นิยม เวชกามา
นิยม เวชกามา | |
---|---|
นิยม เวชกามา ในปี พ.ศ. 2562 | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร เขต 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 | |
ก่อนหน้า | ตนเอง |
ถัดไป | ชาตรี หล้าพรหม |
เขตเลือกตั้ง | อำเภอกุสุมาลย์, อำเภอโพนนาแก้ว, อำเภอโคกศรีสุพรรณ, อำเภอเต่างอย และอำเภอภูพาน |
ดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 | |
ก่อนหน้า | เฉลิมชาติ การุญ ตนเอง ทวีวัฒน์ ฤทธิ์ฤๅชัย |
ถัดไป | ตนเอง |
เขตเลือกตั้ง | อำเภอกุสุมาลย์, อำเภอโพนนาแก้ว, อำเภอโคกศรีสุพรรณ, อำเภอเต่างอย และอำเภอเมืองสกลนคร (เฉพาะตำบลเหล่าปอแดง ตำบลโคกก่อง ตำบลดงชน ตำบลม่วงลาย และตำบลโนนหอม) |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร เขต 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ เฉลิมชาติ การุญ และ ทวีวัฒน์ ฤทธิ์ฤๅชัย | |
ก่อนหน้า | อภิชาติ ตีรสวัสดิชัย เฉลิมชัย อุฬารกุล เฉลิมชาติ การุญ |
ถัดไป | อภิชาติ ตีรสวัสดิชัย ตนเอง นริศร ทองธิราช |
เขตเลือกตั้ง | อำเภอเมืองสกลนคร, อำเภอกุสุมาลย์, อำเภอโพนนาแก้ว, อำเภอโคกศรีสุพรรณ, อำเภอเต่างอย, อำเภอภูพาน, อำเภอกุดบาก และ อำเภอพรรณานิคม |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร |
พรรคการเมือง | พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน) |
นิยม เวชกามา (เกิด 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2494) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร เขต 2 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 ในสังกัดพรรคพลังประชาชน ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย
ประวัติ
[แก้]นิยม เวชกามา เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 ที่อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เป็นบุตรของนายลี และนางคำผล เวชกามา สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีครุศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยครูสกลนคร ปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ปริญญาโทรัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาเอกพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต(สาขาพุทธจิตวิทยา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สมรสกับนางนลินี (สกุลเดิม วงศ์กาฬสินธุ์) มีบุตร 4 คน
งานการเมือง
[แก้]- รับราชการเป็นหัวหน้าสำนักงานประกันภัยจังหวัดสกลนคร สังกัดกระทรวงพาณิชย์
- พ.ศ. 2550 ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในสังกัดพรรคพลังประชาชน และได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ได้คะแนนมาเป็นอันดับที่ 2 ของเขต (มี ส.ส.ได้ 3 คน) ต่อมา พ.ศ. 2554 ลงสมัครและได้รับการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 สังกัดพรรคเพื่อไทย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]นิยม เวชกามา ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541) → พรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคเพื่อไทย
การอุปถัมภ์คุ้มครองพระพุทธศาสนา
[แก้]เป็นนักการเมืองที่มีบทบาทสำคัญในการอุปถัมภ์เชิดชูคุ้มครองพระพุทธศาสนาในการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรไทยและในรัฐสภาไทยที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาหลักสำคัญของประเทศชาติ[1]
- ร่างพระราชบัญญัติอุปถัมภ์และส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พ.ศ. ....
- ร่างพระราชบัญญัติธนาคารพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ....
- ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการเดินทางไปพุทธสังเวชนียสถาน พ.ศ. ....
- ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมพุทธศาสนิกชนในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ. ....
- ร่างพระราชบัญญัติสภาองค์กรส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา พ.ศ. ....
- คณะกรรมาธิการ ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม[2]
- ที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาด้านพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่นๆสภาผู้แทนราษฎรไทย[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2545 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ดร.มหานิยมเผยผลงาน 4 ปีแห่งความไว้วางใจ 4 ปีแห่งความภูมิใจ". banmuang.co.th (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "นายนิยม เวชกามา ส.ส. พรรคเพื่อไทยในฐานะ กมธ.การศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม รับยื่นหนังสือจาก ม.ร.ว.จิราคม กิติยากร ประธานเครือข่ายชมรมรวมใจภักดิ์". www.parliament.go.th.
- ↑ ""นิยม เวชกามา" พระสงฆ์ถูกดำเนินคดีอย่างไม่เป็นธรรม ย้ำ สำนักพุทธฯ ควรรับฟังผู้เชี่ยวชาญและราชบัณฑิตเพื่อหาทางออก". พรรคเพื่อไทย (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-05-24.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2021-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๓๐๘, ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๖
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- นายนิยม เวชกามา เก็บถาวร 2012-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายนิยม เวชกามา[ลิงก์เสีย], สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นายนิยม เวชกามา), ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2494
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอพรรณานิคม
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
- บุคคลจากสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.