ข้ามไปเนื้อหา

หมู่บ้านป่าขนุน

พิกัด: 17°38′46″N 100°07′57″E / 17.646019°N 100.132579°E / 17.646019; 100.132579
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก บ้านป่าขนุน)
หมู่บ้านป่าขนุน
Ban Pa Khanun


ชาวบ้านป่าขนุนในปี พ.ศ. 2500
ขณะร่วมกันปราบพื้นที่เพื่อสร้างโรงเรียนประจำหมู่บ้าน

พิกัดภูมิศาสตร์:17.61891° 100.18991°

ข้อมูลทั่วไป
ตำบล คุ้งตะเภา
อำเภอ เมือง
จังหวัด อุตรดิตถ์
รหัสไปรษณีย์ 53000
การปกครอง
ผู้ใหญ่บ้าน นาย ปฐวี มีประไพ[1]
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 1,320 ไร่
ประชากร 1,650 คน (พ.ศ. 2545)
ครัวเรือน 359 หลัง
แหล่งน้ำสำคัญ แม่น้ำน่าน
เส้นทางคมนาคมหลัก ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11

หมู่บ้านป่าขนุน หรือ บ้านป่าขนุน เป็นหมู่บ้านหนึ่งในตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท มีวัดประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง และ โรงเรียนระดับพื้นฐาน 1 โรง มีเส้นทางคมนาคมหลักคือถนนเอเชีย (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11) ด้านเศรษฐกิจ ชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ [2]

ความเป็นมาชื่อหมู่บ้าน

[แก้]
บ้านเรือนแบบเก่าในหมู่บ้านป่าขนุน

หมู่บ้านป่าขนุนเดิมเป็นพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ เป็นพื้นที่ราบลุ่มจากดินตะกอนแม่น้ำพัดของแม่น้ำน่าน มีบุ่งน้ำหลายแห่ง คือบุ่งตาดำ, บุ่งตาด้วน และบุ่งตาสัก (ปัจจุบันเหลือเพียงบุ่งตาดำ) เดิมในแถบนี้ไม่มีผู้คนอยู่อาศัย จนในประมาณปี พ.ศ. 2395[3] เริ่มมีผู้คนโยกย้ายถิ่นฐานมาจับจองพื้นที่ จนกลายเป็นบริเวณหมู่บ้านป่าขนุนในปัจจุบัน โดยคนกลุ่มแรกที่ย้ายมาตั้งถิ่นฐานแถบนี้เล่ากันว่าคือกลุ่ม ขุนภูมิคุ้งตะเภา คือกลุ่มคนที่มีภูมิสถานสืบเชื้อสายดั้งเดิมมาจากหมู่บ้านคุ้งตะเภา อันเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในลุ่มแม่น้ำน่านฝั่งขวาตอนบนรองจากเมืองฝาง (เมืองฝางสว่างคบุรี)

เชื่อกันว่าคนกลุ่มแรก ๆ ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานคือตระกูลของนายแกะ นายมิ่ง ที่สืบเชื้อสายตระกูลมีชำนะ สาเหตุที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนทำไร่นาแถบนี้เพราะบริเวณหมู่บ้านป่าขนุนในสมัยนั้นเป็นป่าไม้อุดมสมบูรณ์ ดังปรากฏไม้ตะเคียนโบราณที่วัดป่าขนุน (วัดใหม่เจริญธรรม) ชักลากขึ้นมาจากแม่น้ำน่าน ที่มีขนาดใหญ่โตหลายคนโอบ บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของหมู่บ้านแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี

หลังจากตั้งบ้านเรือนในแถบนี้ ชาวบ้านป่าขนุนก็ถือว่าตนเป็นคนคุ้งตะเภา มีการพบปะสังสรรค์ทำบุญกับชาวหมู่บ้านคุ้งตะเภาที่วัดคุ้งตะเภาในฐานะญาติพี่น้องเสมอมา จนมาในช่วงหลังบ้านเรือนแถบนี้มีมากขึ้น ทั้งจากคนภายนอกที่อพยพมาจากแห่งอื่นและคนในหมู่บ้านเอง และด้วยการที่สภาพของหมู่บ้านแถบนี้เหมาะแก่การตั้งหมู่บ้านใหม่ ทางการจึงได้แยกกลุ่มบ้านแถบนี้ออกตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ โดยใช้ชื่อหมู่บ้านว่า บ้านป่าขนุน เพราะเป็นคำเรียกที่เรียกกันมาแต่เดิม ที่นิยมเรียกแถบนี้ว่าป่าขนุน ตามลักษณะพื้นที่ที่มีต้นขนุนมาก เหมือนกับบ้านป่ากล้วยหรือบางโพ ที่มีต้นกล้วยหรือต้นโพธิ์ขึ้นเป็นกลุ่มจำนวนมากจนทำให้ชาวบ้านนิยมเรียกตำบลแถบนั้นตามลักษณะที่ปรากฏ

จนมาในปีพ.ศ. 2482 นายแกะ มีชำนะ ผู้ใหญ่บ้านป่าขนุน ได้ริเริ่มสร้างวัดประจำหมู่บ้านแห่งใหม่ แทนวัดคุ้งตะเภา ที่อยู่ไกลออกไปกว่ากิโลเมตร เพื่อความสะดวกในการทำบุญกุศล โดยมีการสร้างศาลาการเปรียญและกลุ่มกุฎิจำนวนหนึ่ง ซึ่งศาลาการเปรียญที่สร้างในครั้งนั้นก็ยังคงอยู่และใช้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ของวัดและชุมชนมาตลอดมาจนถึงปัจจุบัน[4]

สภาพด้านสังคม

[แก้]

สภาพภูมิศาสตร์

[แก้]

อาณาเขตติดต่อ

[แก้]

ลักษณะโครงสร้างพื้นฐาน

[แก้]

สาธารณูปโภค

[แก้]

การปกครอง

[แก้]

เศรษฐกิจ

[แก้]

วัฒนธรรมประเพณี

[แก้]

ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธเถรวาท ประเพณีต่างๆ ยึดถือปฏิบัติเหมือนกันกับชาวพุทธเถรวาทในแถบใกล้เคียง เช่น บวชพระ ประเพณีแต่งงาน งานศพ ฯลฯ

วัดประจำหมู่บ้าน

[แก้]
อุโบสถวัดใหม่เจริญธรรม สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2539

วัดใหม่เจริญธรรม ดำเนินการก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2482 ในหมู่ที่ 3 บ้านป่าขนุน ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ในสมัยนายแกะ มีชำนะ เป็นผู้ใหญ่บ้าน โดยมีผู้มีจิตศรัทธามอบที่ดินให้สร้างวัด คือ นายแกะ มีชำนะ ผู้ใหญ่บ้าน นายพูน คงนิล และนางหยวก พรมแดง รวมกัน มีที่ดินประมาณ 4 ไร่ 2 งาน และนายพูน คงนิล นายบุญ สุขวิทย์ บริจาคเรือนคนละ 1 หลัง สร้างเป็นกุฏิ นางเตียก ไม่ทราบนามสกุล บริจาคบ้าน 1 หลัง สร้างศาลาการเปรียญชั่วคราว ขนาดกว้าง 12 วา ยาว 12 วา ต่อมาได้มีการสร้างศาลาการเปรียญหลังใหญ่ขึ้น ขนาดกว้าง 20 วา ยาว 30 วา มีที่ดินทั้งสิ้น 7 ไร่ 2 งาน 13 ตารางวา และได้รับพระราชวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539

ดูเพิ่มได้ที่ วัดใหม่เจริญธรรม'

โรงเรียนประจำหมู่บ้าน

[แก้]

โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2500 เดิมชื่อ โรงเรียนวัดใหม่เจริญธรรม เป็นโรงเรียนประจำหมู่บ้านป่าขนุน มีครูใหญ่คนแรกชื่อ นายแฮ ประมวลทรัพย์ แรกทำการสอนมีนักเรียน 111 คน ครูจำนวน 3 คน เปิดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา ต่อมาได้ขยายการเรียนการสอนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา จนถึงปัจจุบัน

ดูเพิ่มได้ที่ โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา'

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ข้อมูลรายชื่อผู้ใหญ่บ้านจาก เว็บไซด์องค์การบริหารส่วนตำบลคุ้งตะเภา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-18. สืบค้นเมื่อ 2008-01-10.
  2. กลุ่มอำนวยการงานพัฒนาข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา.เอกสาร : ข้อมูลสารสนเทศโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา ประจำปีการศึกษา 2550.อุตรดิตถ์ : โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา, 2550
  3. นุชนารถ พรมลัภ. (2545). การประเมินโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง : กรณีศึกษาบ้านป่าขนุน หมู่ที่ 3 ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. สารนิพนธ์ ป.กศ. (หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาการจัดการและการประเมินโครงการ). อุตรดิตถ์ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์. อัดสำเนา
  4. เทวประภาส มากคล้าย เปรียญ.. (2551). สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น : ประเพณีวัฒนธรรมและพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของวัดและหมู่บ้านคุ้งตะเภา. อุตรดิตถ์: วัดคุ้งตะเภา

ร้านค้าประจำหมูบ้าน

[แก้]

ร้านป่าขนุนบริการ เดิ่มชื่อว่า ป่าขนุนมินิมาร์ท ก่อตั่งโดย คุณ สุรินทร์ คงนิล(พ่อ) เจ้าของร้านโชว์ห่วยชาวจีน ที่ริเริ่มร้านค้าแห่งแรกในป่าขนุน หลังจากนั้นคุณสุรินทร์ได้เสียชีวิตลง คุณปิ่น คงนิล(แม่) จึงได้แต่งตั่งให้คุณจันทร์รอน เพ็งแก้ว(ลูกสาว) ขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทนคุณพ่อและได้ขึ้นตำแหน่งเป็นกรรมการบริหารในปัจจุบัน คุณจันทร์รอนได้พัฒนาธุรกิจให้รุ่งเรื่องขึ้นเรื่อยๆและมีผู้คนรู้จักมากมาย และต่อยอดพัฒนาธุรกิจน้ำมันเชื่อเพลิง ธุรกิจน้ำแข็งอนามัย และธุรกิจจำหน่ายของปลีก-ส่ง และได้มีการรับสมัครเพิ่มมากขึ้นจนในขณะนี้ธุรกิจต้องใช้บุคลากรมากกว่า10คน หลังจากนั้นไม่นานทางผู้บริหารจึงได้จดทะเบียนให้เป็น ห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์รุ่งโรจน์ หรือสำนักงานใหญ่ในปัจุบัน...

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

[แก้]
  • นุชนารถ พรมลัภ. (2545). การประเมินโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง : กรณีศึกษาบ้านป่าขนุน หมู่ที่ 3 ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. สารนิพนธ์ ป.กศ. (หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาการจัดการและการประเมินโครงการ). อุตรดิตถ์ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์. อัดสำเนา
  • เทวประภาส มากคล้าย เปรียญ.. (2551). สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น : ประเพณีวัฒนธรรมและพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของวัดและหมู่บ้านคุ้งตะเภา. อุตรดิตถ์: วัดคุ้งตะเภา

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

17°38′46″N 100°07′57″E / 17.646019°N 100.132579°E / 17.646019; 100.132579