อาร์เอส มิวสิค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก บิ๊กบลู เร็คคอร์ด)
บริษัท อาร์เอส มิวสิก จำกัด
อุตสาหกรรมMusic
ก่อตั้งพ.ศ. 2547
เลิกกิจการพ.ศ. 2561
สำนักงานใหญ่419/1 ซอย ลาดพร้าว 15 ถ.ลาดพร้าว แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
บุคลากรหลัก
ศุภชัย นิลวรรณ - กรรมการผู้จัดการ
ผลิตภัณฑ์Variety

อาร์เอส มิวสิก (RS Music) เป็นชื่อเรียกของธุรกิจเพลงส่วนกลางในเครือบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) โดยเคยเป็นหนึ่งในค่ายย่อยที่แยกตัวออกมาในช่วงที่มีการปรับโครงสร้างธุรกิจเพลงในช่วงปี 2546-2547 แต่ต่อมาค่ายย่อยอื่นหลายๆ ค่ายได้ทยอยลดสถานะและยุบรวมเข้าด้วยกัน จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายให้ชื่อ อาร์เอส มิวสิก เป็นชื่อกลางสำหรับหน่วยธุรกิจ และปัจจุบันก็ได้เปลี่ยนรูปแบบกลับมาเป็นค่ายเพลงหลักส่วนกลางตามเดิม

ประวัติ[แก้]

พ.ศ. 2547 ค่ายเพลง อาร์เอส มิวสิก เปิดตัวในฐานะ 1 ใน 11 ค่ายเพลงย่อย ของ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) อยู่ภายใต้การบริหารของ คุณ คมวิทย์ เชษฐโชติศักดิ์ และ ต้น ชาญกฤษณ์ บุญสิงห์ หัวหน้าทีมผลิตเพลง โดยส่งศิลปินเบอร์แรก นอยซ์ (Noize) ออกมาในช่วงกลางปี 2547

พ.ศ. 2548 แจ้งเกิดวงดนตรี แอม ฟายน์ จนถือว่าเป็นวงดนตรีที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดของทีมเพลงนี้ ได้ขณะเดียวกันมีการปรับโครงสร้างค่ายเพลงในเครือบริษัทอาร์เอสใหม่ ทำให้ ค่าย อะ-ฮ่า, แวมม์ และ บ้านโรงบ่ม ยุบรวมเข้ากับ อาร์เอส มิวสิก เกิดเป็นยูนิตย่อยชื่อ บิ๊กบลู เร็คคอร์ด (big BLUE Records)

พ.ศ. 2549 เปลี่ยนชื่อทีมเพลงของอาร์เอส มิวสิก ดั้งเดิม มาเป็นยูนิตย่อยชื่อ โน มิ้วท์ (No Mute) และยุบรวมเอาอีก 3 ค่ายเพลงย่อย มอนสเตอร์ มิวสิก, บั๊คทาวน์ เร็คคอร์ด และ เรียลแอนด์ชัวร์ เข้ามาเป็นยูนิตย่อย ร็อกสกิน (Rockskin)

พ.ศ. 2550 ยุบรวมเข้ากับค่ายเพลง เมโลดิก้า และอีก 2 ค่ายย่อยที่ถูกลดสถานะคือ อะบอริจินส์ และ จีโนม เร็คคอร์ด กลายเป็นค่ายส่วนกลางค่ายเดียวในชื่อ เมโลดิก้า ตามนโยบายของ ชมพู สุทธิพงษ์ วัฒนจัง

พ.ศ. 2551 เปลี่ยนชื่อค่าย เมโลดิก้า กลับมาเป็น อาร์เอส มิวสิก เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายที่จะให้เป็นค่ายเพลงส่วนกลางของบริษัท

พ.ศ. 2552 ชมพู สุทธิพงษ์ ลาออกจากบริษัท อาร์เอส ไปอยู่กับ โซนี่ มิวสิก จึงมีการปรับนโยบายให้หัวหน้าของทีมผลิตเพลงแต่ละทีมดูแลกันเอง แต่ยังคงใช้ชื่อส่วนกลาง อาร์เอส มิวสิก ในการทำการตลาด

พ.ศ. 2553 ปรับรูปแบบกลับมาเป็นค่ายเพลงหลักส่วนกลางของบริษัทตามที่เคยเป็นมาก่อน พ.ศ. 2547 โดยเน้นไปที่กลุ่มศิลปิน ป๊อบ, ร็อก ทั้งศิลปินหน้าเก่าและใหม่ แต่โดยรวมจะโตกว่าศิลปินวัยรุ่นในค่าย กามิกาเซ่

พ.ศ. 2554 เปิดค่ายย่อย การ์เด้น มิวสิค (Garden Music) เพื่อทำเพลงในแนวทางที่ต่างจากแนวแมสทั่วๆ ไป

พ.ศ. 2555 เปิดตัวค่ายเพลง โช มิวสิค (CHO Music and Entertainment)

พ.ศ. 2556 เปลี่ยนชื่อค่ายเป็น เยส มิวสิค (Yes! Music)

พ.ศ. 2558 ยุบค่าย โช มิวสิค และ ย้ายศิลปินรุ่นเก่าจากค่าย Kamikaze เข้ามาอยู่ในสังกัด

ศิลปินในสังกัดปัจจุบัน[แก้]

ในอดีต[แก้]