สมปอง นครไธสง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต)
สมปอง นครไธสง
Phra Maha Sompong Talaputto.jpg
สมปอง ขณะบวชเป็นพระภิกษุ
เกิด3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 (44 ปี)
จังหวัดชัยภูมิ ประเทศไทย
ชื่ออื่นพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต (23 พรรษา)
มีชื่อเสียงจากพระนักเทศน์

สมปอง นครไธสง[1] หรืออดีต พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต เป็นพิธีกรและนักเขียนชาวไทย ก่อนหน้านั้นเคยเป็นพระนักเทศน์ที่มีชื่อเสียง ก่อนที่จะลาสิกขาในปี 2564

มีผลงานหนังสือหลายเรื่อง และได้รับพิจารณาให้ได้รับรางวัลนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากองค์กรต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น รางวัลพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานสัปดาห์พระพุทธศาสนาวิสาขบูชาประจำปี 2551 เป็นต้น

ประวัติ[แก้]

สมปอง นครไธสง เกิดเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 ที่จังหวัดชัยภูมิ เป็นบุตรชายคนเล็กจากจำนวนพี่น้อง 7 คน บรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ เมื่อ พ.ศ. 2541 ได้รับฉายา ตาลปุตฺโต แปลว่าบุตรของนางตาล (ที่มาของฉายานี้พระมหาสมปองขออนุญาตพระอุปัชฌาย์ตั้งเอง) จำพรรษาอยู่ที่วัดสร้อยทอง กรุงเทพมหานคร ก่อนลาสิกขาเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ที่วัดบางโพโอมาวาส[2] เขาชอบทีมฟุตบอลลิเวอร์พูล

การศึกษา[แก้]

  • โรงเรียนบ้านป่าว่าน จ.ชัยภูมิ
  • เปรียญธรรม ๗ ประโยค นักธรรมชั้นเอก
  • ปริญญาตรี พุทธศาสตร์บัณฑิต(พธ.บ.) เอกปรัชญา (เกียรตินิยมอันดับ ๑) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ปริญญาโท สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต (สส.ม.) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ปริญญาโท พุทธศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พธ.ม.) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

รางวัลเกียรติคุณ[แก้]

  • รับพระราชทานรางวัล“เสาเสมาธรรมจักร” ประเภทส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา สาขาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศ จาก..สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานสัปดาห์วิสาขบูชาโลก พ.ศ. ๒๕๕๑
  • รางวัล “จำนง ทองประเสริฐ” “ฐานะผู้มีผลงานดีเด่นในสาขา “พระพุทธศาสนา” พ.ศ. ๒๕๕๑
  • รางวัล “คนดีศรีแผ่นดิน” ประจำปี ๒๕๕๐ จากหนังสือพิมพ์สื่อสารธุรกิจ พ.ศ. ๒๕๕๐
  • นิตยสาร Positioning ยกย่องให้เป็น “50 ผู้ทรงอิทธิพลแห่งปี” พ.ศ. ๒๕๕๐ ฯลฯ

ประวัติการทำงาน[แก้]

ผลงานทางสื่อ[แก้]

ทางสื่อโทรทัศน์[แก้]

ทางสื่อออนไลน์[แก้]

  • รายการธรรมะ Youtube : พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต Channel (เริ่มวันอังคารที่ 19 พฤษภาคม 2563 – ปัจจุบัน)
  • รายการ ห่างทุกข์ ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 น. ทาง BUGABOO.TV, fanpage พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต (เริ่มวันพุธที่ 2 กันยายน 2563 – ปัจจุบัน)
  • อัศวิน" บิณไปกับ พระมหาสมปอง (19 กุมภาพันธ์ 2564 – ปัจจุบัน)
  • ทธท (เทศน์ธรรมทั่วไทย) (22 กุมภาพันธ์ 2564 – ปัจจุบัน)
  • แม่ปอง Official (30 ธันวาคม 2564 – ปัจจุบัน)

ทางสื่อต่างๆ[แก้]

  • วีซีดี"ธรรมะเดลิเวอรี่", หนังสือ"ธรรมเดลิเวอรี่"เล่ม 1-5
  • หนังสือ"ธรรมะเดลิเวอรี่ ฉบับอมยิ้มอิ่มใจ"
  • หนังสือ"สุขกันเถอะโยม เล่ม 1–2"
  • หนังสือ"โยมเอ้ยสิบอกไห่"
  • หนังสือ"หลงทางเสียเวลา เดินตามอาตมามีอนาคต (นะโยม)"
  • หนังสือ"ธรรมะเดลิเวอรี่ แฮปปี้ 24 ชั่วโมง
  • หนังสือ"ธรรมะฮาเฮ ฉบับ ขอให้มั่งมีศรีสุขกันทุกวัน"
  • หนังสือ"พระมหาสมปอง ฉบับ รู้แล้วสุขม้ากมาก"
  • หนังสือ"รู้มั้ยธรรมะ ฉบับ ฮาทั่วทิศ สุขทั่วไทย"
  • หนังสือ"คำคม ธรรมฮา พระมหาสมปอง"
  • หนังสือ"พระมหาสมปอง ฉบับ สั้นๆ ไม่ลึก แต่ซึ้ง"
  • หนังสือ"พระมหาสมปอง ฉบับ รักนะ...คนดี"
  • หนังสือ"พระมหาสมปอง ฉบับ ขอให้โชคดีนะโยม"
  • หนังสือ"สุขเว่อร์" โดยสำนักพิมพ์โปรวิชั่น
  • หนังสือ"ปลดทุกข์ ปล่อยวางกันบ้างเถิดโยม"
  • หนังสือ"ชีวิตไม่สิ้น ก็ต้องดิ้นนะโยม"
  • หนังสือ"ธรรมะฮาเฮ ฉบับ สุขอั๊ยย๊ะ ฮักจุงเลย"
  • หนังสือ"โยมฮู้บ่ออยากมีความสุขจังฮู้ ยะจะได"

ชีวิตหลังลาสิกขา[แก้]

เพื่อปลดหนี้สินจำนวน 10 ล้าน[แก้]

สมปองได้ลาสิขามาไม่นาน ชาวไทยก็ทราบว่าหนึ่งในเหตุที่ให้สมปองต้องลาสิขาออกมานั้นเกิดจากการที่มีหนี้สินมากกว่า 10 ล้าน โดยสมปองได้ใช้เงินไปกับการก่อสร้างหลากหลาย เช่น โรงเรียน สนามกีฬา วัด

อ้างอิง[แก้]

  1. พระมหาสมปอง (แบบย่อ) ตาลปุตฺโต นครไธสง เก็บถาวร 2009-01-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เว็บไซต์ธรรมะเดลิเวอรี่. เรียกข้อมูลเมื่อ 19-6-52
  2. "พระมหาสมปองสึกแล้ว! เป็นฆราวาสเต็มตัว ด้านทิดไพรวัลย์โพสต์แซวนับรุ่น". mgronline.com. 2021-12-29. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 February 2023
  3. "พระมหาสมปอง" นั่งตำแหน่งที่ปรึกษาสโมสรฟุตบอล
  4. พระมหาสมปองนั่งแท่นประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ จัมปาศรี ยูไนเต็ด