NFPA 704

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
float
float

NFPA 704 เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ซึ่งกำหนดและรักษามาตรฐานโดย สมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ (National Fire Protection Association) ของสหรัฐอเมริกา เพื่อป้องกันและเตือนถึงวัสดุอันตรายต่าง ๆ เครื่องหมายนี้เรียกง่าย ๆ ว่า "เพชรไฟ" (fire diamond) เป็นการเตือนภัยส่วนบุคคลเพื่อให้ง่ายและรวดเร็วที่จะได้ทราบ ว่าเป็นวัสดุอันตรายชนิดใด มีวิธีการปฏิบัติหรือต้องการเครื่องมือเฉพาะอย่างไรบ้าง

สัญลักษณ์[แก้]

มี 4 รหัสสีเฉพาะดังนี้

ความไวไฟ ความไวต่อปฏิกิริยาโดยจะบอกเป็นระดับตัวเลขตั้งแต่ 0 (ไม่มีอันตราย เป็นสารธรรมดา) ถึง 4 (มีอันตรายมากที่สุด)

ความไวไฟ (สีแดง)
0 วัสดุที่ไม่ติดไฟด้วยเพลิงทั่วไป เช่น คาร์บอนเตตระคลอไรด์ หรือ ซิลิกอนไดออกไซด์ รวมถึงวัสดุที่ไม่ติดไฟโดยธรรมชาติของคุณสมบัติวัสดุอยู่แล้วเช่นคอนกรีต หิน ทราย และวัสดุที่จะไม่ติดไฟ นอกจากให้ความร้อน 820 องศาเซลเซียสเป็นเวลามากกว่า 5 นาที
1 วัสดุที่ต้องให้ความร้อนก่อนอย่างมีนัยยะสำคัญภายใต้บรรยากาศธรรมดา จึงจะติดไฟและเกิดการเผาไหม้ได้ เช่น น้ำมันแร่ แอมโมเนีย เอทิลีนไกลคอล รวมถึงของแข็งบดละเอียดในสารละลายบางประเภทที่ไม่ต้องให้ความร้อนก่อนเกิดการจุดระเบิด มีจุดวาบไฟอยู่ที่หรือสูงกว่า 93.3 องศาเซลเซียส
2 วัสดุต้องให้ความร้อนในระดับหนึ่งหรืออยู่ในบรรยากาศที่มีอุณหภูมิค่อนข้างสูงจึงจะจุดระเบิดได้ เช่น น้ำมันดีเซล กระดาษ กำมะถัน และของแข็งบดละเอียดในสารละลายที่ไม่ต้องให้ความร้อนในการจุดระเบิด มีจุดวาบไฟระหว่าง 37.8 และ 93.3 องศาเซลเซียส
3 ของเหลวและของแข็ง รวมถึงของแข็งบดละเอียดในสารละลาย ที่สามารถจุดระเบิดได้เกือบทุกสภาพแวดล้อม เช่น แอซีโทน เอทานอล ของเหลวที่มีจุดวาปไฟต่ำกว่า 22.8 องศาเซลเซียสและมีจุดเดือดเท่ากับหรือมากกว่า 37.8 องศาเซลเซียส หรือมีจุดวาปไฟระหว่าง 22.8 และ 37.8 องศาเซลเซียส
4 เป็นสารที่ระเหยในทันทีหรือรวดเร็วมากหรือทันทีที่แรงดันและอุณหภูมิบรรยากาศธรรมดา หรือกระจายอยู่ในบรรยากาศอยู่แล้วและสามารถจุดระเบิดเมื่อใดก็ได้ เช่น น้ำมันเบนซิน อะเซทิลีน โพรเพน แก๊สไฮโดรเจน รวมถึงวัสดุไพโรโฟริก และวัตถุที่มีจุดวาปไฟต่ำกว่าอุณหภูมิห้องที่ 22.8 องศาเซลเซียส

สุขภาพ (สีน้ำเงิน)
0 ได้รับขณะร้อนไม่เกิดอันตรายเท่าไร (เช่น น้ำมันถั่วลิสง (peanut oil))
1 ได้รับแล้วอาจทำให้เกิดระคายเคือง และอาจทำให้เกิดแผลเป็นเล็กน้อยเท่านั้น (เช่น น้ำมันสน (turpentine))
2 ได้รับเป็นช่วง ๆ หรือต่อเนื่องแต่ไม่ประจำ อาจเป็นสาเหตุให้ไร้ความสามารถชั่วขณะ หรือเป็นอันตรายแบบถาวรได้ (เช่น ก๊าซแอมโมเนีย)
3 ได้รับเพียงช่วงเวลาสั้น ก็จะเป็นอันตรายร้ายแรงชั่วคราว หรือ ถาวร (เช่น ก๊าซคลอรีน)
4 ได้รับเพียงช่วงเวลาสั้นๆ อาจถึงตายได้หรืออาการสาหัส (เช่น ไฮโดรเจนไซยาไนด์)

ความไวในปฏิกิริยาเคมี (สีเหลือง)
0 เสถียร
1 ไม่เสถียรถ้าโดนความร้อน และความดัน
2 ปฏิกิริยาเคมีรุนแรง
3 ความร้อนและการกระแทกอาจเกิดการระเบิดได้
4 ระเบิดได้

รหัสเฉพาะ (สีขาว)
ส่วนสีขาวรหัสเฉพาะมีให้ใส่ข้อมูลเพิ่มเติมได้ โดยสัญลักษณ์ต่อไปนี้มีในมาตรฐาน NFPA 704
OX สารออกซิไดซ์
W ทำปฏิกิริยากับน้ำ
SA ก๊าซพิษที่ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนอย่างธรรมดา
รหัสเฉพาะนอกมาตรฐาน (สีขาว)
สัญลักษณ์เฉพาะนอกมาตรฐาน โดยอาจอนุโลมให้ใช้ หรือห้ามมิให้ใช้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับหน่วยงาน
COR กัดกร่อน
ACID กรด
ALK เบส
BIO เป็นอันตรายทางชีวภาพ
POI พิษ
RA ปล่อยกัมมันตภาพรังสี
RAD
CRY มีความเย็นยวดยิ่ง
CRYO

อ้างอิง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]