แพลตฟอร์มไครเมีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แพลตฟอร์มไครเมีย
ก่อตั้งพ.ศ. 2564
สำนักงานใหญ่
เว็บไซต์crimea-platform.org/en

แพลตฟอร์มไครเมีย (ยูเครน: Кримська платформа) เป็นความคิดริเริ่มทางการทูตของยูเครนและประธานาธิบดียูเครน โวโลดีมีร์ เซเลนสกี[1] แพลตฟอร์มถูกออกแบบให้เป็นกลไกความร่วมมือระดับนานาชาติเพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์รัสเซีย–ยูเครนผ่านการย้อนกลับการ ผนวกไครเมียโดยสหพันธรัฐรัสเซีย พ.ศ. 2557 นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังมีการหารือถึงประเด็นการปกป้องสิทธิมนุษยชนของชนกลุ่มตาตาร์ไครเมีย ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และการกีดกันทางการค้าในบริเวณทะเลดำและทะเลอาซอฟ ก็เป็นเรื่องที่หารือกันในที่ประชุมสุดยอดครั้งนั้นเช่นกัน[2] การประชุมสุดยอดครั้งแรกของแพลตฟอร์มเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ช่วงก่อนวันครบรอบ 30 ปีแห่งการเป็นเอกราชของยูเครน[3]

การกำเนิดและการส่งเสริม

แผนการสำหรับเหตุการณ์ดังกล่าวได้รับการประกาศโดย กระทรวงการผนวกดินแดนที่ถูกยึดครองชั่วคราว[4] และในการ ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 75 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2563[5] การกล่าวถึงการริเริ่มโครงการแพลตฟอร์มไครเมียครั้งแรกปรากฏขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรก เอมิเน่ จาปาโรวา นำเสนอต่อเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและหารือเกี่ยวกับแง่มุมเชิงปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับสหภาพยุโรปในกิจกรรมต่างๆ [6] หลังจากนั้นทางการยูเครนได้ดำเนินการรณรงค์เพื่อให้ประเทศตะวันตกมีส่วนร่วมในแพลตฟอร์มมากขึ้น[7] [8] [9] [10] เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ประธานาธิบดีเซเลนสกีได้ลงนามในรัฐกฤษฎีกา "ว่าด้วยมาตรการเพื่อขับไล่การยึดครองและการรวมตัวใหม่ของพื้นที่ที่ถูกยึดครองชั่วคราวของสาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมียและเมืองเซวัสโตปอล" นำมาซึ่งการตัดสินใจก่อตั้งคณะกรรมการจัดงานเพื่อเตรียมการและจัดแพลตฟอร์มไครเมีย ประธานคณะกรรมการจัดงานเพื่อการเตรียมการประชุมสุดยอดของแพลตฟอร์มไครเมียคือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศยูเครน ดมิโทร คูเลบา [11] [12] [13] แพลตฟอร์มเป็นที่คาดหวังว่าจะถูกนำเสนอในที่ประชุมสมัชชาแห่งสภายุโรปด้วย[14]

หัวข้อการเจรจาและรูปแบบการทำงาน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ดมีโทร คูเลบา ได้ชี้แจงถึงประเด็นสำคัญ 5 ประการในเวทีการเจรจาของแพลตฟอร์มไครเมีย: ประการแรก คือความมั่นคง ซึ่งรวมถึงอิสรภาพในการกำหนดทิศทาง ประการที่สอง คือรับประกันประสิทธิภาพของการคว่ำบาตรต่อประเทศที่รุกราน ประการที่สาม คือการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและกฎหมายด้านมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ประการที่สี่ คือการคุ้มครองทางการศึกษา วัฒนธรรม และสิทธิในการนับถือศาสนา ประการที่ห้า คือการพิชิตผลกระทบด้านลบจากการยึดครองไครเมียชั่วคราวต่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม การเจรจาจะดำเนินการในประเด็นสำคัญ 5 ประการ คือ

  • นโยบายการไม่รับรู้ถึงความพยายามการผนวกไครเมียโดยรัสเซีย
  • การขยายและเสริมสร้างการคว่ำบาตรระหว่างประเทศต่อรัสเซีย
  • ความมั่นคงระหว่างประเทศ
  • สิทธิมนุษยชน
  • ผลกระทบของการยึดครองต่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม[15]

นอกจากนี้ นักโทษการเมืองไครเมียบนคาบสมุทรที่ถูกยึดครองจะเป็นประเด็นที่ได้รับพิจารณาเป็นพิเศษ[16]

หลังจากการประชุมสุดยอด กิจกรรมต่างๆ ของแพลตฟอร์มไครเมียจะยังไม่สิ้นสุดลงเพียงเท่านั้น แต่มีการวางแผนการทำงานสี่รูปแบบ คือ ประธานาธิบดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีช่วย และผู้เชี่ยวชาญ ส่วนในระดับระหว่างรัฐบาลจะดำเนินการในรูปแบบของการปรึกษาหารือของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศต่างๆ การประชุมประสานงานของคณะทำงานเฉพาะทางในประเด็นสำคัญ และการประชุมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเป็นไปได้ที่จะจัดการประชุมประจำปีที่จะมุ่งเน้นให้กับการรักษาความปลอดภัยของภูมิภาคทะเลดำและที่อื่น ๆ [17]

สมาคมรัฐสภาระหว่างฝ่ายแพลตฟอร์มไครเมีย (อันประกอบไปด้วย รุซเท็ม อุเมรอฟ มุสตาฟา ดเจ็มิเลฟ อาห์เท็ม ชิย์โกส เยลิซาเวตา ยาสโก และวาดยิม ฮาไลชฮุก) ถูกก่อตั้งขึ้นในรัฐสภายูเครน และกำลังร่างรัฐบัญญัติต่างๆ ว่าด้วยคาบสมุทร [ไครเมีย] ที่ถูกผนวกรวมเป็นการชั่วคราว[18] [19]

ในเดือนมิถุนายน เครือข่ายผู้เชี่ยวชาญของแพลตฟอร์มไครเมียถูกนำเสนอต่อศูนย์ข่าวของศูนย์สื่อวิกฤตยูเครน ตัวแทนของ กลุ่มสิทธิมนุษยชนไครเมีย ปริซึมยูเครน และศูนย์สอบสวนทางข่าวสาร ได้เข้าร่วมงาน[20] การประชุมก่อตั้งของเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญของแพลตฟอร์มไครเมีย พร้อมการเข้าร่วมจากผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศต่างๆ สถานทูตต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เกิดขึ้น ณ วันที่ 6 สิงหาคม ในกรุงเคียฟ[21]

นอกจากนี้ แพลตฟอร์มไครเมียยังคาดว่าจะเป็นตัวแทนใน สมัชชารัฐสภาแห่งสภายุโรป[22]

แพลตฟอร์มดังกล่าวจะยังคงดำเนินงานได้จนกว่าคาบสมุทรจะกลับสู่ภายใต้การควบคุมของยูเครน [23]

ผู้เข้าร่วม

ผู้เข้าร่วมการประชุมครั้งแรกของแพลตฟอร์มไครเมีย

ผู้นำต่างประเทศได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานเฉลิมฉลองครบรอบ 30 ปีและการประชุมสุดยอด ซึ่งรวมทั้งผู้นำของสหรัฐอเมริกา กรีซ [24] [25] และ ลิทัวเนีย ส่วนประเทศตุรกี สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร และมอลโดวา เป็นประเทศกลุ่มแรกที่ประกาศแผนการส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมสุดยอด[26] นอกจากนี้ อิสราเอล ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมด้วย[27]

สำหรับรัสเซีย กระทรวงการต่างประเทศ ก่อนหน้านี้ได้รับอนุญาตให้มีส่วนร่วมในแพลตฟอร์มไครเมีย โดยกำหนดเงื่อนไขว่า "หาก [รัสเซีย] จะหารือถึงการจ่ายน้ำและไฟฟ้าของไครเมียคืน ยกเลิกการปิดล้อมการค้าขายและการคมนาคมในคาบสมุทรของกรุงเคียฟ"[28] ด้านยูเครนปฏิเสธความเป็นไปได้ดังกล่าว [29] ภายหลังรัสเซียกล่าวว่าความพยายามในการยึดไครเมียคืนของรัฐบาลยูเครนนั้น “เป็นไปด้วยมิชอบ” และการเข้าร่วมการประชุมริเริ่มของยูเครนโดยประเทศและองค์กรใด ๆ ถือว่าเป็น “การลุกล้ำความมั่นคงทางดินแดนของรัสเซีย” [30]

รัสเซียยังพยายามบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของแพลตฟอร์มและป้องกันไม่ให้รัฐอื่นเข้าร่วมด้วยการแบล็กเมล์และการข่มขู่ ด้วยเหตุนี้ รายชื่อผู้ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดจึงต้องถูกเก็บเป็นความลับ[31] [32]

ด้วยเหตุการณ์ทั้งหมดดังกล่าวนี้ ตัวแทนจากทั้งหมด 47 ประเทศและองค์กร จะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดในวันที่ 23 สิงหาคม

สหรัฐอเมริกา ได้ส่งผู้แทนจากคณะรัฐมนตรี การนี้ได้ประกาศโดยอุปทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศยูเครน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศด้านยุโรปและยูเรเชีย จอร์จ เคนท์ ในการสัมภาษณ์กับสถานีเรดิโอ ลิเบอตี้ (Radio Liberty)[33]

หลังจากการประชุมสุดยอด ประธานาธิบดีเซเลนสกีได้มอบเครื่องอิสริยาภรณ์ของเจ้าชายยาโรสลาฟผู้รอบรู้ ให้กับผู้นำประเทศและรัฐบาลจำนวน 11 คน[34]

รายนามผู้เข้าร่วม[35][36][37][38]

แผนที่ประเทศที่เข้าร่วมแพลตฟอร์มไครเมีย

ประเทศสมาชิก G7

ประเทศอื่น ๆ

สำนักงานของแพลตฟอร์มไครเมีย

พิธีเปิดสำนักงานใหญ่ของแพลตฟอร์มไครเมีย

ในวันประชุมสุดยอด ผู้เข้าร่วมได้เปิดสำนักงานใหญ่ของแพลตฟอร์มไครเมีย ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเคียฟ ที่ถนนเลียฟสกา 2 ภาระงานส่วนหนึ่งของสำนักงานคือการเฝ้าระวังสถานการณ์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม มรดกทางวัฒนธรรม และอื่น ๆ ในคาบสมุทรตลอดเวลา เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์การขับไล่การครอบครองและการผนวกรวมใหม่ของไครเมีย ตลอดจนชี้แจงและสื่อสารกับประชาชนชาวยูเครนจากไครเมียที่มีคู่ครองต่างชาติ เป็นต้น หัวหน้าของสำนักงานคือ อันตอน โครยิเนวยิช ผู้แทนถาวรประธานาธิบดียูเครนต่อสาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมีย[50]

มีการวางแผนที่จะเปิดสำนักงานของแพลตฟอร์มไครเมียเพิ่มเติมในประเทศอื่น ๆ ที่เป็นประเทศผู้ลงนามในคำประกาศ[51]

อ้างอิง

  1. "Crimea Platform: Ukraine's Initiative to Raise the Costs of Russia's Occupation". Jamestown (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-06-04.
  2. "THE CRIMEAN PLATFORM WILL BECOME A FOREIGN POLICY INSTRUMENT OF THE DE-OCCUPATION STRATEGY | UA: Ukraine Analytica". UA: Ukraine Analytica (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-03-16. สืบค้นเมื่อ 2021-06-04.
  3. "Festivities dedicated to the 30th anniversary of Ukraine's independence will last for 3 days - Volodymyr Zelenskyy". Official website of the President of Ukraine (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-21.
  4. "Резніков про міжнародний майданчик для переговорів щодо Криму: "Все в процесі"". Крим.Реалії. 16 May 2020. สืบค้นเมื่อ 26 February 2021.
  5. "Президент Зеленський в ООН закликав взяти участь у створенні міжнародної платформи з деокупації Криму". Крим.Реалії. 23 September 2020. สืบค้นเมื่อ 26 February 2021.
  6. "Еміне Джапарова презентувала послам країн-членів ЄС ініціативу "Кримська платформа" і обговорила практичні аспекти залучення Євросоюзу до її діяльності". МЗС України. 17 November 2020. สืบค้นเมื่อ 26 February 2021.
  7. "«Кримська платформа» в 2021 році стане епіцентром гібридної війни України та Росії – Кулеба". Крим.Реалії. 24 December 2020. สืบค้นเมื่อ 26 February 2021.
  8. "Україна представила ЄС концепцію Кримської платформи". Слово і Діло. 14 December 2020. สืบค้นเมื่อ 1 March 2021.
  9. "Джапарова презентувала Кримську платформу в ОБСЄ". Укрінформ. 1 March 2021. สืบค้นเมื่อ 1 March 2021.
  10. "Кримська платформа: Джапарова запросила на саміт держави-члени ЮНЕСКО". Укрінформ. 31 March 2021. สืบค้นเมื่อ 8 April 2021.
  11. "Зеленський створив оргкомітет Саміту Кримської платформи". УП. 26 February 2021. สืบค้นเมื่อ 26 February 2021.
  12. "Президент створив Організаційний комітет з підготовки установчого Саміту Кримської платформи". Президент України. 26 February 2021. สืบค้นเมื่อ 28 February 2021.
  13. Указ Президента України від 26 лютого 2021 року № 78/2021 «Про окремі заходи, спрямовані на деокупацію та реінтеграцію тимчасово окупованої території Автономної Республіки Крим та міста Севастополя»
  14. "Мезенцева: "Кримська платформа працюватиме на базі ПАРЄ"". LB.ua. 11 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 March 2021.
  15. "У МЗС оголосили напрямки роботи Кримської платформи". Слово і Діло.
  16. ""Кримська платформа" розгляне питання політв'язнів на окупованому півострові – МЗС". Прямий.
  17. "Виступ першої заступниці міністра Еміне Джапарової на Всеукраїнському форумі "Україна 30. Міжнародна політика"". Міністерство закордонних справ України.
  18. "У Раді створили міжфракційне об'єднання "Кримська платформа"". Укрінформ.
  19. "У Раді розробляють пакет законопроектів "Кримська платформа"". Інтерфакс-Україна.
  20. "Презентували експертну мережу Кримської платформи". Український кризовий медіа-центр.
  21. "У Києві стартував установчий форум експертної мережі "Кримської платформи" (трансляцію завершено)". Крим.Реалії.
  22. "Мезенцева: "Кримська платформа працюватиме на базі ПАРЄ"". LB.ua.
  23. ""Кримська платформа" завершить свою роботу тоді, коли на півострів повернеться прапор України – Кориневич". Крим.Реалії.
  24. "Зеленский пригласил президента Греции на 30-летие независимости Украины - Последние новости сегодня". pressorg24.com. สืบค้นเมื่อ 2021-03-19.
  25. "Зеленский пригласил президента Греции на празднование 30-летия независимости Украины". Интерфакс-Украина (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 2021-03-19.
  26. ""Кримська платформа". "Маячня" чи реальний крок для деокупації Криму?". Радіо Свобода.
  27. "Zelensky invites Israel to join Crimea Platform summit declaration".
  28. "МЗС Росії назвало умову, за якої російська сторона візьме участь у Кримській платформі". Суспільне Крим.
  29. "Кулеба запросив Росію взяти участь в саміті Кримської платформи: "На порядку денному буде тільки одне питання"". zn.ua.
  30. "Росія назвала "Кримську платформу" нелегітимною і пригрозила учасникам". УП.
  31. "Окупанти пообіцяли "болючі наслідки" через "Кримську платформу"". Ракурс.
  32. "Чому учасників "Кримської платформи" тримають в секреті, пояснила Джапарова". kanaldom.tv.
  33. "Встреча Байдена и Зеленского, Крым и Донбасс: интервью Джорджа Кента". Крым.Реалии (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 2021-08-02.
  34. "The President presented state awards to the participants of the Crimea Platform summit".
  35. "44 держави та організації: Кулеба назвав повний склад саміту "Кримської платформи"". УП.
  36. "Ще одна країна НАТО підтвердила участь у саміті Кримської платформи". УП.
  37. "Делегацію США на Кримській платформі очолить міністерка енергетики". УП.
  38. "Остання країна НАТО приєдналася до Кримської платформи". УП.
  39. "President of Ukraine held talks with the President of Latvia after the Crimea Platform Summit".
  40. "Зеленский пригласил президента Литвы на 30-летие независимости Украины - Последние новости сегодня". pressorg24.com. สืบค้นเมื่อ 2021-03-19.
  41. "Три украинских дня Кальюлайд: встреча с Зеленским, "Крымская платформа" и военный парад". 22 August 2021.
  42. "Oficjalna strona Prezydenta Rzeczypospolitej Polskiej / Aktualności / Wizyty zagraniczne / Kijów | Spotkanie Prezydentów Polski i Ukrainy". www.prezydent.pl. 23 August 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-08-23.
  43. "Зеленский пригласил Санду на празднование 30-летия Независимости Украины". www.ukrinform.ru. สืบค้นเมื่อ 2021-03-19.
  44. "Зеленский пригласил Санду на 30-летие независимости Украины". Интерфакс-Украина (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 2021-03-19.
  45. 45.0 45.1 Florea, Daniel (23 August 2021). Constantin, Anamaria (บ.ก.). "Premier Citu pays visit to Ukraine, to attend Crimean International Platform's launch summit". Agerpres.
  46. "PM Garibashvili Addresses Crimea Platform Summit". Civil.ge (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-08-23. สืบค้นเมื่อ 2021-08-23.
  47. "Ukrainian president awards Georgian PM with order of merit". Agenda.ge. สืบค้นเมื่อ 2021-08-23.
  48. "Volodymyr Zelenskyy met with the Prime Minister of Sweden".
  49. "Ще одна держава приєдналась до Кримської платформи". pravda.com.ua. สืบค้นเมื่อ 2022-02-20.
  50. "Президент України та учасники саміту Кримської платформи оглянули головний офіс ініціативи в Києві". Президент України. 23 August 2021. สืบค้นเมื่อ 24 August 2021.
  51. "Офіси Кримської платформи відкриють в інших країнах - Президент". Укрінформ. 2021-08-22. สืบค้นเมื่อ 2021-08-24.

หมวดหมู่:ประเทศยูเครนในปี พ.ศ. 2564 หมวดหมู่:การผนวกไครเมียโดยสหพันธรัฐรัสเซีย