ผู้ใช้:Chainwit./ภาพข่าวโลกแห่งปี
รางวัล ภาพถ่ายสื่อมวลชนโลก (อังกฤษ: World Press Photo of the Year) เป็นส่วนหนึ่งของรางวัลภาพถ่ายสื่อมวลชนโลก (World Press Photo Awards) ซึ่งจัดโดยมูลนิธิภาพข่าวโลก สัญชาติเนเธอร์แลนด์
รางวัลนี้ถือเป็นรางวัลที่ทรงเกียรติและเป็นที่ปรารถนาสูงสุดรางวัลหนึ่งในวงการการถ่ายภาพข่าว โดยจะมอบให้กับภาพที่ "... ไม่เพียงแต่เป็นภาพข่าวที่เป็นภาพรวมของปีนั้น ๆ เท่านั้น แต่ยังเป็นตัวแทนของปัญหา สถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อวงการข่าว และแสดงให้เห็นถึงระดับการรับรู้ทางสายตาและความคิดสร้างสรรค์ที่โดดเด่น"[1]
คณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 10 คนยังเป็นผู้ตัดสินรางวัลเรื่องราวประกอบภาพประจำปี (World Press Photo Story of the Year) ให้กับเรื่องราวที่ประกอบด้วยภาพหลายภาพที่บอกเล่าประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องทางสังคมที่โดดเด่นด้วยความเข้มข้นของภาพถ่ายและความสำคัญของเนื้อหา เจ้าของรางวัลหลักทั้งสองรางวัลจะได้รับรางวัลเงินสดมูลค่า 5,000 ยูโร[2]
รายชื่อภาพข่าวแห่งปี
[แก้]ต่อไปนี้เป็นรายชื่อผู้ชนะรางวัลภาพข่าวแห่งปีทั้งหมดพร้อมข้อมูลเกี่ยวกับภาพแต่ละภาพ
ปีแข่งขัน | ช่างภาพ | ประเด็น | คำอธิบาย | ลิงค์ |
---|---|---|---|---|
1955 | Mogens von Haven | การแข่งขันรถจักรยานยนต์ | เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 1955 ที่สนามแข่งรถ Volk Mølle ในอัสเซนท็อฟท์ ประเทศเดนมาร์ก ผู้เข้าแข่งขันขับรถชนในระหว่างการแข่งขัน | ภาพ |
1956 | Helmuth Pirath | กลับบ้านจากสงคราม | นักโทษชาวเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่สองได้รับการปล่อยตัวโดยสหภาพโซเวียตและกลับมาพบกับลูกสาววัยสิบสองขวบของตนอีกครั้งในเยอรมนีตะวันออก ทั้งสองไม่ได้พบกันตั้งแต่ลูกสาวยังเป็นทารก | ภาพ |
1957 | ดักลาส มาร์ติน | การแบ่งแยกสีผิวในสหรัฐ | ดอรอที เคาส์ เป็นหนึ่งในนักเรียนเชื้อสายแอฟริกันคนแรกที่เข้าเรียนในโรงเรียนมัธยมแฮรี ฮาร์ดิง (Harry Harding High School) ในเมืองแชร์ลอท รัฐแคโรลินาเหนือ | ภาพ |
1958 | ไม่มีการมอบรางวัล | |||
1959 | สตานีสลาฟ เตเรบา | ฟุตบอล | ในเกมฟุตบอลระหว่างสปาร์ตาปราฮา กับ เชอร์เวนา ฮวีซดา บราติสลาวา ผู้รักษาประตู มีโรสลาฟ เชิร์ตเวิร์ตนีเซค ยืนบนสนามฟุตบอลท่ามกลางฝนที่โปรยปราย | ภาพ |
1960 | ไม่มีการมอบรางวัล | |||
1961 | ยาซูชิ นางาโอะ | การลอบสังหารอิเนจิโร อาซานูมะ | เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 1960 นักศึกษาขวาสุดโต่งวัย 17 ปี โอโตยะ ยามากูจิ สังหารนักการเมืองสังคมนิยม อิเนจิโร อาซานูมะ ด้วยดาบซามูไรขณะเขาพูดสุนทรพจน์ในโตเกียว | ภาพ |
1962 | Héctor Rondón Lovera | การก่อการกำเริบ El Porteñazo ในเวเนซูเอลา | ระหว่างการก่อกบฏ El Porteñazo ทหารนายหนึ่งที่กำลังสิ้นใจใช้มือเกาะนักบวชคนหนึ่งท่ามกลางการยิงปืนโดยรอบ | ภาพ |
1963 | มัลคอล์ม บราวน์ | การกดขี่ข่มเหงพุทธศาสนิกชนในเวียดนามใต้ | ภิกษุชาวเวียดนาม ทิก กว๋าง ดึ๊ก จุดไฟเผาตนเองจนถึงแก่มรณภาพเพื่อประท้วงการกดขี่ข่มเหงพุทธศาสนิกชนในรัฐบาลของโง ดิ่ญ เสี่ยม | ภาพ |
1964 | ดอน แม็กคัลลิน | วิกฤตการณ์ไซปรัส 1963-64 | สตรีชาวตุรกีไว้อาลัยแก่สามีของเธอที่เสียชีวิตในสงครามกลางเมืองระหว่างกรีกกับตุรกี | ภาพ |
1965 | เคียวอิจิ ซาวาดะ | สงครามเวียดนาม | แม่และลูกว่ายน้ำข้ามแม่น้ำใน Loc Thuong จังหวัดบิญดิ่ญ เพื่อหลบหนีการทิ้งระเบิดโดยสหรัฐ | ภาพ |
1966 | เคียวอิจิ ซาวาดะ | สงครามเวียดนาม | เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 1966 กองทัพสหรัฐลากร่างของนักรบเวียดกงมาด้านหลังรถ M113 ของตนเพื่อทำการฝังศพหลังการสู้รบในคืนก่อนหน้า ส่วนหนึ่งของยุทธการที่ซวยโบนจาง | ภาพ |
1967 | โค เรนท์เมสแทร์ | สงครามเวียดนาม | พลปืนของกองพันเอ็ม 48 มองผ่านลำปืนของตน ภาพนี้เป็นภาพถ่ายสีภาพแรกที่ได้รางวัล | ภาพ |
1968 | เอดดี อาดัมส์ | สงครามเวียดนาม | เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 1968 หัวหน้าตำรวจเวัยดนามใต้ Nguyễn Ngọc Loan ทำการประหารชีวิตนักโทษเวียดกง Nguyễn Văn Lém ด้วยการยิงเข้าที่ศีรษะบนท้องถนนของกรุงไซ่ง่อน | ภาพ |
1969 | Hanns-Jörg Anders | เดอะทรับเบิลส์ | บุคคลชาวไอริชคาทอลิกสวมหน้ากากกันก๊าซยืนอยู่หน้าผนังที่มีกราฟฟิตีเขียนว่า we want peace (เราต้องการสันติภาพ) ไม่นานก่อนจะถูกรมก๊าซน้ำตาโดยกองทัพอังกฤษ | ภาพ |
1970 | ไม่มีการมอบรางวัล | |||
1971 | ไม่มีการมอบรางวัล | |||
1972 | Wolfgang Peter Geller | การปล้นธนาคารในซาร์บรึคเคิน | การยิงตอบโต้หลังการปล้นธนาคารในซาร์บรึคเคินระหว่างโจรกับตำรวจ | ภาพ |
1973 | นิค อุต | สงครามเวียดนาม | Phan Thị Kim Phúc ในวัยเด็กและเด็กคนอื่น ๆ วิ่งหนีไปตามทางโดยที่เนื้อตัวเต็มไปด้วยแผลไหม้จากการทิ้งระเบิดนาปาล์มโดยเวียดนามใต้ | ภาพ |
1974 | ออร์ลันโด ลาโกส | รัฐประหารในชิลี 1973 | เมื่อวันที่ 11 กันยายน 1973 ประธานาธิบดี ซัลบาดอร์ อัลเลนเด ปรากฏตัวต่อหน้าวังประธานาธิบดีไม่นานก่อนการฆ่าตัวตาย นะหว่างปีโนเชต์ก่อการรัฐประหาร | ภาพ |
1975 | โอวี คาร์เทอร์ | ทุพภิกขภัยซาเฮลในประเทศไนเจอร์ | เด็กน้อยขาดอาหารอย่างรุนแรงในไนเจอร์ | ภาพ |
1976 | สแตนลี ฟอร์แมน | ภาพ บันไดหนีไฟถล่ม | ระหว่างเพลิงไหม้อาคารอะพาร์ตเมนต์หลังหนึ้งในบอสตัน ทางหนีไฟถล่มลงมาเป็นผลให้สตรีรายหนึ่งและลูกสาวบุญธรรมของเธอร่วงลงมาถึงแก่ชีวิต | ภาพ |
1977 | ฟรังซัว เดอมุลเดอร์ | สงครามกลางเมืองเลบานอน | ในเดือนมกราคม 1976 ผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์กลุ่มหนึ่งลี้ภัยจากสงครามกลางเมืองในนครเบรุต | ภาพ |
1978 | เลสลี ฮัมมอนด์ | อะพาร์ทายด์ | ตำรวจแอฟริกาใต้รมก๊าซน้ำตาผู้ประท้วงในมอตเตอร์ดาม ใกล้กับนครเคปทาวน์ | ภาพ |
1979 | Sadayuki Mikami | กรณีชุมชนซันริซูกะ | หลังความพยายามประท้วงการก่อสร้างท่าอากาศยานนาริตะไม่เป็นผลสำเร็จ ก่อนหน้าการเปิดตัวท่าอากาศยานอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคม 1978 มีการปะทะกันอย่างรุนแรงระหว่างผู้ประท้วงกับตำรวจควบคุมฝูงชน | ภาพ |
1980 | เดวิด เบอร์เน็ต | การล่มสลายของเขมรแดง | ในเดือนพฤศจิกายน 1979 สตรีคนหนึ่งถือลูกของตนในอ้อมแขนขณะพักพิงในค่ายผู้ลี้ภัยแห่งหนึ่งในจังหวัดสระแก้วใกล้กับพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา | ภาพ |
1981 | ไมก์ เวลส์ | ทุพภิกขภัยในการาโมยา ประเทศอูกันดา | ในเดือนเมษายน 1980 มิชชันนารีคนขาวในอูกันดาคนหนึ่งถือมือขนาดเล็กจิ๋วของเด็กชายชาวแอฟริกันที่กำลังอดอยาก | ภาพ |
1982 | Manuel Pérez Barriopedro | ความพยายามรัฐประหาร 23-F ในมาดริด | เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 1981 อันโตนิโอ เทเฌโร กล่าวพร้อมปืนในมือต่อหน้ารัฐสภาของสเปนขณะจับคณะรัฐบาลเป็นตัวประกัน | ภาพ |
1983 | Robin Moyer | สงครามในเลบานอน ปี 1982 | เมื่อวันที่ 18 กันยายน 1982 ศพผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ถูกพบเกลื่อนบนท้องถนนภายหลังการสังหารหมู่ในค่ายผู้ลี้ภัยซาบราและชาตีลาโดยกองกำลังฟาลังจิสต์คริสต์มาโรไนต์ | ภาพ |
1984 | Mustafa Bozdemir | แผ่นดินไหวปี 1983 ในตุรกี | เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 1983 หลังแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงในแอร์ซูรุม และ คาร์ส Kezban Özer พบลูกของเธอห้าคนถูกฝังทั้งเป็นในซากปรักหักพัง | ภาพ |
1985 | พาโบล บาร์ทอลอมยีว | ภัยพิบัติโภปาล | การฝังศพร่างของเด็กที่เสียชีวิตคนหนึ่งจากอุบัติเหตุสารเคมีของโรงงานสัญชาติอเมริกัน ยูเนียนคาร์บายด์ในโภปาล ประเทศอินเดีย | ภาพ |
1986 | ฟรังก์ ฟูเนียร์ | โอมีรา ซันเชซ | โอมีรา ซันเชซ เหยื่อของเหตุภูเขาไฟอาร์เมโรปะทุ เสียชีวิตหลังติดอยู่ในหลุมดินนาน 60 ชั่วโมง | ภาพ |
1987 | / Alon Reininger | เอดส์ | ผู้ป่วยโรคเอดส์ชาวอเมริกัน คีน มีกส์ (Ken Meeks) นั่งอยู่บนรถเข็น บนตัวเต็มไปด้วยรอยพยาธิสภาพที่เกิดจากคาโพซีส์ซาร์โคมา | ภาพ |
1988 | อันทอนี ซาว | การเลือกตั้งปี 1987 ในเกาหลีใต้ | ในวันที่ 18 ธันวาคม 1987 สตรีคนหนึ่งในคูโรเอนตัวต้านเกราะของตำรวจและอ้อนวอนให้ตำรวจมีเมตตาต่อลูกชายของเขาที่ถูกจับกุมจากการประท้วงต่อต้านรัฐบาลใหม่ที่ถูกกล่าวหาว่าโกงเลือกตั้งในเดือนก่อนหน้า | ภาพ |
1989 | เดวิด เทิร์นลีย์ | แผ่นดินไหวปี 1988 ในอาร์มีเนีย | ในเมืองเลนีนากัน บอรีส อับการ์ซียัน (Boris Abgarzian) ไว้อาลัยลูกชายวัย 17 ปีขอวตนที่เสียชีวิตจากแผ่นดินไหว | Image |
1990 | ชาร์ลี โคล | การสังหารหมู่บนจัตุรัสเทียนอันเหมิน | ผู้ประท้วงคนหนึ่งยืนขวางขบวนรถถังของกองทัพปลดปล่อยประชาชนใกล้กับจัตุรัสเทียนอันเหมินในปักกิ่ง | ภาพ |
1991 | Georges Merillon | ข้อพิพาทดินแดนคอซอวอ | ครอบครัวของนาชีม เอลชานี (Nashim Elshani) ล้อมรอบร่างของเขาซึ่งเสียชีวิตขณะประท้วงเพื่อเรียกร้องเอกราชของคอซอวอ | ภาพ |
1992 | เดวิด เทิร์นลีย์ | สงครามอ่าว | เคน โคแซคีวิกซ์ (Ken Kozakiewicz) ไว้อาลัยเพื่อนทหาร แอนดี แอลานิซ (Andy Alaniz) ซึ่งเสียชีวิตจากปืนลั่น | ภาพ |
1993 | เจมส์ แน็กวีย์ | ทุพภิกขภัยในโซมาเลีย | มาคดาชาวโซมาลียกร่างของลูกตนเองซึ่งเสียชีวิตจากการขาดสารอาหารอย่างุรนแรงขึ้นมา | ภาพ |
1994 | แลรี ทาเวิลล์ | ข้อพิพาทอาณาเขตปาเลสไตน์ | เด็กชาวปาเลสไตน์ชูปืนของเล่นขึ้นบนอากาศ | ภาพ |
1995 | เจมส์ แน็กวีย์ | การสังหารหมู่รวันดา | ชายชาวฮูตูถูกทำร้ายจนเสียโฉมโดยนักรบอินเตอร์ราฮัมเว หลังต้องสงสัยว่ามีส่วนช่วยเหลือแก่กบฏชาวทุตซี | ภาพ |
1996 | ลูเชียน แพร์คินส์ | สงครามเชเชนครั้งที่หนึ่ง | เด็กชายคนหนึ่งยิ่นหน้าออกจากรถบัสที่แน่นขนัดไปด้วยผู้ลี้ภัยขณะเดินทางลี้ภัยการสู้รบใกล้กับชาลีในแคว้นเชชนยา มุ่งหน้ากรอซนี | ภาพ |
1997 | ฟรังเซสโก ซีโซลา | สงครามกลางเมืองแองโกลา | เหยื่อที่ผิดรูปจากระเบิดกำลังเล่นในเมืองกูอีโต | ภาพ |
1998 | โฮซีน | สงครามกลางเมืองแองโกลา | สตรีไว้อาลัยเหยื่อจากการสังหารหมู่ในเบนทัลฮา | ภาพ |
1999 | เดย์นา สมิธ | ข้อพิพาทพรมแดนคอซอวอ | ญาติและมิตรสหายปลอบใจหม้ายของนักรบ KLA ที่ถูกยิงเสียชีวิตขณะออกตรวจตรา | ภาพ |
2000 | เคลาส์ บยอร์น ลาร์เซิน | สงครามคอซอวอ | ผู้ลี้ภัยบาวอัลเบเนีย-คอซอวอ เดินบนท้องถนนของเมืองคูคิช ประเทศอัลเบเนีย | ภาพ |
2001 | ลารา โจ เรแกน | การลี้ภัยในสหรัฐ | ผู้ลี้ภัยชาวเม็กซิโกทำงานหาเงินเลี้ยงลูกในสหรัฐ | ภาพ |
2002 | เอริก เรฟเนอร์ | วิกฤตผู้ลี้ภัยอัฟกานิสถาน | พิธีศพเด็กขายผู้ลี้ภัยชาวอัฟกานิสถานในค่ายผู้ลี้ภัยญาโลซาอี | ภาพ |
2003 | / Eric Grigorian | แผ่นดินไหวปี 2002 ในประเทศอิหร่าน | เด็กชายถือกางเกงของบิดาของเขาซึ่งเสียชีวิตจากแผ่นดินไหว | ภาพ |
2004 | ฌอง มาร์ค บูยู | สงครามอิรัก | นักโทษสงครามอิรักคลุมผ้าเหนือศีรษะขอวลูกชายตนขณะอยู่ที่ศูนย์กักกัน | ภาพ |
2005 | อรโก ทัตตา | แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย | สองวันหลังสึนามี สตรีชาวอินเดียไว้อาลัยญาติที่เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวและสึนามิในเมืองกุฑฑลูรุ รัฐทมิฬนาฑู | ภาพ |
2006 | ฟินบาร์ โอไรลี | ทุพภิกขภัยในไนเจอร์ | แม่และเด็กรอรับอาหารในทาฮูวา | ภาพ |
2007 | สเปนเซอร์ พลัต | สงครามเลบานอน | ชาวเลบานอนจำนวนหนึ่งนั่งรถเปิดประทุนผ่านซากอาคารที่ถูกทิ้งระเบิดในเบรุตใต้[3][4] | ภาพ |
2008 | ทิม ฮีเทอริงตัน | สงครามอัฟกานิสถาน | ทหารชาวอเมริกันยืนพักสายตา | ภาพ |
2009 | แอนทอนี เซา | วิกฤตการณ์สินเชื่อสับไพรม์ | เจ้าหน้าที่ติดอาวุธเดินผ่านบ้านหลังผู้อยู่อาศัยถูกไล่ออกหลังถูกยึดจำนอง | ภาพ |
2010 | ปีเอโตร มัสซูร์โซ | การเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่าน ปี 2009 | สตรีชาวอิหร่านตะโกนจากดาดฟ้าในเตหะรานเพื่อประท้วงผลการเลือกตั้ง | ภาพ |
2011 | โจดี บีเบอร์ | สตรีในรัฐบาลตอลิบาน | บีบี ไอชา (Bibi Aisha) วัย 18 ปี เสียโฉมหลังพยายามหลบหนีจากบ้านสามีในจังหวัดโอรูซกัน | ภาพ |
2012 | ซามูเอล อารันดา | การประท้วงในเยเมน, อาหรับสปริง | สตรีถือญาติที่บาดเจ็บของตนในมือ ภายในมัสยิดที่แปรสภาพมาเป็นโรงพยาบาลสนามให้กับผู้ประท้วงต่อต้านประธานาธิบดี อะลี อับดูลลอห์ ซาเลห์ ในซานา | ภาพ |
2013 | เพาล์ ฮันเซิน | เหยื่อจากปฏิบัติการเสาหลักกลาโหม | พิธีศพแก่เด็กหญิงวัยสองขวบ ซูฮาอิบ ฮีญาซี (Suhaib Hijazi) และเด็กชายวัยสามขวบ มูฮัมมัด (Muhammad) พี่ชาย ซึ่งถูกสังหารจากการโจมตีมิสไซล์ของอิสราเอลในนครกาซา | ภาพ |
2014 | จอห์น สแตนเมเยอร์ | ผู้อพยพชาวแอฟริกัน | Migrants on the shore of Djibouti City raise their cell phones in an attempt to capture an inexpensive signal from neighboring Somalia. | Image |
2015 | Mads Nissen[5][6][7] | Homophobia in Russia | The photo shows a gay couple during an intimate moment, reminding the beholder that life for lesbian, gay, bisexual or transgender (LGBT) people is becoming increasingly difficult in Russia. | Image |
2016 | Warren Richardson | European migrant crisis | A nocturnal image showing a man passing a baby through a barbed wire fence on the Serbia–Hungary border, namely between Horgoš (Serbia) and Röszke (Hungary). | Image |
2017 | Burhan Ozbilici | Assassination of Andrei Karlov | The photo shows police officer Mevlüt Mert Altıntaş standing next to Andrei Karlov, the Russian Ambassador to Turkey, moments after he shot him in the back. Altıntaş shot Karlov to protest Russia's involvement in the Syrian Civil War. | Image |
2018 | Ronaldo Schemidt | Crisis in Venezuela | José Salazar, 28, catches fire amid violent clashes with riot police during a protest against president Nicolás Maduro, in Caracas, Venezuela. Salazar was set alight when the gas tank of a motorbike exploded. He survived the incident with first and second-degree burns. President Maduro had announced plans to revise Venezuela's democratic system by forming a constituent assembly to replace the opposition-led National Assembly. | Image |
2019 | John Moore | Immigration policy of Donald Trump | A Honduran toddler cries as she and her mother are taken into custody by US border officials in McAllen, Texas. | Image |
2020 | Yasuyoshi Chiba | Sudanese coup d'état | The photo shows a young man reciting protest poems during a nightly power cut in Khartoum on 19 June 2019. He is surrounded by numerous people who illuminate him with their mobile phones and chant slogans for the restoration of civilian rule. In a time of violence and conflict, the jury chairman deliberately chose a photo that symbolises hope and does not depict war and violence. | Image |
2021 | Mads Nissen | COVID-19 pandemic | The image shows the first hug Rosa received in five months due to the coronavirus. In March, nursing homes in Brazil closed their doors to all visitors due to the COVID-19 pandemic, preventing millions of Brazilians from visiting their elderly relatives. Assistants were ordered to keep physical contact with vulnerable people to a minimum. A cuddle curtain was used to safely allow hugging.[8] | Image |
2022 | Amber Bracken[9][10] | Kamloops Residential School | The photo shows children's clothing hung on crosses commemorating the more than two hundred children who died of maltreatment, neglect and disease at the Kamloops Indian Residential School in British Columbia. | Image |
2023 | Evgeniy Maloletka[11][12] | Mariupol hospital airstrike | The photo shows a pregnant woman who was seriously injured in the shelling of the clinic and is carried away by helpers. Short time later, the woman and the unborn child are dead. | Image |
2024 | Mohammed Salem[13][14] | Israeli invasion of the Gaza Strip | The photo shows a woman holding the body of her niece, who was killed by an Israeli airstrike in Khan Yunis. | Image |
- ↑ "World Press Photo returns to USC Annenberg". annenberg.usc.edu.
- ↑ "Press Photo of the Year". Stern (ภาษาเยอรมัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 22 November 2007.
- ↑ Putz, Ulrike (28 February 2007). "Catering to a Lebanese Cliché: World Press Photo Mix-Up". Spiegel Online. สืบค้นเมื่อ 2019-10-11 – โดยทาง Spiegel Online.
- ↑ "Lebanon war image causes controversy". 8 March 2007. สืบค้นเมื่อ 2019-10-11 – โดยทาง news.bbc.co.uk.
- ↑ "Mads Nissen's Homophobia in Russia wins World Press Photo of the Year". British Journal of Photography, 12 February 2015. Accessed 8 May 2017
- ↑ "Intimate photograph of gay Russian couple wins World Press Photo of the Year 2014". The Independent, 12 February 2015. Accessed 8 May 2017
- ↑ "Photo of Loving Couple Wins World Press Photo Award". Time, 12 February 2015. Accessed 8 May 2017
- ↑ MIKE CORDER (April 14, 2021). "Coronavirus hug image named World Press Photo of the Year". Associated Press.
- ↑ Fidler, Matt (2022-04-07). "World Press Photo winners 2022 – in pictures". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2023-11-12.
- ↑ "World Press Photo Contest 2022: Global winners revealed". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2022-04-08. สืบค้นเมื่อ 2023-11-12.
- ↑ "World Press Photo awards 2023". ISSN 0140-0460. สืบค้นเมื่อ 2023-04-20.
- ↑ Fidler, Matt (20 April 2023). "World Press Photo 2023 contest global winners – in pictures". The Guardian. ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2023-04-20.
- ↑ "Reuters photographer wins World Press Photo of the Year with poignant shot from Gaza". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2024-04-18. สืบค้นเมื่อ 2024-04-18.
- ↑ Khomami, Nadia (2024-04-18). "War, grief and hope: the stories behind the World Press Photo award-winners". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-04-18.