ประชาคมการเมืองยุโรป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประชาคมการเมืองยุโรป
สัญลักษณ์ชั่วคราวของประชาคมการเมืองยุโรป
สัญลักษณ์ชั่วคราว
ที่ตั้งของประชาคมการเมืองยุโรป
ประเภทองค์กรระหว่างรัฐบาล
รัฐที่เข้าร่วม45
ก่อตั้ง
• การประชุมสุดยอดปราก
6 ตุลาคม พ.ศ. 2565
เว็บไซต์
https://epcsummit2023.md/

ประชาคมการเมืองยุโรป (อังกฤษ: European Political Community; EPC) เป็นเวทีสำหรับการหารือทางการเมืองและอภิปรายกลยุทธ์เกี่ยวกับอนาคตของยุโรป ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2565[1] กลุ่มนี้จัดการประชุมครั้งแรกในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ที่กรุงปราก โดยมีผู้เข้าร่วมจาก 44 ประเทศในยุโรป รวมทั้งประธานสภายุโรปและประธานคณะกรรมาธิการยุโรป[2]

ประวัติ[แก้]

ประชาคมการเมืองยุโรปได้รับการเสนอจัดตั้งในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 โดยแอมานุแอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส[3] ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปในขณะนั้น และในวันที่ 23–24 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เขาได้นำเสนออย่างเป็นทางการในที่ประชุมสภายุโรป[4] การประชุมของกลุ่มจัดให้มีขึ้นในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2565 โดยมีผู้แทนจาก 44 รัฐเข้าร่วม ซึ่งประเทศรัสเซียและประเทศเบลารุสถูกกันออกจากการเข้าร่วมประชาคม[5]

จุดมุ่งหมาย[แก้]

จุดมุ่งหมายของประชาคมการเมืองยุโรป คือการจัดให้มีเวทีของการประสานงานนโยบายของประเทศในยุโรปทั่วทั้งทวีป และเพื่อส่งเสริมการเจรจาทางการเมืองและความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างความมั่นคง เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรืองของทวีปยุโรป[4] โดยเฉพาะในเรื่องวิกฤตการณ์พลังงานยุโรป[6] นอกจากประเทศที่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรปแล้ว ประชาคมการเมืองยุโรปยังรวมถึงประเทศอื่นเช่น อาร์มีเนีย อาเซอร์ไบจาน จอร์เจีย ไอซ์แลนด์ มอลโดวา ตุรกี ยูเครน และสหราชอาณาจักร[1]

ระหว่างการประชุมสุดยอดครั้งแรก มีความเห็นพ้องว่าจะมีภารกิจที่นำโดยสหภาพยุโรปในบริเวณพรมแดนประเทศอาร์มีเนียกับประเทศอาเซอร์ไบจานเป็นระยะเวลาสองเดือน เพื่อตรวจสอบติดตามหลังวิกฤตการณ์เขตแดนอาร์มีเนีย–อาเซอร์ไบจาน[7]

การประชุมสุดยอด[แก้]

ผู้นำยุโรปในการประชุมสุดยอดประชาคมการเมืองยุโรปที่กรุงปราก

มีการคาดหมายว่าจะมีการจัดประชุมสุดยอดสองครั้งในแต่ละปี โดยสลับกันระหว่างประเทศในสหภาพยุโรปและนอกสหภาพยุโรป[1] การประชุมสุดยอดครั้งแรกเกิดขึ้นที่ปรากเมื่อวันที่ 6–7 ตุลาคม พ.ศ. 2565[8] ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีการถ่ายทอดสดโดยเครือข่ายยูโรวิชัน (Eurovision)[9]

เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2565 สหราชอาณาจักรประกาศว่าจะเข้าร่วมการประชุมและเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งถัดไป[10] มอลโดวายังเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในครั้งต่อไปเช่นกัน[11]

ครั้งที่ วันที่ ประเทศเจ้าภาพ สถานที่จัดงาน
1st 6–7 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ธงของประเทศเช็กเกีย เช็กเกีย ปราสาทปราก, ปราก
2nd ฤดูใบไม้ผลิ พ.ศ. 2566 ธงของประเทศมอลโดวา มอลโดวา คีชีเนา
3rd รอประกาศ  สเปน[2] รอประกาศ
4th รอประกาศ  สหราชอาณาจักร[2] รอประกาศ

ผู้เข้าร่วม[แก้]

ประเทศและองค์กรระหว่างประเทศที่เข้าร่วมในประชาคมการเมืองยุโรปคือ[12]

รัฐสมาชิกสหภาพยุโรป[แก้]

ประเทศอื่นในยุโรปที่เข้าร่วม[แก้]

ประเทศในยุโรปที่ไม่ได้เข้าร่วม[แก้]

ปริทัศน์[แก้]

บทความของสำนักข่าวแอสโซซิเอเต็ดเพรส (Associated Press) ระบุว่า "มีการวิจารณ์ว่าเวทีการประชุมใหม่นี้เป็นความพยายามที่จะระงับการขยายสมาชิกของสหภาพยุโรป อีกความเห็นหนึ่งเกรงว่าอาจกลายเป็นเพียงสถานที่พูดคุย ซึ่งมีการจัดประชุมปีละครั้งหรือสองครั้งแต่ไม่มีเนื้อหาหรือแรงผลักดันที่แท้จริง"[5] บทความสรุปว่า "ไม่มีการเสนองบประมาณหรือโครงการโดยสหภาพยุโรปและจะไม่มีการแถลงอย่างเป็นทางการหลังจากการประชุมสุดยอด การพิสูจน์ความสำเร็จน่าจะวัดจากการประชุมครั้งที่สองจะสามารถเกิดขึ้นจริงหรือไม่"[5]

มีรายงานว่าการสร้างเวทีใหม่นี้ "ทำให้เกิดความสับสน" ต่อสภายุโรป โดยโฆษกของสภาระบุว่า "ในด้านสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และหลักนิติธรรม ซึ่งประชาคมยุโรปมีอยู่แล้ว นั่นคือสภายุโรป"[5] คุณลักษณะของเวทีใหม่นี้คือ ประเทศรัสเซียและเบลารุสถูกกีดกันการเข้าร่วมโดยเจตนา[5] แต่นั่นไม่ได้อธิบายความจำเป็นในทันทีสำหรับหน่วยงานอื่น รัสเซียไม่ได้เป็นสมาชิกของสภายุโรปอีกต่อไป และมีเพียงเบลารุสเท่านั้นที่มีส่วนร่วมเพียงบางส่วนในฐานะที่ไม่ใช่สมาชิก

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. 1.0 1.1 ประเทศซึ่งไม่ได้รับการรับรองโดยฉันทามติจากผู้เข้าร่วม

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Tidey, Alice (5 ตุลาคม 2022). "What we know and don't know about the new European Political Community". euronews (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2022.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Meeting of the European Political Community, 6 October 2022". www.consilium.europa.eu (ภาษาอังกฤษ). 6 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2022.
  3. Brzozowski, Alexandra; Basso, Davide; Vasques, Eleonora (9 พฤษภาคม 2022). "Macron teases alternative to EU enlargement". www.euractiv.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2022.
  4. 4.0 4.1 "Conclusions du Conseil européen, 23 et 24 juin 2022 - Présidence française du Conseil de l'Union européenne 2022". Présidence française du Conseil de l'Union européenne (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2022.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 Lorne Cook; Karel Janicek; Sylvie Corbet (6 ตุลาคม 2022). "Europe holds 44-leader summit, leaves Russia in the cold". Associated Press. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2022.
  6. Cohen, Roger (6 ตุลาคม 2022). "Macron's New Europe Debuts in the Shadow of War". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2022.
  7. "Leaders Of Armenia, Azerbaijan Agree To Civilian EU Mission Along Border". RadioFreeEurope/RadioLiberty.
  8. "Informal meeting of heads of state or government, Prague, 6–7 October 2022". www.consilium.europa.eu (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 กรกฎาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2022.
  9. "Eurovision Services: Informal EU 27 Summit and Leaders Meeting within the European Political Community". www.eurovision.net (ภาษาอังกฤษ). 10 กรกฎาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2022.
  10. "Brexit Britain wants to come back". POLITICO (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 29 กันยายน 2022. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2022.
  11. "What is the European Political Community?". House of Commons Library. 6 ตุลาคม 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2022.
  12. "European Political Community". Czech Presidency of the Council of the European Union.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]