แอซีซัลเฟมโพแทสเซียม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอซีซัลเฟมโพแทสเซียม
Acesulfame potassium
Ball-and-stick model of acesulfame potassium
ชื่อตาม IUPAC potassium 6-methyl-2,2-dioxo-2H-1,2λ6,3-oxathiazin-4-olate
ชื่ออื่น แอซีซัลเฟมเค
แอซีเค
เลขทะเบียน
เลขทะเบียน CAS [55589-62-3][CAS]
PubChem 23683747
EC number 259-715-3
SMILES
 
InChI
 
ChemSpider ID 55940
คุณสมบัติ
สูตรโมเลกุล C4H4KNO4S
มวลโมเลกุล 201.24 g mol−1
ลักษณะทางกายภาพ ผงผลึกสีขาว
ความหนาแน่น 1.81 g/cm3
จุดหลอมเหลว

225 °C, 498 K, 437 °F

ความสามารถละลายได้ ใน น้ำ 270 g/L at 20 °C
ความอันตราย
NFPA 704
NFPA 704.svg
1
1
0
 
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
สถานีย่อย:เคมี

แอซีซัลเฟมโพแทสเซียม (อังกฤษ: acesulfame potassium) หรือ แอซีซัลเฟมเค (acesulfame K) (K เป็นสัญลักษณ์ธาตุโพแทสเซียม) เป็นวัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล มีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว มีสูตรเคมีคือ C4H4KNO4S มีเลขอีคือ E950[1] ค้นพบในปี ค.ศ. 1967 โดยคาร์ล เคลาส์ (Karl Clauss) และฮารัลด์ เจนเซน (Harald Jensen) นักเคมีของบริษัทเฮิชสต์ (Hoechst AG)[2][3]

แอซีซัลเฟมเคผสมในอาหาร เครื่องดื่มและเวชภัณฑ์หลายชนิด[4] มีความหวานกว่าซูโครส (น้ำตาลทราย) 200 เท่า[5] หวานเท่ากับแอสปาร์แตม หวานประมาณ 1/3 ของซูคราโลสและประมาณ 2/3 ของแซกคารีน แอซีซัลเฟมเคไม่เปลี่ยนรูปเมื่อถูกความร้อนหรืออยู่ในสภาวะกรด-เบส จึงมักใช้เป็นส่วนผสมในขนมอบหรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการเก็บรักษาไว้ได้นาน แต่แอซีซัลเฟมเคสามารถสลายกลายเป็นแอซีโทแอซีทาไมด์ที่เป็นพิษหากได้รับในปริมาณมาก[6] ปริมาณที่ร่างกายรับได้ต่อวันของแอซีซัลเฟมเคคือ 15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน[7]

ถึงแม้องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) จะอนุญาตให้ใช้แอซีซัลเฟมเคในอาหารได้ในปี ค.ศ. 1988 แต่มีการชี้ว่าการศึกษาเกี่ยวกับแอซีซัลเฟมเคยังน้อยเกินไปและแอซีซัลเฟมเคอาจเป็นสารก่อมะเร็ง[8] อย่างไรก็ตาม FDA และหน่วยงานด้านอาหารและยาของสหภาพยุโรปได้ปฏิเสธข้อมูลเหล่านี้[9][10]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Current EU approved additives and their E Numbers". UK: Food Standards Agency. 2012-03-14.
  2. O'Brien-Nabors, L. (2001). Alternative Sweeteners. New York, NY: Marcel Dekker. p. 13. ISBN 0-8247-0437-1.
  3. Williams, R. J.; Goldberg, I. (1991). Biotechnology and Food Ingredients. New York: Van Nostrand Reinhold. ISBN 0-442-00272-6.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  4. Acesulfame K - Calorie Control Council
  5. Acesulfame K: the evidence - NHS Choices
  6. Findikli, Z.; Zeynep, F.; Sifa, T. Determination of the effects of some artificial sweeteners on human peripheral lymphocytes using the comet assay. Journal of toxicology and environmental health sciences 2014, 6, 147–153.
  7. Whitehouse, C.; Boullata, J.; McCauley, L. The potential toxicity of artificial sweeteners. AAOHN J. 2008, 56, 251-9 quiz 260.
  8. Karstadt, M. L. (2006). "Testing Needed for Acesulfame Potassium, an Artificial Sweetener" (PDF). Environmental Health Perspectives. 114 (9): A516. doi:10.1289/ehp.114-a516a. PMC 1570055. PMID 16966071.
  9. Kroger, M.; Meister, K.; Kava, R. (2006). "Low-Calorie Sweeteners and Other Sugar Substitutes: A Review of the Safety Issues". Comprehensive Reviews in Food Science and Food Safety. 5 (2): 35–47. doi:10.1111/j.1541-4337.2006.tb00081.x.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  10. Scientific Committee on Food (2000). "Opinion - Re-evaluation of acesulfame K with reference to the previous SCF opinion of 1991" (PDF). SCF/CS/ADD/EDUL/194 final. EU Commission. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-09-10. สืบค้นเมื่อ 2015-12-29.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]