ยูโรวิชัน (เครือข่าย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูโรวิชัน
การสร้างแบรนด์Eurovision, ยูโรวิชัน
สำนักงานใหญ่สวิตเซอร์แลนด์ เจนีวา, สวิตเซอร์แลนด์
เจ้าของสหภาพการแพร่สัญญาณวิทยุและโทรทัศน์แห่งยุโรป
วันที่เปิดตัว
6 มิถุนายน 1954; 69 ปีก่อน (1954-06-06)
เว็บไซต์ทางการ
eurovision.net

ยูโรวิชัน คือเครือข่ายโทรคมนาคมโทรทัศน์ภาคพื้นยุโรป กำกับและควบคุมโดย สหภาพการแพร่สัญญาณวิทยุและโทรทัศน์แห่งยุโรป (EBU) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1954 ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และทำการส่งสัญญาณอย่างเป็นทางการครั้งแรกในวันที่ 6 มิถุนายน 1954

การออกอากาศรายการสำคัญในยุโรป จะออกอากาศผ่านการเชื่อมต่อสัญญาณจากยูโรวิชันไปยังสมาชิกของสหภาพฯ สมาชิกสหภาพจะทำการแบ่งปันภาพข่าวผ่านศูนย์แลกเปลี่ยนข่าวยูโรวิชัน (อังกฤษ: Eurovision news exchange) ทั้งนี้ยังมีการแลกเปลี่ยนรายการต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายนี้ด้วย

สหภาพการแพร่สัญญาณวิทยุและโทรทัศน์แห่งยุโรป ได้กำกับและควบคุมในส่วนของวิทยุด้วยในชื่อ Euroradio ตั้งแต่ปี 1989

ภูมิหลัง[แก้]

ชื่อ ยูโรวิชัน (อังกฤษ: Eurovision) เกิดขึ้นโดยนักข่าวชาวอังกฤษ จอร์ช แคมปีย์ (อังกฤษ: George Campey) ในขณะที่เป็นนักข่าวให้กับหนังสือพิมพ์ อีฟนิง สแทนดาร์ด (อังกฤษ: Evening Standard) และเรื่องนี้ได้รับการรับรองโดย EBU เพื่อนำไปใช้เป็นเครือข่าย[1]

การออกอากาศครั้งแรก เกิดขึ้นในวันที่ 6 มิถุนายน 1954 โดยเป็นการถ่ายทอดสดงานเทศกาลดอกนาร์ซิสซัส ที่เมืองมงเทรอ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ต่อด้วยรายการภาคค่ำจากกรุงโรม รวมถึงการไปเยี่ยมชมวาติกัน คำปราศรัยจากสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 และการอวยพรจากอัครสาวก[2][3]

ยูโรวิชันได้รับการควบคุม กำกับและดูแลโดยแผนกปฏิบัติการยูโรวิชันของสหภาพการแพร่สัญญาณวิทยุและโทรทัศน์แห่งยุโรป ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดในยุโรป อเมริกา ตะวันออกกลาง แอฟริกาตอนเหนือ และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงการครอบคลุมเฉพาะกิจในแอฟริกา และขอบแปซิฟิก

ยูโรวิชันไม่ได้จำกัดเฉพาะในยุโรปเท่านั้น ปัจจุบัน EBU ครอบคลุมองค์กรกระจายเสียงโทรทัศน์ 75 แห่งที่ตั้งอยู่ใน 56 ประเทศในยุโรป แอฟริกาเหนือ และตะวันออกกลาง นอกจากนี้ ยังมีองค์กรกระจายเสียงที่เกี่ยวข้อง 61 แห่งในยุโรป แอฟริกา อเมริกา เอเชีย และโอเชียเนีย

กิจกรรม[แก้]

สหภาพการแพร่สัญญาณวิทยุและโทรทัศน์แห่งยุโรปร่วมมือกับสถานีโทรทัศน์แม่ข่ายที่เกี่ยวข้อง ในจัดการแข่งขันและกิจกรรมที่สมาชิกสหภาพฯ สามารถเข้าร่วมได้ตามที่ต้องการ ซึ่งรวมไปถึง:

การประกวดเพลงยูโรวิชัน[แก้]

การประกวดเพลงยูโรวิชัน (อังกฤษ: Eurovision Song Contest; ฝรั่งเศส: Concours Eurovision de la Chanson)[4] เป็นการแข่งขันร้องเพลงนานาชาติประจำปีที่จัดขึ้นครั้งแรกที่เมืองลูกาโน ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ วันที่ 24 พฤษภาคม 1956 โดยมีเจ็ดประเทศเข้าร่วม แต่ละประเทศส่งเพลงสองเพลง รวมเป็น 14 เพลง โดยครั้งนี้เป็นครั้งเดียวที่หนึ่งประเทศสามารถส่งเพลงเข้าประกวดได้มากกว่าหนึ่งเพลง ตั้งแต่ปี 1957 ทุกประเทศสามารถส่งเพลงเข้าประกวดได้เพียงหนึ่งเพลงเท่านั้น ในการประกวดเพลงยูโรวิชันปี 1956 ประเทศที่ชนะคือสวิตเซอร์แลนด์ เจ้าภาพในปีนั้น[5] ในการแข่งขันนี้ เฉพาะประเทศที่เป็นสมาชิกของสหภาพฯ เท่านั้นที่สามารถเข้าร่วมได้[6] ผู้ชนะคนแรกคือ ลิส อาเซีย จากสวิตเซอร์แลนด์

เลตเดอะพีเพิลส์ซิง[แก้]

เลตเดอะพีเพิลส์ซิง (อังกฤษ: Let the Peoples Sing) เป็นการแข่งขันร้องประสานเสียงล้มลุก ซึ่งผู้เข้าร่วมจะได้รับการคัดเลือกจากรายการวิทยุที่สมาชิกวิทยุของสหภาพฯ ในรอบชิงชนะเลิศ จะแบ่งเป็นสามประเภทและคณะนักร้องประสานเสียงประมาณสิบคณะ ซึ่งรายการจะนำเสนอเป็นการถ่ายทอดสดให้กับสมาชิกสหภาพฯ ผู้ชนะโดยรวมจะได้รับรางวัล ซิลเวอร์โรสโบวล์ (อังกฤษ: Silver Rose Bowl)

เฌอซ็องฟรงเตียร์[แก้]

เฌอส์ซ็องฟรงเตียร์ (อังกฤษ: Games Without Frontiers; ฝรั่งเศส: Jeux sans frontières) เป็นรายการเกมโชว์ทางโทรทัศน์ทั่วยุโรป เดิมออกอากาศตั้งแต่ปี 1965 ถึงปี 1999 ภายใต้การกอุปถัมภ์ของ EBU รายการต้นฉบับยุติลงในปี 1982 และรื้อฟื้นในปี 1988 โดยสถานีโทรทัศน์เล็ก ๆ จากชาติต่าง ๆ

ยูโรวิชันยังมิวสิกเชียนส์[แก้]

ยูโรวิชันยังมิวสิกเชียนส์ (อังกฤษ: Eurovision Young Musicians) เป็นการแข่งขันสำหรับนักดนตรียุโรปที่มีอายุน้อยกว่า 19 ปี จัดขึ้นโดย EBU และสมาชิกการแข่งขันดนตรีเพื่อเยาวชนแห่งสหภาพยุโรป (อังกฤษ: European Union of Music Competitions for Youth; EMCY) การแข่งขันครั้งแรกจัดขึ้นที่เมืองแมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 1982

การแข่งขันทางโทรทัศน์จะจัดขึ้นทุก ๆ สองปี โดยบางประเทศจะมีการแข่งขันระดับชาติเพื่อคัดเลือกตัวแทน นับตั้งแต่ปี 1982 การแข่งขันยูโรวิชันยังมิวสิกเชียนส์ได้กลายเป็นหนึ่งในการแข่งขันดนตรีที่สำคัญที่สุดในระดับนานาชาติ

ยูโรวิชันยังแดนเซอร์ส[แก้]

ยูโรวิชันยังแดนเซอร์ส (อังกฤษ: Eurovision Young Dancers) เป็นงานแสดงนาฏยศิลป์ที่ออกอากาศทางโทรทัศน์ทั่วยุโรป การแข่งขันครั้งแรกจัดขึ้นที่เมืองเรจโจเอมีเลีย ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 1985

รูปแบบคล้ายกับการประกวดเพลงยูโรวิชัน ทุกประเทศที่เป็นสมาชิกของ EBU มีโอกาสส่งท่าเต้นเพื่อชิงตำแหน่ง "นักเต้นเยาวชนยูโรวิชัน" การแสดงสามารถเป็นได้ทั้งการแสดงเดี่ยวหรือคู่เต้นรำ และผู้เข้าแข่งขันทุกคนต้องมีอายุระหว่าง 16 ถึง 21 ปีและไม่ได้มีส่วนร่วมทางวิชาชีพ

การประกวดเพลงจูเนียร์ยูโรวิชัน[แก้]

การประกวดเพลงจูเนียร์ยูโรวิชัน (อังกฤษ: Junior Eurovision Song Contest; ฝรั่งเศส: Concours Eurovision de la Chanson Junior),[7] เป็นการประกวดร้องเพลงนานาชาติประจำปีสำหรับรุ่นอายุต่ำกว่า 16 ปี จัดขึ้นครั้งแรกที่เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2003. สิบหกประเทศเข้าร่วมในการประกวดครั้งแรก โดยแต่ละประเทศส่งเพลงได้ประเทศละหนึ่งเพลง ผู้ชนะในครั้งแรกมาจากโครเอเชีย

การประกวดเต้นยูโรวิชัน[แก้]

การประกวดเต้นยูโรวิชัน (อังกฤษ: Eurovision Dance Contest) เป็นการแข่งขันเต้นระดับนานาชาติที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในลอนดอน สหราชอาณาจักร ณ วันที่ 1 กันยายน 2007. การแข่งขันเกิดขึ้นเพียงสองครั้ง อีกครั้งในปี 2008 เมื่อจัดขึ้นที่เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร และยังไม่มีการจัดการแข่งขันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ยูโรวิชันเมจิกเซอร์คัสโชว์[แก้]

ยูโรวิชันเมจิกเซอร์คัสโชว์ (อังกฤษ: Eurovision Magic Circus Show) เป็นรายการบันเทิงที่จัดโดย EBU ซึ่งเริ่มในปี 2010 และสิ้นสุดในปี 2012 เด็กอายุระหว่าง 7-14 ปี ซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศสมาชิก EBU ได้แสดงละครสัตว์ต่าง ๆ ที่ Geneva Christmas Circus (ฝรั่งเศส: Cirque de Noël Genève) การแสดงหลักยังมาพร้อมกับ Magic Circus Show Orchestra[8]

การประกวดร้องประสานเสียงยูโรวิชัน[แก้]

การประกวดร้องประสานเสียงยูโรวิชัน (อังกฤษ: Eurovision Choir) (เดิมชื่อ การประกวดร้องประสานเสียงยูโรวิชันประจำปี อังกฤษ: Eurovision Choir of the Year) เป็นกิจกรรมใหม่ที่เปิดตัวโดย EBU และเป็นกิจกรรมล่าสุดที่จะเปิดตัวตั้งแต่งานยูโรวิชันเมจิกเซอร์คัสโชว์ กิจกรรมนี้ประกอบด้วยนักร้องประสานเสียงสมัครเล่นที่เป็นสมาชิกของ EBU โดยมีการแข่งขันครั้งแรกในวันที่ 22 กรกฎาคม 2017 ซึ่งจัดโดยสถานีโทรทัศน์แห่งชาติลัตเวีย (LTV) ซึ่งตรงกับพิธีปิดการแข่งขัน European Choir Games 2017[9] การประกวดครั้งที่ 2 ในปี 2019 ที่เมืองกอเทนเบิร์ก ประเทศสวีเดน[10] ในเดือนมิถุนายน 2021 Interkultur ประกาศยกเลิกการแข่งขัน โดยไม่มีการประกาศสถานีแม่ข่ายเจ้าภาพ[11]

การแข่งขันกีฬาชิงแชมป์ยุโรป[แก้]

การแข่งขันกีฬาชิงแชมป์ยุโรป (อังกฤษ: European Sports Championships) เป็นการแข่งขันกีฬาหลายประเภทที่เกี่ยวข้องกับกีฬาชั้นนำในยุโรป หน่วยงานที่รับผิดชอบทางด้านกีฬาของยุโรปสำหรับกรีฑา ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน พายเรือ และไตรกีฬา จะจัดการแข่งขันระดับบุคคล[12] ซึ่งจัดขึ้นตามเมืองต่าง ๆ ในช่วงฤดูร้อนปี 2018 ที่เบอร์ลิน (ได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์ยุโรป 2018) and กลาสโกว์ (ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาทางน้ำชิงแชมป์ยุโรป ประจำปี 2018).[13][14]

การประกวดเพลงยูโรวิชันเอเชีย[แก้]

การประกวดเพลงยูโรวิชันเอเชีย (อังกฤษ: Eurovision Asia Song Contest) เป็นการประกวดเพลงยูโรวิชันในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก[15] การประกวดรอบปฐมทัศน์กำหนดให้มีการแสดงเพียงรายการเดียว[16] อย่างไรก็ตาม ในปี 2021 Josh Martin บรรณาธิการการของ SBS ยืนยันว่าการแข่งขันจะไม่เกิดขึ้นแม้จะมีแผนก่อนหน้านี้[17]

ข่าว[แก้]

สมาชิกของสหภาพฯ ยังได้จัดเตรียมภาพข่าวให้กันและกันอีกด้วย (มากกว่า 30,000 รายการข่าวต่อปี) ภายใต้กรอบของศูนย์แลกเปลี่ยนข่าวยูโรวิชันรายวัน (EVN) ยูโรวิชันยังสนับสนุนการประชุมอุตสาหกรรมข่าวออกอากาศประจำปี News Xchange แม้จะมีชื่อที่คล้ายคลึงกัน แต่ก็ไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับ Eurovision News Exchanges

ยูโรวิชันสปอร์ต[แก้]

ยูโรวิชันได้ให้บริการสตรีมมิงอินเทอร์เน็ตฟรีสำหรับการแข่งขันกีฬาสำคัญ เช่น การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกลอนดอน 2012 บนเว็บไซต์ของสหภาพฯ ภายใต้ชื่อยูโรวิชันสปอร์ต (อังกฤษ: Eurovision Sports)[18]

ยูโรวิชันสปอร์ตยังครอบคลุมการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกทั้งหมดในปี 2018 และ ปี 2022[19] และกำลังครอบคลุมการถ่ายทอดสดการแข่งขันว่ายน้ำชิงแชมป์โลก FINA ปี 2021[20]

ช่องยูโรสปอร์ต (อังกฤษ: Eurosport) ก่อตั้งขึ้นในปี 1989 โดย EBU เพื่อเป็นวิธีการใช้ประโยชน์จากสิทธิ์กีฬาของสถานีสมาชิก

อัตลักษณ์การออกอากาศ[แก้]

การส่งสัญญาณโทรทัศน์ของยูโรวิชัน เป็นที่รู้จักจากอัตลักษณ์ของยูโรวิชัน และธีมเปิดของเพลง "เต เดอุม" (ละติน: Te Deum) ของ มาร์ก-อ็องตวน ชาร์ป็องตีเย ซึ่งจะปรากฏก่อนและหลังรายการเพื่อแจ้งให้ผู้ชมทราบว่ารายการที่กำลังรับชมเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายยูโรวิชัน ช่วงที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด คือช่วงก่อนและหลังการประกวดเพลงยูโรวิชัน แม้ว่ารายการที่สนับสนุนส่วนใหญ่ เช่น การถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ รวมทั้งการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกจะไม่ได้รับการยกย่องและประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่ไม่ได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของยูโรวิชันในรายการนั้น ๆ

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Jefferson, Ed (11 พฤษภาคม 2018). "How a 17th century war, the Queen and a desperate Swiss TV executive led to Eurovision". New Statesman. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2022.
  2. "50 Years of Eurovision" (PDF). มกราคม 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 สิงหาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2022.
  3. "'Eurovision' Bows Ushering in Era". Variety. 2 มิถุนายน 1954. p. 1 – โดยทาง Archive.org.
  4. "Winners of the Eurovision Song Contest" (PDF). European Broadcasting Union. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 พฤษภาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2007.
  5. "Historical Milestones". European Broadcasting Union. 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 พฤษภาคม 2006. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2022.
  6. "Rules". Eurovision Song Contest. European Broadcasting Union (EBU). 12 มกราคม 2017. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2022.
  7. "Official information page" (ภาษาฝรั่งเศส). European Broadcasting Union. 10 ธันวาคม 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 กันยายน 2012. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2022.
  8. Burkhardt, Nadja (6 สิงหาคม 2012). "Eurovision Magic Circus Show". eurovisionshowcase.com. European Broadcasting Union. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2022.
  9. Granger, Anthony (8 สิงหาคม 2016). "EBU to launch "Choir of the Year" contest". eurovoix.com. Eurovoix. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2022.
  10. "Eurovision Choir of the Year 2019 to Be Held in Gothenburg". eurovoix.com. Eurovoix. 8 กรกฎาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2022.
  11. "Interkultur confirms Eurovision Choir 2021 is cancelled, no plans for a future edition". wiwibloggs (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 28 มิถุนายน 2021. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2022.
  12. "Leading sports bring together their European Championships in 2018" (PDF) (media release). 26 มีนาคม 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 สิงหาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2022.
  13. "European Athletics – Leading sports bring together their European championships in 2018". european-athletics. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2022.
  14. "Rowing joins the innovative European Sports Championships". www.worldrowing.com. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2022.
  15. Jordan, Paul (18 สิงหาคม 2017). "The Greatest Song Contest in the World is coming to Asia!". eurovision.tv. European Broadcasting Union. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2022.
  16. "Three cities interested in hosting Eurovision Asia". eurovoix-world.com. Eurovoix. 19 พฤษภาคม 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2022.
  17. Carter, Ford (25 พฤษภาคม 2021). "SBS drops plans for Eurovision Asia". aussievision (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2022.
  18. "Eurovision Sports Live". Eurovision. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2022.
  19. Union (EBU), European Broadcasting (30 มีนาคม 2012). "EBU in European media rights deal with FIFA for 2018 and 2022 FIFA World Cups™". www.ebu.ch (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2022.
  20. Sutherland, James (14 December 2021). "British Swimming Teams Up With Eurovision For SC Worlds Live Stream". SwimSwam. Retrieved 14 December 2021.

เชื่อมต่อภายนอก[แก้]