ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาสันสกฤต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Manop (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
YurikBot (คุย | ส่วนร่วม)
robot Adding: eu:Sanskrita
บรรทัด 89: บรรทัด 89:
[[es:Sánscrito]]
[[es:Sánscrito]]
[[et:Sanskriti keel]]
[[et:Sanskriti keel]]
[[eu:Sanskrita]]
[[fa:سانسکریت]]
[[fa:سانسکریت]]
[[fi:Sanskrit]]
[[fi:Sanskrit]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:58, 4 กรกฎาคม 2549

สันสกฤต
संस्कृतम् สํสฺกฤตา
ภูมิภาคอินเดีย และบางประเทศใน เอเชียใต้ และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จำนวนผู้พูด6,106 ภาษาหลัก
194,433 ภาษาที่สอง  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการอินเดีย
รหัสภาษา
ISO 639-1sa
ISO 639-2san
ISO 639-3san

ภาษาสันสกฤต (สันสกฤต : संस्कृता वाक्, สํสฺกฤตา วากฺ) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินเดีย-อารยะ (อินโด-อารยัน) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาซึ่งเป็นเครื่องมื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรรพ์

ภาษาสันสกฤตมีพัฒนาการในหลายยุคสมัย โดยมีหลักฐานเก่าแก่ที่สุด คือภาษาที่ปรากฏในคัมภีร์ฤคเวท (เมื่อราว 1,200 ปีก่อนคริสตกาล) อันเป็นบทสวดสรรเสริญพระเจ้าในลัทธิพราหมณ์ในยุคต้นๆ อย่างไรก็ตาม ในการจำแนกภาษาสันสกฤตโดยละเอียด นักวิชาการอาจถือว่าภาษาในคัมภีร์ฤคเวทเป็นภาษาหนึ่งที่ต่างจากภาษาสันสกฤตแบบแผน (Classical language) และเรียกว่า ภาษาพระเวท (Vedic language)ภาษาพระเวทดั้งเดิมยังมิได้มีการวางกฎเกณฑ์ให้เป็นระเบียบรัดกุมและสละสลวย และมีหลักทางไวยากรณ์อย่างกว้าง ๆ ปรากฏอยู่ในบทสวดในคัมภีร์พระเวทของศาสนาฮินดู เนื้อหาคือบทสวดสรรเสริญเทพเจ้า เอกลักษณ์ที่ปรากฏอยู่เฉพาะในภาษาพระเวทคือระดับเสียง (Accent)ซึ่งกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด และถือเป็นสิ่งสำคัญของการสวดพระเวทเพื่อให้สัมฤทธิผล

ประวัติ

ภาษาสันสกฤตแบบแผนนั้น เกิดขึ้นจากการวางกฎเกณฑ์ของภาษาให้มีแบบแผนที่แน่นอนในสมัยต่อมา โดยนักปราชญ์ชื่อ ปาณินิตามประวัติเล่าว่าเป็นผู้เกิดในตระกูลพราหมณ์ แคว้นคันธาระราว 57 ปีก่อนพุทธปรินิพพาน บางกระแสว่าเกิดราว พ.ศ.143 ปาณินิได้ศึกษาภาษาในคัมภีร์พระเวทจนสามารถหาหลักเกณฑ์ของภาษานั้นได้ จึงจัดรวบรวมขึ้นเป็นหมวดหมู่ เรียบเรียงเป็นตำราไวยากรณ์ขึ้น 8 บทให้ชื่อว่า อัษฏาธยายี มีสูตรเป็นกฏเกณฑ์อธิบายโครงสร้างของคำอย่างชัดเจน โดยปาณินิได้ให้ชื่อภาษาที่ตกแต่งดีแล้วและได้วางทฤษฎีไว้ในไวยากรณ์ของตนว่า "สันสกฤต" นักวิชาการสมัยใหม่มีความเห็นว่าวิธีการศึกษาและอธิบายภาษาของปาณินิเป็นวิธีวรรณนา คือศึกษาและอธิบายตามที่ได้สังเกตเห็นจริง มิได้เรียบเรียงขึ้นตามความเชื่อส่วนตัว มิได้เรียบเรียงขึ้นตามหลักปรัชญา คัมภีร์อัษฏาธยายีจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นตำราไวยากรณ์เล่มแรกที่ศึกษาภาษาในแนววิทยาศาสตร์และวิเคราะห์ภาษาได้สมบูรณ์ที่สุด ความสมบูรณ์ของตำราเล่มนี้ทำให้เกิดความเชื่อในหมู่พราหมณ์ว่าตำราไวยากรณ์สันสกฤตหรือปาณินิรจนานี้ สำเร็จได้ด้วยอำนาจพระศิวะ อย่างไรก็ตาม นักภาษาศาสตร์เชื่อว่าการวางแบบแผนอย่างเคร่งครัดของปาณินิ ถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภาษาสันสกฤตต้องกลายเป็นภาษาตายอย่างรวดเร็วก่อนเวลาอันควร เพราะทำให้สันสกฤตกลายเป็นภาษาที่ถูกล่ามจำกัดขอบเขต (a fettered language) ด้วยกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์ที่เคร่งครัดและสลับซับซ้อน ภาษาสันสกฤตที่ได้ร้บการปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์ให้ดีขึ้นโดยปาณินินี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "เลากิกภาษา" หมายถึงภาษาที่ใช้กับสิ่งที่เป็นไปในทางโลก

นอกจากนี้ยังมี ภาษาสันสกฤตผสม (Buddhist Hybrid Sanskrit or Mixed Sanskrit)ซึ่งนักวิชาการบางกลุ่มได้จัดไว้เป็นพิเศษ เนื่องจากมีความแตกต่างจากภาษาพระเวทและภาษาสันสกฤตแบบแผน (ตันติสันสกฤต) ภาษาสันสกฤตแบบผสมนี้คือภาษาสันสกฤตที่ใช้บันทึกหลักธรรมตลอดจนเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา ทั้งในนิกาย สรรวาสติวาท และ มหายาน ภาษาสันสกฤตชนิดนี้คาดว่าเกิดขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 3-4 นักปราชญ์บางท่านถือว่าเกิดขึ้นร่วมสมัยกับตันติสันสกฤต คือในปลายสมัยพระเวทและต้นของยุคตันติสันสกฤต โดยปรากฏอยู่โดยส่วนมากในวรรณกรรมของพระพุทธศาสนามหายาน อาทิ พระสูตร เช่น ลลิตวิสฺตร ลงฺกาวตารสูตฺร ปฺรชฺญาปารมิตา สทฺธรฺมปุณฺฑรีกสูตฺร และศาสตร์อันเป็นคำอธิบายหลักพุทธปรัชญาและตรรกวิทยา เช่น มธฺยมิกการิกา อภิธรฺมโกศ มหาปฺรชฺญาปารมิตาศาสฺตฺร มธฺยานฺตานุคมศาสฺตฺร เป็นต้น

ไวยากรณ์

ไวยากรณ์ของภาษาสันสกฤตมีความซับซ้อนมากกว่าหลายๆ ภาษา โดยเฉพาะกฎเกณฑ์การสนธิ แต่ก็นับว่ามีความสอดคล้องกับหลายภาษาในกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน เช่น กรีกหรือละติน อย่างที่กล่าวมาข้างต้น อย่างไรก็ตาม ไวยากรณ์สันสกฤตอาจเทียบเคียงได้กับของภาษาบาลี แต่ยังมีความยุ่งยากและซับซ้อนกว่าพอสมควร

ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาที่มีการลงวิภัตติปัจจัย แจกนามได้ถึง 8 การก {แบ่งเป็น 3 พจน์ (เอกพจน์, ทวิพจน์, พหูพจน์) และสามเพศ (สตรีลิงค์, ปุลลิงค์ และนปุงสกลิงค์) }

สำหรับกริยา (ธาตุ) ในภาษาสันสกฤตนั้นมีความซับซ้อนยิ่งกว่าคำนาม กล่าวคือ จำแนกกริยาไว้ถึง 10 คณะ แต่ละคณะมีการเปลี่ยนรูป (เสียง) แตกต่างกันไป กริยาเหล่านี้จะแจกรูปตามประธาน 3 แบบ (ปฐมบุรุษ, มัธยมบุรุษ และอุตมบุรุษ) นอกจากนี้กริยายังต้องแจกรูปตามกาล (Tense) 6 ชนิด และตามมาลา (Mood) 4 ชนิด

อักษร

ไฟล์:Manuscripts2a.jpg
สันสกฤตอักษรรัญชนาจาก The Asha Archives, a public library of Nepalese Manuscripts กาฐมัณฑุ เป็นวรรณกรรมทางพุทธศาสนา

ภาษาสันสกฤตไม่มีอักษรสำหรับเขียนชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ และก็คล้ายกับภาษาอื่นหลายภาษา นั่นคือสามารถเขียนได้ด้วยอักษรหลายชนิด อักษรเก่าแก่ที่ใช้เขียนภาษาสันสกฤตมีหลายชนิดด้วยกัน เช่น อักษรขโรษฐี (Kharosthī) หรืออักษรคานธารี(Gāndhārī) นอกจากนี้ยังมีอักษรพราหมี (อักษรทั้งสองแบบพบได้ที่จารึกบนเสาอโศก) อักษรรัญชนา ซึ่งนิยมใช้จารึกคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาในอินเดียเหนือและเนปาล รวมถึง อักษรสิทธัม ซึ่งใช้บันทึกคัมภีร์พุทธศาสนารวมถึงบทสวดภาษาสันสกฤตในประเทศจีนและญี่ปุ่นโดยเฉพาะในนิกายมนตรยาน อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปนิยมเขียนภาษาสันสกฤตด้วยอักษรเทวนาครี(Devanāgarī) ส่วนอักษรอื่นๆ เป็นความนิยมในแต่ละท้องถิ่น ทั้งนี้เนื่องจากอักษรที่ใช้ในอินเดีย มักจะเป็นตระกูลเดียวกัน จึงสามารถดัดแปลงและถ่ายทอด (transliteration) ระหว่างชุดอักษรได้ง่าย

แม้กระทั่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังมีจารึกภาษาสันสกฤตที่ใช้ อักษรปัลลวะ อักษรขอม นอกจากนี้ชาวยุโรปยังใช้อักษรโรมันเขียนภาษาสันสกฤต โดยเพิ่มเติมจุดและเครื่องหมายเล็กน้อยเท่านั้น

ประวัติศาสตร์

จารึกเทวีมหาตฺมฺยา (देवीमहत्म्या) บนใบลาน จารึกด้วยตัวอักษร Bhujimol ของอาณาจักรพิหาร (Bihar) หรือประเทศเนปาลในปัจจุบัน จารึกในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16

คำว่า สํสฺกฤต (संस्कृत) แปลว่า "กลั่นกรองแล้ว" ส่วนคำว่า สํสฺกฤตา วากฺ (संस्कृता वाक्) จะใช้เพื่อเรียก "ภาษาที่กลั่นกรองแล้ว" ซึ่งเป็นภาษาของชนชั้นพราหมณ์ ตรงข้ามกับภาษาพูดของชาวบ้านทั่วไปที่เรียกว่าปรากฤต ภาษาสันสกฤตมีวิวัฒนาการมาจากภาษาชนเผ่าอารยัน หรืออินโดยูโรเปียน (Indo-Europen) บรรพบุรุษของพวกอินโด-อารยัน ตั้งรกรากอยู่เหนือเอเซียตะวันออก(ตอนกลางของทวีปเอเชีย - Central Asia) โดยไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง กลุ่มอารยันต้องเร่ร่อนทำมาหากินเหมือนกันชนเผ่าอื่น ๆ ในจุดนี้เองที่ทำให้เกิดการแยกย้ายถิ่นฐาน การเกิดประเพณี และภาษาที่แตกต่างกันออกไป ชนเผ่าอารยันได้แยกตัวกันออกไปเป็น 3กลุ่มใหญ่ได้แก่ กลุ่มที่ 1 แยกไปทางตะวันตกเข้าสู่ทวีปยุโรป กลุ่มที่ 2 ลงมาทางตะวันออกเฉียงใต้ อนุมานได้ว่าน่าจะเป็นชนชาติอิหร่านในเปอร์เซีย และกลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่สำคัญที่สุด กลุ่มนี้แยกลงมาทางใต้ตามลุ่มแม่น้ำสินธุ (Indus) ชาวอารยันกลุ่มนี้เมื่อรุกเข้าในแถบลุ่มแม่น้ำสินธุแล้ว ก็ได้ไปพบกับชนพื้นเมืองที่เรียกว่า ดราวิเดียน (Dravidain)และเกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมและภาษา โดยชนเผ่าอารยันได้นำภาษาพระเวทยุคโบราณเข้าสู่อินเดียพร้อม ๆ กับความเชื่อทางศาสนา ซึ่งในยุคต่อมาได้เกิดตำราไวยากรณ์ภาษาสันสกฤตคือ อษฺฏาธฺยายี (अष्टाध्यायी "ไวยากรณ์ 8 บท") ของปาณินิ เชื่อกันว่ารจนาขึ้นในช่วงพุทธกาล ปาณินิเห็นว่าภาษาสันสกฤตแบบพระเวทนั้นมีภาษาถิ่นปนเข้ามามากพอสมควรแล้ว หากไม่เขียนไวยากรณ์ที่เป็นระเบียบแบบแผนไว้ ภาษาสันสกฤตแบบพระเวทที่เคยใช้มาตั้งแต่ยุคพระเวทจะคละกับภาษาท้องถิ่นต่างๆ ทำให้การประกอบพิธีกรรมไม่มีความศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้น จึงแต่งอัษฏาธยายีขึ้น ความจริงตำราแบบแผนไวยากรณ์ก่อนหน้าปาณินิได้มีอยู่ก่อนแล้ว แต่เมื่อเกิดอัษฏาธยายีตำราเหล่านั้นก็ได้หมดความนิยมลงและสูญไปในที่สุด ผลของไวยากรณ์ปาณินิก็คือภาษาเกิดการจำกัดกรอบมากเกินไป ทำให้ภาษาไม่พัฒนา ในที่สุด ภาษาสันสกฤตแบบปาณินิ หรือภาษาสันสกฤตแบบฉบับ จึงกลายเป็นภาษาเขียนในวรรณกรรม ซึ่งผู้ที่สามารถจะอ่าน เขียนและแปลได้จะต้องใช้เวลามากพอสมควร

นักภาษาสันสกฤตในประเทศไทย

สันสกฤตและบาลีมีเผยแพร่ในประเทศไทยมาช้านานแล้ว แต่ส่วนใหญ่จำกัดผู้เล่าเรียนอยู่แต่ในวัดและในวังเท่านั้น เมื่อมีการตั้งมหาวิทยาลัยก็มีคณาจารย์หลายคนสอนสันสกฤต ทั้งเป็นส่วนตัวและระดับมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นรากฐานให้เกิดการศึกษาภาษาสันสกฤตอย่างแพร่หลายยิ่งขึ้น มีนักภาษาสันสกฤต หรือนักสันสกฤตที่มีชื่อเสียงชาวไทยและชาวอินเดียที่นำสันสกฤตมาปักหลักสอนในประเทศไทย มีการสอนภาษาสันสกฤตในระดับปริญญาตรีและโทที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และระดับปริญญาโทถึงปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยศิลปากร รวมถึงได้มีการก่อตั้ง ศูนย์สันสกฤตศึกษาขึ้นที่มหาวิทยาลัยศิลปากร

นักวิชาการที่สอนภาษาสันสกฤตและวรรณคดีสันสกฤตระดับมหาวิทยาลัยในอดีตและปัจจุบันถือว่ายังน้อยมากในประเทศไทย เท่าที่มีผลงานออกมาอย่างสม่ำเสมอและเป็นที่รู้จักในวงการเดียวกัน ได้แก่

ลิงก์ภายนอก