ผู้ใช้:Sunday2544ss/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ทดลองเขียน

การประท้วงทางออนไลน์[แก้]

เบื้องหลัง[แก้]

ในปี พ.ศ.2561 โซเชียลมีเดียเป็นสื่อที่มีอิทธิพลต่อวัยรุ่นมากกว่าสื่ออื่น ยิ่งเฉพาะหลังการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศไทย พ.ศ. 2563 การสื่อสารระหว่างสื่อกับวัยรุ่นและกลุ่มคนทำงานมีมากขึ้นด้วยเหตุการเว้นระยะห่างทางสังคม แพลตฟอร์มสื่อออนไลน์เป็นเพียงสื่อเดียวที่รอดจากวิกฤตการเติบโตของสื่อในพลตฟอร์มอื่น[1] ความนิยมในทวิตเตอร์ในกลุ่มอายุ 16-24ปี มีการใช้งานถึง 40 เปอร์เซนต์ [2] ความนิยมในพรรคอนาคตใหม่ที่ขับเคลื่อนตัวเองผ่านสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เพิ่งมีโอกาสเลือกตั้งเป็นครั้งแรก คนกลุ่มนี้เบื่อหน่ายการต่อสู้ระหว่างฝ่ายสนับสนุนของทักษิณ ชินวัตร กับฝ่ายการเมืองอนุรักษ์นิยมที่นำโดยกองทัพ ด้วยตัวบุคคลพรรค อุดมการณ์ นโยบาย และสื่อโซเชียลมีเดีย พรรคอนาคตใหม่จึงได้รับการสนับสนุนจนได้รับความนิยมอย่างสูงในกลุ่มวัยรุ่น[3] หลังการยุบพรรคอนาคตใหม่เกิดขึ้น ประกอบกับความกดดันในการขยายเวลา พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ความผิดหวังในการควบคุมโรคระบาด รวมไปถึงปัญหาเศรษฐกิจ-ปากท้อง ทำให้ # แฮชแท็กต่างๆ ของกลุ่มเยาวชนผู้ใช้ทวิตเตอร์เริ่มขึ้นในทวิตเตอร์ และติดเทรนด์ทวิตเตอร์ยอดนิยมในประเทศไทยทุกสัปดาห์[4]

พัฒนาการวิธีการรณรงค์การชุมนุม[แก้]

ในการใช้งานทวิตเตอร์ (Twitter) ทุกข้อความคนอ่านแสดงความเห็นได้ มีพื้นที่ให้แสดงออก เห็นด้วย กดรี (Retweet) ชื่นชอบมากหรืออยากกลับมาอ่านอีกครั้ง กดเฟบ (Faverite) เห็นด้วยมาก และอยากสนับสนุน หรือเห็นต่างแล้วอยากแสดงทัศนะก็เมนชัน (Mention) ใต้เธรด (Thread) เหตุการณ์เดือน ก.พ.2563 เมื่อศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคอนาคตใหม่ กลุ่มวัยรุ่นและนักศึกษาที่มองว่าไม่ยุติธรรม จึงแสดงออกมาการชุมนุมผ่านการชักชวนในโซเชียลมีเดียที่สื่อสารได้ง่าย รวดเร็วและมีประเด็นทิศทางเดียวกัน [4]การรณรงค์เริ่มจากเรื่องพื้นฐานใกล้ตัวสู่การเมืองเช่น #เว้นเซเว่นทุก​Wednesday และ #pausemob การรณรงค์ให้หยุดก่อม็อบลงถนนหลังกรณีศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคอนาคตใหม่เพราะกลัวให้เป็นข้ออ้างในการปราบปราม​สังหารประชาชนหรือการรัฐประหารซ้อน​[5]

การติดแฮชแท็กในทวิตเตอร์เริ่มเป็นที่นิยมด้วยการเขียนคำว่า save ตามด้วยชื่อผู้ถูกกระทำที่เป็นที่นิยม ถูกโต้ตอบในวงสนทนาให้มีการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจากการกระทำของรัฐ เช่น #saveวันเฉลิม ผู้ลี้ภัยในต่างประเทศ [6],#saveทิวากร ผู้สวมเสื้อเสื้อ เราหมดศรัทธา​สถาบันกษัตริย์​แล้ว[7] #SavePanusaya [8] #ทนายอานนท์ ผู้ต้องหาในคดีอาญามาตรา116[9], #saveอนาคตใหม่ ในช่วงก่อนที่มีคำวินิจฉัยยุบพรรคอนาคตใหม่[10] จากนั้นถกเถียงในรูปแบบผู้ใช้ไม่ระบุตัวตนและเริ่มตั้งชื่อ"ผู้ใช้นิรนาม"เพื่อตอบโต้กับผู้ใช้กฎหมายกับผู้แสดงความคิดเห็นที่ต่อต้านนักเคลื่อนไหวใช้ในการสื่อสารสังคม จนมีประเด็นการจับกุมผู้ใช้นิรนามและแจ้งข้อกล่าวหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จากข้อความที่เขาทวีต[11]

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 ผู้ใช้ทวิตเตอร์ส่วนใหญ่มีความตื่นตัวทางการเมือง และกล้าที่จะแสดงความคิดเห็น ด้วยส่วนหนึ่งไม่ถูกตรวจสอบหรือติดตามจากครอบครัว และการใช้ชื่อผู้ใช้ที่ไม่ระบุตัวตน ทำให้มีอิสระในการแสดงความคิดเห็น[12]ประเด็นกระแสความนิยมในตัวของ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจกับแฮทแท็ก #ฟ้ารักพ่อ, ประเด็นสนับสนุนการชุมนุมเรียกร้องระบอบประชาธิปไตยในฮ่องกง #hongkongprotests, กรณีการยิงตัวเองของคณากร เพียรชนะ #คืนคำพิพากษาให้ผู้พิพากษา, #โตแล้วเลือกเองได้ จากกรณีคืนวันที่ 23 มีนาคม ก่อนการเลือกตั้งในปี 2562[13]

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการประวัติศาสตร์และผู้ลี้ภัยทางการเมือง ทวีตตั้งคำถามเกี่ยวกับรัชกาลที่ 10 พร้อมใส่แฮชแท็กดังกล่าว จนนำไปสู่ พวกเขาถึงกล้าพูดในเรื่องสุ่มเสี่ยง #กษัตริย์มีไว้ทำไม [14] การติดแฮชแท็กเริ่มถามถึงการมีอยู่ของหน่วยงานของรัฐและเป็นกระแสมากขึ้น เช่น #สวมีไว้ทำไม #ทหารมีไว้ทำไม และการวิพากษ์วิจารณ์ปัญหาที่ประชาชนได้รับผลกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น ในปี2562 #ขบวนเสด็จ[15]ขณะยังคงเห็นการพูดถึงเรื่องที่อ่อนไหวและล่อแหลมโดยใช้รูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย ทั้งการใช้คำ มีม รูปสัญลักษณ์ตัวแทน การล้อเลียนเสียดสี ไปจนถึงการทำให้เป็นเรื่องตลกขบขัน ไม่ได้กล่าวถึงประเด็นนั้นโดยตรงอันเนื่องมาจากประเด็นความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย เป็นวิธีการสื่อสารและแสดงออกทางความคิดที่เห็นได้ในปัจจุบัน [13]

เช้าวันที่ 18 สิงหาคม เกิดแฮชแท็ก #ผูกโบว์ขาวต้านเผด็จการ ติดอันดับหนึ่งเทรนด์ไทย โดยรณรงค์ให้นักเรียนปฏิบัติร่วมกัน ส่งผลให้นักเรียนระดับมัธยมหลายโรงเรียนทั่วประเทศไทยอย่างน้อย 14 จังหวัดได้ชูสามนิ้ว พร้อมติดโบขาว อ้างเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ สิทธิเสรีภาพ[16]

นักเคลื่อนไหวทางสังคมออนไลน์[แก้]

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 นักเคลื่อนไหว นักวิชาการหลายคนผันตัวมาเป็นนักการเมืองเพื่อผลักดันวาระและปัญหาที่ตนเองเคยเรียกร้อง ด้วยนโยบายที่ก้าวหน้า วิธีการหาเสียงที่เข้าใจโลกออนไลน์มากกว่าพรรคการเมืองอื่น บุคคลสำคัญที่เคยเป็นนักเคลื่อนไหว เช่น ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ, พรรณิการ์ วานิช, ปิยบุตร แสงกนกกุลเป็นต้น เขาจึงมีอิทธิพลต่อทัศนคติของกลุ่มวัยรุ่นในช่วงหลังการเลือกตั้งในปี พ.ศ.2562 เป็นต้นมา[17]รังสิมันต์ โรม เขาเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองบางส่วนที่ผันตัวไปเป็นนักการเมือง ได้ทำกิจกรรมทางการเมืองจนถูกดำเนินคดี เข้าสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดอดีตพรรคอนาคตใหม่ หลังการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2563 มีเนื้อหาการอภิปรายเปิดโปงเครือข่ายป่ารอยต่อ และในคดีของหมู่อาร์ม ด้านโซเชียลมีเดียมีการติดแฮทแท็ก #saveโรม ตอบโต้ถึงข่าวดังกล่าวเพราะกลัวจะกระทบถึงความปลอดภัยของเขา[18]

เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ผู้ใช้ทวิตเตอร์ “นิรนาม_"ถูกจับกุมที่ทวิตภาพและข้อความเกี่ยวกับรัชกาลที่ 10 และถูกฝากขังที่ศาลพัทยา และไม่ได้รับการอนุญาตให้ประกันตัว โดยใช้ตรวจสอบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากบริษัททรู [19]หลังการเปิดเผยดังกล่าว มีหลายคนแสดงความเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ ในทวิตเตอร์เกิดแฮชแท็ก #saveนิรนาม พร้อมกับแฮชแท็กแบนผู้ให้บริการมือถือค่ายหนึ่ง ที่เชื่อว่าส่งข้อมูลการใช้งานอินเทอร์เน็ตของ "นิรนาม_" ให้กับตำรวจ[20]

  1. ‘นีลเส็น’ เผยพายุที่ชื่อ โควิด-19 ถล่มธุรกิจสื่อทั้ง ‘เร็ว-รุนแรง’ กว่าทุกวิกฤตที่ไทยเคยมีมา marketingoops. 28 พฤษภาคม 2563.สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563
  2. คนไทยใช้ Twitter เก่ง! 2 ปี เติบโตสุดในภูมิภาค กลายเป็น “Entertainment Hub” ครองใจวัยมิลเลนเนียล 29 สิงหาคม 2562.สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563
  3. 7 ปรากฏการณ์ “อนาคตใหม่” ที่สุดทางการเมืองในรอบ 2 ปี 6 เดือน 21 มกราคม 2563.สืบค้นเมื่อวันที 18 สิงหาคม 2563
  4. 4.0 4.1 ความจริง (ในการเมือง) บนโลกเสมือน ของคนยุค 90 thaipbs.10 สิงหาคม 2563 สืบค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2563
  5. ถอดรหัส​แฮชแท็ก​ #เว้นเซเว่นทุก​Wednesday และ #pausemob prachatai.17 มีนาคม 2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563
  6. #saveโรม ขึ้นอันดับ 1 เทรนด์ทวิตเตอร์ หลังเดินหน้าตามปม 'วันเฉลิม-หมู่อาร์ม' prachatai.2020-06-19 สืบค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2563
  7. #saveทิวากร ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ หลังมีข่าวผู้สวมเสื้อ 'เราหมดศรัทธาสถาบันกษัตริย์แล้ว' ถูกจับเข้าจิตเวช prachatai.2020-07-14 สืบค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2563
  8. 2 นักกิจกรรม รุ้ง-เพนกวิน ส่งข้อความมีเจ้าหน้าที่ตามถึงหอพัก หวั่นถูกจับกุม #SavePanusaya รวมพลังจับตา thestandard. 13สิงหาคม2020 สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563
  9. #saveทนายอานนท์ ขึ้นเทรนด์อันดับ 1 พ่วงด้วย #ตำรวจอุ้มประชาชน ร้อนฉ่าทั่วทวิตเตอร์ 8 สิงหาคม 2563.สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2563
  10. [ต้องการอ้างอิง]
  11. กรณี ‘นิรนาม_’ : แรงบันดาลใจจากรุ่นสู่รุ่น การจับกุมเนิร์ดประวัติศาสตร์ในทวิตเตอร์ themomentum.27 กุมภาพันธ์ 2020.สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563
  12. วัยรุ่นแห่เล่น “ทวิตเตอร์” ควบคู่ “เฟซบุ๊ก” เพื่อหนีพ่อแม่ pptv.16 ก.ค. 2563.สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563
  13. 13.0 13.1 10 แฮชแท็กคัดสรรที่ ‘ทรงพลัง’ ที่สุดในปี 2019 themomentum.27 ธันวาคม 2562 สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563
  14. ส่องปรากฏการณ์ #กษัตริย์มีไว้ทำไม กับ 'แอคหลุม-มีม' เซฟโซนสีเทาของคนรุ่นใหม่ prachatai.2020-03-26 สืบค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2563
  15. #ขบวนเสด็จ ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ คนวิจารณ์มาตรการปิดการจราจรในกรุงช่วงค่ำที่ผ่านมา prachatai.2019-10-02 สืบค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2563
  16. เคารพธงชาติเช้านี้ มัธยมยังชูสามนิ้ว-ติดโบขาว อ้างแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ thairath.18 สิงหาคม 2563.สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563
  17. 10 เหตุการณ์เด่น พรรคอนาคตใหม่เปลี่ยนการเมืองไทยไปแค่ไหน themomentum.21 กุมภาพันธ์ 2563.สืบค้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2563
  18. รังสิมันต์ โรม เปิดใจ หลังกระแส ชาวเน็ตแห่ Save สะพัดโซเชียล,ข่าวสด 19 มิถุนายน 2563 สืบค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2563
  19. ตร.พัทยา อ้าง พ.ร.บ.คอมฯ จับผู้ใช้ทวิตเตอร์บัญชี "นิรนาม_" 20 กุมภาพันธ์ 2563.สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563
  20. 'นิรนาม_' ถูกจับคดีพ.ร.บ.คอมฯ เหตุทวิตเกี่ยวกับ ร.10 ศาลไม่ให้ประกัน อ้างเป็นเรื่องร้ายแรง