการของโสกราตีส) 2534
  • ศิลปะแห่งการแปล 2534
  • ที่สุดแห่งยั่วให้แย้ง 2534
  • ที่สุดแห่งสังคมสยาม 2533
  • มนุษย์ที่แท้ มรรควิถีของจางจื๊อ 2533
  • สี่สัปดาห์ในออสเตรเลีย หรือไปออสเตรเลียกับพระยาอนุมานราชธน 2532
  • ควายไม่ฟังเสียงซอ 2532
  • ปาฐกถาเรื่อง แนวคิดทางปรัชญาไทย 2532
  • แนวคิดทางปรัชญาการเมืองซอ
  • อริสโตเติล 2532
  • คำประกาศความเป็นไท หรือลายไทกับปัญญาชนสยาม 2531
  • ซากผ่าขวาน 2531
  • คันฉ่องส่องวรรณกรรม 2531
  • ดังทางด่า 2531
  • ทิศทางใหม่สำหรับมหาวิทยาลัยเพื่อปวงชน 2531
  • ลอกคราบวัฒนธรรมไทย (มาเข้าใจวัฒนธรรมกันดีกว่า) 2531
  • เสฐียรโกเศศตามทัศนะ ส.ศิวรักษ์ 2531
  • ภูฐาน สวรรค์บนดิน 2531
  • คันฉ่องส่องบุคคลร่วมสมัย 2531
  • ภาษาไทยกับคนรุ่นใหม่ 2530
  • ทหารกับการเมืองไทย 2530
  • ศาสนากับการพัฒนา 2530
  • บันทึกของคนเดินทาง 2530
  • สยามวิกฤต 2530
  • ต่างฟ้า ต่างฝัน 2529
  • ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง 2528
  • ลอกคราบสังคมไทยเพื่ออนาคต 2528
  • ลอกคราบสังคมเพื่อครู 2528
  • เรื่อง กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ตามทัศนะ ส. ศิวรักษ์ 2528
  • ก้าวแรกของปรัชญาฝรั่ง รวมเรื่องเบื้องต้นเกี่ยวกับปรัชญาตะวันตก 2526
  • ศิลปะแห่งการแปล 2526
  • สัมภาษณ์ ม.จ.จงจิตรถนอม ดิศกุล 2529
  • ศิลปะแห่งการพูด 2526
  • ศาสนากับสังคมไทย 2525
  • สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพตามทัศนะของ ส. ศิวรักษ์ ในช่วง 30 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2493-พ.ศ. 2523 2525
  • รวมคำอภิปราย บทความและบทสัมภาษณ์ ส.ศิวรักษ์ ที่เกี่ยวกับชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ในศตวรรษที่สามแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 2525
  • อยู่อย่างไทย ในสมัยศตวรรษที่สามแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ รวมปาฐกถา ส. ศิวรักษ์ ที่แสดงใน ร.ศ.199 2525
  • พูดไม่เข้าหูคน 2524
  • คันฉ่องส่องครู 2524
  • ผู้ใหญ่ที่ข้าพเจ้ารู้จัก (ทั้งที่กะล่อนและไม่กะล่อน) 2524
  • โสกราตีส บุคคลิกลักษณะ ประวัติและปรัชญา 2523
  • บุคคลร่วมสมัยในทัศนะ ส.ศิวรักษ์ 2523
  • ห้าชีวประวัติในทัศนะ ส.ศิวรักษ์ 2523
  • ศาสนากับสังคมไทย 2523
  • อนาคตของไทยในสายตา ส. ศิวรักษ์ 2522
  • อนาคตและอุดมคติสำหรับไทย 2522
  • คันฉ่องส่องพระ 2522
  • คันฉ่องส่องศาสนา 2522
  • พระผู้ใหญ่ที่ไม่กะล่อน พระธรรมเจดีย์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก 2522
  • ผู้ใหญ่ที่ไม่กะล่อน นายป๋วย อึ้งภากรณ์ ที่ข้าพเจ้ารู้จัก 2522
  • คุยกับกรมหมื่นพิทยลาภฯ 2520
  • ศาสนากับการพัฒนา 2519
  • นักปรัชญาการเมืองฝรั่ง 2519
  • คุณความดีสอนกันได้หรือไม่ - แปลจากเมโน 2518
  • จดหมายเหตุจากถนอมถึงคึกฤทธิ์ (ผ่านสัญญา และเสนีย์) 2518
  • ตายประชดป่าช้า 2516
  • กินน้ำเห็นปลิง 2516
  • อดีตของอนาคต 2516
  • ปรัชญาการศึกษา 2516
  • ปีแห่งการอ่านหนังสือของ ส. ศิวรักษ์ 2515
  • สมุดข้างหมอน 2514
  • จากยุววิทยา ถึงวิทยาสารปริทัศน์ 2514
  • ตามใจผู้เขียน 2514
  • วาระสุดท้ายของโสกราตีส 2514
  • โสกราตีสในคุก 2514
  • วิธีการของโสกราตีส 2514
  • คุยคนเดียว ของส. ศิวรักษ์ 2513
  • ปัญญาชนสยาม 2512
  • นอนต่างแดน 2512
  • สัมภาษณ์เสฐียรโกเศศ 2512
  • ชวนอ่านและวิจารณ์หนังสือต่างๆ ของส. ศิวรักษ์ 2512
  • สัมภาษณ์เสฐียรโกเศศและพระยาอนุมานราชธนที่ข้าพเจ้ารู้สึก 2512
  • ไทยเขียนฝรั่ง 2511
  • แนะหนังสือสำหรับผู้หญิง ของ ส.ศิวรักษ์ 2513
  • สรรพสาระ ของ ส. ศิวรักษ์ 2511
  • ลายสือสยาม 2510
  • ความคิด-ความอ่าน และ นานาสังวาส ส.ศิวรักษ์ 2510
  • พระดีที่น่ารู้จัก 2510
  • ฝรั่งอ่านไทย และแบบอย่างการแปลหนังสือ กับเรื่องแปลต่าง ๆ 2510
  • ของดีจากธิเบต รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพุทธศาสนาในธิเบต 2510
  • หนังสือสนุก 2508
  • จดหมายรักจากอเมริกา 2508
  • คันฉ่องส่อง ส.ศิวรักษ์ 2508
  • โสกราตีส บุคคลิกลักษณะ ประวัติและปรัชญาโดยบริบูรณ์ 2507
  • ทฤษฎีแห่งความรัก 2507
  • ช่วงแห่งชีวิตของ ส.ศิวรักษ์ แต่ก่อนเกิดจนจบการศึกษาจากเมืองอังกฤษ 2507
  • ศิวพจนาตถ์ 2506
  • เสด็จอังกฤษ 2505
  • มาพูดภาษาไทยกันดีกว่า 2504
  • สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ 2501

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง

  1. วันเกิด ส.ศิวรักษ์ นักคิด-ปัญญาชนสยาม อดีตบรรณาธิการสำนักพิมพ์..., guru.sanook.com .สืบค้นเมื่อ 15/04/2559
  2. ฅ คน กับบทสัมภาษณ์ ส.ศิวรักษ์ ,blogazine.pub/ .วันที่ 9 เมษายน 2008
  3. ข้อเขียนพิเศษจากอ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ,siamchronicle.com .วันที่ 23 มกราคม 2006
  4. ช่วงแห่งชีวิต ส.ศิวรักษ์ ,ช่วงแห่งชีวิต ส.ศิวรักษ์ .สืบค้นเมื่อ 15/04/2559
  5. สถาบันกษัตริย์ควรจะมีไว้เพื่อประโยชน์ของราษฎร” ส.ศิวรักษ์ กับ​สถาบันกษัตริย์ไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน
  6. http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9490000018171
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ siwarak
  8. http://www.swarthmore.edu/lang-center-civic-social-responsibility/eugene-m-lang-38-visiting-professorship-issues-social-change
  9. http://liberalarts.oregonstate.edu/main/pauling-memorial/lectures
  10. http://oregonstate.edu/ua/ncs/archives/2003/apr/buddhist-activist-sivaraksa-give-osu-pauling-peace-lecture
  11. https://www.worldfuturecouncil.org/p/sulak-sivaraksa/
  12. http://www.phayul.com/news/tools/print.aspx?id=19397&t=1
  13. http://permanentpeoplestribunal.org/the-permanent-peoples-tribunal-will-be-conducting-a-peoples-tribunal-on-the-war-in-sri-lanka-and-its-aftermath-in-dublin-in-january-2010/
  14. http://www.npf.or.jp/english/peace_prize/npp_recipients/28th.html
  15. https://www.weforum.org/people/sulak-sivaraksa/
  16. http://www.jamnalalbajajfoundation.org/awards/archives/2014/international/sulak-sivaraksa