เมลามีน
| |||
ชื่อ | |||
---|---|---|---|
Preferred IUPAC name
1,3,5-Triazine-2,4,6-triamine | |||
ชื่ออื่น
2,4,6-Triamino-s-triazine
Cyanurotriamide Cyanurotriamine Cyanuramide | |||
เลขทะเบียน | |||
3D model (JSmol)
|
|||
ChEBI | |||
เคมสไปเดอร์ | |||
ECHA InfoCard | 100.003.288 | ||
KEGG | |||
ผับเคม CID
|
|||
UNII | |||
CompTox Dashboard (EPA)
|
|||
| |||
| |||
คุณสมบัติ | |||
C3H6N6 | |||
มวลโมเลกุล | 126.123 g·mol−1 | ||
ลักษณะทางกายภาพ | ของแข็งสีขาว | ||
ความหนาแน่น | 1.573 g/cm3[1] | ||
จุดหลอมเหลว | 343 องศาเซลเซียส (649 องศาฟาเรนไฮต์; 616 เคลวิน) (การสลายตัว)[1] | ||
จุดเดือด | ระเหิด | ||
3240 mg/L (20 °C)[2] | |||
ความสามารถละลายได้ | ละลายได้น้อยในน้ำเย็น (3.2 g/L ที่ 20 °C)[3] ละลายได้ดีในน้ำร้อน ไม่ละลายในไดเอทิลอีเทอร์[4] | ||
log P | −1.37 | ||
pKa | 5.0 (กรดคอนจูเกเตด)[5] | ||
Basicity (pKb) | 9.0 [5] | ||
−61.8·10−6 cm3/mol | |||
ดัชนีหักเหแสง (nD)
|
1.872[1] | ||
โครงสร้าง | |||
โมโนคลินิก | |||
อุณหเคมี | |||
Std enthalpy of
combustion (ΔcH⦵298) |
−1967 kJ/mol | ||
ความอันตราย | |||
> 500 องศาเซลเซียส (932 องศาฟาเรนไฮต์; 773 เคลวิน) | |||
ปริมาณหรือความเข้มข้น (LD, LC): | |||
LD50 (median dose)
|
3850 mg/kg (หนู, ทางปาก) | ||
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
|
เมลามีน (melamine; /ˈmɛləmiːn/ ( ฟังเสียง)) เป็นเบสอินทรีย์ มีสูตรทางเคมีว่า C3H6N6, และชื่อทาง IUPAC ว่า 1,3,5-triazine-2,4,6-triamine เมลามีนเป็นสารที่ละลายน้ำได้เพียงเล็กน้อย
เมลามีนเป็นไทรเมอร์ (หรือสารประกอบที่เกิดจากโมเลกุล 3 ตัวที่เหมือนกันแตกเป็นสามขา) ของไซยานาไมด์ (cyanamide) เช่นเดียวกันกับไซยานาไมด์ เมลามีนประกอบด้วยไนโตรเจน 66% (โดยมวล) เป็นสารที่มีคุณสมบัติหน่วงไฟเมื่ออยูในรูปของเรซินด้วยการปลดปล่อยไนโตรเจนออกมาเมื่อลุกใหม้หรือถูกเผา มีการนำเอา Dicyandiamide (หรือ cyanoguanidine) , ที่เป็นไดเมอร์ (สองส่วน - dimer) ของไซยานาไมด์มาใช้เป็นสารหน่วงไฟเช่นกัน
เมลามีนเป็นสารในกระบวนการสร้างและสลาย (metabolite) ของ ไซโลมาซีน (cyromazine) ซึ่งเป็นยาฆ่าแมลงชนิดหนึ่ง เป็นสารที่เกิดขึ้นในตัวของสัตว์เลือดอุ่นที่ย่อยไซโลมาซีน[6] มีรายงานด้วยเช่นกันว่าไซโลมาซีนเปลี่ยนเป็นเมลามีนในพืช [7][8]
การใช้งาน
[แก้]มีการใช้เมลามีนร่วมกับฟอร์มาลดีไฮด์ (formaldehyde) เพื่อผลิตเมลามีนเรซิน (melamine resin) ซึ่งเป็นพลาสติกชนิดหมาดตัวด้วยความร้อน (thermosetting plastic) ที่ทนทานมากชนิดหนึ่ง และโฟมเมลามีนที่เป็นสารพอลิเมอร์ใช้สำหรับการทำความสะอาด ผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายของเมลามีนรวมถึงวัสดุบุผิวหน้าเคาน์เตอร์ กระดานขาวที่ลบได้ กาว เครื่องครัวและสารหน่วงไฟ เมลามีนเป็นส่วนประกอบหลักของสารสีเหลือง 150 (Pigment Yellow 150) ที่ใช้ทำหมึกพิมพ์และพลาสติก
เมลามีนใช้ประกอบในการทำเมลามีนโพลี-ซัลโฟเนตที่ใช้เป็นซูเปอร์พลาสติไซเซอร์ (superplastizer) ที่ใช้ผสมคอนกรีตทนแรงสูง ซัลโฟเนตเมลามีนฟอร์มาลดีไฮด์ (SMF) เป็นพอลิเมอร์ที่ใช้เป็นสารผสมซีเมนต์ (cement admixture) เพื่อลดปริมาณน้ำในคอนกรีตและยังช่วยเพิ่มการลื่นไหลของคอนกรีตในขณะทำการผสมและเท มีผลให้คอนกรีตมีความพรุนน้อยลงและแข็งแรงมากขึ้นสามารถต้านทานสภาพความรุนแรงต่าง ๆ ของสิ่งแวดล้อมรวมทั้งการทำให้คอนกรีตมีอายุใช้งานนานมากขึ้น
มีการพิจารณาใช้เมลามีนสำหรับเป็นปุ๋ยใช่ช่วงระหว่าง พ.ศ. 2495 – พ.ศ. 2510 สำหรับพืชเนื่องจากเมลามีนมีส่วนประกอบของไนโตรเจนสูงมาก (~66.5% N) [9] แต่เนื่องจากการทำปฏิกิริยาแยกสลายโดยน้ำของเมลามีนที่ช่วยให้ไนโตรเจนกลายเป็นแร่ในดินเป็นไปช้ามาก ส่งให้การใช้เมลามีนเป็นปุ๋ยอย่างกว้างขวางจึงหมดไป
ยาประเภทสารหนูที่มาจากอนุพันธ์เมลามีนมีศักยภาพสูงในการรักษาโรคไทรแพโนโซเมียซิส (trypanosomiasis) ในแอฟริกา[10]
เมลามีนที่ใช้เป็นไนโตรเจนที่ไม่ใช่โปรตีน (Non-protein nitrogen; NPN) สำหรับปศุสัตว์เคยมีการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ไว้เมื่อ พ.ศ. 2501[11] อย่างไรก็ดี ผลการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2521 บ่งว่าเมลามีน "อาจยอมรับไม่ได้ว่าไนโตรเจนที่ไม่ได้มาจากโปรตีนเหมาะสำหรับสัตว์ประเภทเคี้ยวเอื้อง" เพราะปฏิกิริยาแยกสลายโดยน้ำในปศุสัตว์ช้าและสมบูรณ์น้อยกว่าโปรตีนจากแหล่งอื่นเช่น อาหารสัตว์จากเมล็ดฝ้าย (cottonseed meal) และยูเรีย[12]
ในบางครั้งมีการเติมเมลามีนในผลิตภัณฑ์อาหารอย่างผิดกฎหมายเนื่องจากการที่มันช่วยให้เห็นว่ามีส่วนประกอบของโปรตีนสูงได้ชัดเจน การทดสอบโปรตีนมาตรฐานเช่น กรรมวิธี Kjeldahl และ กรรมวิธี Dumas ใช้วิธีประมาณระดับโปรตีนในผลิตภัณฑ์อาหารโดยการวัดปริมาณไนโตรเจนซึ่งอาจนำไปสู่การลอบเติมเมลามีนได้[13]
กฎข้อบังคับ
[แก้]หน่วยบริการอาหารปลอดภัยและการตรวจ (Food Safety and Inspection Service; FSIS) ของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ให้กรรมวิธีการตรวจสอบเพื่อวิเคราะห์หาไคโรมาซีน (cyromazine) และเมลามีนในเนื้อเยื่อของสัตว์ไว้ในหนังสือคู่มือหอทดลองเคมีซึ่ง "ประกอบด้วยกรรมวิธีทดสอบที่ใช้โดยห้องทดลองของ FSIS เพื่อใช้ช่วยในโครงการตรวจสอบของหน่วยงานเพื่อให้การรับรองว่าเนื้อปศุสัตว์ เนื้อไก่ ผลิตภัณฑ์นมและไข่มีความปลอดภัย สะอาดบริสุทธิ์และให้ติดป้ายได้"[14][15]
ใน พ.ศ. 2542 ในข้อบังคับที่ตีพิมพ์ในหน่วยงานจดทะเบียนรัฐบาลกลาง (Federal Register) เกี่ยวกับไคโรมาซีนตกค้างว่า สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ (EPA) เสนอให้ "ถอนเมลามีนที่เป็นสารในการสร้างและสลายของไคโรมาซีนออกจากความเป็นการคลาดเคลื่อนที่ยอมได้ เนื่องจากไม่ได้ถือว่าเป็นเพียงสารตกค้างที่น่าห่วงใยอีกต่อไป" [16] ประเทศจีนจัดอันดับเมลามีนให้เป็นสารควบคุม[17] แต่มีการละเมิดนำมาใช้เป็นอย่างมากในเรื่องอื้อฉาวนมในจีน พ.ศ. 2551 ที่เป็นเหตุให้ทารกเสียชีวิตไปแล้ว 4 คน[17]
สุขภาพ
[แก้]โดยตัวของมันเอง เมลามีนเป็นสารประกอบที่ไม่มีพิษที่ขนาดต่ำ แต่เมื่อรวมกับกรดไซยานูริก (cyanuric acid) สามารถทำให้เกิดนิ่วในไตถึงขั้นเสียชีวิตได้[18]
สภาพพิษ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ความเป็นพิษเฉียบพลัน
[แก้]มีรายงานว่าเมลามีนมีฤทธิ์ LD50 ทางปากที่ >3000 มิลลิกรัม/กก. โดยการทดลองด้วยหนู และระคายเคืองเมื่อสูดดมหรือสัมผัสผิวหนังหรือตา รายงานการออกฤทธิ์ LD50 ทางผิวหนังที่ >1000 มิลลิกรัม/กก. โดยการทดลองในกระต่าย การศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2488 มีการให้เมลามีนโดสสูงทางปากแก่หนู กระต่ายและสุนัขโดย "ไม่พบว่ามีผลทางพิษที่สำคัญ" [19]
การศึกษาชิ้นหนึ่งของนักวิจัยในสหภาพโซเวียตในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2523 – 2532 พบว่าเมลามีนไซยานูเรต (เกลือที่เกิดจากเมลามีนและกรดไซยานูริกที่ใช้มากสารหน่วงไฟ [20]) มีความเป็นพิษสูงกว่าทั้งเมลามีนโดด ๆ และกรดไซยานูริกโดด ๆ[21] สำหรับหนูมีรายงานว่า LD50 ของเมลามีนไซยานูเรตอยู่ที่ 4.1 กรัม/กก. (ให้ในกระเพาะ) และ 3.5 กรัม/กก. (โดยการสูดดม) เทียบกับ 6.0 และ 4.3 กรัม/กก. ของเมลามีนและ 7.7 และ 3.4 กรัม/กก. สำหรับกรดไซยานูริกตามลำดับ
การศึกษาความเป็นพิษหลังการเรียกคืนอาหารสัตว์ที่เป็นพิษสรุปได้ว่าการรวมตัวของเมลามีนและกรดไซยานูริกในอาหารทำให้เกิดไตวายเฉียบพลันในแมว[22]
ความเป็นพิษเรื้อรัง
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อุบัติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการรวมเมลามีนและกรดไซยานูริก
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การเรียกคืนอาหารสัตว์ใน พ.ศ. 2550 (2007)
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กรณีอื้อฉาวเรื่องนมของจีน พ.ศ. 2551
[แก้]เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 มีหลายบริษัทที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับนมผงใช้เลี้ยงทารก (infant formula) ที่เจือปนด้วยเมลามีน นับถึงวันที่ 22 กันยายนได้มีทารกเจ็บป่วย 53,000 ราย ที่ต้องเข้าโรงพยาบาล 12,800 รายและมีทารกเสียชีวิตแล้ว 4 รายจากอาการนิ่วในไตและไตวาย[23][24] ดูเหมือนว่าการเติมสารเคมีลงไปในนมจะช่วยให้ดูว่าผลิตภัณฑ์มีส่วนประกอบของโปรตีนสูง
ได้พบว่ามีบริษัทผู้ผลิตมากถึง 23 บริษัทที่เติมสารเมลามีน รวมถึงบริษัทซานลู เมงงุย ยิลีและบริษัทยาชิลี[25]
การเติมสารเมลามีนในนมอาจทำเพื่อฉ้อฉลลวงการตรวจสอบคุณภาพของรัฐบาล เนื่องจากหลังจากการเติมน้ำลงไปแล้วเมลามีนจะทำให้ระดับไนโตรเจนสูงขึ้นเกินจริงเมื่อตรวจวัดในนม[26][27] เจ้าหน้าที่ประมาณว่าร้อยละ 20 ของบริษัทผลิตนมที่ผ่านการตรวจสอบในประเทศจีนได้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่แปดเปื้อนเมลามีน[28]
กรรมวิธีทดสอบเมลามีนและกรดไซยานูริก
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การตรวจหาเมลามีนในอาหาร
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การสังเคราะห์
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดูเพิ่ม
[แก้]- 1,3,5-ไทรอาซีน
- ไทรอาซีน
- ไนโตรเจนที่ไม่ใช่โปรตีน
- ไซยานาไมด์ (สารตั้งต้นของเมลามีน)
- กรดไซยานูริก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Haynes, William M., บ.ก. (2011). CRC Handbook of Chemistry and Physics (92nd ed.). CRC Press. p. 3.516. ISBN 978-1-4398-5511-9.
- ↑ เมลามีน ในฐานข้อมูล ChemIDplus
- ↑ "Melamin". GESTIS-Stoffdatenbank (ภาษาเยอรมัน). Institut für Arbeitsschutz der Deutschen Gesetzlichen Unfallversicherung. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2023.
- ↑ Melamin. in Römpp Online. Georg Thieme Verlag. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2014.}}
- ↑ 5.0 5.1 Jang YH, Hwang S, Chang SB, Ku J, Chung DS (2009). "Acid Dissociation Constants of Melamine Derivatives from Density Functional Theory Calculations". The Journal of Physical Chemistry A. 113 (46): 13036–13040. Bibcode:2009JPCA..11313036J. doi:10.1021/jp9053583. PMID 19845385.
- ↑ "Report on cyromazine of the European Medicines Agency" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 ตุลาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2008.
- ↑ Lori 0. Lim, Susan J. Scherer, Kenneth D. Shuler, and John P. Toth. Disposition of Cyromazine in Plants under Environmental Conditions J. Agric. Food Chem. 1990, 38, 860-864 [1]
- ↑ "[[FAO]] report on cyromazine" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 มกราคม 2012. สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2008.
- ↑ Hauck, R.D.; Stephenson, H.F. (1964). "Nitrification of triazine nitrogen". Fertilizer Nitrogen Sources. 12 (2): 147.
- ↑ Barrett MP, Gilbert IH (2006). "Targeting of toxic compounds to the trypanosome's interior". Adv. Parasitol. 63: 125–83. doi:10.1016/S0065-308X(06)63002-9. PMID 17134653.
- ↑ "Ruminant feed compositions, Robert W. Colby and Robert J. Mesler Jr., U.S. Patent No. 2819968, 1958
- ↑ G.L.Newton and P.R.Utley (1978). "Melamine as a dietary nitrogen source for ruminants". Journal of Animal Science. vol.47. p1338-44. Abstract. เก็บถาวร 21 พฤศจิกายน 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2008.
- ↑ Alison Snyder (สิงหาคม 2008). "Protein Pretense". Scientific American Magazine. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2008.
- ↑ "CYROMAZINE AND MELAMINE" (PDF). USDA FSIS. กรกฎาคม 1991. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 มิถุนายน 2007. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2007.
- ↑ "Chemistry Laboratory Guidebook". USDA FSIS. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2007.
- ↑ Environmental Protection Agency. Cyromazine; Pesticide Tolerance
- ↑ 17.0 17.1 "china bans melamine". CBS. กันยายน 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 กันยายน 2008. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2008.
- ↑ How Two Innocuous Compounds Combined to Kill Pets. Washington Post. 7 พฤษภาคม 2007.
- ↑ W.L. Lipschitz; E. Stokey (1945). "The mode of action of three new diuretics:melamine, adenine and formoguanamine". Journal of Pharmacology And Experimental Therapeutics. 83 (4): 235–249.
- ↑ "Flame Retardants Center: Melamine Compounds". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 กันยายน 2008. สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2008.
- ↑ A.A. Babayan, A.V.Aleksandryan, "Toxicological characteristics of melamine cyanurate, melamine and cyanuric acid", Zhurnal Eksperimental'noi i Klinicheskoi Meditsiny, Vol.25, 345-9 (1985). Original article in Russian, English abstract retrieved from SciFinder on either 5 กรกฎาคม 2007 or 7 พฤษภาคม 2007.
- ↑ Puschner; และคณะ (พฤศจิกายน 2007). "Assessment of melamine and cyanuric acid toxicity in cats". Journal of Veterinary Diagnostic Investigation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2007. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2007.
- ↑ Min Lee (22 กันยายน 2008). "Nearly 53,000 Chinese children sick from milk". Associated Press. ABC7 Eyewitness News.
- ↑ Jane Macartney (22 กันยายน 2008). "China baby milk scandal spreads as sick toll rises to 13,000". The Times.
- ↑ The Wall Street Journal. "Chinese Shun Local Milk". 19 กันยายน 2008.
- ↑ "Fonterra says somebody sabotaged milk" (ภาษาอังกฤษ). NZ Herald. 15 กันยายน 2008. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2008.
- ↑ "Toxic milk toll rockets in China" (ภาษาอังกฤษ). BBC NEWS. 15 กันยายน 2008. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2008.
- ↑ "6,200 Chinese babies ill, 3 die from tainted milk" (ภาษาอังกฤษ). 6abc Action News. 18 กันยายน 2008. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2024.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- NLM Hazardous Substances Databank - Melamine
- Melamine Materials Safety Data Sheet (MSDS) เก็บถาวร 27 กันยายน 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- OECD Screening Information Data Set (SIDS) : Melamine เก็บถาวร 1 ตุลาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (High Production Volume Chemicals Screening Information,PDF, 89 pages).
- FDA Web Page with Information on Pet Food Recall (due to Melamine contanimination ) เก็บถาวร 16 กันยายน 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เยาวมาลย์ ค้าเจริญ, รศ. รอบรู้เรื่องเมลามีน. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. เก็บถาวร 10 ตุลาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน