ไซยาไนด์
มีข้อสงสัยว่าบทความนี้อาจละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ระบุไม่ได้ชัดเจนเพราะขาดแหล่งที่มา หรืออ้างถึงสิ่งพิมพ์ที่ยังตรวจสอบไม่ได้ หากแสดงได้ว่าบทความนี้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แทนป้ายนี้ด้วย {{ละเมิดลิขสิทธิ์}} หากคุณมั่นใจว่าบทความนี้ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แสดงหลักฐานในหน้าอภิปราย โปรดอย่านำป้ายนี้ออกก่อนมีข้อสรุป |
ชื่อ | |
---|---|
Preferred IUPAC name
Cyanide | |
Systematic IUPAC name
Nitridocarbonate(II) | |
เลขทะเบียน | |
3D model (JSmol)
|
|
ChEBI | |
เคมสไปเดอร์ | |
ผับเคม CID
|
|
UNII | |
| |
| |
คุณสมบัติ | |
CN− | |
มวลโมเลกุล | 26.018 g·mol−1 |
กรด | ไฮโดรเจนไซยาไนด์ |
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
|
ไซยาไนด์ (อังกฤษ: Cyanide) ลักษณะทางกายภาพ ไฮโดรเจนไซยาไนด์ ถ้าเป็นของเหลว จะเป็นของเหลวใส ระเหยเป็นแก๊สได้ง่าย ที่อุณหภูมิห้อง มีกลิ่นเฉพาะตัวเรียกว่ากลิ่นอัลมอนด์ขม (Bitter almond) เมื่อกลายเป็นแก๊ส จะเป็น แก๊สไม่มีสี มีกลิ่นอัลมอนด์ขมเช่นกัน สำหรับโซเดียมไซยาไนด์และโพแทสเซียมไซยาไนด์ เป็นของแข็ง มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาว มีกลิ่นอัลมอนด์ขมอ่อน ๆ คำอธิบาย ไซยาไนด์ (Cyanides) เป็นกลุ่มของสารเคมีที่มีไซยาไนด์ไอออน (CN-) เป็นองค์ประกอบ สารเคมีกลุ่มนี้มีความเป็นพิษสูงมาก ใช้ในการทำงานบางอย่าง เช่น การชุบโลหะ การสังเคราะห์สารเคมี การตรวจวิเคราะห์ทางเคมีในห้องปฏิบัติการ สารประกอบกลุ่มที่เป็นเกลือไซยาไนด์ (Cyanide salts) มีหลายชนิด ที่พบบ่อย เช่น โซเดียมไซยาไนด์ (Sodium cyanide) โพแทสเซียมไซยาไนด์ (Potassium cyanide) หรือพบในรูปเกลือชนิดอื่น ๆ เช่น แคลเซียมไซยาไนด์ (Calcium cyanide) ไอโอดีนไซยาไนด์ (Iodine cyanide) เป็นต้น เมื่อเกลือไซยาไนด์สัมผัสกับกรด หรือมีการเผาไหม้ของพลาสติกหรือผ้าสังเคราะห์ จะได้แก๊สไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Hydrogen cyanide) เกิดขึ้น แก๊สชนิดนี้มีพิษอันตรายเช่นเดียวกับเกลือไซยาไนด์ แต่แพร่กระจายได้ง่ายกว่า เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของการเสียชีวิตในผู้ที่สูดควันไฟกรณีที่มีไฟไหม้ในอาคาร นอกจากนี้ยังพบแหล่งของไซยาไนด์ในธรรมชาติได้จากสารอะมิกดาลิน (Amygdalin) ซึ่งพบได้ในเมล็ดของแอพพริคอท (Apricot) และเชอรรี่ดำ (Black cherry) และสารลินามาริน (Linamarin) ซึ่งพบได้ในหัวและใบของมันสำปะหลัง (Cassava) ในประเทศไทยพบมีรายงานพิษไซยาไนด์เนื่องจากการกินมันสำปะหลังได้บ้างพอสมควร และบางรายถึงกับทำให้เสียชีวิต
อันตรายของไซยาไนด์
ไซยาไนด์สามารถฆ่าคนได้อย่างรวดเร็ว สามารถเข้าสู่ร่างกายคนได้จากหลายเส้นทาง ทั้งการสูดก๊าซไซยาไนด์เข้าไป การกินไซยาไนด์ทั้งชนิดเม็ดและชนิดน้ำ หรือแม้แต่การสัมผัสกับสารไซยาไนด์ หากกินไซยาไนด์เข้าไปขณะท้องว่างจะใช้เวลาออกฤทธิ์เป็นหน่วยนาที แต่ถ้ามีอาหารอยู่เต็มกระเพาะแล้ว จะหน่วงเวลาเสียชีวิตเป็นหน่วยชั่วโมงแทน เพราะในกระเพาะเรามีกรดที่ใช้ในการย่อยอาหารอยู่ การกินเกลือไซยาไนด์เข้าไปขณะท้องว่าง ไซยาไนด์จะทำปฏิกิริยากับกรดในกระเพาะ เป็นก๊าซไซยาไนด์อยู่ในกระเพาะอาหารและออกฤทธิ์อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าสูดไฮโดรเจนไซยาไนด์เข้าไปจะเสียชีวิตภายในเวลาไม่กี่วินาที
ความเข้มข้นของไซยาไนด์ก็มีผลกับความเร็วมาก ถ้าจับคนล็อกไว้ในห้องก๊าซขนาด 1x1x1 เมตร แล้วปล่อยไฮโดรเจนไซยาไนด์เข้าไปประมาณ 300 มิลลิกรัม เขาจะเสียชีวิตในทันที แต่ถ้าปล่อยไฮโดรเจนไซยาไนด์ 150 มิลลิกรัมเข้าไป เขาจะมีเวลาอีกประมาณ 30 นาทีก่อนเสียชีวิต แต่ถ้าปล่อยก๊าซเข้าไปเพียง 20 มิลลิกรัม เขาจะยังไม่เสียชีวิต เพียงแต่จะมีอาการผิดปกติเล็กน้อยหลังจากนั้น
กลไกการออกฤทธิ์ของไซยาไนด์
กลไกการเกิดพิษของสารกลุ่มไซยาไนด์นั้น เกิดจากไปจับกับ Cellular Cytochrome Oxidase ทำให้เซลล์ใช้ออกซิเจนไม่ได้ (ยับยั้งการหายใจของเซลล์)[1]
พิษของ cyanide เกิดจาก CN- จะจับกับโมเลกุลที่มีประจุบวก ที่สำคัญคือ โมเลกุลของ เหล็ก (Fe) ซึ่งมีทั้ง Ferrous (Fe 2+) ซึ่งอยู่ใน hemoglobin ปกติ และ Ferric ion (Fe 3+) ซึ่งอยู่ใน myoglobin ปกติ แต่ CN- จะจับกับ Ferric ion ได้ดีกว่า Ferrous ทำให้เมื่อ CN- เข้าสู่ร่างกายแล้วจะไปจับกับ Ferric ion ใน myoglobin เนื่องจาก myoglobin ทำงานในระบบ electron transport ที่ mitochondria ทำให้ได้ พลังงาน น้ำ และ carbon dioxide เมื่อ CN- จับกับ myoglobin ก็จะขัดขวางไม่ให้ขบวนการ electrontransport ทำงานได้ตามปกติ เซลล์ของ ร่างกายจึงอยู่ในสภาพของ anoxia และเกิดภาวะ lactic acidosis ในที่สุด สมองเป็นอวัยวะที่ทนต่อภาวะ anoxia ได้น้อยที่สุด ผู้ป่วยจึงมักมีอาการทางสมองเช่น ชัก หมดสติ มีการหายใจผิดปกติเนื่องจาก มีการกดศูนย์ควบ คุม การหายใจ แต่ผู้ป่วยไม่เขียว (cyanosis) ในช่วงแรก ๆ ถึงแม้ว่าจะหยุดหายใจเนื่องจากร่างกาย ไม่สามารถใช้ออกซิเจน ได้ ในทางการแพทย์สามารถยืนยันการวินิจฉัย โดยการตรวจ Fundi จะพบว่ามีสีของเส้นเลือดดำและแดงใน retina ไม่แตกต่างกัน สำหรับใน chronic cyanide poisoning มักจะเป็นแบบ hypoxic encephalopathy อาจจะแสดงออก ในลักษณะ neuropsychiatry ส่วนเส้นประสาทสมองเส้นที่ 2 (optic nerve) มักจะมีรายงานถึงพิษจาก cyanide เป็นแบบ optic nerve atrophy[2]
ค่ามาตรฐานในสถานที่ทำงาน
1. ACGIH TLV (2012) Hydrogen cyanide and cyanide salts, as CN – Hydrogen cyanide C = 4.7 ppm [skin], Cyanide salts C = 5 mg/m3 [skin]
2. NIOSH REL – Hydrogen cyanide STEL = 4.7 ppm (5 mg/m3) [skin], IDLH = 50 ppm, Other cyanides (e.g. Sodium cyanide, Potassium cyanide) C = 4.7 ppm (5 mg/m3) [10-minute], IDLH = 25 mg/m3
3. OSHA PEL – Hydrogen cyanide TWA = 10 ppm (11mg/m3) [skin], Other cyanides (e.g. Sodium cyanide, Potassium cyanide) TWA = 5 mg/m3
4. กฎหมายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของไทย เก็บถาวร 2016-06-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ค่ามาตรฐานในร่างกาย การตรวจระดับไซยาไนด์ในเลือดและปัสสาวะนั้นสามารถทำได้ แต่ไม่มีประโยชน์ในการเฝ้าระวังสุขภาพคนทำงาน เนื่องจากโดยปกติจะตรวจพบไซยาไนด์ในระดับต่ำ ๆ ในร่างกายคนทั่วไปอยู่แล้ว อีกทั้งไซยาไนด์ยังถูกกำจัดออกไปจากร่างกายได้อย่างรวดเร็ว จึงมักตรวจไม่พบ ปัจจุบันจึงยังไม่มีองค์กรที่น่าเชื่อถือองค์กรใด รวมถึงองค์กร ACGIH กำหนดค่ามาตรฐานในร่างกายคนทำงานสำหรับสารนี้ไว้
คุณสมบัติก่อมะเร็ง ยังไม่มีองค์กรที่น่าเชื่อถือองค์กรใดทำการประเมินไว้
อาการทางคลินิก
- อาการเฉียบพลัน ทางเข้าสู่ร่างกายนั้น สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งทางการหายใจ ทางการกินและซึมผ่านผิวหนัง หากได้รับเข้าไปปริมาณมากจะมีฤทธิ์ยับยั้งการหายใจในระดับเซลล์ ทำให้เซลล์เสียชีวิตได้
- อาการระยะยาว การสัมผัสสาร thiocyanate ในระยะยาว อาจก่อให้เกิดพิษเรื้อรังได้ มีอาการแขนขาอ่อนแรง ปวดศีรษะ และโรคของต่อมไทรอยด์ ซึ่งมีรายงานในคนงานโรงงานแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และคนงานขัดเครื่องเงิน
อาการ
- ไม่รุนแรง
- กล้ามเนื้อล้า แขนขารู้สึกหนัก
- หายใจลำบาก
- ปวดหัว รู้สึกมึน ๆ วิงเวียน
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ลมหายใจมีกลิ่นอัลมอนด์จาง ๆ
- รู้สึกระคายเคืองคัน ๆ ที่จมูก คอ ปาก
- รุนแรง
- คลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรงกว่า
- หายใจลำบาก
- ชักหมดสติ
- เสียชีวิต
การดูแลรักษา
1. ปฐมพยาบาล กรณีสารเคมีรั่วไหล นำผู้ป่วยออกจากจุดเกิดเหตุให้เร็วที่สุด ให้อยู่ในที่อากาศถ่ายเท ถอดเสื้อผ้าออก ล้างตัวด้วยน้ำเปล่าให้มากที่สุด ถ้าเข้าตาให้ทำการล้างตาด้วย สังเกตสัญญาณชีพ ใส่ท่อช่วยหายใจถ้าไม่หายใจ ให้ออกซิเจนเสริม
2. การรักษาระยะเฉียบพลัน ทำการล้างตัว (decontamination) ทั้งที่จุดเกิดเหตุและที่โรงพยาบาล ช่วยการหายใจ ให้ออกซิเจน
3. การสูดดมสาร amyl nitrile ยังไม่ชัดเจนว่าสามารถช่วยต้านพิษของ ไซยาไนด์ได้หรือไม่ เนื่องจาก การสูดดมเมื่อ amyl nitrile เข้าสู่ร่างกายจะจับกับ Hemoglobin (เช่นเดียวกับ Sodium nitrile) กลายเป็น methemoglobin แล้วจะแย่งจับกับ Cyanide ในกระแสเลือดเป็น Cyanomethemoglobin และเมื่อได้รับ Sodium thiosulfate จึงจะช่วยขับ Cyanide ออกจากร่างกายได้ แต่ตัว Methemoglobin เองก็เป็นพิษต่อร่างกายเช่นกัน
ถ้าไปพบคนกำลังแย่เพราะไซยาไนด์อยู่ตรงหน้า ความเร็วเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ถ้าเป็นการกินเข้าไปก็ต้องส่งเข้าโรงพยาบาลล้างท้องเร็วที่สุด ถ้าเป็นก๊าซไซยาไนด์ ก็ต้องพาออกไปให้พ้นจากบริเวณที่มีก๊าซให้เร็วที่สุด ถ้าเสื้อผ้าหรือผิวหนังเปื้อนสารไซยาไนด์ก็ให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาด ที่สำคัญคือคนช่วยต้องระวังตัวมาก ๆ อย่าสูดลมหายใจของผู้ป่วยเข้าไปเป็นอันขาด แล้วเรียกรถพยาบาลมาด้วย
ไซยาไนด์กับอุตสาหกรรมหลายประเภท
- อาจพบได้ในธรรมชาติ ที่พบบ่อยคือ ในหัวและใบของมันสำปะหลัง (Cassava) ไซยาไนด์อาจพบได้จาก ควันไอเสียรถยนต์ มลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม ควันจากเตาเผาขยะ ควันบุหรี่ ควันจากไฟไหม้ และอาจพบในน้ำเสียจากโรงงานกลุ่มเคมีอินทรีย์ และอุตสาหกรรมการผลิตเหล็กหรือเหล็กกล้าได้
- เป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรมโลหะ พลาสติก และยางในรูปแบบสารประกอบต่าง ๆ
- Calcium cyanamide (nitrolim, calcium carbimide, cyanamide) เป็นผงสีดำเทาเป็นประกาย ใช้สำหรับบ่มเพาะในงานเกษตรกรรม ยาฆ่าแมลง ยาปราบวัชพืช อุตสาหกรรม คอตตอน อุตสาหกรรมเหล็กใช้ทำให้เหล็กแข็งตัว และยังเป็นสารตั้งต้นของการผลิตเมลามีน
- Cyanogen, cyanogen bromide and cyanogen chloride ใช้เป็นส่วนผสมในเชื้อเพลิง และใช้ในการตัดเหล็กที่ทนความร้อนสูง นอกจากนี้ยังใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง เป็นส่วนประกอบของยาฆ่าแมลง และใช้สกัดทอง
- Hydrogen cyanide ใช้ในอุตสาหกรรมไฟเบอร์ พลาสติก ขัดเงาโลหะ การย้อมสี และการถ่ายภาพ
- Potassium ferricyanide (red prussiate of potash) ใช้ในอุตสาหกรรมโลหะ การถ่ายภาพการย้อมสี และ การผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์
อ้างอิง
1. ↑
ผิดพลาด! ไม่ได้ระบุชื่อไฟล์"สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-04. สืบค้นเมื่อ 2016-04-06.ผิดพลาด! ไม่ได้ระบุชื่อไฟล์
2. ↑
ผิดพลาด! ไม่ได้ระบุชื่อไฟล์ผิดพลาด! ไม่ได้ระบุชื่อไฟล์http://med.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/bulletin/bul95/v3n2/Cyanideผิดพลาด! ไม่ได้ระบุชื่อไฟล์ผิดพลาด! ไม่ได้ระบุชื่อไฟล์
- http://www.summacheeva.org/index_book_thaitox.htm เก็บถาวร 2016-02-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- http://www.summacheeva.org/index_book_biomarker.htm เก็บถาวร 2018-02-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
แหล่งข้อมูลอื่น
- ATSDR medical management guidelines for cyanide poisoning (US)
- HSE recommendations for first aid treatment of cyanide poisoning (UK)
- Hydrogen cyanide and cyanides (CICAD 61)
- IPCS/CEC Evaluation of antidotes for poisoning by cyanides
- National Pollutant Inventory - Cyanide compounds fact sheet เก็บถาวร 2006-05-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Eating apple seeds is safe despite the small amount of cyanide